eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

คำประกาศสมัชชาคนจน

วิกฤติคนจนคือวาระของแผ่นดิน แก้ปัญหาคนจนคือแก้ปัญหาของชาติ

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2543

                นับจากรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ประกาศลาออกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 โดยต่อมาวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 รัฐบาลนายชวน หลีกภัยได้ขึ้นมาบริหารประเทศอีกครั้งและกำลังจะครบ 3 ปีอีก 3 วันข้างหน้า นับเป็น 3 ปีที่ยาวนาน สำหรับความทุกข์ยากของแผ่นดิน ซึ่งภาคประชาชน คนจน คนงาน ชาวนา ชาวไร่ ผู้ทุกข์ยากทั้งแผ่นดินถูกกระทำทั้งทางตรง และทางอ้อม ทั้งเชิงนโยบายและการเลือกปฎิบัติจากรัฐบาลชุดนี้อย่างเจ็บปวดแสนสาหัส

มากจนนับกี่ครั้งมิถ้วนที่เลือดคนจนชาวนา ชาวไร่ต้องนองทาทั้งแผ่นดิน มากจนนับครั้งมิถ้วนที่ข้อตกลงผลการเจรจาและ สัญญาถูกยกเลิกบิดเบือนด้วยลมปากนักการเมือง เหล่านี้คือบทสะท้อนสามปีของรัฐบาลที่ขาดการเอาใจใส่จริงจังต่อปัญหา คนยากจน สะท้อนนโยบายรัฐที่ยึดระเบียบกลไกราชการและความเห็นของข้าราชการเป็นใหญ่

เหล่านี้ล้วนตอกย้ำความเป็น “รัฐบาลนายกลูกชาวบ้านชื่อ ชวน หลีกภัย” ที่ไม่เข้าใจปัญหาคนจน

กระทั่งฐานะการเคลื่อนไหวของคนจน ถูกบิดเบือนกลายเป็นอาชญากรของรัฐ ดังปรากฏตัวแทนเครือข่ายองค์กรชาวบ้านถูก กลไกรัฐกลั่นแกล้งแจ้งความดำเนินคดีนับร้อยๆ คดี ดังคำกล่าวที่ว่า “คนดีนอนคุก คนทุกข์นอนตะราง”

เหล่านี้คือท่าทีแบบเดิมๆ คือประสบการณ์ล้มเหลวซ้ำซาก ตลอดสามปีของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยที่มองการชุมนุมเคลื่อน ไหวของประชาชนเป็นศัตรู และมุ่งสลายการชุมนุมรวมกลุ่มของประชาชน มากกว่าการสร้างสรรค์นโยบายที่จะมุ่งแก้ปัญหาที่ ต้นตอสาเหตุที่แท้จริง ภาพการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนทุกข์คนยาก โดยการใช้ความรุนแรงด้วยกลไกกองกำลังเจ้าหน้าที่ ตำรวจเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในทุกพื้นที่ความทุกข์ของแผ่นดิน มากจนนับครั้งมิถ้วน

                สามปีของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สำหรับเรา สมัชชาคนจน เครือข่ายประชาชนผู้ประสบชะตากรรมจากโครงการ พัฒนาของรัฐ สิ่งที่ปรากฏคือความลำเอียงทางชนชั้น และท่าทีเยี่ยงนี้ถือว่ารัฐบาลเป็นอุปสรรคพัฒนาประชาธิปไตยที่ให้อำนาจ การมีส่วนร่วมต่อประชาชนเจ้าของประเทศ ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่เพียงแต่เราสมัชชาคนจนเท่านั้นที่ถูกกระทำ รัฐบาลแล้งน้ำใจ ได้กระทำต่อคนจนทั้งแผ่นดินอย่างยากแค้นสาหัส ทั้งการขึ้นภาษีสรรสามิตน้ำมัน ราคาสินค้าบริโภค การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ที่ยอมจำนนต่อองค์กรทุนข้ามชาติ ทั้งนี้ก็เพียงเพื่อช่วยรัฐบาลอุ้มประกันนายทุน คนรวย ดังสามปีที่ผ่านมา ชาวนาผู้ทุกข์ยาก ได้ฆ่าตัวตายเยี่ยงเช่นคำกล่าวที่ว่า “ชวนมา ชาวนาตาย”

ปรากฏการณ์เช่นนี้สะท้อนภาพรวมทิศทางการพัฒนาประเทศ กว่า 40 ปีที่ผ่านมา คือสาเหตุหลักแห่งการแย่งชิงทรัพยากรจาก ภาคชนบทมาตอบสนองความต้องการมั่งคั่งร่ำรวยของภาคอุตสาหกรรมนายทุน ในนามของการพัฒนา ทำให้ชุมชนท้องถิ่นที่ เคยพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้ถูกโครงการพัฒนาของรัฐเข้ามาแย่ง ชิงทรัพยากรเหล่านั้น ยิ่งต้อง ประสบกับภาวะแห่งความแร้นแค้น รัฐในนามของผู้ทำลายไม่เคยแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ชุมชนที่เคยสงบสุข ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด นั่นคือพัฒนาการการต่อสู้เรียกร้องปกป้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของตนเองในที่สุด ในนามเครือข่ายองค์กรประชาชนคนทุกข์ยากทั่วทั้งแผ่นดิน

                นับตั้งแต่บัดนี้ ในนามแห่งความยากจน เราขอประกาศว่า เรามิอาจยินยอมต่อนโยบายและกลไกแห่งรัฐที่ไม่เป็น ธรรมทั้งปวงกระทำต่อคนจนผู้เป็นประชาชนส่วนใหญ่อีกต่อไป เราขอยืนยันว่า ไม่ว่าใคร กลุ่มคนใด พรรคการเมืองใดๆ ก็ตามที่จะขึ้นมาบริหารประเทศ หากคงยังเพิกเฉยไม่แก้ไขปัญหาคนจนอย่างเข้าใจจริงใจโดยเร่งด่วนแล้ว คณะรัฐบาลเหล่านั้น จักต้องเผชิญกับการเคลื่อนไหวของคนทุกข์ยากทั้งแผ่นดินอย่างมหาศาล เพื่อผลักดันให้สังคมไทยได้ปลดปล่อยปัญหาความ ยากจน เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ประชาชนสามารถกินได้อยู่ดีอย่างสันติสมบูรณ์โดยเร็ว

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา