eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

แถลงการณ์ภาคเหนือ 32 องค์กร ฉบับที่ 2

กรณีการชุมนุมที่เขื่อนปากมูล

18 พฤษภาคม 2543

สืบเนื่องมาจากการชุมนุมอย่างสันติวิธีของพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูลเป็นเวลากว่า 1 ปี เพื่อเรียกร้อง ให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนโดยให้เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลเพื่อให้ปลาจากแม่น้ำโขงได้วางไข่ใน แม่น้ำมูล เป็นการคืนชีวิตให้แม่น้ำมูล เพื่อรักษาระบบนิเวศและคืนธรรมชาติให้ยั่งยืน

การชุมนุมของชาวบ้านในครั้งนี้ ถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ที่มีกฎหมายรัฐธรรม นูญรองรับสิทธิ แต่รัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย กลับนิ่งเฉยดูดายกระทำการเหมือนลอยตัว เหนือปัญหาไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของคนจน ปล่อยให้เป็นภาระของจังหวัดอุบลราช ธานีหรือเป็นปัญหาระดับท้องถิ่น ท่ามกลางการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.)ได้ทำการปล่อยข่าวทำลาย ความชอบธรรมการชุมนุมของพี่น้องปากมูลว่าทำลายทรัพย์สินของ กฟผ. ที่สำคัญก็คือ การที่รัฐได้ใช้วิธี การใช้สื่อในมือของรัฐบิดเบือนข้อมูล และใส่ร้ายป้ายสีชาวบ้านข้างเดียว

ที่สำคัญคือ การที่รายการรอบภูมิภาคของช่อง 11 ที่ออกอากาศเมื่อเวลา 13.30-14.45 น. ที่นำนายศิวะ แสงมณี ผวจ.อุบล และนายสุพิน ปัญญามาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายไฟฟ้าพลังน้ำของ กฟผ. รวมทั้งการจัด ตั้งกลุ่มที่สนับสนุน กฟผ.เข้าร่วมรายการโดยอ้างว่า เป็นตัวแทนชาวบ้านด้วย ซึ่งนอกจากเป็นการบิดเบือน ข้อมูลข่าวสารอย่างร้ายกาจแล้ว ในหลายครั้งยังมีลักษณะที่ส่อไปในทางของการปลุกระดมมวลชนเพื่อให้ เกิดความเกลียดชังชาวบ้านปากมูล นอกจากนั้นยังปรากฏว่าทางรัฐและ กฟผ.ยังเตรียมออกรายการทอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐเพื่อกล่าวโจมตีชาวบ้านอีกหลายรายการ

ดังนั้น เราจึงมีข้อเรียกร้องต่อสังคมไทย ดังนี้

1.ขอให้สังคมไทยร่วมกันกดดันให้ นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บริหารสูงสุดเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบแก้ไข ปัญหาโดยตรง เพราะปัญหาความเดือดร้อนในครั้งนี้เป็นปัญหาระดับประเทศ ไม่ใช่เพียงปัญหาระดับ ท้องถิ่น จึงต้องให้ผู้มีอำนาจอย่างแท้จริงเข้าเจราจาแก้ไขปัญหาของพี่น้องปากมูล มิใช่การใช้วิธีให้การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) หรือให้ข้าราชการท้องถิ่นดำเนินการ เพราะการกระทำดังกล่าวนี้นอกจากเป็นการ ลอยตัวเหนือปัญหาแล้ว ยังอาจจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเปรียบเสมือน รัฐซ้อนรัฐที่พร้อมจะใช้อำนาจและอิทธิพลเข้าจัดการกับชาวบ้านได้

2.ขอให้สังคมไทย ช่วยกันกดดันไม่ให้รัฐบาลใช้ความรุนแรงต่อชาวบ้านที่ชุมนุมด้วยสันติวิธีของพี่น้อง ปากมูล

3.ขอให้สังคมไทย กดดันไม่ให้รัฐใช้สื่อที่รัฐมีบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงการกระทำอื่น ๆ ที่เข้าข่าย การปลุกระดมมวลชนให้เกิดความเกลียดชังต่อชาวบ้านปากมูล หากสื่อของรัฐจะดำเนินรายการแล้วก็ควร ที่จะให้โอกาสทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน มิใช่การใช้วิธีปิดล้อมข่าวสารซึ่งวิธีการเช่นนี้ พวกเราเห็นว่า เป็นวิธีการสกปรก ควรที่จะต้องถูกประณาม

ด้วยความเชื่อมั่นพลังประชาชน

1.สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน

2.เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ(คกน.)

3.แนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ(นกน.)

4.พรรคยุวธิปัตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5.กลุ่มนักศึกษาปริญญาโทเพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

6.ศูนย์สื่อเพื่อประชาชน (จ.เชียงใหม่)

7.สถาบันสิทธิชุมชน(จ.เชียงใหม่)

8.เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้(จ.เชียงใหม่)

9.มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่)

10.สมาคมส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนภาคเหนือ(จ.เชียงใหม่)

11.โครงการพัฒนาลาหู่ – ลุ่มน้ำฝาง(จ.เชียงใหม่)

12.โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิต-ผู้บริโภคเกษตรกรรมทางเลือกภาคเหนือตอนบน(จ.เชียงใหม่)

13.โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ(ภาคเหนือ ) (จ.เชียงใหม่)

14.ศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา(ศอข.) (จ.เชียงใหม่)

15.สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาในประเทศไทย(จ.เชียงใหม่)

16.โครงการพัฒนาลุ่มน้ำภาคเหนือโดยองค์กรชุมชน(จ.เชียงใหม่)

17.โครงการพัฒนาชุมชนแออัด จ.เชียงใหม่(จ.เชียงใหม่)

18.ศูนย์ชาติพันธุ์เพื่อการพัฒนา(จ.เชียงใหม่)

19.โครงการช่วยเหลือทางกฎหมายคนชายขอบ(จ.เชียงใหม่)

20.สมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม (จ.เชียงราย)

21.โครงการรักษ์แม่ลาว (จ.เชียงราย)

22.โครงการป่าชุมชนจ.ลำปาง(จ.ลำปาง)

23.โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อสิ่งแวดล้อม(จ.ลำปาง)

24.โครงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำแม่สอย (จ.ลำปาง)

25.โครงการพัฒนาชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าธรรมชาติลุ่มน้ำวัง(จ.ลำปาง)

26.โครงการฟื้นฟูชีวิตและวัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน(จ.แม่ฮ่องสอน)

27.ศูนย์ประสานงานเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาจังหวัดลำพูน(จ.ลำพูน)

28.โครงการปฏิรูปการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดลำพูน(จ.ลำพูน)

29.โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลี้ อ.ทุ่งหัวช้าง(จ.ลำพูน)

30.โครงการเกษตรยั่งยืนฟื้นฟูกว๊านพะเยา (จ.พะเยา)

31.โครงการพะเยาเพื่อการพัฒนา(จ.พะเยา)

32.โครงการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง(จ.น่าน)

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา