eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

จดหมายเปิดผนึก

 ที่ พิเศษ / 2543

31 พฤษภาคม 2543

เรื่อง หยุดร่วมกันสร้างสถานการณ์ใช้ความรุนแรงกับชาวบ้านปากมูล

เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย)

ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

สิ่งที่ส่งมาด้วย : เอกสารชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสาธารณชน กรณี กฟผ.และผวจ.อุบลราชธานีสร้าง สถานการณ์เพื่อใช้ความรุน แรงสลายการชุมนุมของชาวบ้านที่สันเขื่อนปากมูล

จากการที่ กฟผ.และจังหวัดอุบลราชธานีออกประกาศเตือนประชาชน ถึงเรื่องการชุมนุมของชาวบ้านที่สันเขื่อนปากมูลได้ทำให้เจ้า หน้าที่กฟผ.ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ จึงมีเหตุให้ต้องหยุดเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าทั้ง หมด 4 เครื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อน้ำที่เอ่อล้นท่วมและไฟฟ้าดับในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นเรื่องที่ โกหกหลอกลวงประชาชนทั้งประเทศ

ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลและประชาชนได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับสูงเพื่อพิจารณา แก้ไขปัญหา แต่ทางฝ่าย กฟผ.และจังหวัดอุบลราชธานีได้ออกประกาศที่หลอกลวงโลก เราเห็นว่าการกระทำดังกล่าวจะคิดเป็นอื่นไป ไม่ได้ถ้าไม่ใช่การสร้างเงื่อนไขเพื่อหาช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมของชาวบ้านที่สันเขื่อนปากมูล

จึงขอเรียกร้องดังนี้

1.       การพลังงานต้องอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรอิสระ

2.       หยุดสร้างสถานการณ์และบิดเบือนข้อเท็จจริง

3.       ให้จังหวัดยุติบทบาทใดๆ ทั้งสิ้นในการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูล

ทั้งนี้ถ้าหากว่าไม่หยุดสร้างสถานการณ์เพื่อใช้ความรุนแรง มิฉะนั้นทุกพื้นที่ของ กฟผ.จะพบกับความรุนแรงที่คาดไม่ถึงเช่นกัน

จึงเรียนมาเพื่อให้เร่งแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องดังกล่าว

ขอแสดงความนับถือ

(นายอกนิษฐ์ ป้องภัย)

ผู้ประสานงานเครือข่ายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอีสาน

**************************************************************************************

 เอกสารชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสาธารณชน

กรณี กฟผ.และ ผวจ.อุบลราชธานีสร้างสถานการณ์เพื่อใช้ความรุนแรง
สลายการชุมนุมของชาวบ้านที่สันเขื่อนปากมูล

 

จากการที่จังหวัดอุบลราชธานีได้ออกประกาศให้เตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วมและไฟฟ้าดับในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้ เคียง สาเหตุอันเนื่องมาจากการชุมนุมของชาวบ้านที่สันเขื่อนปากมูล ขอชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสาธารณชน ดังนี้

1.       เขื่อนปากมูลได้ปักหลักเสาระดับ 108 เมตร รทก.(ระดับน้ำทะเลปานกลาง) ซึ่งเป็นระดับเก็บกักน้ำสูงสุดของเขื่อนตามที่ระบุ ไว้ในเอกสารโครงการ ถ้าน้ำจะท่วมก็คือระดับน้ำต้องสูงกว่าระดับ 108 เมตร รทก. ซึ่งขณะนี้เราพบว่าระดับน้ำยังไม่ถึง 108 เมตร รทก. และในทางเทคนิคหากระดับน้ำเกิน 108 เมตร รทก. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตก็จะต้องเปิดประตูน้ำให้น้ำไหลผ่านออก ไปเพื่อรักษาระดับน้ำไม่ให้เกิน 108 เมตร รทก. ถ้าดันทุรังเก็บกักน้ำไว้ให้เกิน 108 เมตร รทก. ก็แสดงว่า กฟผ.ขาดความรับ ผิดชอบ เพราะฉะนั้นจะใช้น้ำเพื่อปั่นไฟหรือไม่ได้ปั่นไฟก็ตาม กฟผ.จะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบถ้าหากน้ำเอ่อล้นท่วมพื้นที่ เกษตรกรรม กระชังปลาและบ้านเรือนริมฝี่งแม่น้ำมูลของราษฎร

2.       ในส่วนของการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนปากมูลนั้น กฟผ.ได้วางเป้าหมายให้เขื่อนปากมูลทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงที่มี ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละวัน โดยกำลังการผลิตเท่ากับ136 เมกะวัตต์ (ปีละ 280 ล้านหน่วย) และหากจะเปรียบ เทียบเป็นสัดส่วนจะพบว่ากำลังการผลิตจากเขื่อนปากมูลจะเท่ากับร้อยละ 0.7 ของกำลังการผลิตทั้งหมด และสามารถผลิต ไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 0.3 ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งประเทศเท่านั้น

จากข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารที่จัดทำโดยกองสถิติการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟ ผ. พบว่า ในฤดูร้อนซึ่งเป็น ช่วงที่มี ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด เขื่อนปากมูลกลับผลิตไฟฟ้าได้น้อยมากคือ ประมาณ 5 ล้านหน่วยเท่านั้น  หรือมีกำลังผลิตเพียง 40 เมกะวัตต์จากทั้งหมด 136 เมกะวัตต์ (ไม่เพียงพอให้ใช้สำหรับสำนักงานและบ้านพักของ กฟผ.เสียอีก) และข้อมูลในปี 2540 จะปรากฏว่าเขื่อนปากมูลผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 300.99 ล้านหน่วย แต่ทว่า ส่วนใหญ่ผลิตได้ในช่วงฤดูฝน ซึ่งมิ ใช่ช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของปี นั่นยิ่งตอกย้ำว่าภาระหน้าที่หลักของ เขื่อนปากมูลที่จะมาช่วยผลิตไฟฟ้า ในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของวันก็ทำไม่ได้ และช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของปีก็ทำไม่ได้เช่นกัน

ระบบสายส่งไฟฟ้าของ กฟผ.ที่เรียกว่า GRID นั้นเป็นระบบที่เชื่อนโยงกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าต่างๆ (รวมถึง ที่รับซื้อจากต่างประเทศด้วย) เข้าด้วยกัน มีลักษณะคล้ายกับโครงข่ายของใยแมงมุมที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ดังนั้นการรับหรือ ส่งกระแสไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งไม่มีปัญหาแต่อย่างใด กฟผ.ได้เคยประกาศโฆษณาอย่างมั่นใจกับประสิทธิภาพ ของระบบนี้ตลอดมา และในอนาคตระบบนี้จะขยายครอบคลุมไปถึงในอนุภูมิภาคอินโดจีนและอาเซียน นอกจากนั้นใน อดีตที่ผ่านมา กฟผ.ต้องปิดซ่อมโรงไฟฟ้าบางประกงซึ่งมีกำลังผลิตถึง 2,000 เมกะวัตต์ หรือกรณีของการหยุดเดินเครื่อง ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ 1,000 เมกะวัตต์เนื่องจากอากศปิด แต่ก็ไม่เห็นมีผลกระทบถึงระบบไฟฟ้าทั้งประเทศแต่อย่างใด จังหวัดลำปางก็ไม่มีไฟฟ้าดับ

ในเรื่องกำลังไฟฟ้าสำรองนั้น ปัจจุบันมีประมาณ 5,000 เมกะวัตต์ หรือ 1 ใน 4 ของกำลังผลิตทั้งหมด เพราะฉะนั้นคิดเป็น อื่นไปไม่ได้ว่าการประกาศของจังหวัดอุบลราชธานีที่ร่วมมือกับ กฟผ. คือการสร้างเงื่อนไขเพื่อใช้ความรุนแรงสลายการ ชุมนุมของชาวบ้านที่สันเขื่อนปากมูล

คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชนบทอีสาน

686/5 ซอยวุฒาราม ถนนมิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

โทรศัพท์ / โทรสาร (043) 220895, 322267

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา