eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

กุ้งที่ปากมูล: การแหกตาระดับโลกของนักสร้างเขื่อน

เครือข่ายแม่น้ำแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

(Southeast Asia Rivers Network)

ตุลาคม ๒๕๔๒


“ไม่ว่าปริมาณปลาที่ปากมูลจะลดลงหรือไม่ก็ตาม แต่กรมประมงก็ได้เพิ่ม จำนวนปลาในอ่างเก็บน้ำมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ ในอัตรา ๕ ล้านตัวต่อปี ยิ่งไป กว่านั้น กรมประมงยังปล่อยพันธุ์กุ้งปริมาณ ๕ ล้านตัวต่อปีเช่นกัน  ถึงแม้ ว่าการเพิ่มกุ้งเป็นเรื่องยาก แต่กุ้งในอ่างเก็บน้ำก็โตเร็วกว่าปลา  การจับกุ้งจึง เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ที่มากกว่าการจับปลา ประมาณว่ามีชาวบ้าน ๒,๐๐๐ คนที่จับกุ้ง เฉลี่ยมีรายได้ ๔-๘ ดอลลาร์ต่อวัน (๑๔๔–๒๘๘ บาท ที่อัตราแลกเปลี่ยน ๓๖ บาทต่อดอลลาร์-ผู้เขียน) เฉพาะในปี ๒๕๓๘ ได้มี การจับกุ้งรวมกันถึง ๑๘ ตัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ความกระ ตือรือร้นสำหรับโครงการกุ้งได้แพร่กระจายไปทั่ว แม้แต่พวกที่วิพากษ์ วิจารณ์ทุกอย่างเกี่ยวกับเขื่อนแห่งนี้”                                                                    รายงาน OED ข้อ ๕.๑๑ 

                ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ เป็นต้นมา หลังจากที่ชาวบ้านปากมูลได้ต่อสู้ให้สังคมได้เห็นถึงผลกระทบของการ สร้างเขื่อนปากมูล ที่มีต่อพันธุ์  ปลาในแม่น้ำมูล วิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน และระบบเศรษฐกิจแบบการจับ ปลา ดูเหมือนว่าข้ออ้างที่ฝ่ายนักสร้าง เขื่อนจัดทำขึ้นมาเพื่อ แสดงให้เห็นว่า ชาวบ้านปากมูลไม่ได้รับผลกระทบนี้ มีน้ำหนักน้อยลงทุกที  โดยเฉพาะภายหลังจากชาว บ้านปากมูลจับโกหกโฆษณาชวน เชื่อกรณีบันไดปลาโจนที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ว่าจ้างบริษัทเอกชนถ่าย ทำภาพยนตร์โฆษณาชุด ”ปลาร้าบ่เมิ๊ดไห” (ปลาร้าไม่หมดไห) โดยการจับปลาโยนเหนือบันไดปลาโจน จนกระทั่งบริษัทดังกล่าว ถอนตัวออกจากโฆษณา ชุดนี้เพื่อรักษาภาพพจน์ของ บริษัทเอง

อย่างไรก็ตามในปี ๒๕๔๑ นักสร้างเขื่อนก็ตีพิมพ์เอกสารโฆษณาถึงความสำเร็จในการแก้ปัญหาผลกระ ทบต่อชุมชน ประมงที่ ปากมูลภายหลังการสร้างเขื่อนปากมูลขึ้นมาอีกชิ้นหนึ่ง นั่นก็คือ ฝ่าย OED ของธนาคาร โลกองค์กรการเงินระหว่างประ เทศผู้สนับสนุน เงินกู้แก่เขื่อนปากมูล โดย OED ได้กล่าวถึงความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ของการปล่อยกุ้งเพื่อทดแทนการสูญพันธุ์ของ ปลาในแม่น้ำมูล ดังที่กล่าว แล้วในต้นบทความ

บทความนี้  ต้องการที่จะตรวจสอบว่าข้ออ้างเกี่ยวกับกุ้งที่ปากมูลเป็นจริงหรือไม่โดยการเปรียบเทียบข้อ มูลเรื่องกุ้งจากเอกสารที่ อ้างถึงความสำเร็จเกี่ยวกับกุ้งทั้งของ OED กับรายงานอื่น ๆ ที่ถูกจัดทำขึ้นเกี่ยวกับเรื่อง กุ้งที่ปากมูล ได้แก่ รายงานที่ชื่อว่า งานติดตามการ เปลี่ยนแปลงผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐกิจและสังคม ของประชากรที่ได้รับผลกระทบด้านที่อยู่อาศัยโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๔๐  รายงานเรื่อง สรุปปริมาณและมูลค่า กุ้งก้าม กรามที่จับได้ในท้องที่อำเภอโขงเจียม  และในเขตแม่น้ำมูลจังหวัดอุบลราชธานี และการสัมภาษณ์ชาวประมง ที่ปากมูล เจ้าของ ร้านอาหารและแม่ค้าที่รับซื้อกุ้งที่อำเภอพิบูลมังสาหาร  (ข้อมูลการสัมภาษณ์เจ้าของร้านอาหาร และแม่ค้ากุ้งได้มาจากการสัมภาษณ์ของ เจ้าหน้าที่ Mekong Watch หน่วยงานเอกชนจากประเทศญี่ปุ่น ระหว่าง วันที่ ๓๐ กันยายน-๕ ตุลาคม ๒๕๔๒)

การตรวจสอบพบว่า รายงานของ OED นั้น เป็นรายงานที่จัดทำภายใต้การนำของ ศจ.ศุภชัย  ซื่อตรง  ขณะที่รายงานของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็ปรากฏชัดว่า จัดทำโดย ศจ.ศุภชัย  ซื่อตรง เช่นกัน รายงานทั้งสองนั้นสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกเนื่องจาก รายงานของธนาคารโลกได้แปลจากรายงานดังกล่าวและใส่ข้อความเพิ่มเติมลงไป

ในหัวข้อเรื่องกุ้ง รายงานทั้งสองดูเหมือนว่าได้ทำให้ภาพของความสำเร็จเรื่องกุ้งที่เขื่อนปากมูลเป็นเรื่อง ที่ยิ่งใหญ่เสมือนหนึ่งว่า ชาวปากมูลจับกุ้งกันอย่างสนุกสนาน  ดังที่ปรากฏในรายงานข้อ ๕.๑๑ ของ OED ดังได้ กล่าวมาแล้วข้างต้น ขณะที่รายงานของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็ระบุว่า “ถึงแม้ปริมาณปลาที่จับได้ น้อยลง แต่ในปี ๒๕๓๙ ราษฎรสามารถจับกุ้งก้ามกรามได้มากขึ้น คือจะจับกุ้ง ก้ามกรามได้โดยเฉลี่ย ๗๔.๐๗ กิโลกรัมต่อครัวเรือนที่มีการจับกุ้งต่อปี และ ๒๙.๘๑ กิโลกรัมต่อครัวเรือนทั้งหมด  จากในปี ๒๕๓๗ ซึ่งไม่มี การจับกุ้งก้ามกรามเลย”(รายงานหน้า ๓๓–๓๔ และหน้า ๘๗ ข้อ ๑๓)

อย่างไรก็ตาม รายงานทั้งของธนาคารโลกและของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็มีข้อขัดแย้งกัน เอง เนื่องจากรายงานของ OED มีการกล่าวถึงคนที่ได้ประโยชน์จากการจับกุ้งและรายได้จากการจับกุ้งเกินจริง  เนื่องจากรายงานของ OED ระบุว่า “ประมาณว่ามีชาวบ้าน ๒,๐๐๐ คนที่จับกุ้ง” ขณะที่รายงานของการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทยระบุไว้ในตารางเปรียบเทียบรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของ ประชากรที่ได้รับผลกระทบด้านที่อยู่อาศัยจำนวน ๒๐๐ ตัวอย่าง  มีการระบุว่ามีรายได้จากการจับกุ้งเพียง ๒๙ ตัวอย่างเท่านั้น(มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, ๒๕๔๐: ภาคผนวกที่ ๕)  คำถามในเบื้องต้นก็คือ OED เอาตัวเลขผู้จับกุ้งจำนวน ๒,๐๐๐ คนมาจากไหน?

ยิ่งถ้าหากเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างรายงานของธนาคารโลกกับรายงานของกรมประมงซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องกุ้งที่ปาก มูลโดยตรง ก็จะพบความไม่ชอบมาพากลในรายงานของธนาคาร ดังเช่น รายได้จาก การจับกุ้ง หากสมมติว่าเรายอมรับว่าตัวเลข ๒,๐๐๐ คนเป็นเรื่องจริง และข้อมูลของกรมประมง ถูกต้อง ข้อมูลที่ ธนาคารโลกอ้างว่า ชาวบ้านมีรายได้จากการจับกุ้งที่กรมประมงปล่อยลงไปเฉลี่ย ๔-๘ ดอลลาร์ต่อวัน จะกลาย เป็นว่าเป็นเรื่องที่ธนาคารยกเมฆขึ้นมาทันที ทั้งนี้ก็เพราะว่ารายงานของสถานีประมงของกรมประมงที่เขื่อน ปากมูลระบุว่า ช่วง ๓ ปี นับแต่ปี ๒๕๓๙ ถึงปี ๒๕๔๑ มูลค่ากุ้งที่จับได้ที่ปากมูล(ท้องที่อำเภอโขงเจียมและใน เขตแม่น้ำมูล) รวมกันแต่ละปี เท่ากับ ๒,๙๘๘,๖๑๔ บาท, ๒,๙๔๗,๕๓๑ บาท และ ๓,๖๓๙,๕๗๖ บาท ตามลำดับ (กรมประมง, สรุปปริมาณและมูลค่ากุ้งก้ามกรามที่จับ ได้ท้องที่อำเภอโขงเจียม  และในเขตแม่น้ำมูล  จังหวัดอุบล ราชธานี, เอกสารอัดสำเนา, ไม่ระบุวันที่) นั่นหมายความว่าชาวบ้านที่จับ กุ้งได้มีรายได้เฉลี่ยแค่วันละ ๔ บาทกว่า ๆ และไม่ถึง ๕ บาท(หรือ ๐.๑๑-๐.๑๓ ดอลลาร์)เท่านั้น  ไม่ใช่ ๔-๘ ดอลลาร์ดังที่ธนาคารโลกอ้าง

เป็นที่น่าสังเกตว่า ฐานที่มาของตัวเลข ๔-๘ ดอลลาร์นั้น น่าจะเป็นข้อมูลที่อ้างจากรายงานของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศ เนื่องจากรายงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยระบุว่า นายอัมพร  บุญช่วยเหลือ มีรายได้จากการจับกุ้งถึง ๘๑,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็น รายได้จากการจับกุ้งสูงสุด(ดูภาคผนวกที่ ๕ ตารางที่ ๑) นาย อัมพรนั้นแท้จริงแล้วคือผู้ใหญ่บ้านที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหนุน หลังให้คัดค้านการรวมกลุ่มของ ชาวบ้านปากมูล  ชาวบ้านปากมูลยังระบุว่า ในช่วงของการสำรวจข้อมูลของคณะสำรวจจากมหาวิทยาลัยขอน แก่น  นายอัมพรได้กว้านซื้อกุ้งที่มีทั้งหมดในพื้นที่เพื่อนำมาอ้างว่าตนประสบกับความสำเร็จในการจับกุ้ง การ กระทำเช่นนี้ยังเกิดขึ้นทุกครั้ง เมื่อมีการนำสื่อมวลชนลงพื้นที่เพื่อโฆษณาเรื่องกุ้ง 

ในจำนวนตัวอย่าง ๒๙ ตัวอย่างที่คณะสำรวจจากมหาวิทยลัยขอนแก่นระบุว่ามีรายได้จากการจับกุ้งนั้น ชาวบ้านได้โต้แย้งขึ้นมาทัน ทีว่า เป็นไปไม่ได้ที่ตนจะมีรายได้จากการจับกุ้งเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ บาท เพราะตน แทบจะจับกุ้งไม่ได้เลย (ตัวอย่างเช่น นายสุพันธ์  หวังผล เป็นต้น) และพวกเขาโกรธมากที่คณะสำรวจจากมหา วิทยาลัยขอนแก่นบิดเบือนข้อมูล  อีกทั้งยังขอท้าให้ธนาคารโลกส่งคนมาดูว่าชาวบ้าน ที่ปากมูลจับกุ้งได้จริงอย่าง ที่นักวิจัยอ้างหรือไม่

สำหรับชาวบ้านแล้ว การจับกุ้งที่ปากมูลนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายหรือสนุกสนาน  ชาวบ้านบอกว่า  ถ้าใช้วิธีดำ น้ำก็อาจจะได้กุ้ง  แต่ชาว บ้านที่มีเครื่องดำน้ำนั้นมีไม่กี่ราย  เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องดำน้ำต้องลงทุนสูง เฉพาะ เครื่องดำน้ำแบบมีหน้ากาก ราคาก็ตกประมาณ ๘,๐๐๐ บาท หากรวมเรือและเครื่องปั้มป์ออกซิเจนแล้วเงินลงทุน ในการจับกุ้งจะสูงถึง ๑๐,๐๐๐–๓๐,๐๐๐ บาท  การสุ่มตัวอย่าง ๑๗ หมู่บ้านพบ ว่ามีคนที่มีเครื่องมือประเภทนี้ เพียง ๖๒ รายเท่านั้น 

ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้ตาข่ายและเบ็ดราวในการตกกุ้ง แต่ก็ยากที่จะได้กุ้ง ดังเช่น นายสุนทร หอมศิลป์ อายุ 52 ปี บ้านค้อใต้ ต.โพธิ์ศรี อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ ที่เคยจับกุ้งได้เพียง ๓ ตัวจากเบ็ดและตาข่าย  นับตั้งแต่ กรมประมงปล่อยกุ้งจนกระทั่งปัจจุบัน ขณะที่นางสัมฤทธิ์ เวียงจันทร์ อายุ 39 ปี บ้านหัวเห่ว ต.โขงเจียม อ.โขง เจียม จ.อุบลฯ จับกุ้งได้แค่ ๒๐๐ กรัม ขายได้ ๘๐ บาทนับแต่ที่กรมประมงปล่อยกุ้ง

ขณะที่ชาวบ้านปากมูลส่วนใหญ่ไม่เคยจับกุ้งได้เลย ดังเช่น นายคำดี พ้นภัย อายุ 63  ปี บ้านสะพือใต้  ต.โพธิ์ศรี อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ ไม่เคยจับกุ้งได้เลย เช่นเดียวกับนายอู่ทอง ทองอาจ อายุ 54 ปี จากบ้านปาก โดม ที่ไม่เคยจับกุ้งได้เลย

สำหรับที่ธนาคารโลกอ้างว่า “เฉพาะในปี ๒๕๓๘ ได้มีการจับกุ้งรวมกันถึง ๑๘ ตัน” นั้น ก็เป็นตัวเลข ที่น่าสงสัยถึงที่มา  เนื่อง จากในปี ๒๕๓๘ ที่เป็นปีแรกที่กรมประมงปล่อยกุ้งนั้น แม้แต่กรมประมงเองก็ไม่มีสถิติ ปริมาณกุ้งในปีดังกล่าว  โดยกรมประมงเริ่มมี ข้อมูลตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ เป็นต้นมา

กระนั้นก็ตามหากเราเปรียบเทียบกับสถิติของกรมประมงในปีที่มีสถิติก็จะพบว่า ปริมาณกุ้งที่จับได้ใน แต่ละปีนั้นถึงอย่างไรก็ไม่ถึง ๑๘ ตัน โดยสถิติที่มีการจับกุ้งได้สูงสุดที่กรมประมงมีก็คือปี ๒๕๓๙ ที่มีการจับกุ้ง ได้เท่ากับ ๑๒.๖๘๙ ตันเท่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้นสถิติปริมาณกุ้งที่กรมประมงบันทึกไว้กลับลดลงทุกปี กล่าวคือ ในปี ๒๕๔๐ ปริมาณกุ้งที่ จับได้เท่ากับ ๑๑,๖๗๙ กิโลกรัม ในปี ๒๕๔๑ ปริมาณกุ้งที่จับได้เท่ากับ ๑๐,๖๕๖.๙ กิโลกรัม  สถิติปริมาณกุ้งที่ ลดลงนี้  เท่ากับยืนยันว่าคำกล่าวของธนาคารโลก ที่ว่า “คาดว่า(ปริมาณกุ้งที่จับได้)จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” นั้น เป็นการคาดการณ์ที่ตรงข้ามกับความเป็นจริง 

นอกจากนั้น สถิติปริมาณกุ้งและมูลค่ากุ้งที่ปากมูลของกรมประมงเอง ก็ยังถูกตั้งคำถามจากชาวบ้านและ พ่อค้ากุ้งว่าน่าจะเป็นตัวเลข ที่เกินจริง

เจ้าของร้าน จ.เจริญ ที่ตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร ระบุว่าในปี ๒๕๓๙ เคยซื้อกุ้งได้เยอะมาก บางวันมากถึง วันละกว่า ๑๐๐ กว่า กิโลกรัม ปีต่อมาก็ลดลงเรื่อย ๆ โดยในปี ๒๕๔๐ ซื้อกุ้งได้เพียงวันละ ๑๐–๒๐ กิโลกรัม และ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ได้กุ้งน้อยมาก  ในช่วงการ สัมภาษณ์เขาบอกว่าได้กุ้งเพียง ๒ ตัวในช่วง ๕ วันที่ผ่านมา(วันที่ ๑-๕ ตุลาคม ๒๕๔๒)

ส่วนชาวบ้านที่รับซื้อกุ้งที่บ้านตุงลุงเคยรับซื้อกุ้งและมีพ่อค้าทั้งจากกรุงเทพ ฯ และสุพรรณบุรีมารับซื้อ  โดยในปี ๒๕๓๙ เคยรับซื้อ กุ้งกิโลกรัมละ ๑๐๐ ขายให้พ่อค้าจากกรุงเทพ ฯ กิโลกรัมละ ๑๕๐ บาท  แต่กุ้งก็ลดลง เรื่อย ๆ จนแทบจะไม่มีกุ้งมาขาย  ตั้งแต่วันที่ ๑-๕ ตุลาคม ๒๕๔๒ เขาเองยังไม่สามารถซื้อกุ้งได้แม้แต่ตัวเดียว 

แม้ว่าชาวบ้านและแม่ค้ากุ้งที่กรมประมงรวบรวมเป็นสถิติกุ้งที่จับได้ที่ปากมูล(โดยการแจกแบบบันทึกให้กรอกข้อมูล) จะยืนยันว่า ไม่มีกุ้งที่ปากมูลแล้ว แต่กรมประมงก็มีสถิติว่า ยังมีการจับกุ้งได้ที่ปากมูลมาโดยตลอด  นอกจากนั้นกรมประมงยังระบุว่า ได้ปล่อยกุ้งที่ปากมูล มาโดยตลอดโดยในปี ๒๕๔๒ ได้ปล่อยพันธุ์ปลาและ ปล่อยกุ้งก้ามกรามถึง ๑๒ ครั้ง รวม ๒,๕๗๐,๕๐๐ ตัว

คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วกุ้งที่ปากมูลหายไปไหน?

ประการแรก ถ้าหากใช้ฐานข้อมูลของชาวนากุ้งที่ทำฟาร์มกุ้งแล้ว การปล่อยลูกกุ้งลงนากุ้งมีเปอร์เซ็นต์ รอดแค่ ๒๐ %  แต่นี่คือสถิติ ของกุ้งในฟาร์มที่มีระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเพิ่มออกซิเจนในน้ำ อาหารกุ้ง และยาปฏิชีวนะ คอยช่วยให้กุ้งรอดชีวิตหลังจากปล่อยลง ไป ดังนั้นยิ่งปล่อยกุ้งลงอ่างเก็บน้ำของเขื่อนที่สภาพ แวดล้อมไม่เอื้อต่อการรอดชีวิตของกุ้งเช่นฟาร์มกุ้งแล้ว โอกาสที่กุ้งจะรอดก็ยิ่งมี เปอร์เซ็นต์น้อยลงยิ่งขึ้น

ประการที่สอง ในช่วงปี ๒๕๓๘ ซึ่งเป็นช่วงแรก ๆ ของการเก็บกักน้ำและเป็นปีแรกที่มีการปล่อยกุ้ง ชาวบ้านปากมูลได้ระบุว่า สามารถจับกุ้งได้จริง (แต่ไม่ได้มากมายอย่างที่ธนาคารโลกอ้าง) เป็นไปได้ว่ากุ้งที่กรม ประมงปล่อยตั้งแต่เหนือเขื่อนจนถึงบ้านตุงลุงเป็น ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่มีพื้นที่ลุ่มน้ำ ท่วมคึง(บุ่ง) ซึ่งมีไม้พุ่มเป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การหลบซ่อนตัวของกุ้ง ก้ามกราม  และเป็นบริเวณที่มีหอยขม และหอยเปลือกอ่อนซึ่งเป็นอาหารธรรมชาติอย่างดีของกุ้งก้ามกราม  ดังที่กรมประมงอ้างในบันทึก ข้อความเรื่อง ผลผลิตและการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามกรามในอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากมูล

แต่ในปีต่อ ๆ มา สภาพแวดล้อมของอ่างเก็บน้ำได้เลวร้ายลงสำหรับกุ้งก้ามกราม ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพน้ำ ในอ่างเก็บน้ำ การที่ไม้พุ่ม ยืนต้นตายและเน่าเปื่อย และการลดลงของอาหารธรรมชาติของกุ้งก้ามกราม  จนกระ ทั่งกุ้งก้ามกรามที่ปล่อยลงไปไม่สามารถมีชีวิตรอดหรือ เจริญเติบโตได้

            การปล่อยกุ้งก้ามกรามลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากมูลของกรมประมงจึงเท่ากับเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ 

                    คุณูปการเพียงประการเดียวของกุ้งก้ามกรามที่ปากมูลก็คือ มันได้กลายมาเป็นเครื่องมือให้นักสร้างเขื่อนโฆษณาชวนเชื่อ  ดังเช่น ที่เคยเกิดมาแล้วกับบันไดปลาโจน

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา