eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

แถลงการณ์นักวิชาการ ชาวบ้าน และนักพัฒนาเอกชนภาคเหนือ 32 องค์กร กรณีเขื่อนปากมูล

"รัฐต้องไม่ใช้ความรุนแรง-เร่งเจรจาแก้ไขปัญหาคนจนโดยเร่งด่วน"

16 พฤษภาคม 2543

สืบเนื่องมาจากการชุมนุมอย่างสันติวิธีของพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูลเป็นเวลากว่า 1 ปี เพื่อเรียกร้อง ให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ได้มีการชุมนุมที่สันเขื่อนและบันไดปลาโจน ของเขื่อนปากมูลเรีกยร้องให้ยกลเกการใช้เขื่อนโดยให้เปิดประตูระบายน้ำเพื่อให้ปลาจากแม่น้ำโขงเดินทางผ่านเขื่อนไปวาง ไข่ในแม่น้ำมูล เป็นการคืนชีวิตให้แม่น้ำมูลเหมือนเดิม และเพื่อรักษาระบบนิเวศและคืนธรรมชาติให้ยั่งยืน

การชุมนุมของชาวบ้านในครั้งนี้ ถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นการชุมนุมอย่างสันติ ไม่มีการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งสิทธินี้ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ.2540 และเป็นสิทธิความชอบ ธรรมตามธรรมชาติ

แต่ปรากฏว่า รัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย กลับนิ่งเฉยดูดายไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของคนจน ตรงกันข้ามกับการแก้ไขปัญหาของคนรวยที่ใช้ระยะเวลาไม่นาน

นอกจากนั้นยังปล่อยให้ กฟผ.มีพฤติกรรมที่ทำลายความชอบธรรมของการชุมนุมโดยกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีกลุ่มผู้ชุมนุม และการสร้างสถานการณ์เพื่อให้สังคมเข้าใจผิดต่อผู้ชุมนุมว่ามีการทำผิดกฎหมายเพื่อจะหาเหตุในการปราบปรามผู้ชุมนุม ซึ่งวิธีการเช่นนี้เป็นวิธีการที่นอกจากไม่เป็นการแก้ปัญหาแล้ว ยังเท่ากับสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของรัฐบาลที่ขัดต่อกระบวน การพัฒนาระบบอประชาธิปไตยของสังคมไทย

เรา องค์กรนักวิชาการ ชาวบ้าน และนักพัฒนาเอกชนภาคเหนือ 32 องค์กร จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลฟังเสียงประชาชนและ ดำเนินการแก้ไขปัญหาคนจนอย่างจริงจังและจริงใจ โดยดำเนินการดังนี้คือ

1.รัฐบาลต้องไม่ใช้ความรุนแรงต่อการชุมนุมด้วยสันติวิธีของพี่น้องปากมูล

2.รัฐบาลต้องเร่งเจรจาแก้ไขปัญหากับพี่น้องปากมูลโดยเร่งด่วน

ด้วยความเชื่อมั่นพลังประชาชน

1.       สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน

2.       เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ(คกน.)

3.       แนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ(นกน.)

4.       พรรคยุวธิปัตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5.       กลุ่มนักศึกษาปริญญาโทเพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

6.       ศูนย์สื่อเพื่อประชาชน (จ.เชียงใหม่)

7.       สถาบันสิทธิชุมชน(จ.เชียงใหม่)

8.       เครือข่ายแม่น้ำตะวันออกเฉียงใต้

9.       มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่)

10.   สมาคมส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนภาคเหนือ(จ.เชียงใหม่)

11.   โครงการพัฒนาลาหู่ – ลุ่มน้ำฝาง(จ.เชียงใหม่)

12.   โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิต-ผู้บริโภคเกษตรกรรมทางเลือกภาคเหนือตอนบน(จ.เชียงใหม่)

13.   โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ(ภาคเหนือ ) (จ.เชียงใหม่)

14.   ศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา(ศอข.) (จ.เชียงใหม่)

15.   สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาในประเทศไทย(จ.เชียงใหม่)

16.   โครงการพัฒนาลุ่มน้ำภาคเหนือโดยองค์กรชุมชน(จ.เชียงใหม่)

17.   โครงการพัฒนาชุมชนแออัด จ.เชียงใหม่(จ.เชียงใหม่)

18.   ศูนย์ชาติพันธุ์เพื่อการพัฒนา(จ.เชียงใหม่)

19.   โครงการช่วยเหลือทางกฎหมายคนชายขอบ(จ.เชียงใหม่)

20.   สมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม (จ.เชียงราย)

21.   โครงการรักษ์แม่ลาว (จ.เชียงราย)

22.   โครงการป่าชุมชนจ.ลำปาง(จ.ลำปาง)

23.   โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อสิ่งแวดล้อม(จ.ลำปาง)

24.   โครงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำแม่สอย (จ.ลำปาง)

25.   โครงการพัฒนาชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าธรรมชาติลุ่มน้ำวัง(จ.ลำปาง)

26.   โครงการฟื้นฟูชีวิตและวัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน(จ.แม่ฮ่องสอน)

27.   ศูนย์ประสานงานเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาจังหวัดลำพูน(จ.ลำพูน)

28.   โครงการปฏิรูปการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดลำพูน(จ.ลำพูน)

29.   โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลี้ อ.ทุ่งหัวช้าง(จ.ลำพูน)

30.   โครงการเกษตรยั่งยืนฟื้นฟูกว๊านพะเยา (จ.พะเยา)

31.   โครงการพะเยาเพื่อการพัฒนา(จ.พะเยา)

32.   โครงการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง(จ.น่าน)

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา