eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

จดหมายจากนักวิชาการไทยศึกษาส่งถึงนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีวันที่ 19 พค.43

๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓

เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย

ในนามของนักวิชาการไทยศึกษา พวกเราได้ร่างจดหมายฉบับนี้ขึ้นเพื่อแสดงเจตนารมย์ต่อกรณีการชุมนุมของชาวบ้านที่ เขื่อนปากมูล พวกเรามีความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ความขัดแย้งและคำข่มขู่ของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ว่าจะทำการสลายการชุมนุมของชาวบ้านในวันศุกร์นี้ พวกเราอยากจะขอให้ท่านสดับฟังคำเรียกร้องนี้และขอวิงวอนให้ท่าน ใช้มาตรการอันจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจกันซึ่งวางอยู่บนฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและส่งเสริมประชาธิปไตยแบบ มีส่วมร่วมในสังคมไทย

ข้อเรียกร้องของชาวบ้านให้ทำการเปิดประตูน้ำของเขื่อนปากมูลนั้นมีเหตุผลอันควรจะรับไว้พิจารณาอย่างจริงจัง อันเนื่อง จากทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้นไม่สามารถที่จะเสนอทางออกต่อปัญหาซึ่งเขื่อนปากมูลได้ก่อขึ้น ชาวบ้านได้ รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนอย่างหนักหนาสาหัส จำนวนของปลาที่ชาวบ้านเคยได้ใช้หากินได้ลดจำนวนลง การเปิด ประตูเขื่อนนั้นย่อมเป็นการเปิดให้ปลาได้เดินทางไปวางไข่ที่ต้นน้ำและนำความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำกลับคืนมา ดังนั้น ข้อเรียกร้องนี้จึงมีความชอบธรรมและควรจะได้รับการพิจารณาอย่างยิ่ง

หนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาคือการเปิดการเจรจา ไม่ใช่การใช้กำลังปราบปราม แม้ว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี จะประกาศว่าชาวบ้านเองได้ก่อความรุนแรงขึ้นโดยการชุมนุมประท้วงที่สันเขื่อน คำอธิบายเช่นนี้ไม่เพียงพอต่อการเข้าใจ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องว่าวิถีชีวิตของชาวบ้านได้ถูกทำลายโดยกระบวนการที่ชาวบ้านเองมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับ การปรึกษาหารือแต่อย่างใด ในสถานการณ์เช่นนี้ ปฏิกิริยาของชาวบ้านนั้นจึงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้และควรรับฟัง มิใช่ ปราบปราม

พวกเราอยากจะย้ำเตือนว่าวิธีการอันจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจกันที่ได้เสนอไปนั้นเป็นไปตามหลักแห่งรัฐธรรมนูญที่ กำหนดให้โครงการพัฒนาของรัฐนั้นจะต้องปรึกษาหารือกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างนั้นด้วย และกำหนดให้ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แห่งประชาชนไทย การสลายการชุมนุมโดยใช้กำลังนั้นรังแต่จะก่อให้เกิดความรู้สึกว่ารัฐบาล ไทยนั้นยังคงใช้กำลังเป็นหนทางแห่งการแก้ไขความขัดแย้งซึ่งเป็นบทสรุปอันเลวร้ายที่มิพึงเกิดขึ้น

พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะพิจารณาข้อคิดเห็นนี้อันเป็นความเห็นร่วมของประชาชนที่อาศัยอยู่ทั้งในและนอกเขตประ เทศไทย

ขอแสดงความนับถือ,

ดร. แคทเทอริน โบวี่, รองศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน, ประเทศสหรัฐอเมริกา(Katherine Bowie, Associate Professor, University of Wisconsin-Madison, USA)

ดร.จิม กลาสแมน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยซิราคูส, ประเทศสหรัฐอเมริกา

(Jim Glassman, Assistant Professor, Syracuse University, USA)

ดร.เควิน เฮวิสัน, ศาสตราจารย์และผู้อำนวยการเอเชียศึกษา ประจำมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์, ประเทศออสเตรเลีย(Kevin Hewison, Professor and Chair of Asian Studies, University of New England, Australia)

ดร.ฟิลลิป เฮิร์ส, ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรลุ่มน้ำโขงแห่งออสเตรเลีย, ประเทศออสเตรเลีย

(Philip Hirsch, Director, Australia Mekong Resource Center, Australia)

ดร.ชาร์ล ไคยน์, ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาระหว่างประเทศ ประจำมหาวิทยาลัยวอชิงตัน, ประเทศสหรัฐอเมริกา (Charles Keyes, Henry Jackson Professor of International Studies, University of Washington, USA)

ดร.คริส ลิทเทิลตัน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยแมคไควร์รี่, ประเทศออสเตรเลีย (Chris Lyttleton, Assistant Professor, Macquarie University, Australia)

ดร.บรูส มิสซิ่งแฮม, ศูนย์การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย, ประเทศออสเตรเลีย (Bruce Missingham, Health Transition Centre, Australian National University, Australia)

คริส ชเนทดอน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์, ประเทศสหรัฐอเมริกา (Chris Sneddon, Assistant Professor, Dartmouth College, USA)

ดร.เดวิด ชเตร็คฟัส, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน, ประเทศสหรัฐอเมริกา(David Streckfuss, Assistant Professor, University of Wisconsin-Madison, USA)

ดร.ปีเตอร์ แวนเดอร์กีส, รองศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยยอร์ค, ประเทศแคนาดา

(Peter Vandergeest, Associate Professor, York University, Canada)

ดร.ธงชัย วินิจจะกูล, รองศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน, ประเทศสหรัฐอเมริกา (Thongchai Winichakul, Associate Professor, University of Wisconsin-Madison, USA)

ต้นฉบับภาษาอังกฤษ

18 May 2000

His Excellency Prime Minister Chuan Leekpai,

We are contacting you in our capacity as Thai scholars to express our concern about the recent developments at the sit-in of villagers protesting the Pak Mun dam. We are aware of the nature of the current conflict and of the threat by the Governor of Ubon Ratchathani province to evict the villagers this Friday. We would like to encourage reconsideration of this ultimatum and the adoption of a more conciliatory approach that can help resolve the conflict while furthering sustainable development and the strengthening of participatory democracy in Thailand.

The villagers’ demand to open the gates of the dam are reasonable and need to be seriously considered, particularly given that EGAT has been unable to propose meaningful solutions to the problems which the dam has created. The livelihoods of the villagers have been deeply and negatively affected by the Pak Mun dam, which has reduced fish populations upon which they depend. Opening the gates of the dam now would allow fish to return to their spawning grounds and replenish the river. Thus, calls for the dam to be opened legitimate and should gain a hearing.

The best way for the villagers’ concerns about the dam to be addressed is through a dialogue, not through the use of force. Although the Governor of Ubon has declared that it is the villagers’ themselves who are instigating violence through their sit-in, this is not an adequate characterization of the situation. The villagers’ livelihoods have been undermined through a process that did not involve consultation and participation. Under these circumstances, their response is understandable and should be heeded, not repressed.

We want to note as well that the more conciliatory approach we are encouraging is in keeping with the article of the constitution which calls for consultation with communities affected by development plans, as well as with the article which demands respect for the human dignity of all people in Thailand. In addition, it is consistent with the aim of deepening and widening democracy in Thailand. Forceful eviction, by contrast, would create the impression that the Thai government is still committed to the use of force as the final arbiter of conflicts. This would be an unfortunate and unnecessary conclusion.

We hope that you will consider this opinion, which we are certain is shared by a large number of people both inside and outside of Thailand.

Sincerely,

Katherine Bowie, Associate Professor, University of Wisconsin-Madison, USA

Jim Glassman, Assistant Professor, Syracuse University, USA

Kevin Hewison, Professor and Chair of Asian Studies, University of New England, Australia

Philip Hirsch, Director, Australia Mekong Resource Center, Australia

Charles Keyes, Henry Jackson Professor of International Studies, University of Washington, USA

Chris Lyttleton, Assistant Professor, Macquarie University, Australia

Bruce Missingham, Health Transition Centre, Australian National University, Australia

Chris Sneddon, Assistant Professor, Dartmouth College, USA

David Streckfuss, Assistant Professor, University of Wisconsin-Madison, USA

Peter Vandergeest, Associate Professor, York University, Canada

Thongchai Winichakul, Associate Professor, University of Wisconsin-Madison, USA

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา