eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

บันทึกสถานการณ์ สมัชชาคนจน หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 1,7

วันที่ 4 กรกฎาคม 2543

 ความเคลื่อนไหว  กลุ่มผู้ชุมนุสมัชชาคนจนที่หมู่บ้านแม่มุนมั่นยืน  อ.โขงเจียมวันนี้เมื่อเวลาประมาณ  14.30น. กลุ่ม ชาวบ้านประมาณ 100 คน นำโดย น.ส.สมภาร คืนดี นางสุดใจ มหาไชย นางปราณี โนนจันทร์ ได้เดินทางมายื่นหนัง สือต่อนายรุ่งฤทธิ์ มกรพงษ์ เรื่อง ขอให้สืบสวน สอบสวน หาข้อเท็จจริง กรณี 1.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในระหว่างการก่อสร้างเขื่อนปากมูลช่วงปี 2535-2537  มีการระเบิดแก่งหินออกจากบริเวณก่อสรางหัวงานเป็นจำนวน มาก  และหินจำนวนดังกล่าวได้ถูกนำไปกองไว้บริเวณที่ดินของชาวบ้านหมู่บ้านหัวเห่ว  หมู่11 ต.โขงเจียมจ.อุบลฯ  ซึ่งมีระยะทางห่างจากตัวเขื่อนปากมูลประมาณ 2 ก.ม.  ภายหลังการก่อสร้างได้มีการขนหินรออกไปเป็ฌนระยะ ๆ  จน กระทั่งปัจจุบัน และว่า ชาวบ้านเคยมีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหนแต่ก็ไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด

พร้อมกันนี้ 25. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำมูนบริเวรบ้านท่าแพ  อ.โขงเจียม ที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2134 มีควางยาว 560 เมตร และเริ่มก่อสร้างเมื่อ 20 เมษายน 2543  ดำเนินการโดยศูนย์สร้างและบุรณสะพานที่ 2  สำนัก งานก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวง หนังสือระบุด้วยว่า โครงการดังกล่าวไม่เคยมีการประชาสัมพันธ์หรือสอบถาม ความ เห็นจากประชาชนในพื้นที่ ว่ามีความจำเป็นเช่นไร  และความโปร่งใสในตัวโครงการ เช่น งบประมาณการก่อสร้าง  มูลค่าโครงการ ผู้รับเหมาโครงการเป็นใคร  และปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีต่อชุมชนเป็นอย่างไร  ก็ไม่ มีการเปิดเผยใดๆทั้งสิ้น

 นอกจากนี้สมัชชาคนจนยังได้เรียกร้องให้มีการสืบสวน  สอบสวน ข้อเท็จจริงในโครงการต่างๆนี้ เพื่อมิให้โครงการ ของรัฐกลายเป้นดครงการเพียงเพื่อทำผลงานและรายได้ให้กับ หน่วยงานและผู้รับเหมาโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม กับภาวะสังคม  และผู้ชุมนุมยังได้เรียกร้องวให้มีกระบวนการสืบสวนสอบสวน  รวมทั้งการบำรุงรักษาส่งเสริมและคุ้ม ครองทรัพยากรธรรมชาติ  ควรให้ชุมชน  หรือประชาชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวทุกขั้นตอน  ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 56 ด้วย อย่างไรก็ตาม  ผู้ชุมนุมยังได้เพิ่มข้อเรียกร้องในกรณีดังกล่าวด้วยว่า ระหว่างที่มีการสืบสวน  สอบสวน หาข้อเท็จจริง  ต้องให้มีการยุติการดำเนินการทั้งสองกรณีไว้ก่อน และเรียกร้องให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดดินทางมาดูข้อเท็จจริงทั้งสองกรณีด้วยตัวเอง  เอาความโปร่งใสและรวดเร็ว ในวันที่ 6 กรกฎาคม นี้อีกด้วย

กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มตั้งขบวนที่หน้าศาลากลางจังหวัด ก่อนจะเดินเข้ามา มีป้ายผ้าเขียนข้อความว่า"ระเบิดแก่งทำเขื่อน ขโมยหินทำสะพาน แม่มูนถูกทำลาย ใครฉิบหาย...ใครรวย?"  ขึงไว้หน้าขบวนด้วย ซึ่งนอกจากนี้ยังมี  แผ่นโปสเตอร์ ภาพการระเบิดแก่งเมื่อตอนสร้างเขื่อน  และภาพรถบรรทุกกำลังขนหิน  ภาพการก่อสร้างสะพานที่ล้ำแม่น้ำมูนเข้ามาชู ขึ้นแสดงต่อสื่อมวลชนด้วย  อย่างไรก็ตาม  ทางเจ้าหน้าที่ประจำศาลากลางได้แจ้งต่อผู้ชุมนุมว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดติด ภารกิจที่สำนังกงานขนส่งจังหวัดจึงไม่สามารถเดินทางมารับ หนังสือได้ มอบหมายให้  นายธรธรรณ์ ชินโกมุท  เจ้าหน้าที่ป้องกันจังหวัดลงมารับหนังสือแทน  และตัวแทนผู้ว่าฯเปิดเผยว่า  ตนรับปากจะนำหนังสือมอบให้ผู้ว่า และ สำหรับเวลาที่ผู้ชุมนุมนัดหมายให้ไปดูพื้นที่นั้น  ตนยังไม่สามารถให้คำตอบได้ต้องเรียนถามเจ้าของผู้รับร้องเรียน เสียก่อน  ป้องกันจังหวัดกล่าว  ซึ่งในส่วนของชาวบ้านเมื่อทราบว่าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ได้มา  ก็ไม่ได้กล่าวว่ากระไร เพียงแต่มอบหมายให้ นางปราณี  โนนจันทร์ เป็รนผู้อ่านหนังวสือ แถลงต่อหน้าสื่อมวลชน  และมอบผ่านนาย ธรธรรณ์ ก่อนจะร่วมกันร้องเพลงมาร์ชสมัชชาคนจน 3 จบ  แล้วกลับออกไป เพื่อเดินทางไปที่ สภาทนายความ ภาค 3  ต่อไป

 ที่สำนักงานกรรมการบริหาร สภาทนายความภาค 3 เลขที่ 81-83  ถนนศรีณรงค์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี  ซึ่งเป็นสำนัก งานทนายความชัช วงศ์สิงห์  และเป็นสำนักงานประสานงานของสภาฯด้วย เมื่อเวลาประมาณ  16.00น. นายชัช วงศ์สิงห์ กรรมการบริหารสภาฯ ภาค 3   นายสุริยา หลักเขต กรรมการทนายความภาค 3 สนง.กฏหมายธรรมชาติ และ นายเทวินทร์ พิมพ์งาม  กรรมการสภานภาค 3  ออกมารับหนังสือจากชาวบ้านกลุ่มสมัชชาคนจนกลุ่มเดิม  เรื่อง กรณี การระเบิดแก่งและการขนหินอุทยานแห่งชาติ  โดยหนังสือระบุว่า  ขอให้มีการตรวจสอบการกระทำของ กฟผ. และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งบุคคลต่างๆที่มีส่วนร่วมในการกระทำดังกล่าว ว่ามีความผิดตามกฏหมายรับธรรมนูญ พ.ศ. 2540 อย่างไรหรือไม่รวมทั้ง ขอให้ทางสภาทนายความได้ให้คำแนะนำกับชาวบ้านในฐานะองค์กรและประชาชนว่าจะ ดำเนินการ ปกป้องทรัพย์สินของชาตินี้ต่อไปอย่างไร

หนังสือฉบับดังกล่าว ระบุอีกว่า จากการสร้างเขื่อนปากมูล บริเวรบ้านหัวเห่ว อ.โขงเจียม จ.อบุลราชธานี  และได้มีการ ระเบิดแก่งซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ  โดยอ้าางว่าเพื่อทำการเปิดทางระบายน้ำท้ายเขื่อน ซึ่ง ชาวบ้านได้รวมตัวกันคัดค้านมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มแรกแล้วนั้น และว่าในเบื้องต้น กฟผ. เคยบอกด้วยวาจากับชาวบ้าน ว่าหินที่ระเบิดขึ้นมาเหล่านี้ไม่ใช่สมบัติของผู้ใด แต่เมื่อภายหลังการสร้างเขื่อนกลับมีการนำหินออกไปจากบริเวณดัง กล่าวโดยไม่มีใคร รู้ว่าใครเป็นเจ้าของหรือใครเป็นผู้อนุญาตให้ขนออกไป

 นางปราณี โนนจันทร์ แกนนำชาวบ้านกล่าวว่า ในกรณี  การสร้างสะพานนี้  ตนสงสัยว่าทำไมต้องมีการสร้างเพิ่มขึ้น มาอีก  เนื่องจากเรามีสะพานที่อยู่ใกล้เคียงแล้วหนึ่งอันนั่นคือ  ที่เขื่อนปากมูล เพราะในโครงการสร้างเขื่อนนี้ก็เพื่อ การคมนาคมของประชาชนที่จะเดินทางข้ามแม่น้ำ ไม่ต้องออ้มไปไกล  สามารถย่นระยะทางได้ด้วย อีกทั้งยังกล่าวว่า การสร้าสร้างสะพานจะมีผลกระทบต่อพันธุ์ปลาที่จะเดินทางขึ้นมาวางไข่แน่นอน  เนื่องจากขณะนี้  สมัชชาคนจน กำลังเรียกร้องให้มีการเปิดประตูระบายน้ำเพื่อให้ปลาขึ้นมาวางไข่   แต่การสร้างสะพานที่ไม่รู้จะเสร็จเมื่อไหร่  ซึ่งไม่ น้อยกว่า 3 ปี แน่นอน  อีกทั้งการก่อสร้างก็ไม่มีความโปร่งใส ใครได้ประโยชน์ และว่าตนสงสัยว่าหากสะพานสร้าง เสร็จก็จะมีการปิดสันเขื่อน  ซึ่งก็เท่ากับเป็นการทำผิดวัตถุประสงค์ของเขื่อน

นางสุดใจ มหาไชย แกนนำปากมูลอีกคนหนึ่ง  ได้แสดงความคิดเห็นกรณีการขนหินของ กฟผ.ในเวลานี้ว่า  แก่งหินที่ ถูกระเบิดนี้ เมื่อก่อนเป็นบ้านเป็นเมืองหลวงของปลา  กฟผ. ทำผิดกฏหมายชัดเจน  เพราะมันอยู่ในเขตอุทยานฯ หิน เป็นล้านๆ ตันยังระเบิดออกไปได้ซึ่งเราในฐานะประชาชนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะดูแลรักษา  ปกป้องทรัพยากร ของ ชาติ แล้วการทำกันทุกวัน  "ดิฉันขอฝากผ่านสื่อมวลชนนะคะว่าถามจริงๆใครได้ประโยชน์กันแน่ประชาชนหรือ  กฟผ. หรือ นายทุน" นางสุดใจกล่าวในที่ สุด

นายชัช วงศ์สิงห์ กล่าวภายหลังรับหนังสือจากกลุ่มสมัชชาคนจน แล้วว่า  เรื่องการลงไปดูพื้นที่ ตนขอปรึกษากันก่อน  แล้วเรื่องหนังสือฉบับนี้ ตนจะนำเสนอสภาต่อไป  ต่อข้อถามที่ว่า  ทางด้านสภาทนายความจะดำเนินการอย่างไรต่อไป นั้น นายชัช  ตอบว่าในเบื้องต้น ขอดูรายละเอียดก่อน  แต่ก็ขอให้ชาวบ้านสบายใจได้ เนื่องจากขณะนี้ สภาทนาย ความมีบทบาทหน้าที่  ภารกิจตามพระราชบัญญัติสภาทนายความฉบับที่28 มาตราที่ 7  ระบุว่า  เป็นหน้าที่ของทนาย ความที่เป็นสมาชิกที่ต้องให้การศึกษา ให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ไม่ได้รับความเป็นธรรม  ในแง่ด้านกฏหมาย  ซึ่งจะการคุ้มครองสิทธิและในด้านสิ่งแวดล้อมด้วย  กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 3  กล่าวต่ออีกว่าขณะนี้สังคม เรามีปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเนื่องจากนายทุน  หรือตัวแทนรัฐเองมองมิติสิ่งแวดล้อมในแต่ด้านตัวเลข แต่ชาวบ้านเรา มองในอีกด้านหนึ่งคือด้านของคุณค่าที่มีต่อวิถีชีวิตมากกว่า  อย่างกฏหหมายใหม่ที่ออกมาก็จะให้ความสำคัญกับการ ก่อสร้างโครงการใหญ่ๆนั่นคือต้อง มองถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และต้องมีการทำประชาพิจารณ์ สำรวจความคิด เห็นทำการศึกษา  ไม่ว่าาจะเป็น ด้านวัฒนธรรม  ด้านชุมชนสังคมต่างๆให้รอบด้านเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้  กฏหมาย ใหม่ให้โอกาสกับประชาชนมากขึ้น  นายชัชวงศ์สิงห์กล่าว

 ความเคลื่อนไหว ที่ชุมนุมริมสันเขื่อนปากมูลทั้งสองฝั่ง  เมื่อเช้าของวันนี้ เจ้าหน้าที่ กฟผ.อย่างน้อย 3 คน  มีชาย 2 คน เป็หญิง 1 คน  ประชุมกันที่รีสอร์ทแห่งหนึ่งในเขตอ.พิบูลฯ  และผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากแหล่งข่าวภายใน รีสอร์ทผู้หนึ่งว่า  ขณะนี้มีการเตรียมกำลังเพื่อ  เข้าเคลียร์พื้นที่ในลานจอดรถด้าฝั่งทิศตะวันออกแล้ว ซึ่งนับเป็นความ เคลื่อนไหวสอดคล้องเป็นอย่างยิ่งต่อการวางจุดกำลังภายในบริเวณสั นเขื่อน  5 จุด คือจุดที่ 1  คือบริเวณป้อมยาม จุดที่ 2 คือที่บริเวณหลังรั้วไม้ที่ชาวบ้านผู้ชุมนุมสมัชชาคนจนเรียกว่า"หลังกำแพงเบอร์ลิน"  จุดที่ 3 คือตรงข้ามบันไดปลาโจน จุดที่ 4  คือบริเวณโรงพักไฟ มุมสันเขื่อนด้านทิสตะวันตก จุดที่ 5  คือ  บริเวณป้อมยาม ทางเข้าฝั่งอำเภอโขงเจียม  ติดกับที่ชุมนุมหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 1  ซึ่งแต่ละจุดนั้นมีการนำเต็นผ้าใบเข้ามากางไว้เรียบร้อยแล้ว

 เกิดเหตุสลดใจในที่ชุมนุม เมื่อเวลาประมาณ 16.45 น. ที่ในที่ชุมนุมหมุ่บ้านแม่มูนมั่นยืน1  ริมสันเขื่อนปากมูลฝั่งซ้าย ขณะที่ นายอ่อน ทรทิพย์ อายุ  90 ปี ชาวบ้านบ้านดอนโด่ ต.โนนกาหลง อ.พิบูลมังสาหาร  จ.อุบลฯ ปัญหาเขื่อนสิรินธร  กำลังนั่งกินข้าวอยู่กับเพื่อนบ้านภายในตูบที่พัก ได้เกิดอาการชักล้มลงข้างวงข้าว และเสียชีวิตในเวลาต่อมา  ซึ่งนาย อ่อน  เป็นผู้ที่มีอายุมากอีกคนหนึ่งที่ประสบกับปัญหาเขื่อนสิรินธร  เมื่อ 30 ปี   ก่อนและออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลจ่าย ค่าชดเชยเป็นที่ดินทำกิน  เนื่องจากการสร้างเขื่อนสมัยก่อนเป็นการดำเนินการในยุคสมัยเผด็จการ  ประชาชนไม่มี สิทธิ์ไม่มีเสียง  และก็ได้ร่วมกับสมัชชาคนจนมาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม  2542 จนถึงปัจจุบัน และถึงเสียชีวิตลงในที่สุด และขณะนี้แพทย์กำลังดำเนินการพิสูจน์ศพว่าเกิดจากสาเหตุอะไร  อย่างไรก็ตาม นายอ่อนนับเป็นผู้ชุมนุมรายที่ 6  แล้วที่เสียชีวิตระหว่างรอการแก้ไขปัญหาจากรัฐบาล

 *********************************************************

สมัชชาคนจน  หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน

ริมสันเขื่อนปากมูล  อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี   โทร. 01-9161478

5 กรกฎาคม 2543

เรื่อง ขอให้สืบสวน สอบสวน หาข้อเท็จจริง

เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

1.) สืบเนื่องมาจากการก่อสร้างเขื่อนปากมูล  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯได้ทำการระเบิดแก่งตาดหัวภู  แก่งคันเห่วและแก่งหิน บริเวณหัวงานเขื่อนออกเป็นจำนวนมาก  ในช่วงการก่อสร้างเขื่อน (2535-2537)  หินจำนวนดังกล่าวได้ถูกนำไปกอง ไว้บริเวณที่ดินของหมู่บ้านหัวเห่ว  ภายหลังจากการก่อสร้างเขื่อนเสร็จสิ้น  ได้มีการขนหินโดยรถบรรทุกสิบล้อ  ออก ไปจากบริเวณบ้านหัวเห่วเป็นระยะๆ  จนกระทั่งถึงปัจจุบัน สมัชชาคนจนในฐานะองค์กรสิ่งแวดล้อมและชาวบ้าน หัวเห่วได้มีการร้องเรียนไปยังหน่ว ย งานที่เกี่ยวข้องหลายครั้งหลายหน  แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด จึงใคร่ขอให้ มีการสอบสวนข้อเท็จจริงอย่างโปร่งใสว่าปริมาณหินดังกล่าวใครหรือหน่วย งานใดควรจะเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงและ การขนหินออกไปขายให้กับนายทุนรับเหมาก่อ สร้าง  ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์ จากความเข้าใจของประชาชนทั่วไปหิน ที่ระเบิดออกจากอุทยานแห่งชาติควรจะเป็นสมบัติ ของชาติ  อีกทั้งชาวประมงผู้เคยใช้ประโยชน์จากแก่งหินในการหา ปลา  ก็ไม่เคยได้รับผลประโยชน์ชดเชยจากความสูญเสียดังกล่าว

2.) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำมูลบริเวณบ้านท่าแพ  อ.โขงเจียม ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2134 ความยาว 560 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ 20 เมษายน 2543  ดำเนินการโดยศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 2  สำนักงานก่อสร้าง สะพาน กรมทางหลวง โครงการดังกล่าว  ไม่เคยมีการประชาสัมพันธ์  หรือสอบถามความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ว่า มีความจำเป็นเช่นไร เนื่องมาจากว่ามีสันเขื่อนปากมูลที่เป็นสะพานข้ามแม่น้ำมูลอยู่แล้วในบริเวณใกล้ ๆ  สมัชชาคน จนมีความเห็นว่า  การก่อสร้างสะพานขนาดใหญ่ควรมีการชี้แจงโครงการอย่างโปร่งใส  เช่น ความจำเป็นในการก่อ สร้าง มูลค่าโครงการ  ผู้รับเหมาโครงการคือใคร  ปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่มีต่อชุมชน 

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและป้องกันปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมขึ้นอีกในอนาคต  จึงควรมีการ ศึกษาให้รอบด้าน  โดยเฉพาะการคำนึงถึงความคุ้มค่าของโครงการ  ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและอาชีพประมง

3.)  สมัชชาคนจนจึงขอให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้สืบสวน  สอบสวน หาข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวข้างต้น  เพื่อมิ ให้โครงการต่างๆ ของรัฐกลายเป็นโครงการเพียงเพื่อทำผลงานและรายได้ให้กับหน่วยงานและผู้รับเหมาโดย ไม่คำนึง ถึงความเหมาะสมกับภาวะสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน  ส่วนการขนหินควรจะดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่ กระทำผิดกฎหมาย  ยักยอกเอาสมบัติของชาติไปเป็นสมบัติส่วนตัว  โดยไม่เลือกว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเป็นหน่วย ราชการที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างอีกต่อไป

4.) กระบวนการสืบสวน สอบสวน  หาข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว รวมทั้งการจัดการ  การบำรุงรักษา ส่งเสริมและคุ้ม ครองทรัพยากรธรรมชาติ ควรให้ชุมชน  หรือประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวทุกขั้น ตอน  ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 56

5.) ระหว่างการสืบสวน สอบสวนหาข้อเท็จจริง  และกระบวนการตามข้อง 3,4  ให้ยุติการดำเนินการทั้งสองกรณีดัง กล่าวไว้ก่อน

6.) เพื่อให้การแก้ไขปัญหา  เป็นไปด้วยความโปร่งใสและรวดเร็ว  จึงขอเรียนเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเดินทางมา ดูข้อเท็จจริงทั้งสองกรณี ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 ทั้งที่บ้านหัวเห่ว  และบ้านท่าแพ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

 จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดเร่งดำเนินการ แก้ไขปัญหา

ขอแสดงความนับถือ

(นางสุดใจ มหาไชย) (นางเริญ กองสุข) (นางสัมฤทธิ์ เวียงจันทร์)

 ตัวแทนสมัชชาคนจน หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน

 ********************************************************************

สมัชชาคนจน หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน

ริมสันเขื่อนปากมูล  อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี 34220  โทร. 01-9161478

5 กรกฎาคม 2543

เรื่อง กรณีระเบิดแก่งและการขนหินของอุทยานแห่งชาติ

เรียน ประธานสภาทนายความจังหวัดอุบลราชธานี

 จากการสร้างเขื่อนปากมูล บริเวณบ้านหัวเห่ว อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี  กฟผ.ได้ทำการระเบิดแก่งหินซึ่งเป็นพื้นที่ ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ  โดยอ้างว่าเพื่อเปิดทางระบายน้ำท้ายเขื่อนปากมูล ซึ่งชาวบ้านได้ร่วมกันคัดค้าน การระเบิดแแก่งหินในบริเวณดังกล่าวมาตั้งแต่เริ่มแรก  แต่ที่ผ่านมาไม่มีใครที่จะเอาผิดกับ กฟผ.ได้ และหินที่ระเบิดขึ้น จำนวนมากได้ถูกน้ำไปกองไว้บริเวณบ้านหัวเห่วโดย ในเบื้องต้น กฟผ. ได้บอกด้วยวาจากับชาวบ้านว่าหินที่ระเบิดขึ้น เหล่านี้จะไม่ใช่สมบัติของผู้ใด แต่ภายหลังการสร้างเขื่อนหิน ได้มีการนำหินออกไปจากบริเวณดังกล่าวเป็นระยะ ๆ  โดยไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นเจ้าของและใครเป็นผู้อนุญาตให้ขนออกไป

 ดังนั้น  จึงเรียนมายังท่านเพื่อตรวจสอบการกระทำของกฟผ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่มี ส่วนร่วมในการกระทำดังกล่าว  ว่ามีความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ  อุทยานแห่งชาติและกฎหมายฉบับอื่น ๆ  รวมทั้งกฎ หมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ 2540 อย่างไรหรือไม่ และช่วยให้คำแนะนำกับชาวบ้านในฐานะองค์กรและประชาชนว่าจะ ดำเนินการปกป้องทรัพย์สิน ของชาตินี้ต่อไปอย่างไร

จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการ

ขอแสดงความนับถือ

(นางสุดใจ มหาไชย) (นางเริญ กองสุข) (นางสัมฤทธิ์ เวียงจันทร์)

 ตัวแทนสมัชชาคนจน  หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา