eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

แถลงการณ์เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

กรณีเขื่อนปากมูล

สืบเนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)และจังหวัดอุบล ฯ ได้แถลงข่าวและออกประกาศสรุปได้ว่า จะเกิดปัญหาน้ำ ท่วมและไฟฟ้าดับหากว่าชาวบ้านที่ชุมนุมที่สันเขื่อนปากมูลไม่ให้ กฟผ.ลงไปซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อีกทั้งประกาศให้ประ- ชาชนในพื้นที่อุบล ฯ และใกล้เคียงรวมระวังน้ำท่วมและไฟฟ้าดับนั้น

เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เห็นว่าการกระทำดังกล่าวของ กฟผ.และจังหวัดอุบล ฯ เป็นการกุข่าวเพื่อให้ประชาชนที่ไม่ ทราบข้อเท็จจริงเกิดความตื่นตระหนกและทำให้เกิดการเกลียดชังชาวบ้านที่ชุมนุมที่เขื่อนปากมูล ขณะเดียวกันก็เป็นกลยุทธ์ในการ เบี่ยงประเด็นที่จะไม่พูดถึงเรื่องข้อมูลผลได้และผลกระทบของเขื่อนปากมูล

เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เห็นว่า ข้ออ้างของ กฟผ.และจังหวัดนั้นไร้เหตุผลเพนื่องจาก

ประการแรก กรณีที่อ้างว่าหากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเสียแล้วจะทำให้เกิดไฟฟ้าดับนั้น เป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากระบบไฟฟ้าของ ประเทศเป็นระบบที่เชื่อมกันหมด ที่สำคัญก็คือ ขณะนี้กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศเหลืออยู่ถึง 5,000 เมกกะวัตต์

การที่ กฟผ.อ้างว่า อุบลอยู่ปลายของสายส่งดังนั้นไฟฟ้าจากเขื่อนปากมูลจึงมีความจำเป็นนั้นก็เป็นการอ้างที่ขาดเหตุผลรอบรอง เนื่องจาก กฟผ.เคยแถลงว่าระบบไฟฟ้าของประเทศเป็นระบบที่มั่นคงที่สุด ที่สำคัญก็คือเขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนที่ออกแบบสำหรับ ให้เป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตในชั่วโมงที่มีความต้องการสูงไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการเพิ่มแรงดันไฟฟ้าในสายส่ง ประกอบกับการที่ ประเทศไทยมีกำลังการผลิตสำรองมากมายดังที่กล่าวมาแล้ว การหยุดปั่นไฟก็จะไม่มีผลกระเทือนแน่นอน

นอกจากนั้นข้ออ้างดังกล่าวยังขัดแย้งกับข่อเท็จจริง เนื่องจากเขื่อนปากมูลเคยหยุดผลิตกระแสไฟฟ้าบางครั้งนานเป็นเดือน ๆ โดยเฉพาะในช่วงน้ำหลากที่ระดับน้ำแม่น้ำโขงหนุนเข้ามาจนทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนไม่แตกต่างกันจนใช้ปั่นไฟ ไม่ได้ ซึ่งก็ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับที่อุบล ฯ แต่อย่างใด

เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังเห็นอีกด้วยว่าข้ออ้างของ กฟผ.นั้นฟังไม่ขึ้น เนื่องจากว่าหากไฟฟ้าที่ปากมูลจำเป็นต่ออุบล ฯ จริง จังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ปลายสายก็ต้องสร้างเขื่อนหรือโรงไฟฟ้ากันทั้งหมดแล้ว

อย่างไรก็ตาม กรณีเดียวที่ทำให้ไฟฟ้าในอุบลและใกล้เคียงดับก็คือ กฟผ.แกล้งดับไฟ ซึ่ง กฟผ.เคยทำมาแล้วในช่วงที่มีการสร้างเขื่อน ปากมูลและถูกคัดค้านจากชาวบ้าน จึงใช้วิธีการดับไฟทำให้คนอุบลเกิดความวิตกเกินเหตุและหันมาสนับสนุนเขื่อน

ประการที่สอง ต่อข้ออ้างที่ว่า หาก กฟผ.ไม่สามารถลงไปซ่อมได้จะทำให้เกิดน้ำท่วมนั้น เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นว่า ไม่เกี่ยวกันแม้แต่น้อย

โดยที่ไม่ต้องถามว่า ข้ออ้างที่ว่าเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าขัดข้องนั้นเป็นความจริงหรือไม่ แต่การที่ กฟผ.โยงเรื่องที่ไม่สามารถลงไปดู แลเครื่องปั่นไฟมารวมกับการเปิดประตูน้ำนั้นเป็นการกุเรื่องขึ้นมา เนื่องจากว่าระบบการสั่งการเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากับระบบสั่งการ เพื่อเปิดประตูน้ำนั้น คนละระบบกัน และไม่มีเขื่อนที่ไหนในโลกที่ให้ระบบการเปิดประตูน้ำไปผูกติดการทำงานของเครื่องปั่นไฟ เพราะการทำอย่างนี้ผิดหลักวิศวกรรมอย่างแน่นอน

ดังนั้น การที่นำเรื่องทั้งสองมาพัวพันกันจึงเป็นการผิดจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรมอย่างร้ายแรง และควรที่จะต้องประณามการ กระทำดังกล่าว

ประการที่สาม การอ้างว่าในขณะนี้ จะเกิดน้ำท่วมเหนือเขื่อนนั้น กฟผ.ต้องพูดให้ชัดว่า น้ำจะท่วมไม่เกิน 108 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปานกลางเท่านั้น เพราะระดับน้ำนี้ เป็นระดับน้ำที่ กฟผ.แจ้งต่อรัฐบาลและประชาชนว่าเป็นระดับเก็บกักสูงสุดของเขื่อนปากมูล ถ้า ระดับสูงกว่า 108 ม.รทก.น้ำเหนือเขื่อนก็จะล้นออกทางประตูระบายน้ำล้นฉุกเฉินหรือสปิลเวย์โดยอัตโนมัติ นอกจากนั้น กฟผ.ก็ได้ ชดเชยชาวบ้านที่อยู่ต่ำกว่า 108.5 ม.รทก.ไปแล้ว ดังนั้นถ้าน้ำท่วมไม่เกิน 108.5 ก็จะไม่มีใครเดือดร้อน

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าเป็นห่วงก็คือ กฟผ.อาจจะปกปิดตัวเลขที่น้ำจะท่วมสูงสุด(Max. High Water Level)ที่แท้จริงเอาไว้ตั้งแต่ แรก โดยไม่ได้แจ้งตัวเลขระดับน้ำท่วมสูงสุดไว้ตั้งแต่ตอนสร้างเขื่อนเพื่อให้จำนวนผู้ที่ต้องอพยพน้อยลง ดังนั้นแล้ว ถ้า กฟผ.ปกปิด ข้อมูลระดับน้ำท่วมสูงสุดและแกล้งไม่ปล่อยน้ำจนทำให้เกิดน้ำท่วมเกิน 108 ม.รทก. กฟผ.ก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหาย ทั้งหมด ไม่ใช่โยนความผิดให้กับผู้ชุมนุม

ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จึงขอให้ กฟผ.และจังหวัดอุบลยุติพฤติกรรมดังกล่าว เพราะข้ออ้างที่ กฟผ.และจัง หวัดนำมาอ้างนั้น เป็นการสร้างความหวั่นวิตกให้กับประชาชนอย่างไร้เหตุผล และยังทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเกิดความเกลียดชัง ในหมู่ประชาชนด้วยกันเอง

เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้หันมาให้จริงใจกับประเด็นปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน และต้องสั่งการให้ กฟผ.รวมทั้งหน่วยงานรัฐท้องถิ่นทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายประชาสัมพันธ์ยุติการกุข่าวดังกล่าวโดยทันที

เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

31 พฤษภาคม 2543

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา