eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

บันทึกสถานการณ์ สมัชชาคนจน หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน1,7

วันที่ 26 มิถุนายน 2543

 ความคืบหน้าจากการติดตาม ผลการปฏิบัติงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในวันนี้ เมื่อเวลา ประมาณ  10.00น. นายสุวิทย์ ภูมิเวียงศรี หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนปากมูล ได้นัดสื่อมวลชนและตัวแทนชาว บ้านประชุมชี้แจงที่บริเวณ อาคารที่ทำการเขื่อนปากมูล เพื่อแจ้งให้ทราบในข้อปฏิบัติขณะลงสังเกตการ์ในอาคาร โรงปั่นไฟฟ้าเขื่อนปากมูล โดยระบุว่า เพื่อให้สื่อมวลชนได้เห็นกับตา เพื่อเก็บความถูกต้อง แต่มีข้อแม้ว่าสื่อมวล ชนถ่ายรูปหรือบันทึกภาพวีดีโอใดๆทั้งสิ้น และให้แลกบัตรผ่านทุกคน โดยสื่อสามารถฝากกล้องไว้กับเจ้าหน้าที่ และต้องแจ้งชื่อแจ้งสังกัด อย่างไรก็ กฟผ. อนุญาตให้สื่อและตัวแทนผู้ชุมนุมครั้งนี้ถือป็น การแจ้งนัดลงไปภาย ในอาคารโรงไฟฟ้าเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา แต่ไม่มีการแจ้งห้ามสื่อมวลชนต่างประเทศล่วงหน้าทำให้ นักข่าว ต่างประเทศที่มารอทำข่าวและถ่ายภาพบรรยากาศผิดหวังไปตามๆกัน โดยนายสุวิทย์ด้วยน้ำเสียงไม่พอใจเมื่อถูก ถามถึงสาเหตุทำไม ถึงห้ามนักข่าวต่างประเทศ เข้าทำข่าวในโรงไฟฟ้า ว่า มันเป็นปัญหาของชาติไม่ใช่ปัญหา ของประเทศอื่น นักข่าวจากอเมริกาผู้หนึ่ง กล่าวว่า ตนไม่อยากเชื่อว่าประเทศประชาธิปไตยอย่างไทย จะคับแคบ ในเรื่องสื่ออย่างนี้ ซึ่งที่อเมริการัฐบาลเขาให้ความสำคัญเรื่องนี้มากที่สุด

 ภายหลังการชี้แจงข้อปฏิบัติต่างๆเสร็จแล้ว เจ้าหน้า กฟผ.จึงนำนักข่าวไปที่โต๊ะแลกบัตร โดยกำหนดให้ไม่เกิน 10 คน เมื่อทุกคนมีบัตรแล้ว เวลาประมาณ 10.45 น. หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนปากมูลได้เดินนำคณะสื่อมวลชน และตัวแทนฝ่ายต่างๆประกอบด้วย น.ส.วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ปรึกษาสามัชชาคนจน เป็นตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม ว่าที่ร.ต.ไพฑูรย์ จงจินากูล ตัวแทนฝ่ายราชการ อ.ทวีคูณ สวรรค์ตรนนท์ ตัวแทนฝ่ายวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าฯ พร้อมทั้งนักข่าวประมาณ  6-7 คนเดินไปที่อาคารโรงปั่นไฟซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของจุดที่กลุ่มผู้ชุมนุมสมัชชา คนจน โดยทางเข้าที่ด้านติดกับถนนผ่านสันเขื่อนซึ่งมีรั้วเหล็กและลวดหนามกั้นไว้ และก่อนที่ยามรักษาความ ปลอดภัยจะเปิดประตูทางเข้าออก ทางด้านนายสุวิทย์เมื่อทราบว่า น.ส.วนิดา จะร่วมไปสังเกดตการณ์ด้วย จึงสั่ง ให้ออกมายืนกั้นประตูไว้โดยอ้างว่า ไม่มีบัตรผ่านเขตห้ามเข้า เข้าไม่ได้ ทางด้านน.ส.วนิดาไม่ยอมและว่าตนก็ เป็นผู้ประสานงาน ผู้หนึ่งทำไมต้องมากั้นกันด้วย อีกอย่างตนก็มีสิทธิ์ที่จะร่วมรับรู้ปัญหาใดๆที่จะเกิดขึ้นด้วย เพื่อทำการประสานตามที่ได้รับมอบหมาย ทางด้านสุวิทย์ ยืนกรานไม่ให้เข้า และมีการโต้เถียงกันเกิดขึ้น แต่เมื่อ ภายหลัง อาจารย์ทวีคูณ เข้ามาชี้แจงกับนายสุวิทย์ว่าวันนี้ ชาวบ้านได้มอบหมายให้ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน เป็นตัว แทนประสานงานแทน น.ส.สมภาร คืนดี ซึ่งป่วยและก็ได้มีหนังสือยืนยันมาด้วยว่า ไม่สามารถเดินทางมาทำงาน ได้ และถ้าเป็นตัวแทนก็ไม่จำเป็นต้องแลกบัตรแต่อย่างใด  เพราะโดยหน้าที่แล้วคณะกรรมการชุดนี้ ได้รับแต่งตั้ง ลงนามโดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถือเป็นผู้ที่ได้รับความไว่วางใจจากทุกฝ่ายอยู่แล้ว  นายสุวิทย์ จนด้วยเหตุผลจึงยินยอมให้เข้าไปได้

 โดยจุดแรกที่ลงไปดูคือ ห้องควบคุมคอนโทรลในชั้นที่2 ซึ่งเป็นจุดที่ใช้ควบคุมระบบเปิดปิดประตุน้ำโดยนาย สุวิทย์ แจ้งว่าขณะนี้ ประตูที่ 1,2,3,4 ขัดข้อง บานที่ 8 เริ่มเสียเมื่อตอนสมัชชาคนจนเข้ามายึดโรงปั่นไฟ นอกจาก นี้ ยังมีบานที่ 7 ที่ต้องถูกล็อดไว้ ส่วนบานที่5นั้นยีงควบคุมได้อยู่ ซึ่งหากเจ้าหน้าที่เข้าทำงานก็จะเป็นการเปลี่ยน ถ่านเครื่องปั่นไฟทั้ง 4 เครื่องและมีบางส่วนที่มีสวะเข้าขวางทางเข้าด้านหน้าสรุปก็จะเป็นสองประเด็นใหญ่ ๆ นี้แต่เท่าที่ทราบเมื่อวานซืนนี้มีความเสียหายที่เกิดขึ้นหหลายรายการเจ้าหน้าที่ก็ไก้แก้ไขไปแล้ว หน.รฟ.ปากมูล กล่าว อย่างไรก็ตามในอาคารชั้นนี้ ผู้สื่อข่าวได้สังเกตเห็นว่า ที่ผนังด้านหนึ่งมีรอยแตกเป็นทางยาว กว่า 2 ฟุต และ ในรอยแตกนั้นมีอยู่ลักษณะที่แตกใหญ่มาก สอบถามจากเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้รับคำตอบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร

 หลังจากออกจากห้องควบคุมที่1แล้ว นายสุวิทย์พาคณะนักข่าวเดินเลี้ยวซ้ายไปตามช่องอาคารที่เปิดไฟสว่างไสว พร้อมติดแอร์เย็นฉ่ำ ตลอดทั้งตัวอาคาร โดยผ่านชั้นที่3ชั้นที่4 ไม่ได้แวะเข้าไปแต่อย่างใด และจุดที่กฟผ. จัดให้เข้า ไปคือ ชั้น5 ซึ่ง เป็นชั้นล่างสุดสามารถมองเห็นผนังท่อน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นตัวเชื่อมให้กระแสน้ำจากหน้าเขื่อน ไหลผ่านเพื่อทำการผลิตไฟ โดย อ.ทวีคูณผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ระบุว่า ห้องควาบคุมนี้เป็นห้องที่ทำการ รักษาระบบการปั่นไฟด้วยไดนาโมหรือเครื่องเทอร์ไบด์ไว้ทั้งหมด  และเครื่องควบคุมหรือท่อผ่านกระแสน้ำที่ เห็นอยู่นี้เป็นเครื่องที่ 4 จากทั้งหมดสี่เครื่อง อย่างไรก็ตามในส่วนที่ กฟผ.อ้างว่าได้รับความเสียหายเนื่องจากถ่าน และอุปกรณ์บางอย่างเสียต้องเปลี่ยนนั้น อยู่ลึกลงไปอีกประมาณ 20 เมตรแต่ก็ไม่ได้แจ้งว่าจะมีการใต่ลงไป สำรวจว่าอะไรเสียหายหรือไม่แต่อย่างใด จากนั้นก็กลับขึ้นมาบนตัวอาคาร โดยใช้เวลาในตัวอาคารโรงปั่นไฟ นานประมาณ 15 นาที

 นายอำนาจ โชติช่วง ผอ.ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า หลังจากนี้ ก็จะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างลงไปทำงาน แต่ก็ยังไม่ได้กำหนดนัดหมายแต่อย่างใด ต้องรอดูความพร้อมอีกทีจึงจะให้เข้าทำงานได้ และว่า ตนก็เชื่อว่า ประตู แต่ละบาน มีปัญหาตามที่ หัวหน้ากองฯได้แจ้งไปแล้ว และว่าสภาพต่างๆก็เหมือนที่นักข่าวทุกคนได้เห็นไปแล้ว นั่นเอง

 ------------------------

 บันทึกรายละเอียดเส้นทางและสภาพภายใน อาคารโรงปั่นไฟ

 เมื่อเวลาประมาณ 10.45น. ทางเข้าที่ประตูสีเขียวด้านหน้าอาคาร ติดกับถนนผ่านสันเขื่อนข้างประตูระบายน้ำ ประตูที่ 1 เดินลงไปตามบันได เลี้ยวซ้ายไต่บันไดลงไปแล้วเลี้ยวขวา จากนั้นจึงผ่านประตูกระจกเข้าไป ที่ด้าน ซ้ายมือมีห้องห้องหนึ่ง เขียนไว้เหนือขอบประตูว่า "control room" หรือ "election bay"หรือ"ห้องจัดระเบียบ เครื่อง เมื่อเดินเข้าไปข้างใน สภาพภายในจะเป็น ตู้ควบคุมขนาดใหญ่มีสวิทย์ไฟเต็มไปหมด และมีคอมพิว เตอร์ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่กว่าธรรมดาทั่วไปอยู่ 2 เครื่อง ระบบภายในห้องนี้ นายสุวิทย์ ภูมิเวียงศรี หน.รฟ. เขื่อน ปากมูล ชี้แจงว่า  ห้องนี้เป็นห้องทำงานควบคุมระบบเปิดปิดน้ำทั้งหมด  ซึ่งขณะนี้มีประตูที่ 1,2,3,4 ขัดข้อง (แต่ เมื่อ วันที่ 24  มิ.ย. ประตูที่1เปิดได้เต็ม 100%)และประตูที่ 7  ล็อคไว้และประตูที่ 8  ปิดตายตั้งแต่สมัชชาคนจน ย้ายเข้ามาอยู่ในลานจอดรถ  ส่วนประตูที่5 นั้นยังควบคุมได้อยู่ และระหว่างที่ชี้แจง  นายสุวิทย์ชี้ไปที่แถบสีแดง ที่เป็นช่องแถบใสคล้ายปรอทติดข้างๆไปด้วย  จากนั้นเมื่อเดินออกจากห้องนี้แล้ว เลี้ยวซ้าย  ผ่านห้องทำงานประ มาณด้านละ 4 ห้อง แล้งจึงถึงทางลงเป็นบันไดมีขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ผ่านชั้นที่ 3 ที่ 4 ซึ่งด้านในปิด ไฟมึด โดยไม่ได้แวะเข้าไปข้างในแต่อย่างใด บันไดที่ลงไปจนถึงชั้นที่ 5 จะวนซ้ายตลอด และก็ถึงชั้นล่างสุด เมื่อลงถึงชั้นที่5  แล้ววนซ้ายไปประมาณ 3 เมตร จึงวนขวาไปตามทางเดินแคบไต่พื้นตะแกรงย้อนไปทางขวา ซึ่งภายในชั้นที่5บริเวณนี้จะเป็นห้องควบคุมระบบน้ำผ่านและสามารถมองเห็นท่อน้ำที่ปล่อย ให้กระแสน้ำผ่าน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เรียกว่า เทอร์ไบด์หรือไดนาโมด์(ตัวผลิตไฟ) ซึ่ง อาจารย์ทวีคูณ สวรรค์ตรานนท์ ได้อธิบาย ว่าชั้นนี้จะควบคุมการผลิตไฟทั้งหมด แต่ห้องที่แก้ไขหากมีความบกพร่องหรืออุปกรณ์ชำรุดต้องเปลี่ยนนั้นจะต้อง ลงไปตามช่องแคบไต่ลงไปลึก ประมาณ 20 เมตร ข้างล่างจะไม่มีคนอยู่ประจำ ซึ่งจะมีช่างลงไปตรวจซ่อมเฉพาะ ที่มีปัญหาเท่านั้นซึ่งท่อน้ำผ่านเข้าเครื่องไดนาโมที่เข้าไปดูนี้จะเป็นท่อ ผ่านเครื่องไดนาโมที่ 4  โดยนายสุวิทย์ บอกว่า ชั้นนี้อยู่ในระดับน้ำที่ 97 ม.รทก. ซึ่งเป็นชั้นอยู่ใต้น้ำ ถ้าจะลงไปอีกก็ต้องปีนบันไดลงไป หมายถึงในห้อง ซ่อมไดนาโมและท่อผ่านน้ำขนาดใหญ่

 จากนั้น นายสุวิทย์ จึงนำคณะสื่อมวลชนกลับขึ้นมา ซึ่งในระหว่างผ่านชั้น2 กลับขึ้นมานั้น ได้สังเกตเห็นว่า  ที่ ผนังด้านซ้ายมือ มีรอยแตกเป็นทางยาว  และหากนับจากความห่างจากพื้นซีเมนต์ประมาณ 50 ซม.  ยาวขึ้นไป ตามผนังประมาณ 2 ฟุต จะเห็นรอยแตกใหญ่มาก  สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดจากแรงกดของน้ำหรืออาจจะรวม ไปถึงการก่อสร้างไม่ได้ขนาดเพราะมีการคอรัปชั่นกันมากนั่นเอง  แล้วกลับขึ้นสู่ด้านบน โดยใช้เวลาในการเข้า สังเกตการณ์เพียง 15 นาทีเท่านั้น

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา