eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชน 38 องค์กร
กรณีเขื่อนปากมูลและราษีไศล

24 พฤษภาคม 2543

สืบเนื่องมาจากการชุมนุมอย่างสันติวิธีของพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูลและเขื่อนราษีไศลเรียกร้องให้รัฐบาลดำ เนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนโดยให้เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนเพื่อให้ปลาได้เดินทางไปวางไข่ในแม่น้ำมูน ซึ่งเป็นการคืนชีวิต ให้แม่น้ำ เพื่อรักษาระบบนิเวศและคืนธรรมชาติให้ยั่งยืน

การชุมนุมของชาวบ้านในครั้งนี้ ถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ที่รับรองด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ และข้อเรียก ร้องของรัฐบาลนั้นก็ชอบธรรม ดังนั้นรัฐบาลจักต้องเคารพสิทธินี้และต้องดำเนินการตามข้อเรียกร้อง แต่รัฐบาลภายใต้การนำของ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี กลับลอยตัวเหนือปัญหาโดยโยนความรับผิดชอบไปให้กับนายอำนวย ปะติเส ซึ่งมีอำนาจในการ ตัดสินใจ รวมทั้งจังหวัดและการไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย รับผิดชอบ ซึ่งได้สะท้อนถึงจุดยืนของรัฐบาลได้อย่างดีว่าไม่สนใจ ปัญหาความเดือดร้อนของคนจน

ที่ผ่านมารัฐบาลยังได้ปล่อยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและหน่วยราชการท้องถิ่นใช้สื่อของรัฐโฆษณาชวนเชื่อด้วย เพื่อทำลายความชอบธรรมของการชุมนุมโดยกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีกลุ่มผู้ชุมนุมและบิดเบือนข้อมูลความเป็นจริง

ล่าสุดกรณีการให้สัมภาษณ์ของรมต.สาวิตย์ โพธิวิหค และรมต.พรเทพ เตชะไพบูลย์ที่ได้สัมภาษ์อย่างไม่สร้างสรร ก่อให้เกิดความ ขัดแย้งมากขึ้นโดยไร้เหตุผลแทนที่จะเร่งรีบหาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งวิธีการเช่นนี้รัฐบาลชุดใช้มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมของคนจน ซึ่งสะท้อนให้เห็นการกระทำของนักเผด็จการในคราบเสื้อคลุมประชาธิปไตย นั่นเอง

ที่สำคัญการชุมนุมของพี่น้องประชาชนกรณีผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในครั้งนี้นั้น ย่อมสะท้อนและตอกย้ำให้เห็นว่า เขื่อนที่แต่เดิมเชื่อกันอย่างงมงายว่าเป็นส่วหนนึ่งของการพัฒนานั้น แท้จริงแล้วคือ “หายนะของการพัฒนา” เพราะการสร้างเขื่อน ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติและความทุกข์ยากของประชาชนอย่างที่รับรู้กันอยู่ เหตุที่เป็นเช่นนีเนื่องจากรัฐไทยซึ่ง รวมทั้งนักการเมืองถูกครอบงำด้วยวิธีคิดแนวทางการพัฒนาจากประเทศตะวันตก โดยมีกลไกองค์กรข้ามชาติอาทิเช่น ธนาคารโลก ไอ.เอ็ม.เอฟ เอดีบี ให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณเพื่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมนิยม ที่เปิดโอกาสให้ทุนข้ามชาติเข้า มาแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน โดยไม่ได้คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและชุมชนคนท้องถิ่นนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความทุกข์ยากของประชาชน อันเป็นแนวทางการพัฒนาที่ไม่มีความเป็นธรรมและยั่งยืน ซึ่งถึงเวลาที่รัฐไทยต้องทบทวนแนวทางการพัฒนาและแสวงหาทางเลือกด้านพลังงานใหม่

ดังนั้น เราจึงมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลฟังเสียงประชาชนและดำเนินการแก้ไขปัญหาคนจนอย่างจริงจังและจริงใจ ดังนี้คือ

1.รัฐบาลต้องไม่ใช้ความรุนแรงต่อการชุมนุมด้วยสันติวิธีของประชาชนด้วยวิธีการใดๆก็ตามโดยเด็ดขาด

2.รัฐบาลต้องหยุดกระทำการลอยตัว และใส่ร้ายป้ายสีประชาชนโดยเฉพาะรมต.สาวิตย์และรมต.พรเทพ

3.รัฐบาลต้องเร่งเจรจาแก้ไขปัญหากับประชาชนโดยเร่งด่วน

4.ในกรณีปากมูลให้รัฐบาลยึดผลการศึกษาของคณะกรรมการเขื่อนโลกเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา

5.รัฐบาลต้องยุติการสร้างเขื่อนและแสวงหาทางเลือกด้านพลังงานใหม่

6.รัฐบาลต้องทบทวนแนวทางการพัฒนาโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมชีวิตของตนเองเพื่อการพัฒนาที่เป็น ธรรมและยั่งยืน มิใช่ปล่อยให้ทุนข้ามชาติครอบงำและยึดครองอย่างที่เป็นอยู่

ด้วยความเชื่อมั่นพลังประชาชน

เครือข่ายประชาชน 38 องค์กรต่อต้านเอดีบี

กลุ่มแนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ

กลุ่มพิทักษ์ รักษ์ท้องถิ่นคลองด่าน จ.สมุทรปราการ

กลุ่มสานฝันลุ่มน้ำวัง

กลุ่มอนุรักษ์กาญจน์ จ.กาญจนบุรี

กลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์

กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บ้านกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์

กลุ่มฮักเมืองน่าน

ชุมนุมสหพันธ์สหกรณ์เกษตรอีสาน

คณะกรรมการประสานงานแก้ไขปัญหาเกษตรกร จ.เชียงราย

คณะกรรมการประสานงานแก้ไขปัญหาเกษตรกร จ.พะเยา

โครงการละครชุมชน

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 4 ภาค

เครือข่ายกลุ่มเกษตรภาคเหนือ

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำกก-อิง-น่าน

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำแม่ถอด จ.ลำปาง

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำแม่มอก จ.ลำปาง

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำแม่สอย จ.ลำปาง

เครือข่ายป่าไม้ที่ดิน อีสาน

เครือข่ายผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี

เครือข่ายน้ำภาคอีสาน

เครือข่ายผู้บริโภค จังหวัดเชียงใหม่

เครือข่ายสิทธิมนุษยชนสตรี

เครือข่ายสตรีชนบทเชียงราย-พะเยา

เครือข่ายแรงงาน

เครือข่ายสลัม 4 ภาค

เครือข่ายองค์กรชุมชนเมืองเชียงใหม่

ศูนย์สื่อประชาชน

สภาเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคตะวันออก

สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านภาคใต้

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย

คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน

สมัชชาเกษตรกรอีสาน

สมัชชาชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย

สมัชชาชนเผ่าแห่งประเทศไทย

สมัชชาคนจน

สมัชชาลุ่มน้ำมูล

เครือข่ายป่าชุมชนต้นน้ำปิง

สมัชชาป่าชุมชนภาคเหนือ

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา