eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

  พฤศจิกายน ๒๕๔๕

 

เรื่อง      การฟื้นฟูทรัพยากรและระบบนิเวศแม่น้ำมูล

 

เรียน     ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

            ตามที่ รัฐบาลได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทำการศึกษาผลจากการเปิดประตูน้ำเขื่อนปากมูล โดยมีข้อเสนอ ๔ ทางเลือก คือ ๑.ปิดประตูน้ำถาวร ๒.เปิดประตูน้ำ ๕ เดือน ๓.เปิดประตูน้ำ ๘ เดือน ๔.เปิดประตูน้ำตลอดปี และจากคำอธิบายประกอบข้อเสนอทั้ง ๔ ทางเลือกสรุปได้ว่า ทางเลือกที่ ๔ คือ การเปิดประตูน้ำตลอดปีเท่านั้น ที่จะทำให้ฟื้นคืนทรัพยากร เศรษฐกิจและวิถีชีวิตของชุมชน โดยไม่ส่งผลิตกระทบต่อเสถียรภาพการส่งพลังงานไฟฟ้าฯในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แต่คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕  ให้เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลเป็นเวลา ๔ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม – วันที่ ๓๑ ตุลาคม

มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงขัดแย้งกับผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ระบุไว้ในรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ แต่รัฐมนตรีหลายท่านกลับยืนยันว่ามติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นข้อเสนอของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แต่เป็นข้อเสนอที่มาจากการชี้แจงของอธิการบดี ที่เพิ่งจะเข้าดำรงตำแห่งในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยของคณะนักวิจัยแม้แต่น้อย  ที่สำคัญมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นสาเหตุให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ นำมาอ้างเป็นเหตุผลเพื่อจะปิดประตูน้ำในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕

           

นอกจากนั้นการศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่าการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรสัมพันธ์กับการเปิด – ปิด ประตูน้ำดังนี้

.ด้านพืชผักสมุนไพร หากเปิดประตูน้ำเขื่อนปากมูลถาวร จะทำให้พรรณไม้บริเวณแก่งเพิ่มมากขึ้นพรรณไม้น้ำในป่าทามบริเวณชายเกาะจะเพิ่มมากขึ้น และชาวบ้านจะได้ใช้ประโยชน์จากพรรณไม้ที่เป็นพืชผักกินได้ ขณะที่การปิดประตูน้ำถาวรพืชพรรณไม้ลดลงและหากมีการเปิดปิดเป็นบางช่วงเวลา นอกจากจะทำให้พืชพรรณไม้ลดลงแล้วจะเกิดการแพร่กระจายของไมยราพยักษ์

.ด้านทรัพยากรประมง  จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่าหลังการเปิดประตูน้ำเขื่อนปากมูล ปี ๒๕๔๔ พบพรรณปลาในแม่น้ำมูล ๑๘๔ ชนิด และมีการอพยพตลอดทั้งปี ขณะที่เขื่อนปากมูลปิดประตูน้ำ ในปี ๒๕๔๓ การศึกษาของคณะกรรมการเขื่อนโลก พบพรรณปลา ๙๖ ชนิด

 

นอกจากนั้นงานวิจัยของคณะนักวิจัยไทบ้าน สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูลยังพบว่า การเปิดประตูน้ำทำให้ระบบนิเวศแบบแก่ง ซึ่งเป็นระบบนิเวศเฉพาะของแม่น้ำมูลตอนปลาย และเป็นแหล่งอยู่อาศัย แหล่งเพาะพันธุ์ แหล่งวางไข่ แหล่งอาหารของปลานานาชนิดฟื้นคืนมา หลังจากถูกทำลายไปในช่วงการปิดประตูน้ำ

 

สมัชชาคนจน จึงเรียนมายัง ฯพณฯ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้โปรดเสนอให้คณะรัฐมนตรีทบทวนมติดังกล่าว   และชะลอการปิดประตูน้ำไว้จนกว่าคณะรัฐมนตรี จะพิจารณาข้อเสนอของคณะทำงานกลั่นกรองผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเขื่อนปากมูลที่ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี พล..ชวลิต  ยงใจยุทธ แต่งตั้งขั้นจะทำงานแล้วเสร็จ

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการ

 

ขอแสดงความนับถือ

 

 

(นายทองเจริญ  สีหาธรรม)

ตัวแทนสมัชชาคนจน

กรณีเขื่อนปากมูล

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา