- เขื่อนคลองกลาย ตัวอย่างจัดการ'ดิน-น้ำ-ป่า'ไม่เป็นธรรม นสพ ไทยโพสท์ 9 พค 47 กองบก.
หยุดเขื่อนคลองกลาย!!! สืบชะตาสายน้ำ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน ์ ทีมงานไทยเอ็นจีโอ
รายงาน 3 พฤษภาคม 2547
http://www.thaingo.org/HeadnewsKan/klongcry30547.htm

โครงการเขื่อนคลองกลาย คือ อ่างเก็บน้ำขนาด 2.4 ล้านลูกบาศก์
ที่คนลุ่มคลองกลายทุกคนทราบดีว่า หากอ่างขนาดน้อง ๆ เขื่อนที่ว่านี้มาถึง
..ชุมชน ลุ่มคลองกลายทั้งลุ่มจะตกอยู่ภายใต้สายน้ำที่เอ่อออกจากพนังกั้น
สวนนาไร่ จะจมอยู่ใต้ผืนน้ำ ผ่านเหตุผลของระบบชลประทานที่ดูเหมือนว่าเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำจะกลายเป็นทางออกเดียว
ที่รัฐสมัยใหม่ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำ ..หากความเป็นจริง คือ
ระบบการผันน้ำยุคใหม่ป้อนนิคมอุตสาหกรรม ตามแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
งานสืบชะตาคลอง กลาย เป็นดั่งการอัญเชิญเรื่องราวครั้งก่อนเก่า
นับตั้งแต่ทวดกลายตั้งชุมชน การรักษ์น้ำเริ่มต้นด้วยสายตาของบรรพบุรุษที่มองเห็นถึงประโยชน์ระยะยาวและความอุดมของโลก
นั่นคือ การรักษาดุลแห่งธรรมชาติเอาไว้ ..ด้วยชุดเหตุผลเดียวกันที่ว่า เขื่อนเก็บน้ำได้เพียงชั่วคราว
หากป่าไม้เก็บน้ำได้ยั่งยืนกว่านั้น ลุ่มคลองกลายแห่งเทือกบรรทัด หรือที่เรียกกันว่า
อ่าวกรุงชิง จุเนื้อที่ในหุบนั้น ราว 227,805 ไร่ ทั้งที่ราบหุบเขาหรือพื้นที่สันดอนเล่าเรื่องราวผ่านฤดูกาลมารุ่นแล้วรุ่นเล่า
กำเนิดแห่งสายน้ำต้นธารที่แตกแยกย่อยตามหุบห้วย เป็นคลองหลายสาย คลองกลาย
คลองผด คลองเศียร คลองปาว คลองหลน และคลองลำแพน ซ้ำยังกระจายแบบรากฝอยจากต้นใหญ่เป็นลำห้วยนานา
จนเป็นที่กล่าวขวัญกันถึงตำนานของคนยุคก่อน หลุมศพและของใช้ที่ค้นพบตามหุบถ้ำ
บ่งบอกความสมบูรณ์ของที่ราบ อ่าวกรุงชิง..
ธนู แนบเนียร บอกผ่านทีมงานไทยเอ็นจีโอ ว่า การประกาศเขตอุทยานทับซ้อนเป็นการละเมิดสิทธิชุมชนดั้งเดิมซึ่งการคิดดำเนินการป่าชุมชน
โดยชุมชนเป็นการพูดคุยที่เกิดมาจากประชาชนแต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากฝ่ายรัฐ
หากผลของการจัดการลุ่มน้ำโดยชุมชนเป็นประจักษ์สำคัญที่สามารถอ้างถึงได้ ฉะนั้น
แนวทางการจัดการเรื่องป่าชุมชน ชาวบ้านควรจะเป็นคนที่จัดการเอง
ลุงกล่อม ปานปลอด ประธานกลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำคลองกลาย นครศรีธรรมราช
จัดตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลรักษาสายน้ำและป่าต้นน้ำตั้งกฏการจัดการป่าโดยชุมชนร่วมกับกลุ่มเด็ก
ๆ และเยาวชนช่วยกันรักษาป่าดินน้ำเอาไว้ ลุงกล่อมเล่าให้ฟังว่า ป่าต้นน้ำคลองกลายสมัยที่ลุงยังเป็นเด็กนั้นในน้ำเต็มไปด้วยปลานานับพันธุ์คนแถบถิ่นนี้ทำมาหากิน
ตลอดลุ่มคลองกลาย ทั้งตกเบ็ด ยกยอ หากินกันไม่หมด อาหารอุดมสมบูรณ์ ลุงเล่าว่า
เมื่อก่อนสมัยปู่ย่าบ้านยกใต้ถุนสูงชาวบ้านผูกหมูเลี้ยงเอาไว้ใต้ถุนวันดีคืนดีจะมีเสือแอบย่องมากัดหมู
ชาวบ้านจะช่วยกันออกมาตีเกราะเคาะทำให้เกิดเสียงดังไล่เสือ แกพูดติดตลกว่า..บางทีมันก็ไม่หนี
มันกัดเอาบ้างก็มี..
คลองกลาย สมัยที่ลุงเป็นเด็กหาดทรายริมคลองสะท้อนแสงจันทร์ขาวโพลน
น้ำลึกขนาดเล่ากันว่าลึกถึงหลังช้าง อย่างต่ำ ๆ นี่ก็ครึ่งเมตรไปแล้ว ออกป่าหรือหาปลาแต่ละครั้งต้องออกกันไปหลายคนไม่งั้น
เสือคาบไปกิน ชาวบ้านเมื่อก่อนนี่ปลูกข้าว 3-5 ไร่ เอาไว้กิน เนื้อสัตว์
พืชผัก อาหารต่าง ๆ มีอยู่ตามธรรมชาติรอบ ๆ เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ส่วนอาหารอื่น
อย่างเช่น เกลือ ต้องไปแลกหามา เดินข้ามภูเขาไปท่าศาลาติดชายทะเล แบกข้าวไปแลกเกลือมา
หรือ เอาพืชผักไปแลกกะปิ แลกเกลือ ต้องนอนค้าง คืนสองคืน เพราะต้องเดินเท้าไป
กระทั่ง สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ลุงกล่อมจำได้ว่าต้องขุดหลุมแล้วตามไต้ลงไปเพื่อหลบระเบิด
เสื้อผ้าก็ไม่มีต้องเอากระสอบข้าวสาร กระสอบป่านมาใช้ และเกิดเชื้อระบาดจากตัวเล็น(รูปร่างคล้ายหมัด)แต่ลุงบอกว่า
สงครามจบ
ตัวเล็น กลับหายตามไปด้วย เหมือนมันมากับสงคราม
ลุงกล่อมบอกว่า ความอุดมสมบูรณ์ของป่า
คือ เครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์อย่างแท้จริง ไม่ใช่ความเจริญทางวัตถุซึ่งดูเหมือนว่าทำให้มนุษย์สบายมากขึ้นแต่ไม่ใช่ความต้องการที่จริงแท้
มนุษย์ต้องการธรรมชาติไม่ใช่เงินทองหรือเครื่องอำนวยความสะดวก
ลุงกล่อมให้ฟังว่าครั้งหนึ่ง แกเคยเอาข้าวไปหุงในเมืองกรุงหอมตรลบไปสามบ้านแปดบ้านจนเพื่อนบ้าน มาถามว่าข้าวอะไรหอมจริง
ๆ แต่แกบอกว่า เดี๋ยวนี้ข้าวพันธุ์ที่เคยใช้สูญพันธุ์ไปแล้ว..นั่นเป็นสมัยหนึ่งของช่วงวัยลุงกล่อมที่แกบอกว่าดีที่สุด
บริเวณพื้นที่นี้เป็นบริเวณที่ตั้งชุมชนเมื่อ 200 ปีที่ผ่านมา แต่ลุงยืนยันว่า
200 ปีเป็นตัวเลขที่ไม่แน่นอน เพราะลำพังรุ่นพ่อแม่ของแกอายุหลักร้อย ส่วนรุ่นปู่ย่าอายุสักร้อยกว่าปี
ถึงรุ่นลุงกล่อมคนที่อายุ 80-90 ปี ยังอยู่ แสดงว่าอายุของชุมชนที่นี่น่าจะมีอายุเกิน
200 ปี
เป็นไปได้มากทีเดียว เพราะยังไม่มีหลักฐานบ่งบอกว่าชุมชนแห่งนี้เริ่มต้นเมื่อไร
นานแค่ไหนหรือใครเป็นคนมาตั้ง ..เราเคยทำนาทำไร่ด้วยแรงคน ยังไม่มีเครื่องจักร
เมื่อมีเครื่องจักรทำนาทำไร่ คนก็แย่งกันปลูกทำโน่นทำนี่คนนึงทำนาทำไร่ได้ถึงปีละ
10-15 ไร่/ครัวเรือน โค่นกันเตียนโล่ง ทุกอย่างทั้งปลาทั้งป่า ..จนต้องตั้งกฏเกณฑ์รักษาปลา
ป่า ดิน น้ำ มาตรการที่ว่า คือ หากใครจับปลาในเขตสงวนจะปรับตัวละ 500..ลุงกล่อมหัวเราะต่อความจำเป็นที่ต้องตั้งกฏเกณฑ์
ทั้งที่เมื่อก่อน ในน้ำเคยมีปลาอุดมและป่าสมบูรณ์ ..ที่วันนี้ ชาวบ้านแถบลุ่มคลองกลายต้องร่วมรักษา
จนวันนี้หน่วยอุทยานเข้ามาตั้งและจำกัดเขต ใช้สอย พืชพรรณธัญญาที่เคยเป็นแหล่งชีวิตของคนลุ่มคลองกลาย..
ลุงกล่อม บอกว่า เรื่องการอนุรักษ์เป็นสิ่งที่ชาวบ้านทำกันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าแล้ว
..อาศัยความเคารพซึ่งกันและกัน เคารพศรัทธาในตัวผู้นำหมู่บ้าน ตัวผู้นำเป็นคนในพื้นที่ที่ชาวบ้านร่วมลงความเห็น
ไม่ใช่ได้รับการแต่งตั้งจากทางการมาเหมือนสมัยนี้ เช่น เรื่องการใช้สอยในป่าประคนที่ตั้งระเบียบลงความเห็นไว้ว่า
ใครที่ตัดต้นประ ทำลายต้นสะตอ ปรับต้นละ 500 บาท เหมือนกัน ห้ามแผ้วทาง ห้ามตัดต้นไม้ทุกประเภท
มีกฏเกณฑ์ร่วมกัน หากใครไม่เชื่อจะมีบทลงโทษและมาตรการเด็ดขาดของชุมชน..ลุงกล่อม
ถอนใจ พร้อมบอกว่าเมื่อความเจริญเข้ามา ความรู้สึกของคนก็เปลี่ยนไปการเชื่อฟังคนเก่าคนแก่ก็ลดลง
แต่ก็ยังมีความหวังว่า ยังมีคนรุ่นใหม่บางกลุ่มที่ยังให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลทรัพยากรชุมชนร่วมกัน
ชาวบ้านคนหนึ่งเล่าว่า
เมื่อก่อนยางกิโลละ 10 บาท เราอยู่ได้
วันนี้ราคายางสูงขึ้นแต่เราก็ต้องทำงานหนักเป็นเท่าตัวด้วย
ผมเคยทำนาทำไร่ตั้งแต่ยังไม่มีรถเรือ
ต่อมา เมื่อเกิดการพัฒนามีไฟฟ้าใช้ มีถนนมีรถการพึ่งพิงธรรมชาติก็ลดลงทุกอย่าง
คนให้ความสำคัญกับธรรมชาติน้อนลง เมื่อก่อน ข้าวปลาไม่ต้องซื้อ ทำไร่ ทำสวน
มาตั้งแต่อดีต แต่มาตอนนี้บางอย่างขาดหาย ..ตอนนี้เราไม่มีแม้แต่ที่ทำนา
ทำสวน เริ่มยากลำบากขึ้น เคยทำไร่ทำนามาเมื่อก่อนไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี แต่ตอนนี้ทุกอย่างต้องซื้อหาและเร่งผลผลิตด้วยการซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้
ชีวิตเเริ่มเปลี่ยนไป
ดิ้นรนและลำบากมากขึ้น เราขาดทุน ผมยืนยันได้ว่า เป็นเพราะเราสูญเสียธรรมชาติ
ยุคสมัยนี้เป็นยุคที่เราจะต้องทำให้หน่วยรัฐราชการมองเห็นได้ว่า ..คนอยู่กับป่าได้..
