eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

แถลงการณ์

กรณี การเดินเท้าไกลของชาวบ้านเขื่อนปากมูล 

วันที่ 5 ธันวาคม 2544

จากการเดินเท้าทางไกลของพี่น้องปากมูลจากสันเขื่อนปากมูล อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ถึงหน้าทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดประตูเขื่อนปากมูลอย่างถาวร จนถึงวันนี้เป็นเวลา 57 วันแล้ว พี่น้องปากมูลยังเดินเท้าทางไกลกันอยู่ พวกเขาเดินเพื่อเรียกร้องให้ธรรมชาติกลับคืนมาพวกเขาไม่ต้องการเขื่อน

คำบอกเล่าพี่พ่อเฒ่า-แม่เฒ่าหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนได้เล่าให้พวกเราฟังในช่วงการลงไปศึกษาโดยโครงการมหาวิทยาลัยแม่น้ำ เมื่อวันที่ 11-13 สิงหาคม 2544 ณ หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เมื่อมีมติครม.ให้เปิดประตูเขื่อนปากมูลเป็นเวลา 4 เดือนเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงหลังจากเปิดเขื่อนปากมูล ข้อเท็จจริงที่เราได้รับรู้ในการลงไปครั้งนั้นคือ สิ่งที่ชาวบ้านตลอดสองฝั่งของแม่มูนได้จากการสร้างเขื่อนปากมูล คือ รอยเลือดและคราบน้ำตา ตั้งแต่วันที่สร้างจนถึงปัจจุบันมันยังไม่เคยเหือดหาย บ้านแตกสาแหลกขาด หาปลาไม่ได้เหมือนเก่าเพราะปลาขึ้นมาวางไข่ไม่ได้มีเขื่อนกั้นขวางอยู่ อีกทั้งน้ำมูนยังเน่าเสียเมื่อลงไปหาปลาหรือลงไปอาบจะต้องคัน และระคายผิวหนังทุกครั้ง ลูกหลานต้องอพยพเข้ามาขายแรงงานอยู่ในเมือง ทำงานอยู่ในโรงงานที่ถูกนายจ้างกดค่าแรง พี่น้องปากมูลคัดค้านตั้งแต่ก่อนการสร้างเขื่อนแต่รัฐบาลไม่เคยฟังเสียงเล็ก ๆ ที่มาจากชาวบ้าน แต่หลังจากที่เปิดเขื่อนปากมูลปากขากแม่น้ำโขงเริ่มกลับมา พืชผักริมน้ำเริ่มฟื้นตัว วิถีการหาปลาของชาวบ้านเริ่มกลับมา ลูกหลานกลับบานช่วยพ่อแม่หาปลา พวกเขาจึงมีรายได้มากขึ้น นี่คือข้อเท็จจริงที่พวกเราได้ลงไปศึกษาด้วยตัวเอง

การเดินมาเรียกร้องให้เปิดเขื่อนอย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้ว เพราะการเปิดประตูเขื่อนคือการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ที่ผ่านมานั้นรัฐบาลตามแก้ปัญหาแค่ปลายเหตุเท่านั้น ชาวบ้านปากมูลยังมีความเดือดร้อน เงินเพียงน้อยนิดที่รัฐให้มาไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เราจึงเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของพี่น้องปากมูล และขอเป็นกำลังใจให้การต่อสู้ครั้งนี้ได้รับชัยชนะ

และเราอยากบอกกับในเมืองว่านี่ไม่ใช่การเรียกร้องที่ไม่รู้จักพอ แต่นี่คือการเรียกร้องเพื่อทุกคนในสังคม แม่น้ำมูนไม่ใช่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทสไทย(กฝผ.) ที่เป็นเจ้าของ แม่น้ำมูนเป็นของคนทุกคน การเปิดเขื่อนปากมูนนอกจากจะทำให้ชีวิตของคนทั้งสองฝั่งริมแม่น้ำมูนได้ลืมตาอ้าปากแล้ว แต่มันยังทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นตามไปด้วย ปลาที่ชาวบ้านหาได้ก็นำไปขายให้กับคนในเมืองได้กินกัน

พวกเราในนามเครือข่ายเยาวชนลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นลูกหลานของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการการจัดการน้ำของรัฐที่ผิดแนวทางเช่นกัน พวกเราเห็นว่าการพัฒนาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันกอผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และต่อชุมชนและโครงการที่ผ่านมานั้นเกือบทั้งหมดสร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มเท่านั้น ดังนั้นพวกเราจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลว่า

    1. รัฐบาลจะต้องทำตามข้อเรียกร้องพี่น้องปากมูลทุกข้อ
    2. รัฐบาลจะต้องหาแนวทางใหม่ในการจัดการน้ำที่ไม่ใช่เขี่อน มีทางเลือกอื่นอีกมากเช่นระบบเหมืองฝาย บ่อน้ำในระดับหมู่บ้าน
    3. รัฐบาลจะต้องหยุดการพัฒนาที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน การพัฒนาที่ก่อผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติ
    4. รัฐบาลจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจอย่างแท้จริง และเป็นรูปธรรม

ปัญหาของพี่น้องคนจนเกิดจากรัฐ แน่นอนว่ามันคือหน้าที่ของรัฐที่จะแก้ปัญหาของคนจนไม่ใช่แค่แก้ปัญหาของคนรวยเท่านั้น พวกเราหวังว่ารัฐบาลนายกฯทักษิณ จะรีบดำเนินการแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วน

เชื่อนมั่นในพลังของประชาชน

นายภิญโญ ตะโจคง

ตัวแทนเครือข่ายเยาวชนลุ่มน้ำ

กลุ่มตะกอนยม จ.แพร่

กลุ่มเยาวชนลุ่มน้ำรอบ จ.ชุมพร

กลุ่มเยาวชนลุ่มน้ำมูลตอนกลาง จ.ศรีสะเกษ

กลุ่มเยาวชนตลิ่งน้ำน่าน จ.น่าน

กลุ่มเยาวชนลุ่มน้ำสงคราม จ.สกลนคร

กลุ่มเยาวชนลุ่มน้ำพอง จ.ขอนแก่น

กลุ่มอนุรักษ์ภูคิ้ง จ.ชัยภูมิ

กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำคลองกลาย จ.นครศรีธรรมราช

กลุ่มลูกแม่มูน จ.อุบลราชธานี

กลุ่มเยาวชนอาสาสมัครพิทักษ์ลำโคมใหญ่ จ.อุบลราชธานี

***กลุ่มเยาวชนลุ่มน้ำเป็นกลุ่มเยาวชนที่เกิดจากการรวมตัวกันเพราะได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ การรวมตัวเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 2-5 มิถุนายน 2543 จากการสัมมนาเยาวชนรากหญ้า ณ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มีเป้าหมายเพี่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งคัดค้านโครงการที่จะทำลายทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชนท้อง

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา