eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

จดหมายเปิดผนึกถึงสังคมไทย   จาก 200 นักวิชาการทั่วประเทศ

  ขออภัยเนื่องจากจดหมายฉบับก่อนหน้านี้เป็นเพียงจดหมายฉบับร่าง

หยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชน หยุดเบี่ยงเบนปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นการเมือง

เหตุการณ์ที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงทำร้ายและจับกุมชาวบ้านสมัชชาคนจน ที่เข้ามาเรียกร้องให้รัฐบาลตัดสินใจแก้ปัญหา ความ เดือดร้อนที่เกิดจากโครงการต่าง ๆ ของรัฐ รวมทั้งนักศึกษาที่เข้าสนับสนุนการเรียกร้องของชาวบ้านเมื่อวันที่ 16-17 กรกฎาคม 2543 และต่อมาก็ ได้มีการดำเนินคดีกับผู้ถูกจับกุมเยี่ยงอาชญากรของแผ่นดิน นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงการที่รัฐละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ไม่ได้ แตกต่างกับเผด็จการในอดีต การกระทำดังกล่าวขาดซึ่งความเคารพและการตระหนักถึงสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย ให้การรับรอง

พวกเรา นักวิชาการที่ลงนามในท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ขอประณามการกระทำดังกล่าว

พวกเรา เห็นว่า สาเหตุของความรุนแรงครั้งนี้เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี จากพรรคประชาธิปัติย์ และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องได้ทำการเบี่ยงเบนประเด็นปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านให้เป็นประเด็นทางการเมือง โดยการไม่ดำเนินการตัดสิน ใจแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่ชาวบ้านประสบ

แม้ว่าปัญหาความเดือดร้อนนี้ได้เกิดขึ้นและมีการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขมานานกว่า 10 ปี อีกทั้งยังได้มีการศึกษาข้อเท็จจริงจนเป็นที่ ยอมรับกันแล้วว่ามีประชาชนเดือดร้อนจากโครงการต่างๆ ตามกรณีข้อเรียกร้องของชาวบ้านจริง และรัฐจำเป็นต้องแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งมติผล การศึกษาของคณะกรรมการกลางแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนที่แต่งตั้งโดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย ที่ได้เสนอมาตรการเร่งด่วนให้เปิดประตูเขื่อนปากมูลเป็นระยะเวลา 4 เดือน และเปิดประตูเขื่อนราษีไศลจนกว่าจะแก้ปัญหาทั้งหมด รวม ทั้งการแก้ปัญหากรณีอื่น ๆ รวมทั้งหมด 16 กรณี แต่ก็ปรากฏว่ารัฐบาลมิได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาและมาตรการการแก้ไขปัญหาตามข้อเสนอ ของคณะกรรมการที่ให้รัฐบาล ดำเนินการแก้ไขแต่ประการใด

การที่รัฐไม่ได้ตอบสนองต่อปัญหาของชาวบ้านนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านหมดหนทางที่จะต่อรองให้ผู้มีอำนาจในรัฐบาลตัดสินใจแก้ปัญหา จนกระทั่งจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาชุมนุมที่กรุงเทพอีกครั้ง แต่ก็ยังเผชิญกับท่าทีที่เมินเฉยจากรัฐบาลเช่นเดิม จึงจำเป็นต้องเข้าทำเนียบเพื่อเป็นการ สื่อสารกับรัฐบาลโดยตรง

พวกเราเห็นว่า รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องไม่สามารถอ้างสิทธิใด ๆ ในการใช้ความรุนแรงกับชาวบ้านและนักศึกษา และด้วยความเชื่อมั่นใน เจตนาบริสุทธิ์ของชาวบ้านในการเรียกร้องหาความยุติธรรมในสังคม พวกเราจึงเห็นว่าการจับกุมดำเนินคดีกับชาวบ้านและนักศึกษาที่เข้าไปในทำ เนียบนั้น กลับจะเป็นการบ่อนทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลในฐานะผู้แก้ปัญหาในสังคม การเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ไม่สมควรถูกปฏิบัติเยี่ยงอาชญากรของแผ่นดิน และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะถูกมองแต่ในแง่ภัยคุกคามต่อรัฐบาล เช่นที่ผ่านมา

ปฏิกิริยาของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าว เป็นสิ่งที่พวกเราไม่อาจยอมรับได้ เนื่องจากการประเมินค่าปัญหาความเดือดร้อนของชาว บ้านว่า เป็นการกระทำของมือที่สาม และยังอ้างว่าเหตุการณ์ประท้วงดังกล่าวทำให้เสียภาพพจน์ของประเทศและทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยว ข้ออ้าง เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการเบี่ยงเบนประเด็นปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านและชี้นำให้สังคมไม่เข้าใจสภาพปัญหาที่เป็นจริง

เหตุการณ์ความรุนแรงและการจับกุมชาวบ้านและนักศึกษาครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลได้หลีกเลี่ยงและลอยตัวเหนือปัญหา ไม่ตระหนักและ เคารพประชาชน และไม่ใส่ใจปัญหาคนจน _แต่กลับสร้างเงื่อนไขที่ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงเข้าสลายการชุมนุมและจับกุมชาวบ้าน และนักศึกษา ทั้ง ๆ ที่ผู้มีอำนาจในรัฐบาลหากมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ย่อมสามารถหาแนวทางเลือกในการยุติปัญหาได้ตั้งแต่ต้น

ดังนั้น พวกเราจึงขอเรียกร้องต่อสังคมไทยให้รวมพลังเพื่อร่วมกันกดดันรัฐบาลให้ดำเนินการดังนี้

1.ใการกระทำทางกฎหมายใด ๆ ต่อกลุ่มผู้ประท้วงไม่อาจแก้ปัญหาความขัดแย้งได้อย่างแท้จริง ในทางตรงข้ามมีแต่จะทำให้ปัญหาขยายตัวเป็น ประเด็นทางการเมือง รัฐบาลควรตระหนักว่ากลุ่มผู้ประท้วงมิใช่อาชญากรที่มีเจตนากระทำความผิด เพียงแต่ต้องการที่จะสื่อให้รัฐบาลตระหนัก ถึงปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่

2.ให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจแสดงความรับผิดชอบต่อการใช้ความรุนแรงต่อพี่น้อง ประชาชน ในครั้งนี้

3.ให้รัฐบาลรวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องยุติพฤติกรรมเบี่ยงเบนประเด็นปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านให้กลายเป็นประเด็นการเมือง ยุติการ ใช้สื่อของรัฐใส่ร้ายป้ายสี รวมทั้งการยุติพฤติกรรมที่ยึดติดอยู่กับทิฐิมานะ มองเห็นชาวบ้านเป็นศัตรู และหันมาเคารพสิทธิของชาวบ้าน สร้างบรรยา กาศให้เกิดความเข้าใจต่อกลุ่มที่เรียกร้องให้รัฐแก้ปัญหาเพื่อสิทธิในวิถีชีวิตอันพึงมี

4.ให้รัฐบาลนำมติคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและดำเนินการปฏิบัติเพื่อนำ ไปสู่การแก้ไข ปัญหาของชาวบ้านอย่างแท้จริง รัฐบาลจะต้องตระหนักว่า การดำเนินการดังกล่าวนี้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 78 ที่บัญญัติว่า “รัฐต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจทางการเมืองทุกระดับ”

พวกเรา เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวนี้ เป็นหนทางเดียวที่สังคมไทยจะร่วมกันยุติปัญหาความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ มิให้ขยายบาน ปลายออกไปมากกว่านี้  

ด้วยความสมานฉันท์

  รับรองโดย

นักวิชาการทั้งสิ้น 200 คน จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศดังนี้

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 31 คน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 36 คน

มหาวิทยาลัยสุรนารี 23 คน

มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1 คน

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 17 คน

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 14 คน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6 คน

มหาวิทยาลัยบูรพา 4 คน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 10 คน

มหาวิทยาลัยมหิดล 5 คน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2 คน

มหาวิทยาลัยศิลปากร 2 คน

มหาวิทยาลัยรามคำแหง 3 คน

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 1 คน

มหาวิทยาลัยรังสิต 12 คน

มหาวิทยาลัยเกริก 4 คน

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 1 คน

นักวิชาการจากกระทรวงสาธารณสุข 8 คน

นักวิชาการอิสระ 20 คน

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา