ปาฐกถาพิเศษ 'เขื่อนกับสิทธิชุมชน'
โดย ศ.เสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
โดย ทีมงาน ThaiNGO.org
http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content1/show.pl?0198
ต้องขออภัยที่ไม่ได้มาร่วมงานเมื่อวานนี้ เนื่องจากติดภารกิจเรื่อง จีเอ็มโอ
ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนพอสมควรสำหรับสถานะการณ์และแนวทางแก้ไขในเวลานี้
อย่างไรก็ตาม ในนามของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ผมขอกล่าวต้อนรับทุกท่าน อีกครั้ง
หากจะมองเขื่อนในเชิงผลกระทบทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและความสำคัญเชิงนโยบาย
ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้ามาร่วมพิจารณาถึงผลกระทบภายใต้นโยบายที่ชอบธรรม
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เทคโนโลยี ไม่ได้เป็นกลางโดยตัวของมัน ฉะนั้น ในเบื้องต้น
การพัฒนาเทคโนโลยีที่มีชื่อว่าเขื่อนมันไม่ได้มีความเป็นกลาง หากโดยนัยยะ
หมายถึง ลัทธิ อุดมการณ์ทางการเมืองที่แอบแฝง
 |
|
การนำเสนอของกระผมในวันนี้
กระผมจะนำเสนอวิธีการพัฒนาเชิง ลัทธิอุดมการณที่มาพร้อมกับเขื่อน ในแง่มุมของเศรษฐศาสตร์การเมือง
เขื่อน ไม่ใช่สิ่งก่อสร้างที่กั้นน้ำเท่านั้นเขื่อนเป็นกระบวนการคิดเกี่ยวกับ
การจัดการทรัพยากรน้ำและพลังงานใน กระแสการพัฒนาเศรษฐกิจกระแสใหญ่ในช่วง
40-50 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เป็นความแปลกใจใดใดเมื่อในรายงานของ
คณะกรรมการเขื่อนโลกซึ่งระบุถึงเขื่อนจำนวนพันจำนวนหมื่น ในโลกนี้ที่ก่อผลกระทบกับระบบชุมชนท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม
เพราะ อุดมการณ์หลักของการสร้างเขื่อน คือ การระดม สรรพทรัพยากร ทุกชนิดในชนบท
เพื่อเสนอสนองตอบระบบอุตสาหกรรมผ่านกระบวนการ การพัฒนาในกระแสอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดในการสร้างเขื่อน ทั้งแง่ประโยชน์ทางด้านชลประทานหรือกระแสไฟฟ้า
หากจุดเน้นหนักกลับอยู่ที่นโยบายของการระดม ทรัพยากรธรรมชาติเข้าอุ้มชูระบบอุตสาหกรรม
ส่งผลให้เกิดความสูญเสียและวิกฤติการณ์ นอกเหนือไปจากต้องอพยพโยกย้ายผู้คนสร้างผล
กระทบในระบบสิ่งแวดล้อมแล้วเขื่อนกลับสร้าง สภาวะแปลกแยกภายใน ระบบสังคมและการเมือง
แบ่งแยกภาคสังคมชนบท |
และสังคมเมืองออกจากกันอย่างเด่นชัด ดังนั้นเขื่อนจึงไม่ถือเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างหากเป็นส่วนสะท้อนวิธีคิด
เชิงนโยบายที่มีความโน้มเอียงของระบบการพัฒนาที่ฉ้อฉล
การสร้างเขื่อน คือ การสร้างการเติบโตให้แก่ภาคอุตสาหกรรมและภาคเมืองโดยการคิดแบบบนลงล่างในยุคเผด็จการ
สฤษดิ์ ธนะรัตน์ เพราะฉะนั้นเขื่อนจึงถือเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบอำนาจนิยมที่มุ่งพัฒนาเมืองโดยปราศจาก
การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่น
การสร้างเขื่อนถือเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน เพราะจำเป็นต้องอพยพผู้คนที่อยู่ท้ายเขื่อนและต้องทำลายทรัพยากรแวดล้อมเป็นระบบความคิดเก่าที่ก่อความแปลกแยกและ
ความเดือดร้อน-ทุกข์ยากแก่ประชาชนส่วนใหญ่ อีกทั้งเป็นการละเมิดสิทธิของชุมชนท้องถิ่นที่มักถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนที่ยากจนและไม่มีความรู้
ดังนั้น ที่ผ่านมา การประเมินผลกระทบจึง
มักมองข้ามกลุ่มคนในชุมชนท้องถิ่นและมุ่งสร้าง ระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหากผลกระทบ
ที่เกิดขึ้นต่อชุมชนท้องถิ่นกลับได้รับ การประเมินต่ำอย่างไม่คำนึงถึงคุณค่า
การทำลายชุมชนท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม คือ การทำลายต้นทุนชีวิตของสังคม
อย่างรู้เท่าไม่ถึงการทั้งที่ชุมชนท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม คือ ฐานต้นทุนชีวิตซึ่งจะนำไปสู่การ
พัฒนาบนแนวทางที่ยั่งยืนในอนาคต
เขื่อน คือ ส่วนหนึ่งของวิธีคิดที่มีแบบมาจากตะวันตกอันเป็น
ความแปลกแยกที่สุดของสังคมไทย กระผมคงพูดไม่ได้ว่าเขื่อนเป็นสิ่งเลวร้ายไปหมด
หากในความหมายที่บอกว่าเขื่อนคือ วิธีการจัดการน้ำและพลังงาน ประเด็นใหญ่
คือ การทบทวนว่า ภายใต้ระบบวัฒนธรรมแบบไทยสังคมไทย จะมีวิธีการจัดการทรัพยากรเหล่านี้อย่างไร |
|
 |
สังคมไทย คือ สังคมของฐานทรัพยากรเขตร้อนโลก นี่คือ ความจริงที่สังคมไทยมองข้าม
นโยบายการพัฒนาโดยรัฐที่ผ่านมาตลอด 5 ทศวรรษมองข้ามความจริงเรื่องนี้ สังคมฐานทรัพยากรเขตร้อน
คือ สังคมซึ่งอยู่ในภูมิภาคของป่าเขตร้อนโลกที่มีพื้นที่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
พื้นที่เหล่านี้เป็นแหล่งของความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เป็นเป้าหมายของการช่วงชิงจากกลุ่มประเทศที่มีขีดความสามารถเชิงเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซึ่งพยายามขยายฐานความคิด
ออกไปสู่ประเทศอื่น ๆ ที่มีทรัพยากรธรรมชาติก่อนเข้าทำการช่วงชิงผ่านระบบสิทธิบัตร
หากสังคมฐานทรัพยากรเขตร้อนกลับไม่ได้หมายเฉพาะสังคมพืชสัตว์หรือจุลินทรีย์เท่านั้นแต่ยังมีสองสิ่งที่ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญ
คือ ชุมชนท้องถิ่นและระบบวัฒนธรรมการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม เรียกว่า ระบบภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นต้นทุนการจัดการฐานทรัพยากรที่สำคัญ
เขื่อน คือ ระบบคิดเก่าที่กำลังส่งผลกระทบสำคัญต่อ
ระบบภูมิปัญญาข้างต้นเป็นอย่างมากซึ่งแท้ที่จริง ระบบภูมิปัญญาข้างต้นจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนา
ให้เติบโตเป็นระบบวัฒนธรรมสาธารณะ การจัดการการพัฒนาที่คำนึงคุณค่า ระหว่างระบบภูมิปัญญาและการอุตสาหกรรมจึงเป็น
เรื่องที่สังคมไทยต้องชัดเจนว่าจะเลือกให้ความสำคัญกับอะไร ? เช่น ระบบเหมืองฝายในภาคเหนือ
ชุมชนท้องถิ่นมีการเรียนรู้เรื่องกระแสน้ำและ วิถีทางของน้ำแต่ระบบเขื่อนกลับเป็นการกีดกั้นและ
กลับทำลายวิถีธรมชาติ |
|
 |
ช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา การเรียนรู้เรื่องแนวทางการพัฒนาที่ลักลั่นระหว่างชีวิตของคนเมืองและชนบท
เป็นความขัดแย้งที่ทำให้วิถีธรรมชาติยุ่งเหยิงและบั่นทอนพลังการพัฒนา เมื่อกาลอนาคต
อาหารและยา จะกลายเป็นประเด็นใหญ่
สังคมไทยกำลังได้รับการรุกรานผ่านระบบสิทธิบัตร สงครามสิทธิถือครองทรัพยากรธรรมชาติผ่านระบบทรัพย์สินทางปัญญาในกระแสทุนนิยมโลก
อย่างไรก็ตาม ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ชุมชนท้องถิ่นมีความตื่นตัวในเรื่องการปฎิรูปการเมือง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นบทสะท้อนถึงความต้องการหลุดออกจากระบบที่เอารัดเอาเปรียบและ
รวมถึงปัญหาการผลาญใช้ทรัพยากรอย่างมุ่งทำลาย กระผมขอย้ำเอาไว้ตรงนี้เลยว่า
เทคโนโลยีไม่ใช่สัญลักษณ์ของการพัฒนาและ ความเจริญแต่เป็นตัวแทนของระบบและลัทธิการปกครอง
|
|
 |
* ถอดความจากปาฐกถาพิเศษเขื่อนกับสิทธิชุมชน โดย ศ.เสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในการสัมมนาเขื่อนกับสิทธิชุมชน วันที่ 27-28 สิงหาคม 2547 ณ สำนักงานคณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ*
|