วิทยา แสงระวี เจ้าหน้าที่ภาคสนามเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำภาคใต้ และหนึ่งในแกนหลักกลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ต้นน้ำคลองกลาย
อันเกิดจากความร่วมมือของ วายที กลุ่มอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒนาและมูลนิธิกองทุนไทย
ซึ่งจะเน้นการทำงานไปที่กลุ่มเยาวชนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนโดยเฉพาะ
ทั้งเขื่อนคลองกลาย เขื่อนลับล่อ เขื่อนลำโดม ปากมูล แก่งเสือเต้น และลุ่มน้ำน่านและผลกระทบจากโครงการผันน้ำ
กกอิงน่าน รวมกันเป็นเครือข่ายเยาวชนลุ่มน้ำ และจุดคลองกลายเป็นหนึ่งในการทำงานหลักนี้
..ช่วงแรกกลุ่มชาวบ้านเค้ามีการรวมตัวกันอยู่แล้วเป็นกลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำคลองกลาย
ลุงกล่อม ประธานกลุ่มเห็นด้วยว่าน่าจะตั้งกลุ่มเยาวชนสำหรับประสานการทำงานร่วม
ความคิดเห็นที่สอดคล้องนี้จึงเกิดกลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำคลองกลาย ตอนนี้รวมเวลาตั้งแต่ก่อตั้งรวมเวลา
4 ปี ทำงานเน้นไปที่การรณรงค์เป็นหลัก ออกไปตามลำน้ำ ทำค่ายเยาวชนเน้นงานด้านอนุรักษ์
มีการเก็บข้อมูลชุมชน และไปหาข้อมูลจากคนเก่าแก่ในท้องถิ่น วิเคราะห์ปัญหาสังคมร่วมกัน
การได้ไปเห็นการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนจะทำให้เยาวชนได้ตระหนัก..
ป่าและสายน้ำ เปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมโทรม ชาวบ้านตลอดลุ่มคลองกลายรวมตัวกัน
สร้างจุดอนุรักษ์ เน้นจุดสำคัญ ๆ ตลอดลำน้ำ โดยการดึงเยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟู
การสืบชะตาคลองกลายเป็นการสร้างการตระหนักถึงการฟื้นฟูลำน้ำ ให้เห็นความสำคัญว่า
เขื่อนไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาทรัพยากร ระหว่างรัฐกับชาวบ้านใครจะเป็น คนรักษาทรัพยากรที่ดีกว่ากัน
เรื่องนี้ต้องร่วมกันเน้นการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน ต้องจัดสรรให้ทรัพยากรเกิดการหมุนเวียนมีเพียงพอสำหรับคนทุกคน
..นั่นเป็นความคิดเห็นเชิงอนุรักษ์ ของ ยา วิทยา แสงระวี หนึ่งในแกนหลักของกลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ต้นน้ำคลองกลาย
ปัญหาเรื่องเขื่อนคลองกลายได้รับการณรงค์เผยแพร่ให้ชาวบ้านละแวกใกล้เคียง
ได้มองเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น จากกลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ต้นน้ำคลองกลาย หากเกิดสถานะการณ์ร้อนแรง
หรือการอพยพคนหน้าเขื่อน หรือแนวทางป้องกันเรื่องความเสี่ยงหากเกิดการพังทลายของเขื่อนหรือหน้าดิน
หรือการหนุนเข้ามาของน้ำทะเลและหากไม่คิดกันให้รอบคอบหรือฟังน้ำเสียงชาวบ้าน..
..เขื่อนคลองกลาย..จะกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ลูกหลานทวดกลายต้องคัดค้าน เป็นความขัดแย้งระหว่างการพัฒนา
ระดับรัฐและระดับชุมชน..ที่สังคมต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่!!! ให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุด |