eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

เขื่อนกับการพัฒนา: การตัดสินใจบนฐานองค์ความรู้ใหม่
วันที่ 25-26 สิงหาคม 2544
ณ ศูนย์สารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

******************************

๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๔

เช้า

บ่าย

เช้า

ดร.อัมมาร สยามวาลา ปาฐกถา “เขื่อนกับการพัฒนา”

คำว่าการพัฒนาเป็นคำที่เวลาคนไทยสองคนพูดกันแล้ว ไม่ค่อยสื่อ แต่ละคนมีนิยามของตัวเอง ต่าง ๆ นานา ผมตั้งคำถามว่าเขื่อนมีประโยชน์สุทธิกับสังคมหรือไม่ ไม่ได้หมายถึงประโยชน์ด้านเศรษฐกิจวัตถุอย่างเดียว แต่มีการชั่งน้ำหนักต่างๆ นานา โดยหักลบผลเสียต่าง ๆ แล้ว คงตอบสั้น ๆ ได้ยาก อีกประเด็นที่สำคัญมากกว่า คือ เราจะทราบได้อย่างไรว่าเขื่อนมีประโยชน์สุทธิต่อสังคมหรือไม่ สังคมมีกระบวนการอะไรที่จะตอบคำถามนี้ทุกท่านคงวิตกกังวลว่าโทษของเขื่อนมีอะไรบ้าง พี่เรามาพูดจากันเพื่อจะได้ชั่งน้ำหนักอย่างเต็มที และเข้าใจฝ่ายเสนอว่าเสนออะไร ถ้าเขื่อนทำลายชีวิตชาวบ้าน สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตปลา แล้วทำไมจึงสร้างเขื่อน

ผมขอพูดถึงความจำเป็นของเขื่อนในประเทศไทย และสมมติฐานที่มี ถ้าจะพูดเรื่องโทษคงไม่ต้องใช้เวลามาก เพราะท่านที่มาวันนี้รู้ดีอยู่แล้ว ผมขอพูดเรื่องประโยชน์เพื่อจะได้เข้าใจบริบททั้งหมด ทุกวันนี้ความจำเป็นและทำเลที่จะสร้างเขื่อนไม่มีแล้ว เขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนที่สร้างไปแล้ว ถ้าทุบทิ้งจะไม่เสียหายเลย เพราะการที่มีอยู่สร้างผลเสียหายมากกว่าการทำลายถ้าเรามองเขื่อน ต้องพูดถึงน้ำ และกระบวนการใช้น้ำในประเทศไทย และพูดถึงเกษตรกรรม น้ำที่ใช้ในประเทศ แปดสิบถึงเก้าสิบเปอร์เซนต์ใช้ในการเกษตรเป็นหลัก ประเทศไทยเป็นประเทศเขตมรสุม มีฝนตกอยู่ห้าเดือน แล้งเจ็ดเดือน ถ้าเราสามารถออมน้ำที่ตกห้าเดือนเก็บไว้ใช้ในเจ็ดเดือนที่แล้ง น่าจะมีประโยชน์ ปัญหาคือเขื่อนเป็นคำตอบเดียวของการออมน้ำหรือไม่ เขื่อนที่ผมพูดถึงเป็นประเภทเดียวเท่านั้นคือเขื่อนกักเก็บน้ำ แต่ยังมีเขื่อนทดน้ำอย่างที่ชัยนาถ ซึ่งเป็นอีกประเภทหนึ่ง การออมน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง น่าจะเป็นประโยชน์ ถ้าเราคิดว่าการทำนาปรังในฤดูแล้งน่าจะทำ เพราะเสริมสร้างอาชีพของคนไทย ก็น่าจะทำ แต่นี่ไม่ได้บังคับว่าจะต้องมี คนไทยมีชีวิตอยู่กับการทำนาหกเดือนแล้วปล่อยที่นาทิ้งไว้ในฤดูแล้งมาช้านานแล้ว เรามีฤดูแล้งไว้ประกอบกิจกรรมด้านอื่น ๆ หรือแม้แต่การทำสงครามสมัยกรุงศรีอยุธยา ผมว่าวิถีชีวิตเดิม ๆ คงไม่กลับมาแล้ว เรามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากที่ทางของเรา ทำให้ผมคิดว่าอาจมีความจำเป็นต้องทำการเกษตรคอนกรีต มีคนพูดว่าป่าทำหน้าที่ออมน้ำไว้ ดูเหตุการณ์ที่เพชรบูรณ์ว่าไม่มีป่าการออมน้ำก็หมดไป แต่การออมน้ำของป่านั้นมีระยะเวลานับเป็นวันคือสัปดาห์ แต่ไม่ได้ออมเป็นเดือน การไม่มีป่าทำให้น้ำท่วมเฉียบพลันได้ แต่มีป่าทำให้การปล่อยน้ำกระจายต่อไปนับเป็นสัปดาห์ หรือวัน แต่ไม่สามารถรักษาน้ำไว้สำหรับฤดูแล้งได้เพราะต้องเก็บเป็นเดือน แต่เขื่อนที่เก็บน้ำก็มีขีดจำกัดของมัน การอ้างว่ามีเขื่อนขนาดยักษ์ ป้องกันน้ำท่วมได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่มากนัก แต่ประโยชน์ของเขื่อนขนาดยักษ์คือเอื้อให้มีการเกษตรทั้งปีได้ ผลพลอยได้คือไฟฟ้า แต่บางคนพูดว่าเกษตรกรถูกใช้เป็นข้ออ้าง คนไทยชอบอ้างว่าทำเพื่อเกษตรกร ถ้านับเป็นเม็ดเงินแล้ว ไฟฟ้าค่อนข้างมีบทบาทสำคัญ ถ้าเป็นสมัยก่อน ไฟฟ้าเป็นเหตุที่เพียงพอในการผลักดันการสร้างเขื่อน ใครสร้างเขื่อนก็ได้ แต่คนที่ถือคันโยกเปิด ปิดน้ำมักเป็นกฟผ. กฟผ.มักอ้างว่าแม้จะถือคันโยกแต่ก็ฟังกรมชลอย่างเคร่งครัด แต่ตอนที่มีวิกฤติน้ำมัน กฟผ.ก็ไม่ฟังเหมือนกัน จะรีบผลิตไฟฟ้าโดยไม่สนใจเกษตรกรบางครั้งเราอาจลืมประโยชน์ของเขื่อน เราอาจฝากความหวังในการรักษาน้ำไว้ที่ป่าเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้สนับสนุนให้ทำลายป่า เพราะป่ายังมีประโยชน์อีกหลายด้านโทษของเขื่อน ด้านแรกคือต้นทุน การสร้างเขื่อนไม่ใช่ของถูก จับต้องได้ คำนวณได้ แต่ยังมีโทษอีกมากมายที่เราจะเอามาหักลบกับประโยชน์ เช่นเรื่องดินตะกอน ทางด้านชีวภาพมีด้านลบสองสามประการ อันแรกมันสร้างชีวภาพใหม่ ๆ เป็นเชื้อโรคที่ไม่ดีกับสังคมของมนุษย์ อีกอันลดความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาติ เป็นประเด็นที่เถียงกันกรณีแก่งเสือเต้น

การสร้างเขื่อนทำลายป่ากลายเป็นประโยชน์ตามวิถีคำนวณบ้างวิธี เพราะสามารถเอาไม้ไปขายได้เงินจำนวนมาก อีกเรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่ คือการทำลายสังคม ทำลายชุมชน ทั้งนี้เพราะการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ขนาดปากมูลที่ไม่ค่อยใหญ่เท่าไรยังเกิดปัญหามากมาย มันเป็นการยื้อกับธรรมชาติที่รุนแรง ซึ่งจะทำให้ธรรมชาติมาทวง ตอนที่ทั่วโลกสร้างเขื่อนจำนวนมาก เราได้ข้อมูลว่าธรรมชาติถูกเขื่อนทำลายไปอย่างไรคำถามหลักข้อที่สอง ก่อนที่เราจะตัดสินใจสร้างเขื่อน เพราะบอกว่ามีประโยชน์ต่อสังคม แต่เราจะรู้ได้อย่างไร วิศวกร นักเศรษฐศาสตร์ ฯลฯ จำพวกหนึ่ง บอกว่าเขื่อนดี แต่มีอีกฝ่ายบอกว่าไม่ได้ เราจะมีกระบวนการตัดสินใจทั้งของสังคม และของรัฐอย่างไรความรู้มีศาสตร์และมีผู้รู้ในศาสตร์ต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง ศาสตร์ให้ความรู้ในระดับของศาสตร์ แต่แต่ละเขื่อนก็มีความจำเพาะของมันเอง ที่ผ่านมาระบบและขั้นตอนมีปัญหามาตลอด เช่น ถ้ากทม.จะสร้างทางด่วนผ่านบ้านผม ผมโกรธ เพราะบ้านของผมก็มีประวัติศาสตร์ของมันเอง ผมจะค้าน เช่นเดียวกับที่ชุมชนต่าง ๆ ค้านการทำลายมาโดยตลอด ถ้าเขื่อนมีประโยชน์จริง ๆ เขาก็ควรได้รับการชดเชย ถ้าถามว่าผมจะเอาเงินชดเชยเท่าไรสำหรับบ้านผม ตอบไม่ได้ ตัวบ้านอาจคิดเป็นเงินได้ แต่ประวัติศาสตร์ที่สูญเสียไปประเมินอย่างไร จะคิดเป็นเงินกี่บาทเขื่อนถ้ามันไม่มีประโยชน์ แต่มีแต่โทษ ก็คงไม่ต้องเถียงกัน เวลานี้การศึกษาของภาครัฐ ซึ่งมองเรื่องต้นทุนที่ตีเป็นเงินได้ ก็ดำเนินการด้วยการว่าจ้างของผู้ที่อยากสร้างเขื่อน ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นลูกจ้าง ที่ต้องตอบสนองความต้องการของผู้ว่าจ้าง เพื่อให้ได้งานต่อไป

ผมว่าการจ้างนั้นต้องเป็นไปภายใต้กลไกที่แยกแหล่งที่มาของเงินและผลประโยชน์ของแหล่งที่มาของเงินจากผลการวิเคราะห์ อีไอเอ ก็เช่นเดียวกัน ผู้ว่าจ้างเป็นคนตัดสินใจจ้างบริษัทไปศึกษา ผลการศึกษาก็ต้องเอาใจผู้จ้าง เขื่อนปากมูลนั้นถ้าวิเคราะห์แล้วไม่ต้องสร้าง แค่ผลิตไฟฟ้าก็ไม่คุ้มแล้ว และโครงการนี้ผลิตไฟฟ้าเกือบร้อยเปอร์เซนต์ เพราะเป็นการผลิตไฟฟ้าในช่วงพีคดีมานต์ มันควรมีกำลังการผลิตที่สม่ำเสมอ แต่ปริมาณน้ำที่ผ่านแม่น้ำมูลนั้นไม่สม่ำเสมอ มันผิดพลาดตั้งแต่เบื้องต้น แต่กระบวนการผ่านสภาพัฒน์ ธนาคารโลก ทุกคนพากันให้เงิน แต่เฉพาะในแง่เศรษฐกิจก็ไม่ควรจะผ่าน แต่มันผ่านไปหมด เรื่องนี้ต้องมีการทบทวน เรียนบทเรียน ชาวปากมูลเป็นหนูตะเภา เป็นบทเรียนของเรา ผมเห็นอยู่สามโครงการที่ติดตาม ไม่ผ่านผลประเมินทางเศรษฐกิจ หนึ่ง โครงการสร้างถนนที่บ้านครัว ไม่ได้ผลทางด้านการจราจรที่คุ้มค่า ชาวบ้านครัวบอกเราตั้งแต่ต้น แต่เราก็ไม่เชื่อ สอง โครงการปากมูล และโครงการแก่งเสือเต้น ผลประโยชน์พอมีบ้างแต่ต้องออกแรงนิดหน่อยเพื่อพิสูจน์ว่ามันมีประโดยชน์ แต่ก็ออกมาว่าไม่ค่อยคุ้ม ถ้าประเมินราคาป่าที่ถูกทำลายให้ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่มีค่าแค่ไม้หนึ่งกองรู้ได้อย่างไร จะกรอกความรู้ทั้งหมดเข้าไปในศีรษะของรัฐ หรือคนในรัฐได้อย่างไร เพื่อไม่ให้มีการทุบทำลายชาวบ้าน โดยไร้ประโยชน์

เขื่อน:เศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา

ดร.สุธาวัลย์งานที่จะนำเสนอเป็นเรื่องป่าที่อยู่บริเวณแม่ยมที่จะสูญเสียไปถ้ามีการสร้างเขื่อน จะกล่าวถึงภาพรวมในเครื่องมือ ที่นำมาประเมินค่า .....ดร.เรณูจบ ป.เอก มาโดยตรงเกี่ยวกับการประเมินค่าด้วยวิธีนี้ที่มาของโครงการ คือในอดีตเรามีการสร้างเขื่อนกันมาก เราเคยมองว่าเขื่อนจะช่วยให้ประเทศเจริญ ในอดีตทรัพยากรมีมากอยู่ ปัจจุบันป่าไม้ลด การจะเกิดโครงการใหม่ ๆ ต้องชั่งน้ำหนัก ดูผลประโยชน์ที่สังคมได้รับ หักต้นทุนที่เกิดขึ้น ว่าคุ้มที่จะสร้างโครงการหรือไม่ เมื่อก่อนคิดผลประโยชน์ชัดเจนแต่ด้านต้นทุนคิดจากค่าก่อสร้างอย่างเดียว ปัจจุบันวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนามากขึ้น เราต้องคำนึงถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถประเมินออกมาเป็นตัวเงินได้ โดยพยายามจะประเมินให้ครบถ้วนมากขึ้น กรณีแก่งเสือเต้น อ.วิสุทธิ์ ใบไม้เคยสนับสนุนเงินให้ประเมินมูลค่าของป่า มีนักเศรษฐศาสตร์จากอเมริการมาช่วยสำรวจ ผลการศึกษาสมบูรณ์แล้ว มีรายงานอยู่ในห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ส่วนการใช้ประโยชน์ แบ่งเป็นการใช้โดยตรงกับทางอ้อมทางตรง มีการเก็บของป่า เห็ด หน่อไม้ ชีวิตพึ่งพิงอยู่กับป่า สินค้าบ้างอย่างอาจไม่ได้เอามาขายโดยตรง แต่บริโภค ประเมินเป็นมูลค่าถึงสี่สิบห้าล้านบาทต่อปี คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันถึงเจ็บสิบหก ถึง ร้อยยี่สิบล้านบาทต่อปีมูลค่าทางอ้อม เป็นแหล่งพันธุกรรมไม้สักที่มีความสมบูรณ์ที่สุด เราอาจพบพันุ์สักที่มีค่าได้ในอนาคต เราดูแคบมาก มีข้อมูลจำกัด การศึกษาดูเชิงพาณิชย์ ดูในแง่ป่าเป็นแหล่งซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งเป็นมูลค่าที่มีการใช้ ยังมีมูลค่าที่ไม่มีการใช้เช่น การเป็นมรดกโลก ได้มูลค่าออกมา.... งานวิจัยนี้พยายามส่งต่อให้ผู้ตัดสินใจทางเทคนิคเอาไปพิจารณา กระบวนการศึกษาแม้จะเป็นทางเทคนิค แต่อยากให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีการเก็บข้อมูลภาคสนาม รู้อะไรเยอะกว่าตัวเลข

ประชาชนมีความรู้ในการเก็บหาของป่ามาก การศึกษาที่จะได้คำตอบไม่ควรเกิดจากนักวิชาการคิดอย่างเดียว อย่างการศึกษาระบาดวิทยาในสหรัฐ มีโรคบางอย่างที่เกิดจากสารพิษ ชาวบ้านพยายามจะบอกข้อมูล โดยมีผู้เชี่ยวชาญสนับสนุน จนกระทั่งศาสลยอมรับฟ้อง อยากให้กระบวนการอย่างนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยอ.เรณู งานเสร็จไปแล้วตั้งแต่ปี ๔๒ และพยายามเผยแพร่ เพราะเป็นความรู้ใหม่จริง ๆมูลค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่คุณค่ายังคงอยู่ เพราะมีผลทางด้านจิตใจ เราไม่ได้ประเมินหามูลค่าทั้งป่าสัก เราเอาเฉพาะส่วนที่จะสร้างแก่งเขื่อนเต้นเท่านั้น มันมีขนาดอยู่ ขนาดเล็ก ๆ ยังให้มูลค่ามากถึง...ล้าน นอกนากนี้ยังมีมูลค่าที่คนไทยอื่น ๆ อยากจะเก็บป่าไว้ให้เมืองไทยมีผืนสักป่าธรรมชาติที่แท้จริงเลือก ๕ ภาค ไม่เอากทม.เพราะมีคนหลากหลายจะสับสน เอารายได้ประชาชาติของจังหวัด เอาตัวแทนของจังหวัดที่ยากจนและร่ำรวยที่สุดมา เราไม่ให้คนที่เคยไปที่นั่นแล้วตอบคำถาม เลือกคนเก้าร้อยสิบเก้าคนจากสิบสองจังหวัด มีขั้นตอน ๑๒ ขั้นตอน๑... มูลค่าที่ไม่ได้เกิดจากการใช้ประโยชน์ ในบริเวณที่จะสร้างเขื่อน๒. กำหนดขนาดประชากร ถามเฉพาะประเทศไทย๓.จัดทำกลุ่มศึกษา๔.สร้างแบบจำลอง ปรับจากที่เรียนมา๕.ทำพรีเทส แบบสอบถาม สมมติเหตุการณ์แล้วค่อยถามคำถาม ว่าถ้าตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่าจะให้เงินเท่าไร หาค่าความถี่ ..... ได้คนออกมาสี่กลุ่ม๖.สุ่มตัวอย่าง๗.เก็บข้อมูล จากการเปิดวีดีโอให้ดู แล้วถามคำถาม ตั้งราคาว่ายินดีที่จะบริจาคหรือไม่๘.วิเคราะห์ข้อมูล๙.คำนวนมูลค่าผลกระทบสิ่งแวดล้อม๑๐.ทดสอบความน่าเชื่อถือของวิธี CVM คู่มือการประเมินแบบนี้มีที่สผ. ทำในปีที่แล้ว เป็นงานชิ้นแรกของเมืองไทยยิ่งราคาแพงคนจะตอบตกลงมากขึ้น ราคาถูกคนยินดีบริจาคค่าเฉลี่ยที่คนยินดีบริจาคตั้งกองทุน ๔๗๓.๕ บาทต่อคน แล้วเอาคนที่สามารถมีกำลังซื้อในภาคอุตสาหกรรมมาคูณ คือ สิบสองล้านคน แล้วจะได้จำนวนเงินมาอ.ชวลิตการประเมินผลกระทบของเขื่อน ไม่น่าประเมินเฉพาะบริเวณไซท์โปรเจค เพราะผลกระทบเกิดขึ้นทั้งหมด เช่นสร้างตอนบนของลุ่มน้ำ อาจกระทบมาถึงชายฝั่งทะเลข้างล่าง อย่างบึงบอระเพ็ดน้ำน้อยลง เพราะต้นน้ำปิง วัง ยม น่านที่เคยสมดุลย์มีน้ำน้อยลง แต่อีไอเอ มักคิดเฉพาะตรงพื้นที่หน้าเขื่อนเท่านั้น ปัจจุบันเรามีองค์ความรู้มากขึ้น มองภาพได้มากขึ้นบางประเทศมีแหล่งน้ำอยู่แล้ว แต่ขาดโครงสร้างพื้นฐาน หรือพลังงาน ถ้าสร้างในปริมาณที่พอเหมาะทำให้รายได้ขึ้นมา เป็นผลเชิงบวก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะเอารายได้นั้นไปทำอะไร ถ้าเอาไปใช้อย่างเป็นธรรม ก็เป็นผลบวก แต่ปัจจุบันทรัพยากรเหลือน้อยลง การสูญเสียไป ทำให้เกิดผลลบมากกว่าปากมูล ปลาที่ชาวบ้านใช้แรงงานไปแลกมาซึ่งความมั่นคงทางอาหาร ที่ผ่านมาอีไอเอไม่เคยประเมินตรงนี้เลย ต้นทุนของสิ่งแวดล้อมรวมทั้งต้นทุนของสมดุลย์ธรรมชาติด้วย ครอบคลุมความหลาหลายทางชีวภาพด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องการชื่นชมเท่านั้น แต่ทรัพยากรเหล่านี้รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย เรามององค์ความรู้เหล่านี้ ก็ไม่เคยถูกนำมารวมในมูลค่าที่สูญเสียทรัพยากรที่สูญพันธุ์ สูญเสียไปแล้วไม่ได้กลับคืนมา ไม่มีทางเลือก แก้ไขไม่ได้ สิ่งมีชีวิตทุกสปีชี่เหมือนส่วนประกอบเครื่องบิน ถ้าน็อตหลุดไปหนึ่งตัวเครื่องอาจตกได้ รถยนต์อาจวิ่งไปได้ แต่จะเสื่อมสภาพลงในอนาคต แม้ว่าจะไม่ได้สูญเสียไปในทันทีทันใดเจ้าของโครงการมักบอกว่าถ้าชะลอโครงการไป จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนทางเทคโนโลยีนั้นทดแทนได้ และถึงอย่างไรผู้ใช้เป็นผู้จ่าย ไม่ใช่เจ้าของโครงการเป็นผู้จ่ายให้กับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นอีกหลายโครงการเช่นบ้านกรูด แม่น้ำสงคราม มีการประเมินคุณค่าด้านสัตว์น้ำมาแล้ว แต่อยากให้มีการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์เหมือนแก่งเสือเต้นด้วย เช่น กรณีน้ำสงคราม มีผลผลิตของปลาจืด เป็นรองแค่เขมรเท่านั้นในภูมิภาคนี้

เจ้าของโครงการบอกให้กรมประมงเพาะปลาปล่อย ผมเคยประเมินยิ่งน้ำท่วม ปลายิ่งมากขึ้น เพราะอพยพมาจากลุ่มน้ำโขง ทั้งยาว และสั้น จากหนองน้ำไปแม่น้ำ จากพื้นที่น้ำท่วมไปลำธาร น้ำสงครามเมื่อน้ำท่วมสูงสุดมีผลผลิตลูกปลา (คูณสิบจากปลาที่จับได้) ได้มากกว่าสถานีประมงน้ำจืดทั้งประเทศถึงสิบเท่าตัวกรณีของบ้านกรูด เคยประเมินว่าเป็นพื้นที่ชายหาดเล็ก ๆ อาจสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเหมือนพัทยา แต่ความจริงมีความหลากหลายของปลาเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ยังต้องประเมินมูลค่าในฐานะที่เป็นนักท่องเที่ยวด้วย อยากให้มีคนไปศึกษา เพราะเขาไม่ฟังชาวบ้านผมมองว่าน่าจะจัดการดีมานต์ได้ง่ายกว่าการจัดการซัพพลาย หรือมีหนทางที่ยั่งยืนกว่าในการจัดการซัพพลาย ลาวแนะนำว่าถ้าจะสร้างเขื่อนก็สร้างเพียงโครงการขนาดใหญ่โครงการเดียว บูชายัญ แล้วเอาเงินที่ได้ไปปกป้องพื้นที่ที่เหลือ ดีกว่าลดเป็นโครงการขนาดเล็กกระจายทั่วไปอ.ศุภวิทย์ผมมองการสร้างเขื่อนในมุมกว้าง ว่าเป็นความพยายามของมนุษย์ที่ใช้เทคโนโลยีเอาชนะธรรมชาติ สมัยก่อนมนุษย์ยังไม่เข้าใจระบบธรรมชาติอย่างเพียงพอ ไม่เข้าใจว่าธรรมชาติมีพลวัตของตัวเอง และมีวัฏจักรที่สม่ำเสมอผู้ที่วางแผนโครงการส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักเศรษฐศาสตร์ ไม่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องคุณค่าของสิ่งแวดล้อม รู้แต่เรื่องผลประโยชน์ของเขื่อน ทำให้มองภาพไม่ครบถ้วน มองข้ามสิ่งแวดล้อมไปทั้งหมด ช่วงหลังจึงมีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เมืองไทยศึกษาอีไอเอเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน แต่ยังขาดเบสิกรีเสิร์ท เป็นการทำอีไอเออย่างเร่งรีบ มีการสุ่มตัวอย่างบ้าง แต่ไม่สามารถหาตัวเลขที่แท้จริงก่อนเกิดโครงการว่าธรรมชาติทำหน้าที่อะไร และให้อะไรแก่เราบ้าง

จากการศึกษาข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา สังคม ไม่พอ ทำให้ผู้วางแผนโครงการมองว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่บรรเทาได้ สามารถทำแผนลดผลกระทบ มีการคิดค่าชดเชย ค่าอพยพ แล้วเอาไปผนวกกับต้นทุน แต่ก็ดูแลได้เพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ผลกระทบที่แท้จริงคือคนที่ต้องอพยพที่อยู่จำนวนมาก แต่การช่วยเหลือคนที่ได้ผลกระทบนั้นไม่เพียงพอ พบว่าชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่อพยพนั้นแย่ลง หาที่สมบูรณ์ชดเชยไม่ได้ เพราะเขื่อนมักสร้างในหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์ จึงพบว่ามีคนจำนวนหนึ่งเดินทางมาประท้วงเวลาพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ แต่ข้อมูลที่ได้มาไม่ครบถ้วย ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถทำให้เราตระหนักถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้นได้อย่างเพียงพอ แทบทุกโครงการประเมินค่าเลิศลอยเกินความเป็นจริง ประโยชน์ที่คาดคะเนไว้ไม่เคยเป็นจริงตามนั้น ได้แค่ห้าสิบเปอร์เซนต์ก็เก่งแล้ว ไม่มีการประเมินด้านสังคมอย่างจริงจัง การสูญเสียทางสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นระยะยาวชั่วนิจนิรันดร์กาล แต่ประโยชน์ของเขื่อนมีเพียงห้าสิบปี วิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์ทำให้มูลค่าปัจจุบันของความสูญเสียมีน้อยกว่าที่เป็นจริง ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีศึกษาหลายด้าน แต่มองอย่างแยกส่วน ขาดการมองอย่างองค์รวมถึงระบบนิเวศทั้งหมด จะเอาข้อมูลที่ศึกษาเพียงปีเดียวมาประเมินไม่ได้ ต้องให้ความสำคัญกับความรู้ของชาวบ้านด้วย ไม่ใช่แค่สุ่มตัวอย่างเท่านั้นป่าบุ่งป่าทาม นักวางแผนไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ สร้างเขื่อนราษีไศลท่วมป่าบุ่งป่าทาม บางครั้งท่วมนาทาม ซึ่งนักวางแผนไม่เข้าใจ นำไปสู่การตัดสินใจโครงการอย่างผิดพลาดสิ่งที่เราต้องดู ต้องดูว่าธรรมชาติให้คุณค่าอะไรแก่เรา ทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่ได้เป็นตัวเงิน แล้วดูว่าการเอาโครงสร้างทางเทคนิคไปขวางธรรมชาติ แล้วเกิดอะไรขึ้น ทำให้ระบบนิเวศที่จะให้ประโยชน์ต่อมนุษย์หายไปหรือเปล่า แล้วเกิดผลเสียอะไรติดตามมา เช่น เปลี่ยนน้ำไหลเป็นน้ำนิ่ง ทำให้ปลาวางไข่ไม่ได้ น้ำนิ่งทำให้เกิดการแพร่ระบาดของไมยราพรอบ ๆ อ่าง ราษีมีไมยราพครอบพื้นที่สี่สิบห้าสิบเปอร์เซนต์ น้ำนิ่งทำให้หอยบางประเภทระบาด เช่น หอยคัน ดังนั้น เราต้องเปลี่ยนแปลงคิดใหม่ ต้องเปรียบเทียบประโยชน์ที่จะได้ กับประโยชน์ที่จะเสียไป เอามาแลกกันดูว่าคุ้มหรือไม่ แล้วต้องประเมินอย่างจริงจังด้วยว่าสิ่งที่จะได้มานั้นจริงหรือไม่ ต้องประเมินโดยสถาบันที่มีความเป็นกลาง มีการทบทวนการศึกษาวิจัยว่าครบถ้วนไหม ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วม ต้องมีการคานอำนาจกันกับบริษัทที่ปรึกษาถาม –แสดงความเห็นลำตะคอง –ชนิ กาชัน ติดใจเรื่องการก่อสร้างเบขื่อนให้ผลทางเกษตร หมู่บ้านฉันอยู่บนภูเขาสุง ก่อนสร้างโรงไฟฟ้า เราเลี้ยงวัวนม พอมีการระเบิดมีการสั่นสะเทือน มีฝุ่นละออง ทำให้ต้นไม้ไม่ติดลูก

การก่อสร้างส่งผลดีให้กับคนทำนาทำสวน แต่พื้นที่จริงมันตรงกันข้าม เมื่อต้นไม้ไม่ติดลูกแล้วยังตาย อาชีพหลักของชาวบ้านเสียไปการก่อสร้างมีการประชาสัมพันธ์ว่าจะเป็ฯหน้าเป็นตาให้กับจังหวัด เราสองหมู่บ้าน รักประเทศไทย เต็มใจให้การพัฒนาเข้าไป ต่อมามีผลกระทบ ช่วงการระเบิดมีการอั้นนมของวัว อากาศดี น้ำสะอาดเปลี่ยนแปลงไป น้ำคัน เดียวนี้ก็ยังคันอยู่ ประชาชนเจ็บป่วยมาก การไฟฟ้าบอกว่าการก่อสร้างไม่ได้สร้างผลกระทบให้กับชาวบ้านหัวนา -สมบัติ โนนสังข์ ส่วนหนึ่งเขื่อนหัวนายังไม่มีใครทราบ ว่ามีเขื่อนอยู่ตรงไหน ที่ใด สร้างอยู่ที่อ.กันทรารมขย์และวาริน ห่างจากอุบลไม่เกิน ๒๒ กิโลเมตร อยู่ระหว่างรอยต่อ เป็นเขื่อนที่สำคัญในลำน้ำมูล เพราะเขื่อนปากมูล ใหญ่ที่สุด ๘ บาน เขื่นอรี ๗ บาน เขื่อนหัวนา ๑๔ บานประตู ความเสียหาย จะเกิดเป็นสองเท่า ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ มีการไปสุ่มทำ ประชาชนไม่รู้เรื่อง บางคนอาจจะบอกกกว่าศรีษเกสโชคดี แต่พวกกระผมไม่ใช รัฐบาลไม่มีการศึกษาปผลกระทบก่อนการลงมือทำ ถ้ารัฐบาลศึกษาก่อน การเดินขบวนก็จะน้อยลง จะมีการลดผลกระทบน้อยลงห่างจากตัวเขื่อนราษีฯ ๑๓๐ กิโลเมตร สองฝั่งลำน้ำมูล มีความหลากหลายในการทำอยู่ทำกิน โดยเฉพาะที่จะสร้างเขื่อนหัวนา มีการสำรวจ และลงมือสร้าง ในวันที่ ๑๖ มีนาคม ๓๕ ในการสำรวจปี ๓๒ ครม.๘ มี.ค ๓๒ ของรัฐบาลพลอ.ชาติชาย พร้อมเขื่อนปากมูล และราษีฯ มีการเปลี่ยนทางน้ำ ชาวบ้านที่ถูกที่ทำกิน รัฐบาลมายึดที่ทำกินของชาวบ้าน หัวไร่ปลายนา ยึดโดยใช้อำนาจของรัฐ ที่จะนำไปทำประตูเขื่อน การเวณคืนก็ไม่เท่ากัน ในปีที่เข้าไปทำเขื่อน ฝนไม่ดี เวณคืนเฉพาะที่มีตอฟางขณะนี้ยังไม่มีการปิดลำน้ำมูนเดิม เรามาประท้วงร่วมกับหลายเขื่อน ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ยื่นหนังสือต่อนายกฯชวน ให้หยุดถมลำน้ำมูลเดิมก่อนเพื่อศึกษาผลกระทบ ครม.มีมติให้หยุดดำเนินการใดๆ ให้ศึกษาผลกระทบก่อน จึงจะทำต่อ ในการที่รัฐบาลผลกระทบคือ อพยพราษฎรออก บ้านหนองโอง ห่างจากเขื่อน ๓-๕ กิโล ท่วมที่ดินทำกิน ท่วมป่าบุ่งป่าทาม เขาจะมีโครงการทำคันไดรฟ์ ปิดน้ำไม่ให้เข้าไปที่ป่าบุ่งป่าทาม เขาจะปิดน้ำไม่ให้เข้าไปที่ทุ่ง ซึ่งชาวบ้านก็ได้โต้เถียงกัน เหนือคันไดรฟ์ขึ้นมา จะไม่มีการจ่ายค่าชดเชยให้ เพราะไม่ใช่น้ำของการเปิดเขื่อน นอกจากป่าบุ่งป่าทาม ป่าดิบแล้ง นอกจากนั้นก็จะมีดินปั้นหม้อ บ้านโพนทราย ส้มป่อย และจะสูญเสียแหล่งโบราณคดี และพันธุ์ปลาจะสูญเสียไป สำคัญที่สุดคือผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมสิรินธร - บุญมี คำเรือง อยากให้เข้าใจผลการศึกษา กลุ่มการศึกษายังขาด คือศึกษาวัฒนธรรมทัองถิ่นที่มีอยู่ วิถีชีวิตกับวัฒนธรรม แยกกันไม่ออก ที่สูญเสียไปมีใครศึกษาบ้าง วิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำลำโดมน้อยไม่มีใครศึกษา คนอยู่ได้ด้วยวัฒนธรรม เขื่อนที่ยังไม่สร้างให้ศึกษาเรื่องนี้ด้วย พื้นฐานที่เป็นสถาบันทางครอบครัวแตกสลายไปแก่งเสือเต้น –เส็ง ขวัญยืน

ผมเข้าในเรื่องการพัฒนาของบ้านเรา ซึ่งไม่ค่อยสนใจคนส่วนน้อยไม่เข้าใจสัดส่วน คนส่วนน้อยต้องเสียสละเพื่อคนส่วนมาก นักวิชาการบ้านเรามักจะสร้างความสับสนให้กับสังคม เช่นแก่งเสือเต้น ไม่มีใครทำความเข้าใจกับสังคมว่าสเสียหายอะไรบ้าง มักจะประชาสัมพันธ์ในสิ่งที่นะเสียไป ยกตัวอย่าง หลักๆ ก็จะพูดแต่เรื่องป่าสัก นักวิชาการบางคน เอาวิชาชีพตัวเองไปอ้าง ก็จะอ้างว่าป่าสักปลูกที่ไหนก็ได้ แต่ไม่ได้ดูสิ่งอื่น จำเป็นต้องพูดถึงวิถีชีวิต ไม่เคยพูดถึงคือเรื่องป่าเต็งรัง ตีค่าให้เป็นศูนย์ ซึ่งมีค่ามากกว่าป่าสัก ในทางเศรษฐกิจคนที่เอาป่าสักไปขาย แต่สิ่งสำคัญของชาวบ้านคือป่าเต็งรัง หน้าแล้งก็หาไข่มดแดง เห็ด ที่ชาวบ้านได้พึ่งพา เป็นสิ่งสำคัญกับชาวบ้าน นักวิชาการที่ไปเป็นมือปืนรับจ้างไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ ว่าไม่มีป่าสัก ชาวบ้านจะหวงไว้ทำไม บอกว่าชาวบ้านที่คัดค้านมีเพียง ๒๐ คน อย่างอื่นไม่มี ไม่รู้จะหวงแหนไว้ทำไมปากมูล –ทองเจริญ สีหาธรรม อ.อัมมาร ให้โจทย์ว่าเขื่อนมีโทษจริง

การสร้างเขื่อนปากมูลเหมือนกับการตัดสายเลือดสายวัฒนธรรมของคนอีสาน ชีวิตของคนอีสานผูกพันกับแม่น้ำมูน ตัดสายอารยธรรมของพวกเรา ที่ทำมามีการศึกษาที่ไม่ถ่องแท้ ไม่เข้าใจข้อมูลที่แท้จริง การสร้างเขื่อนเป็นความต้องการที่จะทำลายธรรมชาติ เขาไม่เข้าใจว่าธรรมชาติที่แท้จริงคืออะไร ธรรมชาติเกี่ยวโยงกันทั้งหมด เมื่อทำลายธรรมชาติก็จะมีผลกระทบต่างๆ กันไป เพราะฉะนั้นการสร้างเขื่อนก็จะทำให้เกิดผลกระทบขึ้น เมื่อสร้างเขื่อนก็จะเกิดความขมขื่นให้กับคนอีกไม่น้อย เพราะทำลายธรรามชาติ เพราะเป็นวิถีชีวิต ทำลายวัฒนธรรม บางคนไม่รู้ว่าวัฒนธรรมคืออะไร ไม่สามารถอธิบายได้ การสูญเสียวัฒนธรรมคือการสูญเสียวิถีชีวิตปรีดา เตียสุวรรณ -วิธีการจัดจ้างของการศึกษา เป็นตัวปัญหาค่อนข้างชัดเจน เมื่อเจ้าของโครงการจัดจ้าง ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่นักวิชาการเนื่องจากธงถูกชักมาแล้ว เขาก็เลือกนักวิชาการที่อยากให้พูด ปัญหาไม่ได้อยู่ที่นักวิชาการ เขาจ้างในสิ่งที่เขาอยากให้พูด ต้องแยก อีไอเอออกไป ที่ให้ปลอดจากการเมืองความสูญเสียที่เกิดจากเขื่อนปากมูล ความสูญเสียประมาณ พันล้านบาทต่อเดือน ครอบครัวหนึ่งได้ประมาณ สี่ห้าตัวต่อวัน ไปขายประมาณ หนึ่งร้อยบาทต่อวัน เดือนหนึ่งสามหมื่นบาท ความสูญเสียที่ปิดเขื่อนเราปล่อยลงทะเล ที่เหลือก็ไปเลี้ยงปลากระชัง ซึ่งที่ไหนก็ทำได้ ก็หมายความว่าราคาไม่ดี ราคาก็เกินราคาอาหารปลา การทำลายชุมชน จากการที่นั่งอยู่ในทรัพยากร ความหลากหลายก็ลดลง ชาวบ้านหาปลาได้ดี เมื่อมีปลาชาวบ้านก็หากินได้ร่วมกัน ท่านไปทำให้อำนาจการต่อรองของเขาลง ให้ไปเลี้ยวปลากระชัง ด้านสังคมต้องมีอำนาจต่อรองสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้อำนาจต่อรองของชาวบ้านลดลงวนิดา -สิ่งหนึ่งที่ยังไม่ได้พูดคือ เรื่องจิตใจ สภาพความแตกแยกในหมุ่บ้านยังดำรงอยู่ เพราะพนักงานของกฟผ. เพื่อสร้างความแตกแยกขึ้นมา การทะเลาะเกิดขึ้นมา มาจากงบประมาณของกฟผ. มีการให้เงินเลือกตั้ง ให้จัดการกับขาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่ง ควาต้องการในการสร้างโครงการขนาดใหญ่ การาะทำดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์ ในครอบครัว ขณะนี้ก็ยังเป็นอยู่ ความแตกแยกเป็นเรื่องลึกซึ้ง แม้จะยกเลิกโครงการควมแตกแยกก็ยัวงมีอยู่ เราจะคิดมูลค่าอย่างไรแม่สมปอง -อยากฝากนักวิชาการในด้านการศึกษา ชาวบ้านมีการศึกษาอยู่แล้ว วัฒนธรรม ความแตกแยก การไฟฟ้าเอาไปอบรมแล้วมาสร้างความแตกแยก วัฒนธรรม ความแตกแยก การขาดอาชีพ บางคนก็ไปขายยาบ้า ติดคุก เกาะแก่งแหล่งธรรมชาติ ไม่มีใครตีค่ามูลค่าได้ มีใครสร้างได้ หากสร้างแล้วให้ชุมชนอยู่ได้ราษีฯ -เฉลิมชัย จำปาพัน คลองชลประทานของเขื่อนราษีฯ ชาวบ้านที่ทำนาสองครั้ง ทำนาปรัง ทำสามปี เริ่มไม่ทำเพราะน้ำที่สูบขึ้นไปจากตัวเขื่อน เพราะเป็นน้ำเค็ม และไปแพร่ตามนาโคกของชาวบ้าน ซึ่งแก้ไขไม่ได้ วิถีชีวิตของชาวบ้านก่อนสร้างเขื่อน เป็นป่าบุ่งป่าทาม เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ หลังสร้างเขื่อนพื้นที่เลี้ยงสัตว์ไม่มี ต้องขายวัวไปในราคาถูกสามตัวร้อย) เพราะไม่มีพื้นที่เลี้ยง ไม่มีอาหารพ่อทวี -ปัญหาที่ค้างคาอยู่ อาหารการกินของคนอีสาน แม่น้ำมูนเป็นแหล่งผลิตอาหารของคนอีสาน กินข้าวกับปลาทุกฤดูกาล แล้วแต่วิธีการ วิถีชีวิตฝากไว้กับการกินข้าวกับปลา ตั้งแต่นครราชสีมา วันหนึ่งกินเท่าไหร่ คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่าไหร่ในแปดปีที่ปิดเขื่อน ท่านมองข้ามวิถีชีวิตตรงนี้ รวมถึงเครือข่ายต่างๆ ปลาจากแหล่งธรรมชาติก่อนไม่มีการพัฒนาเราก็ไม่มีความเดือดร้อน เมื่อสร้างเขื่อนท่านศึกษาหรือยัง ถ้าปิดเขื่อนเขาบอกว่าเสียไปหลายล้าน แต่เขาไม่ได้บอกว่าปิดเขื่อนมาแปดปีเราเสียไปเท่าใด

สรุป

อ.เรณู -นักเศรษฐศาสตร์ เราอยากทำทุกดด้าน มีข้อจำกัด หลายด้าน เราไม่ได้รู้ทุกด้าน เรื่องจิตใจ บางทีคิดออกมายากมาก เช่น บางคนเสียชีวิตหลังสร้างเขื่อน จะตีค่าอย่างไร ไม่เคยออกมาสมบูรณ์ อยากทำทุกด้าน แต่ทำไม่ได้ ทุกค่าออกมาเป็นค่าล่าง เพียงเท่านี้เราก็ได้ค่าแล้วว่าสร้างแล้วไม่คุ้ม เรื่องจริยธรรม วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นเรื่องที่อยากศึกษา จะมีออกมาอีก แล้วจะนำออกมาเผยแพร่อ.เชาวลิต -ก่อนจะมีโครงการใหญ่ อีไอเอจะต้องมีวิทยาศาสตร์มากกว่านี้ ให้ประชาชนได้รับรู้ล่วงหน้า เจ้าของโครงการมักจะคิดว่าถ้าชาวบ้านรู้ล่วงหน้าก็จะถูกคัดค้านระบบนิเวศน์ จะต้องศึกษาให้รอบด้าน ประเมินผลอย่างน้อย ๒-๔ ปี จะได้ค่าเฉลี่ยที่ถูกต้องกว่าการประเมินค่าทางอาหาร ชุมชน ประมง สิ่งแวดล้อมงบประมาณ ในการทำอีไอเอ ผลส่วนใหญ่ไปตกที่บริษัทน่าจะให้องค์กรกลาง หลายหน่วยงานเพื่อจะได้มีกาตรวจสอบ เปรียบเทียบค่ากันอ.ศุภวิทย์ -ผลกระทบนิเวศน์ สังคม มีผลใหญ่โต ที่ผ่านมาเราศึกษาไม่ครบถ้วน เราจะต้องมีการรวบรวมประมวลวิจัย สิ่งที่เกิดขึ้น รัฐบาลก็ไม่ค่อยมีเงินให้มา มีการให้สภาพัฒน์ ม.อุบล ชาวบ้านทำเอง ซึ่งก็ไม่ครอบคลุมเท่าใดนัก เขื่อนปากมูลจะปิดแต่ก็ยัง ทำอย่างไรเราจะได้ข้อมูลที่มาตัดสินใจอย่างครบถ้วน หลายฝ่ายจะต้องช่วยกันเจ้าของที่เป็นเจ้าของโครงการไม่ได้มองทุกด้าน มีหน้าตา ศักดิ์ศรี สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ ประชาชนมีความหวาดกลัวต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ยังไม่มีกรรมวิธีลดความขัดแย้ง ความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ เพาะฉะนั้น ต้องใจกว้างมากขึ้น ผิดพลาดก็ต้องผิดพลาด การก่อสร้าง การไม่ได้ก่อสร้างทำให้เสียผลประโยชน์ การเปิดให้หลายส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเป็นเรื่องที่ต้องทำ เขื่อนปากมูลเรื่องรายได้ที่แท้จริงก็ไม่ได้ออกมาอย่างแท้จริง เราต้องหันมาสนใจช่วยกันมากขึ้น รัฐบาลก็ไม่ค่อยมีเงินทำอย่างไร ที่จะเปลี่ยนวิธีคิดของผู้สร้างให้มามองแบบองค์รวมมากขึ้น เพราะที่ผ่านมามีความผิดพลาดเกือบทั้งนั้น ประชาชนต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง๒๘-๒๙ เราจะเปิดรับฟังความคิดเห็นของฝายราษีไศลวิฑูร -หลายครั้งที่เราพูดเรื่องการพัฒนา การตัดสินใจของรัฐในการพัฒนา เกิดขึ้นหลายครั้งที่จะมีการศึกษาข้อมูล นำไปสู่การเลือกกรอบในการตัดสินใจของนักวิชาการ นำไปสู่การประเมินรายได้ที่สูงเกินจริง ไม่ถามชาวบ้านว่าจะทำอย่างไร ไม่เคยมีการศึกษาระยะยาว ผลกระทบทางนิเวศน์ไม่ได้เกิดขึ้นภายใน ๓เดือน ๖ เดือน แล้วนำมาตีค่าเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ

บ่าย

เขื่อนความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคม

อ.เดชรัตน์ สุขกำเนิดเมื่อเช้าเราพยายามตีมูลค่าผลดี ผลเสียจากการสร้างเขื่อนในทุกทางที่จะทำได้ ผมเห็นด้วยว่านักเศรษฐศาสตร์ควรทำหน้าที่ในด้านนี้ ผมว่าสังคมไทยใช้นักเศรษฐศาสตร์น้อยกว่าที่ควรจะใช้ แต่เชื่อนักเศรษฐศาสตร์มากกว่าที่ควรจะเชื่อสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ยังไม่สามารถทำได้ คือ ความเข้าใจว่าเงินแต่ละบาทในมือแต่ละคนมีคุณค่าไม่เท่ากัน เพราะแนวคิดเรื่องมูลค่าเป็นแนวคิดของเศรษฐศาสตร์สายความมั่งคั่ง แต่ถ้าต้องการให้เศรษฐศาสตร์มารับใช้ความยากจน ไม่ใช่ความมั่งคั่งแต่เป็นความมั่นคง ถ้าเราคิดถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำต้องให้ความสำคัญกับคุณค่าหลายคนเชื่อว่าหลักทางเศรษฐศาสตร์ คือ การเปรียบเทียบการได้มากับเสียไป แต่เศรษฐศาสตร์การพัฒนา แต่ความจริง หลักการข้อแรกของเศรษฐศาสตร์การพัฒนา หรือหลักเพลาโต กล่าวว่าโครงการใดเรียกว่าการพัฒนา โครงการนั้นทำให้คนอย่างน้อยหนึ่งคนดีขึ้น โดยไม่มีใครที่แย่ลงสองปีที่แล้ว ผมพยายามหามูลค่าของปลาที่เสียไป เพื่อหาค่าชดเชย แต่เราพบว่าสิ่งที่ชาวบ้านต้องการ หรือมีคุณค่ามากที่สุด ไม่ใช่รายได้ หรือเงิน แต่เป็นเรื่องความมั่นคง คนจนไม่ใช่จนเงิน มีความจนหลายรูปแบบ เช่น จนโอกาส โอกาสในการพัฒนา การศึกษา จนอำนาจ คือไม่มีสิทธิเลือกแนวทางการพัฒนาของตนเอง ในที่สุดก็จะจนเงิน หลายครัวเรือนจนใจ หมดความหวังในการดำเนินชีวิต คนจนจะหลีกพ้นความจนได้โดย๑.ความมั่นคงทางอาหารและปัจจัยสี่ ๒. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ๓.ความมั่นคงทางสังคม ต้องการการยอมรับ ๓.ความมั่นคงทางจิตใจ มาจากสามด้านข้างต้นความมั่นคงเหล่านี้มีคุณค่าเทียบเท่ารายได้หรือไม่ ความมั่นคงเหล่านี้มีมากกว่าค่าเสียโอกาส เป็นมากกว่ารายได้ เพราะเราอาจไม่ใช้ในวันนี้ก็ได้ แต่มีศักยภาพที่จะนำมาใช้ได้ในอนาคต หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องไม่แน่นอน ความมั่นคงจะเกิดขึ้นได้ ๑.ต้องสร้าง ๒.ต้องสะสม ๓. มีการจัดระบบด้วยกัน เป็นเรื่องของสิทธิ และวิทยาการ หรือเทคโนโลยีที่จะเข้าไปใช้ดังนั้น ความมั่นคงไม่ใช่เรื่องรายได้ สิ่งเหล่านี้เป็นทุนที่ชาวบ้านสร้าง และสะสมขึ้นมา มีการจัดระบบ รักษา เก็บเอาไว้ใช้ในวันนี้และวันหน้าด้วยทุนกรณีปากมูลที่พบได้แก่

๑.ทุนทางธรรมชาติ ๒.ทุนทางเศรษฐกิจ ๓.ทุนมนุษย์ที่จะสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ทางทุนธรรมชาติ และทุนทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ ประกอบด้วยความคิด ความสามารถ และความดี ๔.ทุนทางสังคม คือความร่วมไม้ร่วมมือกันในสังคม ระบบวัฒนธรรมในการจัดการทุนทั้ง ๔ มีลักษณะที่สำคัญสองประการ หนึ่ง มีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ สอง ไม่สามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ กรณีปากมูล การทำลายทุนธรรมชาติ ปลาวางไข่ไม่ได้ ทำให้ทุนมนุษย์ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ จับปลาไม่ได้เหมือนเดิม จะนำไปทำงานนอกภาคการเกษตรไม่ได้ ทำให้ทุนทางเศรษฐกิจของชาวบ้านเสื่อมโทรมลง และทำให้ทุนทางสังคมเสื่อม ชาวบ้านอพยพออกไป ทำให้ความมั่นคงทั้งหมดสูญเสียไปถ้าไม่มีเขื่อนแล้วทุนเหล่านี้ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่เฉย ๆ เราได้เลือกไปศึกษาในชุมชนที่มีลักษณะคล้าย ๆ ปากมูล คือชุมชนปากยาม เราพบการเปลี่ยนแปลง มีการพึ่งพาน้อยลง แต่เขายังจับปลาอยู่ เขาได้นำเงินที่ได้จากการจับปลาไปลงทุนการศึกษา การฝึกอบรม เป็นการลงทุนทางมนุษย์เสียใหม่ แล้วหันมาลงทุนทางด้านเศรษฐกิจ หันเข้าหาระบบเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่นงานนอกภาคการเกษตร ทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจทีไม่แย่ลงไปกว่าเดิม เพราะการปรับตัวใช้ระยะเวลานาน ไม่ได้ปรับตัวทันที ค่อย ๆ ลดการจับปลา แล้วเอาเงินไปส่งลูกหลานเรียน ขณะที่ชาวบ้านปากมูลไม่ได้ปรับตัว เรียกว่าชาวบ้านปากยามเข้าสู่แรงงานนอกภาคการเกษตรอย่างมีกระบวนท่า แต่ชาวบ้านปากมูลไม่มีกระบวนท่าอย่างนั้น ทุนทุกอย่างหายไปในพริบตา มีความแตกต่างเรื่องทุนระหว่างหมู่บ้านที่สร้างเขื่อนก็ต่างกัน หมู่บ้านใกล้เมืองเช่นสะพือใต้ หัวเห่ว ก็จะมีรายได้ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น แต่ท่าแพที่อยู่ไกลจากตลาดมาก รายได้ลดลงมาก งานที่ไปทำคือตัดอ้อยเชื่อว่าการเปิดประตูน้ำทุนธรรมชาติน่าจะกลับมา ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น เริ่มเป็นความหวังในการฟื้นฟูระบบนิเวศและชุมชน ชาวบ้านจับปลาได้มากคืน วันละสองร้อย สามร้อยบาทต่อราย มีความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น แต่โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้นไม่เท่าเทียมกันเหมือนเดิม มีบางคนไม่มีโอกาสไปจับปลาได้เหมือนคนอื่น เกาะแก่งไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม บางที่ที่เป็นวังจับปลาได้ดี แต่ที่เป็นแก่งไม่เหมือนเดิม ทุนทางเศรษฐกิจก็ไม่เท่ากัน บางคนมีทรัพย์สินมากกว่าคนอื่นสะสมเครื่องมือหาปลาไว้ พอเปิดประตูระบายน้ำแล้วมีเครื่องมือทำประมง แต่บางคนไม่ใช่อย่างนั้น แค่มีพอกิน เครื่องมือที่ต่างกันทำให้มีรายได้ต่างกัน ทุนทางมนุษย์ก็ไม่เท่ากัน บางคนไปทำงานกทม.แล้วไม่กลับมา เพราะไม่แน่ใจว่าจะเปิดประตูกี่เดือน บางคนทำงานไม่มั่นคงก็กลับมา คนหนุ่มสาวจับปลาไม่เป็นแล้ว เพราะสิบปีที่ปิดเขื่อนไม่ได้จับปลา ทุนทางสังคมไม่เท่ากัน บางหมู่บ้านลงขันกันได้จัดการเกาะแก่งที่เสียหายทุนทั้งสี่อย่างเกี่ยวพันกันอย่างเป็นระบบ และมีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงนักเศรษฐศาสตร์ที่ผ่านมาไม่เข้าใจเรื่องความยากจนมากนัก หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องเงิน แต่ชาวบ้านที่ไม่มีเงินอาจไม่คิดว่าตัวเองจน ตราบใดที่คิดว่าตัวเองยังมีความมั่นคง

สุริยะใส กตะศิลาเขื่อนเป็นเครื่องมือของการพัฒนา การไม่เอาเขื่อนเป็นการตั้งคำถามต่อแนวทางการพัฒนาใช่หรือไม่

ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติไม่น่าจะมองแค่ตัวเขื่อน เหมือนนักประเมินผลกระทบ มีเขื่อนแล้วจน ไม่มีเขื่อนแล้วรวย เขื่อนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงสร้างการเมืองเศรษฐกิจของการพัฒนา เป็นแคยอดปลายของน้ำแข็ง เขื่อนเป็นสัญญลักษณ์ของการพัฒนาที่กอบโกยทรัพยากรไปจากคนชนบทที่ไม่มีอำนาจ ซึ่งโครงสร้างทางสังคมมีความเหลื่อมล้ำอยู่แล้ว เขื่อนคืองูซ่วง งูอุบาทว์ที่ขวางน้ำอยู่ผลจะลองเปรียบเทียบคนที่ปากมูล กับคนที่ภาคเหนือ ต่างถูกทำให้เป็นชายขอบ สี่ปี่ก่อนเห็นสมัชชาคจนปรากฏบนท้องถนน เรียกร้องการแก้ไขปัญหา หลังจากนั้น มีข่าวคนปากมูลปีนรั้วจนกระทั่งถูกจับ ฝ่ายหนึ่งเอาหมามา อีกฝ่ายเอามดแดงมาสู้ ปรากฏการณ์เหมือนชาวเขาในภาคเหนือรวมตัวเรียกร้องที่เชียงใหม่เมื่อ ๒ ปีกว่า จบลงด้วยการสลายการชุมนุม ชาวเขาไม่ได้รับความเป็นคนไทย สองกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่อยู่ชายขอบของอำนาจ ชายขอบแผ่นดิน ถูกลิดรอนสิทธิพื้นฐานที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ทำไมคนเหล่านี้จึงเป็นคนจน คนชายขอบ คนไร้สิทธิ เกิดจากเครื่องมือของรัฐอะไรบ้าง เราอาจต้องมีจินตนาการทางสังคมวิทยา การพัฒนามีความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรอย่างไร มีนักวิชาการสองคนที่ใช้แนวคิดเมืองกับป่า เมืองเป็นแหล่งอำนาจ มีความเจริญ คนในเมืองหมายถึงผู้มีความเจริญ ความรู้ ป่าเป็นที่อยู่ของคนเถื่อน ดุร้าย ไม่มีความเจริญ

ในตำนานการสร้างเมืองก็จะมองพื้นที่ในเมืองเป็นพื้นที่ที่มีคนอยู่ แต่ป่ามีคนไม่มีอารยธรรมอยู่ แต่คนโบราณไม่ได้หมายความว่าเมืองจะควบคุมป่า เพราะมีการหลบหนีเข้าไปพึ่งป่า หลังยุคการพัฒนา ทำให้คนมองว่าป่าคือธรรมชาติที่ชนชั้นกลางจะเข้าไปเสพ ชื่นชม และมนุษย์สามารถควบคุมป่าได้ สร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำทั้งสายก็ทำได้ลองเอาแนวคิดเรื่องนี้มาดูปากมูล กับภาคเหนือ ปากมูลเป็นพื้นที่ชายแดน ชายขอบ พี่น้องเป็นลาว ภาคเหนือคนที่อยู่ในป่าเป็นชาวเขา พื้นที่อุดมไปด้วยทรัพยากรไม่ว่าป่าไม้ แร่ธาตุต่าง ๆ ทัศนะที่คนในเมืองมองคนปากมูล และชาวเขา คือคนเหล่านี้ด้อยกว่าคนในเมือง ด้อยการพัฒนา เป็นแนวคิดที่มาพร้อมแผนการพัฒนา มองว่าต้องมีการพัฒนา แต่เป็นการพัฒนาภายใต้จินตนาการของคนในเมือง รัฐต้องเข้าไปจัดการพื้นที่เหล่านั้นให้มีประโยชน์ในทางเศรษฐกิจแนวคิดที่นำมาใช้กับปากมูล กับคนภาคเหนือเหมือนกัน ต้องอพยพคนออกเพื่อเอาพื้นที่ให้รัฐไปใช้ เป็นการปิดกั้นลิดรอนไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปใช้ในพื้นที่เหล่านี้ ชาวเขาเข้าไปเก็บฟืนไม่ได้ ชาวบ้านในเขตป่าถูกมองว่าบุกรุกป่า คนปากมูลถูกมองว่าขัดขวางการพัฒนามีคำพูดที่ว่าลงน้ำประมงก็ไล่ ทำไร่ ป่าไม้ก็เหยียบ การจับปลาขึ้นอยู่กับการเปิดปิดเขื่อนเพื่อปั่นไฟ กรณีของเขาเขา หลังคารั่วซ่อมไม่ได้ ทำส้วม อนามัยไม่ได้ ไฟฟ้าเข้าไปไม่ได้ ถูกอพยพไปพื้นที่ที่ความแห้งแล้ง ท้ายที่สุดต้องอพยพไปเป็นแรงงานในเมือง เป็นโสเภณีบ้านจัดสรรที่ธนาคารโลกอวดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในการอพยพ ปรากฏว่าน้ำไม่ไหล เครื่องสูบน้ำเสียไม่มีการดำเนินการต่อ ไม่มีน้ำให้วัว ควายกิน เป็นที่ทิ้งหินจากการระเบิดแก่งการต่อสู้ของชาวบ้าน เริ่มจากากรเข้ามาขอร้องผู้ใหญ่ แต่ไม่มีใครเห็นใจ จนต้องเดินขบวน เหมือนกันทั้งสองกรณี พี่น้องทั้งริมฝั่งแม่ปิง และริมฝั่งแม่โขงต่างเล่าเหมือนกันหมด ชาวบ้านไม่มีกลไกในการยื่นร้องเรียน

ระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบตัวแทนไม่ได้ทำหน้าที่ของมัน ผู้แทนไม่ได้เข้าไปปกป้องสิทธิให้ชาวบ้าน ลูกของชาวบ้านถูกล้อเรียน ถูกประณาม มีการมองเป็นเรื่องเชิงลบ เช่น ทิ้งบ้านทิ้งช่อง หรือได้รับเงินจากเอ็นจีโอกรณีชาวเขาถูกมองว่าไม่ใช่คนไทย ถูกประณามว่าเป็นผู้เผาป่า ทำให้น้ำแห้ง ค้ายาเสพติด คนที่เรียกร้องถูกทำให้เป็นอาชญากร criminalization มีการจัดตั้งกลุ่มคนอีกฝ่ายขึ้นมาเพื่อสร้างความขัดแย้งในระหว่างพี่น้องด้วยกันเองมีมติครม.ออกมาระบุว่าชาวเขาเป็นคนต่างด้าว ประมาณ หนึ่งแสนแปดหมื่นแปดพันคน ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านี้เข้าเมืองมาตั้งแต่ปีสองแปดแล้ว แต่ต้องไปพิสูจน์ตัวเองว่าจะได้สิทธิความเป็นคนไทยหรือไม่ ในเวลาอีกไม่กี่วันนี้มีการนำเอาความเป็นวิทยาศาสตร์ของข้อมูลมาใช้สร้างความชอบธรรมให้โครงการ สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้คนสูญเสียวิถีชีวิตของเขา มีรายงานบอกว่าพี่น้องปากมูลเป็นชาวนา สามารถผลิตข้าวกิน ขายได้ ทั้ง ๆ ที่พี่น้องปากมูลเป็นชาวประมง มีรายได้หลักจากการจับปลา เหล่านี้เป็นวิธีคิดและปฏิบัติของราชการ มองผลประโยชน์ของเมืองมากกว่าชนบท มองว่าคนจนต้องได้รับการพัฒนาโดยรัฐจะเป็นผู้กำหนด

สรุป

หนึ่ง เขื่อนเป็นตัวแทนของการคิดที่แยกคนออกจากสิ่งแวดล้อม แยกชาวเขาออกจากป่า แยกชาวประมงออกจากแม่น้ำ ทำไปโดยความคิดของคนชั้นกลางที่จะเอาทรัพยากรมาใช้เชิงเศรษฐศาสตร์

สอง ความรู้ที่ใช้สร้างความชอบธรรมเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การประเมินผลกระทบทางสังคม ไม่ใช่การประเมินผลกระทบทางสังคม เพราะเขียนว่าถ้าจะย้ายคนจะใช้เงินเท่าไร คนทำประเมินอาจมีความรู้จริงแต่.............. หรืออาจไม่มีความรู้เพียงพอที่จะทำการประเมิน เพราะถ้ามีความรู้เพียงพอน่าจะอธิบายผลกระทบได้สาม มองไม่เห็นชาวบ้าน จึงไม่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม ราชการมีท่าทีที่เฉยเมยต่อความเดือดร้อนของชาวบ้าน มีการตั้งกรรมการ และโยนกันไป กันมา กรณีเขื่อน บ้านครัว มีการตั้งกรรมการมา แต่ไม่ฟังความเห็นของกรรมการ มันเป็นเพียงเครื่องมือในการลิดรอนสิทธิของชาวบ้านสี่ ความรุนแรงที่ระบบราชการใช้ต่อชาวบ้านมีหลายรูปแบบ เป็นความรุนแรงที่อยู่ในโครงสร้างทางการเมืองห้า การปิดล้อมด้านสิทธิ ในกรณีปากมูลถ้าไม่ได้ผู้สื่อข่าว และเอ็นจีโอบางกลุ่ม สังคมจะไม่รู้เรื่อง เพราะมีการปิดล้อมการข่าวด้วย เป็นความรุนแรงที่มองไม่เห็นเหมือนการใช้กำลัง แต่เป็นความรุนแรงที่อยู่ในวัฒนธรรม ในสังคมที่เหลื่อมล้ำการฟื้นฟู ไม่สามารถทำได้ด้วยเงิน โดยเฉพาะการฟื้นฟูทางจิตใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปาริชาติ ศิวารักษ์ มันฟังดูว่าเป็นเรื่องเก่า ๆ แต่เรามีมุมมองที่ชัดเจนขึ้น มองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ดิฉันพยายามมองโลกในแง่ดี ไม่อยากให้ติดกรอบว่าเขื่อนเป็นสัญลักษณ์ของอะไรไปเลย มันจะทำให้เราหยุดคิด ในสังคมไทยมีหลายคำที่ตกเป็นจำเลย เช่น คำว่าประชาพิจารณ์ บางอย่างไม่ใช่ประชาพิจารณ์ แต่เรียกว่าเป็น ทำให้คนปฏิเสธคำนี้ไปเลย เขื่อนก็เหมือนกัน มีหลายรูปแบบ หลายอย่างดร.ชยันต์ ที่ผมพยายามจะอธิบายเพราะมันมีเขื่อนไขแวดล้อมของเขื่อน แต่เมื่อมันมาอยู่ภายใต้บริบทการพัฒนาแบบ โครงสร้างแบบนี้ มันจึงกลายเป็นแบบนี้เส็ง ขวัญยืน แก่งเสือเต้นผมรู้มาตั้งแต่เด็กว่าเขื่อนมีประโยชน์ มีคุณค่า ผมอยากไปเที่ยว แต่พอปี ๓๒ มีข่าวว่าจะสร้างเขื่อนที่บ้าน จึงเริ่มสนใจผลดี ผลเสีย จนปัจจุบัน สิบเอ็ด สิบสองปีมาแล้ว เริ่มตั้งแต่เขื่อนสิริกิตต์ ภูมิพล ป่าสัก ถ้าดูผู้ได้รับผลกระทบแล้วมันไม่ดีเลย แต่คนที่ได้รับผลประโยชน์เขาก็ว่าดี ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคนมีทุน ไปปลูกต้นไม้บ้าง ทำธุรกิจบ้าง ปัจจุบันความคิดของคนเก่า ๆ ที่เห็นว่าเขื่อนแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ไม่ว่าน้ำท่วม ภัยแล้ง ท่องเที่ยว คนที่อยู่ใกล้เขื่อนไม่ได้ผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว หรือปลาอย่างที่เขาบอก น้ำมากจำนวนป่าอาจมากจริง แต่ชนิดของปลาลดลง มีการรณรงค์ปรระชาสัมพันธ์ให้มาต่อสู้กันเพ่อที่จะได้สร้างเขื่อน สร้างความสับสนให้เกิดความแตกแยกกันในลุ่มน้ำเดียวกัน เน้นให้มีการสร้างโครงการขนาดใหญ่เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับตน น้ำท่วมลุ่มน้ำยม คนตายเท่ไหร่ ปี๔๔ ปีเดียว ภูเขาถล่มคนตายเป็นร้อย ต้องพิจารณาว่าเป็นเพราะเหตุใด ไม่ได้เป็นเพราะการไม่มีเขื่อน การป้องกันป้องกันได้ เมื่อน้ำมาต้อรีบอพยพหนี กรมชลประทานบอกว่าไม่มีวิธีการป้องกันไม่ให้น้ำท่วม นอกจากการก่อสร้างเขื่อน รัฐบาลจะอนุมัติหรือไม่ก็อยู่ที่ประชาชน กรมชลคิดจะสร้างเขื่อนอย่างเดียวหรือ มีอะไรที่การันตีได้ไหมไม่ให้น้ำท่วม เขาบอกว่าการันตีไม่ได้ภักดี จันทะเจียดเมื่อพูดถึงเขื่อน ผ้ดูที่ถูกกระทำขวัญผวา เนื่องจากที่ผ่านมาเราไม่เคยรู้จักว่าเขื่อนคืออะไร เป็นสัญญลักษณ์ของการพัฒนา “เขื่อนเป็นสัญลักษณ์ของความหายนะ” มันเป็นความหมายของความเสียหาย รัฐไม่พยายามมองให้เห็นถึงผลเสียที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นด้านดีตลอด หนึ่งชีวิตคือชีวิตมนุษย์เช่นเดียวกัน เขื่อนไม่เพียงพอสำหรับรัฐบาล ยังเห็นชีวิตเป็นผักปลา หาเหตุผลต่างๆ นานาในการที่จะสร้าง ไม่อยากคิดถึงการสร้างเขื่อน

เขื่อนเป็นสัญลักษณ์ของความเจ็บปวด ที่ใดที่ยังไม่เจ็บปวดก็อย่าให้เกิดความเจ็บปวดเลย ไม่ว่าจะเป็นแก่งเสือเต้น ความสุขสบายท่านได้รับทุกวันนี้ได้จากแรงงานที่เข้ามาขายแรงงาน ทรัพยากรที่ใช้ทุกวันนี้ได้จากพี่น้องทั่วประเทศ ได้จากการแย่งชิงทรัพยากรจากพี่น้องในชนบท คนมากขึ้นแผ่นดินน้อยลง อาชีพหมดไป จำต้องไปขายแรงงาน อย่าจำกัดกรอบแค่ชื่อ ถ้าเราไม่บอกกับสังคสม ก็จะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราไม่ช่วยกันลูกหลานเราก็อยู่ไม่ได้ อย่าให้พวกผมต้องต้องมาเล่านิทานซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่อยากให้มันเกิดขึ้นกับพี่น้องที่มันยังไม่เกิดขึ้นอ.สุริชัยมีคำบางคำเป็นโจทย์และจำเลย สังคมไทยจัดการกันด้วยคำที่เรียก เลยมีคนอยู่สองพวก ประสบการณ์เกี่ยวกับเขื่อน คนข้างนอกรู้สึก ไม่เท่ากับที่พี่น้องรู้สึก ทำยังไงจะให้คนช่วยสื่อเยอะ ๆ แทนที่จะดูว่าใครได้ใครเสีย น่าจะหันมาดูว่าสังคมไทยได้ หรือเสียจากโครงการเขื่อนที่เกิดขึ้น มิฉะนั้นใครมีเงินมากก็ใช้สื่อได้เยอะ ซื้อหนังสือพิมพ์ได้ ทำอย่างไรให้สังคมรู้สึกมีโจทย์ร่วม ทุเรศมากที่มาถกกันว่าศาลรัฐธรรมนูญจะอยู่หรือไปนพ.บันลือ ประธานสหภาพแรงงาน กฟผ.สิ่งที่เป็นปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคม คงไม่ได้มีแต่เรื่องเขื่อน แต่ยังมีเรื่องทางด่วน ฯลฯ ตอนผมเด็ก ๆ สิ่งแวดล้อมก็ดี อากาศก็ดี ทุกวันนี้เราใช้ไฟฟ้า ที่เกิดจากเขื่อนที่ทำความเดือดร้อนให้พี่น้อง ถ้าไม่ใช้ไฟเราจะประชุมได้อย่างไร แต่สุดท้ายเราต้องดูว่าคนไทยส่วนใหญ่ได้ หรือเสีย ผมว่าตลอดเวลาสี่สิบกว่าปีของแผนพัฒนา คนไทยไม่ได้เท่าไร ส่วนใหญ่เสีย เพราะต่างชาติมาสูบเอาไป ชีวิตคนในประเทศไม่ได้ดีขึ้นความยากจนที่คนในสังคมไทยมีร่วมกัน คือจนโอกาส จนอำนาจ ความจริงความจนอำนาจนำไปสู่ความจนทุก ๆ อย่าง ความจริงเราไม่ได้จนอำนาจ แต่เราถูกทำให้เชื่อว่าเราจนอำนาจ เพราะในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนมีอำนาจมากที่สุด ทุกคนมีหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเท่ากัน ถ้าเราใช้อำนาจที่มีเลือกคนที่ถูก ได้คนไปเป็นรัฐบาล หรือออกกฎหมายอย่างที่เราต้องการพ่อทองเจริญ สีหาธรรมในโลกนี้ย่อมมีความแตกต่าง แต่จะอยู่ร่วมกันอย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ไม่อยากให้เกิดขึ้น

เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จะปรับปรุงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร กฟผ.บอกว่าจำเป็นต้องใช้ไฟ ชาวบ้านก็บอกว่าไม่จำเป็นต้องใช้ไฟ ถกเถียงกันไม่มีที่สิ้นสุด ความมั่นคง อยู่ได้กว่ามั่งคั่ง ความโลภ ความมั่งคั่งทำให้โลกวุ่นวาย การพัฒนาเป็นอย่างไร มีคนดีขึ้นหรือเลวลงจนมีสี่แนว จนไม่มีเงิน ไม่มีอำนาจ ไม่มีกิน ไม่มี.. รัฐมีอำนาจสั่งมา ให้เกิดความเดือดร้อน เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจะทำอย่างไร ให้ปรับปรุง ให้เกิดความสงบสุขได้อย่างไร การให้ความเห็นของนักวิชาการททุกคนอยู่ในแนวเดียวกัน เมื่อจะประเมิน เป็นเรื่องยาก เพราะเราไม่เคยประเมินไว้ก่อนนี้ ยิ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยินยอมกันยิ่งจะมีความรุแรงขึ้นชนิ กาซันในความเป้นจริงชาวบ้านดีใจ มีงบประมาณกว่าสองหมื่นล้าน จะไปทำให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เราส่งเสริมให้เกิดขึ้น ปีแรกเราจะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น วัวนมไม่ออกนม เพราะแรงระเบิดและฝุ่นละออง ไม้ผลไม่ออกผล ชีวิก็เจ็บป่วย ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ใช้ชีวิตตามปปกติ คุณพ่อจะเข้าโรงพยาบาล หมอบอกว่าได้รับสารชนิดหหนึ่งมากเกินไปแม่ตตัวลอก ชาวบ้านเกิดตุ่มคัน มีการร้องเรียน เสียคนใกล้ชิดไปสามคน หลังการระเบิด มีการน็อค เสียชีวิตกระทันหัน พ่อก็หายใจไม่ออก เสียชีวิตกระทันหันเช่นเดียวกัน หลานก็เป็นโรคที่ภูมิต้านทานไม่ดีความสูญเสียไม่รู้จะวัดกับอะไรได้ ส่งหลานไปเรียนศาสนาสี่ปี กลับมาสอนศาสนา เมื่อเขาเสียไป เราก็สูญเสียทรัพยากรบุคคล เราเดือดร้อน ร้องเรียนขึ้นไป การก่อสร้างให้ตรงประเด็น เป็นธรรม ต้นไม้ไม่ติดลูก ไม่มีในบริบทว่าต้นไม้ไม่ติดลูกเพราะอะไร เขาไม่รับผิดชอบอะไร เป็นโครงการของการไฟฟ้าฯ ถ้าหากจะมีการก่อสร้างให้เป็นธรรมกับชาวบ้านเพราะชาวบ้านไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ ให้เห็นผลได้ผลเสีย ว่าจะทำอย่างไร เพราะทำให้เราสูญเสียชีวิตคนที่อยู่กับเราสิบปี ยี่สิบปีอ.เดชรัตน์เรามีเรื่องที่คนทั่วไปไม่ได้รับรู้อีกมาก ชาวบ้านเขื่อนปากมูลได้สร้างองค์ความรู้ให้กับสังคม วิชาการควรจะตอบสนองให้กับความเป็นจริงอย่างไร การศึกษาต้องมีการถ่อมตัวมากขึ้น เราเข้าไปเสนอทางเลือก ให้กับเขา เรื่องสุขภาพ จิตใจมีมูลค่ามากกว่าการประเมิน เอาเงินมาเปรียบเทียบ จะทำให้ความมั่นคงลดทอนลง ซึ่งมันเทียบไม่ได้ผมศึกษาเรื่องมาบตาพุด อัตราของผู้ป่วยมีสูงขึ้น โรคทางเดินหายใจ โรคจิต มีอัตราการฆ่าตัวตายมากขึ้น เรื่องมลพิษ เขาบอกว่าระยองยังมีขีดความสามารถในการรองรับมลพิษขึ้นอีก ซึ่งคนป่วยเหล่านี้จะแก้ไขอย่างไร จะตีค่าเป็นเงินได้หรือไม่ สิ่งต่างๆ จะช่วยแก้ไขปัญหาอย่างไร เราต้องทุ่มเท และไปให้ถูกทาง สิ่งที่ประชาชนต้องการคือความมั่นคง ไม่ใช่ความมั่งคั่ง ถ้าเราต้องการความมั่งคั่งเราคงต้องงเสียอะไรไปมากกว่านี้สุริยะใสเขื่อนยังคงจะเป็นเรื่องราวการต่อสู้ของภาคประชาชน เขื่อนมีมุมมองมากมายได้ทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองภาคประชาชน และเรื่องอื่นๆ

นิเวศวิทยาและการเมืองเรื่องเขื่อน

ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตรกาลครั้งหนึ่ง ไม่นานมานี้ ช่วงแผนหนึ่ง สอง สามของไทย คนส่วนใหญ่ในเมืองไทย สนับสนุนการสร้างเขื่อน เพื่อผลประโยชน์ของชาติ ครั้งนั้น ผลประโยชน์ของชาติหมายถึงการพัฒนาเมือง อุตสาหกรรม ซึ่งต้องการผลผลิตส่วนเกินจากภาคการเกษตร และต้องผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวนมาก ซึ่งไฟฟ้าได้มาจากการสร้างเขื่อน สมัยนั้นถ้าจะมีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การทำลายป่า หรือระบบนิเวศ ดูไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะป่ามีมากมาย ประเด็นนิเวศไม่ใช่เรื่องที่ถกเถียง ถ้าชาวบ้านถูกไล่ที่ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะยังมีป่ามาก ชาวบ้านสามารถออกไปบุกเบิกที่ทำกินได้อีก กฟผ.กรมชล และหน่วยงานรัฐ ยังหาพื้นที่เหมาะ ๆ สร้างเขื่อน โดยส่วนใหญ่ไม่มีคนอยู่อาศัย ทำให้ต้นทุกถูก วิศวกร ผู้วางแผน และข้าราชการจึงรู้สึกและคิดอย่างเต็มที่ว่าพวกเขากำลังทำเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ และมองว่านั่นเป็นหน้าที่โดยตรงที่ต้องสร้างเขื่อนอีกเรื่อย ๆปัจจุบัน สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปมากเหลือเกิน แหล่งที่เหมาะสมที่จะสร้างเขื่อนหมดไปแล้ว ที่ที่พอเหลืออยู่บ้าง แต่ไม่ดีเหมือนกัน ผลได้ไม่ชัดเจน ต้นทุนสูงขึ้น ดังนั้น สร้างเขื่อนแล้ว ผลประโยชน์ของชาติไม่ได้สูงขึ้น เราได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติไปมากมายในช่วงที่ผ่านมา แผนพัฒนาฯก็ได้ตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของหายาก โดยเฉพาะป่า และแม่น้ำลำธารที่ยังไม่ถูกกั้นเขื่อน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ไม่มีที่ว่างจะเพาะปลูก ในเขตป่ามีคนไปตั้งถิ่นฐาน ชาวบ้านที่จะถูกไล่ที่ไม่มีที่ทางใหม่ เป็นไปได้ว่าจะกลายเป็นคนจนเมืองนิยามผลประโยชน์แห่งชาติเปลี่ยนไป การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาเมืองไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป ผลประโยชน์แห่งชาติขณะนี้ต้องโยงกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติด้วย ในขณะนี้ทรัพยากรธรรมชาติมีคุณค่าใหม่ในฐานะทุนทางสังคม ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมต้องหวงแหน เพราะเป็นหลังอิงของระบบเศรษฐกิจ รายได้จากอุตสาหกรรมสมัยใหม่ไม่จีรังยั่งยืน ทุนทางสังคมต่างหากที่มีส่วนช่วยหารายได้ให้ประเทศ การท่องเที่ยวไม่สามารถพัฒนาไปได้ หากไม่มีทุนทางสังคมที่เกี่ยวโยงกับทรัพยากรธรรมชาติ และทุนทางสังคมที่เกี่ยวโยงกับวัฒนธรรม การมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญ ดังนั้น นิยามการพัฒนาจึงกว้างขึ้น

การพัฒนาที่ทำลายนิเวศไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไปในขณะนี้เราอยู่ในสมัยประชาธิปไตยเต็มใบ ระบบการเมืองที่เปิดกว้าง เราไม่อาจนิยามว่าผลประโยชน์ของชาติเป็นผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ประชาชนต้องมีส่วนกำหนดว่าผลประโยชน์ของชาติคืออะไร มีการอภิปรายผลได้ผลเสีย ต่อรอง เพื่อนำไปสู่การยอมรับได้ของทุกฝ่าย ในทางปฏิบัติกระบวนการประชาธิปไตยยังไม่เข้าที่เข้าทาง ที่เราได้สร้างสถาบันภาครัฐ เช่น กรมชล กฟผ. และหน่วยงานอื่น ๆ อีกมากมาย สองหน่วยงานนี้เป็นสถาบันที่มีหน้าที่สร้างเขื่อน ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมาสถาบันนี้ก็ได้สร้างความชำนาญในการสร้างเขื่อนจนไม่อยากจะปรับเปลี่ยน นอกจากนั้นยังเกิดกลุ่มผลประโยชน์ที่โยงกับเม็ดเงินจาการสร้างเขื่อน เช่น รับเหมาก่อสร้าง นักเก็งกำไรที่ดิน นักการเมืองท้องถิ่น และระดับชาติ กลุ่มเหล่านี้พัฒนาเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่แน่นหนา ดังนั้น การปรับตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจึงเกิดขึ้นอย่างลักลั่น และกลายเป็นประเด็นนิเวศวิทยาการเมืองผู้สนับสนุนต้องการให้สร้างเขื่อน จึงมักพยายามผลักดันโครงการ แม้ว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงยังขาดข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่นขาดการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม หรือวิเคราะห์โดยขาดหลักการที่น่าเชื่อถือดิฉันเคยมีโอกาสได้ร่วมศึกษา พบกรณีชาวบ้านท้ายเขื่อนห่างไปร้อยกว่ากิโล เชื่อว่าจะได้รับผลประโยชน์จากการสร้างเขื่อน แต่ไม่มีหลักฐานอะไรที่ชี้ว่าชาวบ้านเหล่านั้นจะได้รับผลประโยชน์ การวางแผนการใช้น้ำ และการเขียนโครงการ ขาดชัดเจน ผู้คัดค้านจึงบอกว่านำเสนอผลตอบแทนเกินความเป็นจริง มีการคิดต้นทุนค่อนข้างต่ำ

เนื่องจากเราไม่มีวิธีการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงของสิ่งแวดล้อม ขาดวิธีการประเมินผลกระทบทางสังคมอย่างรอบด้าน ผู้สนับสนุนการสร้างเขื่อนมักหลีกเลี่ยงการศึกษาผลกระทบ โดยพยายามเปลี่ยนนิยามของโครงการปัญหาขาดการยอมรับของสาธารณชน เพราะขาดการมีส่วนร่วมคิด วางแผน และดำเนินการตั้งแต่ต้น ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ มักถูกทำให้เชื่อว่าได้ประโยชน์เกินความเป็นจริง เป็นปัยหาด้านการสื่อสารโดยจงใจ ทำให้เกิดความสับสนด้านข้อมูลเป็นอย่างมากเมื่อโครงการถูกต่อต้าน จนหลายกรณีเป็นกระบวนการทางสังคมขึ้น ทางการก็ตอบรับโดยทำให้ปัญหาบานปลายไปอีก แทนที่จะปรึกษาหารือกัน กลับบอกว่าข้อถกเถียงเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญ พวกนี้เป็นมือที่สาม หรือถูกชักจูง แล้วใช้วิธีการทางการเมืองมายุติ คือจัดหากลุ่มมาสนับสนุน ทำให้ชาวบ้านทะเลาะกันเอง หลายครั้งใช้อำนาจรัฐสลายกลุ่มผู้คัดค้านด้วยความรุนแรง ชาวบ้านทะเลาะกัน นักวิชาการกับข้าราชการมองหน้ากันไม่ติด ทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่บานปลาย และไม่มีความสุขไปหมด เป็นภาวการณ์ที่ไม่จำเป็น ถ้าจะวิเคราะห์ตามแนวนิเวศวิทยาการเมืองจะต้องมีการปรับทัศนคติและการปรับตัวของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มที่เชี่ยวชาญในการสร้างเขื่อน และจะสร้างเขื่อนต่อไปประชาธิปไตยเปิดกว้างให้ประชาชนสร้างขบวนการทางสิ่งแวดล้อมเพื่อต่อรองกับรัฐได้แล้ว ขบวนการเหล่านี้มีความชอบธรรมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ การตอบสนองของรัฐที่ต่อต้านขบวนการโดยมองว่ามีมือที่สาม ถูกมองว่าเป็นความป่าเถื่อน ล้าหลัง ทวนกระแสโลก ขณะนี้กระแสนิเวศวิทยาการเมืองได้ให้ความชอบธรรมแก่ขบวนการประชาชนที่ต่อต้านการทำลายนิเวศ การพัฒนาไม่ใช่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือการพัฒนาอุตสาหกรรมแล้ว แต่ต้องคำนึงถึงระบบนิเวศ

ในต่างประเทศก็กำลังประสานกันระหว่างประเทศพัฒนากับกำลังพัฒนาเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อเมริกาถูกต่อต้าน เมื่อไม่ร่วมมือต้านกรีนเฮาส์เอฟเฟค ทั้ง ๆ ที่เป็นแหล่งสำคัญในการก่อปัญหาผู้สร้างเขื่อนอย่าตัดโอกาสของตนเอง โดยการตั้งป้อมไม่เจรจา ปรึกษาหารือ ขณะนี้ใครก็ตามที่จะสร้างโครงการใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีความจำเป็นต้องปรับตัวขนานใหญ่ และนำเอาการมีส่วนร่วม การทำอีไอเอ เอสไอเอที่น่าเชื่อถือมาเป็นหลักในการทำงาน มิฉะนั้นองค์กรรัฐอาจเสียโอกาสในการสร้างเขื่อนที่อาจดีสำหรับประชาชน(ตอบคำถาม) รัฐบาลนี้มีความฉลาดมากในการประสานผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ ประสบความสำเร็จในการประสานผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นส่วนหนึ่ง นักธุรกิจโทรคมนาคม และนักอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่ง ทำให้รัฐบาลมีกระแสนำและเป็นที่ชื่นชอบ แต่การเมืองไทยไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ก็ยังมีกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น คนชั้นกลางในเมืองที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ก็ยังไม่ได้อะไร รัฐบาลยังจำเป็นต้องประสานประโยชน์กับคนเหล่านี้ ขบวนการประชาชนต้องเตรียมรับมือเอาไว้ เพราะยังไม่รู้ว่าจะไปมีผลกระทบกับคนที่ไม่ได้กินเงินเดือน แต่กินกับป่า กับน้ำ หรือไม่อย่างไรยังมองไม่เห็นความลึกซึ้ง หรือฉลาดของรัฐบาลในการที่สามารถจะรับรู้ข้อมูลในระดับพื้นที่ ว่าเกิดอะไรขึ้นจริง ๆ กับนโยบายต่าง ๆ เรายังไม่เข้าใจการเมืองของไทยหลังวิกฤติ ตอนนี้ประชาชนไม่รู้ว่าจะสร้างยุทธศาสตร์อะไร เพราะยังไม่รู้ข้อมูล เราจะถูกปิดหูปิดตามากแค่ไหน ขบวนการประชาชนที่ควรจะเกิดแต่ไม่ได้เกิด น่าเสียดาย การประสานผลประโยชน์ระหว่างคนรายย่อยเกิดขึ้นโดยไม่มีอุปสรรค

การยึดกุมทางการเมืองเกิดขึ้นแล้วอย่างละเมียดละไม

ชูศักดิ์ถ้าผมเห็นเขื่อนขนาดใหญ่ ผมมองว่าเป็นการรวมศูนย์อำนาจการจัดการทรัพยากร เป็นการดึงสิทธิการควบคุมน้ำจากประชาชนมาสู่การควบคุมโดยองค์กรเดียวแม้เราจะวิพากษ์วิจารณ์เขื่อนมานาน ตอนนั้นมีการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมมากขึ้น มีการพูดถึงทางเลือก แต่ก็ยังมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมการสร้างเขื่อน เพราะตอบสนองผู้มีอำนาจ มักเกิดขึ้นอย่างลับ ๆ ไม่ค่อยเปิดเผยข้อมูล ไม่ค่อยมีการตรวจสอบจากสาธารณะ ถ้าไม่มีการศึกษาผลกระทบของ WCD จะไม่รู้เลยว่าเขื่อนปากมูลไม่คุ้มทุน

ถ้าไม่เปิดเผยไม่รู้เลยว่าภาษีส่วนหนึ่งถูกนำไปชดเชยความไม่คุ้มทุนของเขื่อนองค์กรสร้างเขื่อนมีกลไกปกป้องตัวเองจากการตรวจสอบของสาธารณชน ในแต่ละปีมีการใช้เงินสร้างเขื่อนยี่สิบพันล้านเหรียญ หน่วยงานสร้างเขื่อนมีการประเมินผลตัวเอง แต่ไม่เคยเปิดเผยต่อสาธารณะ เขื่อนไม่ได้เกิดขึ้นโดยตัวเองแต่มีบริบททางสังคมและอำนาจปกป้องมันอยู่ มันไม่ใช่แท่งคอนกรีตอย่างเดียว แต่มันเป็นตัวแทนที่มนุษย์เอาชนะธรรมชาติ มีผลต่อจินตนาการของมนุษย์ เป็นเทคโลยีที่แสดงความก้าวหน้าของมนุษย์ การสร้างเขื่อนมักเป็นที่นิยมชมชอบของนักปกครอง และผู้มีอำนาจ ในยุคการสร้างชาติ มีการระดมการสร้างเขื่อน อ้างผลประโยชน์ของชาติ กลบเกลื่อนผลกระทบทางสังคม อุดมการณ์การสร้างเขื่อนถูกทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ เขื่อนถูกทำให้มีความสำคัญระดับชาติ เช่น การใช้ชื่อบุคคลสำคัญเป็นชื่อเขื่อน การเอาชนะธรรมชาติ ทำให้มนุษยชาติอหังการ วันดานาชีวา บอกว่า มาร์เตอร์เนเจอร์ ถูกลดระดับลงเหลือ ฟีเมล์เนเจอร์ คือผู้หญิงที่ทำให้ผู้ชายมีอำนาจที่จะขูดรีดได้โดยตรงเขื่อนเป็นสัญลักษณ์ความทันสมัย เนรู นายกรมต.ของอินเดีย สร้างเขื่อนเพราะเชื่อว่าจะพาประเทศไปสู่ความทันสมัยเหมือนตะวันตกวิธีคิดที่บอกว่าแม่น้ำที่ไหลลงทะเลสูญเปล่า เป็นการมองคุณค่าของน้ำจำกัดอยู่แค่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ปฏิเสธด้านคุณค่าทางเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ประมง ฯลฯ มองข้ามคุณค่าด้านสังคม ฯลฯ วิธีคิดแบบนี้ให้ประโยชน์แก่คนกลุ่มเดียว คือคนที่อยากสร้างเขื่อนเขื่อนถูกใช้สร้างชาติยุคใหม่ หรือต่อต้านจักรวรรดินิยม เช่น เขื่อนอัสวานของอียิปต์ในกรณีของไทย หลายเขื่อนเป็นตัวแทนของความก้าวหน้า การพัฒนา ถูกยกระดับให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตาม เป็นการแสดงถึงการครอบงำทางอำนาจ

นักวิชาการ.....บอกว่าการมีอำนาจเหนือแม่น้ำแสดงให้เห็นถึงการมีอำนาจเหนือธรรมชาติและการควบคุมผู้คน เขื่อนสร้างโดยผู้มีอำนาจ ใช้ทรัพยากรเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเขื่อนถูกใช้เพื่อเป้าหมายทางการเมือง มีการเมืองของการต่างตอบแทนทางเศรษฐกิจ นักการเมืองทั้งไทย และตปท.ชอบเขื่อนมาก ไม่เห็นนักการเมืองต่อต้านการมีเขื่อนในท้องถิ่น เมื่อมีเขื่อน รัฐมักสร้างองค์กรรองรับ และพัฒนาเป็นหน่วยราชการ แล้วเป้าหมายขององค์กรเปลี่ยนไป นาน ๆ เข้าหน่วยงานมองเขื่อนเป็นเป้าหมาย เพื่อหางานให้ตนเอง แมกซ์เวเบอร์กล่าวไว้ ทั้ง ๆ ที่เขื่อนเคยเป็นเพียงเครื่องมือของการพัฒนาเขื่อนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีธุรกิจเกี่ยวข้อง เป็นองค์กรข้ามชาติ ที่ต่างตอบแทนผลประโยชน์ให้นักการเมืองท้องถิ่น หลายเขื่อนถูกมองเป็นอนุสาวรีย์แห่งการคอรัปชั่น เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งบริษัทที่ปรึกษา ศึกษาความเป็นไปได้ที่ไม่เป็นกลาง ส่วนหนึ่งเกิดจากวิชาที่เรียนมา บริษัทที่ปรึกษาที่เคยได้โครงการก็จะได้อยู่เรื่อย ๆ เราไม่สามารถเอาคนเหล่านี้มารับผิดชอบต่อสังคม เพราะศึกษาแล้วก็ไปศึกษาที่อื่นต่อ เป็นคัทแอนด์รันเขื่อนเกี่ยวข้องกับอุตสหากรรมบางอย่าง เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าให้โรงงานถลุงอลูมิเนียม ซึ่งใช้ไฟมาก ประเทศนอร์เวย์ ... มักมีการสร้างเขื่อนเพราะถลุงอลูมิเนียมมากความช่วยเหลือระหว่างประเทศมีส่วนสำคัญให้เกิดการสร้างเขื่อน ประเทศกำลังพัฒนามักได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศโลกที่หนึ่ง เพื่อทำให้บริษัทในประเทศได้งานปัจจุบันธนาคารโลกมีแนวโน้มให้เงินสร้างเขื่อนแก่ประเทศที่ไม่มีการต่อต้าน และมีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน เป็นการช่วยเหลือที่มีข้อผูกพัน คือบังคับให้ประเทศที่รับการช่วยเหลือต้องซื้อเทคโลยีจากประเทศผู้ให้ภายใต้การวิพากษ์วิจารณ์ กลุ่มสร้างเขื่อนตอบโต้โดยการใช้เทคนิคประชาสัมพันธ์ หรือการสร้างข่าวลือ เมื่อก่อนบอกว่าผู้ต่อต้านไม่รักชาติ หรือเป็นคอมมิวนิสต์ นักวิชาการก็ถูกดิสเครดิตเขื่อนไม่ได้เกิดขึ้นในสูญญากาศ แต่มีบริบททางการเมืองอยู่เบื้องหลัง ผลกระทบถูกเปิดเผยออกมาพร้อม ๆ กับขบวนการเขื่อนไหวของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในประเทศโลกที่สาม อินเดียมีการต่อต้านเขื่อนก้าวหน้ากว่าประเทศไทยในอินเดีย คนตั้งคำถามถึงทิศทางของเนรู เริ่มนึกถึงคานธี เศรษฐกิจแบบพอเพียง และคิดถึงทางเลือกต่าง ๆในประเทศไทย การวิพากษ์เขื่อนขยายตัวเป็นการวิพากษ์การพัฒนา การต่อสู้ของปากมูล ทำให้มีการตั้งคำถามกับการพัฒนา เปิดพื้นที่ให้ประชาสังคม เขื่อนไม่ได้ถูกลบไปจากทางเลือกในการจัดการ ทรัพยากร ความยุติธรรมทางสังคม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ซึ่งทำให้เกิดความขัดยัง

เขื่อนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่านี้ การจัดการน้ำจะต้องมีทางเลือกมากกว่านี้ การมีส่วนร่วมของคนก็เป็นสิ่งที่สำคัญชาญวิทย์เราลำบากกับสังคมที่ไม่มีรากหยั่งลึกตัวแทนชาวบ้านรับร่อ ท่าแซะรัฐบาลพยายามทำให้ชาวบ้านภูมิใจว่าที่บ้านจะมีเขื่อนสองตัว ปีสามหนึ่ง สามสอง ที่ท่าแซะเกิดพายุเกย์ อาจน้อยกว่าหล่มสักในปัจจุบัน หลังจากชาวบ้านเพิ่งสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ก็จะมาสร้างเขื่อน บอกว่าจะป้องกันน้ำท่วมในตัวเมืองชุมพร ต่อมามีโครงการแก้มลิง น้ำไม่ท่วมแล้ว ตอนหลังกรมชลเปลี่ยนเป็นเขื่อนเพื่อการเกษตร แต่พืชภาคใต้ไม่ต้องใช้น้ำเยอะ เขาบอกว่าชุมพรมีนากว่าหกหมื่นไร่ เป็นไปได้อย่างไร ความจริงมีที่นาเพียงหมื่นกว่าไร่ หรือไม่ถึงด้วยซ้ำ เพราะไม่ค่อยทำนากัน พอเริ่มเอาโครงการเขื่อนไปคุย ชาวบ้านเครียดมาก ไม่เป็นอันกินอันนอน เขื่อนท่าแซะกำลังจะพิจารณาอีกสี่ห้าวันนี้ มีสส.กว้านซื้อที่วันพุธ ท่าแซะจะเข้าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติชูศักดิ์ผมไม่ได้ตั้งความหวังว่าจะมีอะไรใหม่ สำหรับรัฐบาลนี้ ผมว่าเขามีวิธีการที่แยบยลที่จะต่อรองผลประโยชน์ พี่น้องประชาชนจะต้องตรวจสอบต่อไป การเคลื่อนไหวของชาวบ้านก็ไม่อาจลดราวาศอกได้ ความหวังยังอยู่ที่การเติบโตขององค์กรประชาชนชาญวิทย์ไม่เห็นด้วยที่ว่ารัฐบาลแยบยล ประเด็นแรกเรื่องนากุ้ง และอีกประเด็นเรื่องเรียกร้องให้ประชาชนสนับสนุนทักษิณ เป็นการใช้อำนาจเร็วเกินไป

สรุป โดย อ.สุริชัย

อ.อัมมาร ชวนให้ดูเรื่องเขื่อนกับการพัฒนาอีกครั้ง ให้ดูว่าประโยชน์สุทธิของเขื่อนมีแค่ไหน รู้ได้อย่างไรว่ามีประโยชน์นั้น มีบทเรียนจากผู้รับผลกระทบจำนวนมาก จะมีกระบวนการตัดสินใจร่วมกันอย่างไรเราจะเอาประสบการณ์ของใครมาเป็นประเด็นคิดต่อ ถ้าดูประสบการณ์ที่เกิดขึ้น มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก แต่เราหาผู้รับผิดไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังยุคปฏิรูปการเมืองด้วย เราจะปล่อยให้ระบบอย่างนี้ดำรงอยู่ต่อไปอีกหรือเราเรียกร้องให้ระบบราชการปฏิรูปตัวเองด้วย แต่จะปฏิรูปอย่างไรคงต้องคุยกันการแบ่งพรรค แบ่งพวก ใครพวกใคร ไม่เอื้อให้เกิดหนทางแก้ไขได้ จำเป็นต้องเสริมมุมใหม่ โดยมองว่าสังคมได้อะไร เสียอะไรจากเขื่อนสังคมถูกปิดล้อมทางข่าวสารโดยไม่รู้ตัวติดตามต่อวันพรุ่งนี้

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา