eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ลำดับเหตุการณ์

การใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงและจับกุม 202 ผู้ชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล

16-18 กรกฎาคม 2543

วันที่ 16 กรกฎาคม 2543

เวลา 20.10 น.   สมัชชาคนจนประมาณ 400 คน บุกเข้าทำเนียบรัฐบาล ปีนรั้วเพื่อเข้าไปชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล หลังจากชุม นุม มา 16 เดือน แต่รัฐบาลไม่แก้ปัญหา  ส่วนใหญ่สามารถเข้าไปได้ แต่ถูกตำรวจข้างในดันออกมา ถึงขั้นจับโยน  แม้จะต้อง เผชิญ กับกำลังตำรวจที่ใช้กระบองตีสกัดจนได้รับบาดเจ็บไปหลายราย บ้างศีรษะแตก คิ้วแตก แผลฟกช้ำ ใช้สเปรย์พริกไทย และแก๊ส น้ำตาฉีดใส่ผู้ชุมนุม

เวลา 20.40 น.    เจ้าหน้าที่ตำรวจภายใต้การนำของ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ได้ขอกำลังเพิ่มอย่างรวดเร็ว

ประมาณ 23.00 น.     มีรายงานแจ้งมาว่า ตำรวจจะใช้กำลังเข้าสลายม๊อบในครั้งนี้โดยข้างนอกจะยิงแก๊สน้ำตาเข้าไปข้างใน และข้างในจะใช้กระบองตี

เวลา 23.30 น.      กำลังตำรวจมีเพิ่มมากขึ้นจำนวนกว่าพันนายสามารถล้อมสมัชชาคนจนไว้ได้ ในขณะที่สมัชชาคนจนซึ่งเป็น ผู้หญิงและเด็กเป็นส่วนใหญ่ยังอยู่ในทำเนียบรัฐบาล ตัวเลขคร่าวๆผู้ที่เข้าไปได้ประมาณ 200 คน ขณะเดียวกันมีรายงานข่าว ทางโทรทัศน์ เนชั่นแชแนลเท่านั้นทางทีวีรายงานว่า สมัชชาคนจนประมาณ 80 คนบุกเข้าทำเนียบรัฐบาล และได้สัมภาษณ์ พล.ต.อ. สันต์ ศรุตานนท์ ซึ่งระบุว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้แล้ว ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง และยังกล่าวว่าม็อบยืนยันมา ตลอดว่าจะไม่เข้าทำเนียบ แต่ที่สุดก็โกหกจนได้ ทำให้ต้องเรียกกองกำลังสายตรวจเกือบทั้งหมดมาประจำการในครั้งนี้ ทำให้ สูญเสียเวลาในการปกป้องดูและประชาชนส่วนอื่น ทั้งยังอ้างว่าไม่ได้ทำร้ายและใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมแต่อย่างใด การที่ผู้ ชุมนุมได้รับบาดเจ็บเกิดจากการลื่นตกลงมาจากบันไดไม้ไผ่ที่ใช้ปีนเข้าไปเอง  

เวลา 24.00. เนชั่นแชแนลรายงานข่าวพร้อมภาพข่าวว่า ชาวบ้านปากมูลประมาณ 100 คนที่เข้าไปในทำเนียบรัฐบาลได้ ประ กาศจะไม่ยอมออกจากทำเนียบรัฐบาลอย่างเด็ดขาด หากรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการกลางฯ ในขณะที่มีตำรวจ ล้อมไว้อย่างหนาแน่น ทั้งการใช้รั้วเหล็กกั้น  สภาพที่กลุ่มสมัชชาคนจนอยู่ในข้างในนั้น ถูกล้อมให้อยู่ในพื้นที่ขนาดเล็ก พื้นที่ เฉอะแฉะ เนื่องจากฝนที่ตก และน้ำที่ขังอยู่ด้วย แม้ว่าจะเข้าไปได้แต่ส่วนใหญ่ต่างได้รับบาดเจ็บจากการปะทะกัน เป็นแผลฟก ช้ำ นอกจากนั้นยังมีเด็กอายุไม่ถึงขวบอยู่ในที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย  

ในขณะที่ด้านนอกกลุ่มสมัชชาคนจนที่เหลือก็สวดมนต์นำโดยพระพิเชษฐ์ ท่ามกลางสาบฝนที่ตกโปรยปรายลงมา และมีราย งานว่าภายในทำเนียบรัฐบาลขณะที่สมัชชาคนจนเข้าทำเนียบรัฐบาลมีสุนัขตำรวจ 4 ตัว อยู่ในนั้นด้วย พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้มีการเตรียมแก๊สน้ำตาไว้สลายกลุ่มสมัชชาคนจนแต่อย่างใด และสุนัขตำรวจทั้ง 4 ตัวนั้น ไม่ได้นำมา สลายม็อบในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน  

ผลจากการปะทะกันส่งผลให้มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจำนวน 21 ราย ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวชิระ ในขณะที่ตำรวจยืนยัน อย่างหนักแน่นว่าไม่ได้ใช้กำลังเข้าทุบตี ไม่ได้ใช้แก๊สน้ำตา แต่เป็นเพียงสเปรย์พริกไทยเท่านั้น

วันที่ 17 กรกฎาคม 2543

เวลา 02.00 น. สถานการณ์เริ่มนิ่ง เริ่มมีการส่งเสบียง ยาต่างๆ เข้าไปให้สมัชชาคนจนที่อยู่ข้างในทำเนียบประมาณ 200 คน แต่ตำรวจห้ามไม่ให้ส่งเสื้อผ้า อ้างว่าจะเป็นการซุกซ่อนระเบิดเข้าไป  

รายงานจากภายในทำเนียบว่า ผู้ที่เข้าไปได้ ส่วนมากเป็นผู้หญิงและคนชรา มีเด็กอายุประมาณ 1 ขวบอยู่ด้วย สถานการณ์เริ่ม เข้าสู่ความสงบ ข้างนอก สมัชชาคนจนใช้รถ 6 ล้อ กล่าวปราศรัยตอบโต้รัฐบาลเป็นระยะ และจัดเวรยามให้มีการเฝ้าอยู่ที่หน้า ทำเนียบผลัดเปลี่ยนกัน  

สลายโหด/จับกุมชาวบ้าน 202 คน

เวลา 14.30 น.         สถานการณ์เริ่มตึงเครียดเมื่อกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรึงบริเวณด้านหน้ากลุ่มชาวบ้านพร้อม ทั้งนำรถกรง ขังสีดำ ใช้บรรทุกผู้ต้องหา มาจอดไว้ด้านหลัง (หน้าห้องกระจก) ก่อนเคลื่อนเข้ามาประชิด  

เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่นายหนึ่งอ่านประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงติดรถตำรวจ ให้ชาวบ้านออกจากทำเนียบรัฐบาล หากผู้ใด มีความประสงค์จะออกตำรวจจะนำออกโดยดี หากขัดขืนจะถูกจับกุมข้อหาบุกรุกสถานที่ราชการ ขณะที่ชาวบ้านนั่งคล้องแขน กันแน่น ป้องกันการเอาตัวไปของตำรวจ ในช่วงที่นายตำรวจประกาศ ตำรวจได้ใช้คีมตัดลวดที่แผงเหล็กกั้นที่ชาวบ้านอยู่ ชาว บ้านประกาศหากจะจับต้องจับไปให้หมด

นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ถามกำชับตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบว่า “จำหน้าแกนได้หมดทุกคนใช่ไหม” ตำรวจตอบรับ จากนั้นก็ ใช้กำลังเจ้าหน้าที่เข้าฉุดกระชากลากถูกชาวบ้าน โดยตำรวจส่วนหนึ่งมุ่งไปที่แกนนำชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านก็คล้องแขนกันอย่าง เหนียวแน่น เมื่อดึงไม่ออกตำรวจก็ดึงที่ผม และกระชาก ใช้กระบองตีที่แขนบางคน

ชาวบ้านทั้งหญิงชายถูกกระชากขึ้นรถกรงขังที่เตรียมไว้ใกล้กว่าสิบคัน จนหมดทุกคน บางคนร้องไห้ บางคนสวดมนต์เรียกสติ กลับคืน ชาวบ้านบางคนเจ็บแค้นกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใช้ความรุนแรงครั้งนี้  

“ตำรวจได้จับไม่เว้นแม้แต่คนแก่หรือเด็กหนึ่งขวบ” โดยอ้างว่า “บุกรุกสถานที่ราชการ ผิดกฎหมายต้องเอาออก” รถคันที่ใส่คน เต็มเคลื่อนไปรอหน้าตึกไทยคู่ฟ้า  

รถทั้งหมดจอดรอประมาณ 30 นาที จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำรายชื่อมาประกาศที่รถทุกคันว่ามีคนชื่อนี้หรือไม่ และบอกว่า แกนนำต้องแยกรถขนต่างหาก โดยผู้ชายจะแยก อาทิ นายบุญชู สาวิสา นายปู นายคำตา นายสาคร และอีก 2-3 คน อยู่ด้วยกัน ส่วนผู้หญิงแยก น.ส.สมภาร คืนดี และ น.ส.วิไลพร จิตรประสาน ไปรถอีก 1 คัน พร้อมกับมีตำรวจหญิง 10 คน คุ้มกัน เมื่อตำ รวจแยกแกนนำเสร็จแล้ว รถจึงเคลื่อนออกจากทำเนียบรัฐบาล โดยชาวบ้านไม่รู้ว่าตำรวจจะพาไปที่ใด และช่วงนั้นก็ไม่รู้ว่ารถ ผู้ชายถูกแยกไปอีกทางหนึ่งแล้ว  

เจ้าหน้าที่คุกคามชาวบ้านที่ถูกจับกุม

เวลา 16.00 น.                ขบวนรถได้เคลื่อนถึงโรงเรียนตำรวจนครบาล ศาลายา จ.นครปฐม โดยในเบื้องต้นตำรวจย้ำไม่ให้ ชาว บ้านลงจากรถ เมื่อตำรวจนำตัวขึ้นมาบนห้องโถงใหญ่ ตำรวจหญิงประมาณ 30 คน ถือกระดาษกับปากกาเข้ามาในห้อง อ้างว่า จะต้องเอาชื่อ ที่อยู่ ประวัติส่วนตัวของชาวบ้าน เพื่อกันไว้เป็นพยาน หลังจากนั้นก็จะปล่อยตัวไป แต่ภายหลังการตกลงกันของ ชาวบ้าน จะไม่ให้การใดๆกับรัฐบาล จะรอทนายความเท่านั้น                                

เวลา 17.00 น.                นายสราวุธ ปทุมราช ทนายความจากสภาทนายความ เดินทางมาพบตัวแทนชาวบ้าน ให้ข้อแนะนำเรื่อง กฎหมายว่า ชาวบ้านมีสิทธิที่จะไม่ให้การใดๆ จากนั้น ชาวบ้านก็ได้ตกลงร่วมกันว่าจะไม่ให้การใดๆ กับตำรวจ เนื่องจากขณะ นั้น ชาวบ้านยังสับสนเรื่องการตั้งข้อกล่าวหา และไม่รู้ว่าตนจะถูกตั้งข้อหาอะไรบ้าง แต่ภายหลังชาวบ้านได้ไปให้การกับพนัก งานสอบสวนโดยมีข้อตกลงว่า จะให้การปฏิเสธและไปให้การในชั้นศาล ข้อกล่าวหาที่ชาวบ้านถูกตั้งคือ “บุกรุกสถานที่ราช การเวลากลางคืน ใช้วาจาขู่เข็ญว่าจะเข้าประทุษร้าย” ในการนี้ชาวบ้านจะไม่ยอมเซ็นชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือใด ๆ แต่ภายหลัง การให้การกับพนักงานสอบสวนแล้ว มีชาวบ้านบางคนบอกว่าตนจำต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ เพราะขณะไปนั่งในห้องสอบสวน ตำรวจได้ข่มขู่ว่า หากไม่พิมพ์จะจับแก้ผ้าให้หมด มีชาวบ้านบางคนไม่ยอม ก็ถูกตำรวจข่มขู่ว่า “นี่ถ้าเป็นลูกเป็นเมียจะตบ ให้ตายชักเลย” ซึ่งทำให้ชาวบ้านกลัว เมื่อถูกฉุดกระชากมืออกไปลงที่หมึกพิมพ์ (มีจำนวน 21 คน ที่ถูกขู่บังคับ)

เวลา 21.00 น.                 พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ ผบ.ตร. เดินทางมายังโรงเรียนตรวจและเข้าเยี่ยมผู้ถูกจับกุม ซึ่งได้บอกกับ ชาวบ้านว่า จะพยายามหาทางเอาคนแก่กับเด็กออกไปก่อน จากนั้นก็ได้เดินถามชาวบ้าน ขณะนั้นมีตำรวจชั้นผู้ใหญ่มาประสาน กับตัวแทนชาวบ้านว่า จะประกันตัวเด็กกับคนแก่ออกไปก่อนหรือไม่ ในวงเงิน 30,000  บ./คน ซึ่งตัวแทนชาวบ้านได้ยืนยันกับ ตำรวจว่า ชาวบ้านที่ถูกจับทั้งหมดจะอยู่ด้วยกัน จะไม่ยอมแยกจากกันอย่างเด็ดขาด หากตำรวจปล่อยตัวต้องปล่อยให้หมด หรือ หากดำเนินคดีก็ต้องดำเนินคดีให้หมดทุกคน อย่าได้เว้น เพราะทุกคนมีพฤติกรรมเดียวกัน การเข้าทำเนียบเป็นการตัดสินใจ ร่วมกัน ไม่มีใครสั่งการทั้งสิ้น ประมาณ  10 นาทีจึงได้ออกไปจากห้องพร้อมกับบอกว่า แล้วแต่ชาวบ้านว่าจะเอาอย่างไร จะอยู่ หรือประกัน  

ประมาณ 22.00 น.                 ตำรวจสอบสวนส่งตำรวจหญิงเข้ามาบอกว่า ยังสอบสวนไม่เสร็จ มีชาวบ้านบางคนยังไม่ไปให้ การ ตำรวจบอกให้ชาวบ้านออกไปให้การ แต่ไม่มีใครออกไป ตำรวจใช้วิธีคัดคน และเรียกชื่อทีละคน แล้วแยกผู้ที่มีรายชื่อออก จากผู้ที่ยังไม่เรียก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงนำผู้ที่ไม่ได้ให้การ ไปให้ประวัติส่วนตัวกับพนักงานสอบสวนซึ่งใช้เวลา ประมาณ 30 นาที  

ขณะนั้นชาวบ้านกำลังจะพักผ่อน ตำรวจหญิงก็เข้ามาเรียกชื่ออีก ชาวบ้านไม่ตอบรับเพราะเห็นว่าสิ่งที่ตำรวจอยากได้ชาวบ้าน ให้ไปแล้ว ตำรวจหญิงคนหนึ่งประกาศว่า หากไม่ร่วมมือ กับตำรวจ “ระวังจะถูกแจ้งอีกหนึ่งข้อหา” คือ “ขัดขวางการปฏิบัติ งานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ” ซึ่งชาวบ้านก็ไม่ได้สนใจ ต่อจากนั้นก็ได้ร่วมกันนั่งสมาธิ ขณะนี้ ตำรวจหญิง 4-5 คน ที่อยู่กับชาว บ้านได้ออกปากต่อว่า พูดจาประชดประชัน เช่น นั่งๆเข้าไปใจจะได้สงบ  สาธุๆๆๆ แผ่เมตตาพร้อมๆ กันเพื่อรบกวนชาวบ้าน สวด 4-5 คำ แล้วหัวเราะเสียงดัง   ชาวบ้านนั่งอยู่ประมาณ 1 นาที แล้วร่วมกันสวดมนต์ และนอนประมาณ 24.30 น.

วันที่ 18 กรกฎาคม 2543

เวลาประมาณ 10.00 น.               ที่ปรึกษา และชาวบ้านสมัชชาคนจน ประมาณ 10 คน ได้เดินทางไปเยี่ยมพี่น้องที่ถูกคุมขังอยู่ที่ โรงเรียนนายสิบตำรวจนครบาล อ.ศาลายา  จ.นครปฐม เนื่องจากมีข่าวแจ้งเข้ามาว่าชาวบ้านถูกบังคับข่มขู่ให้พิมพ์ลายนิ้วมือ เมื่อไปถึง พบกับกำลังตำรวจทั้งหญิงชายประมาณ 50 คน  จึงเข้าไปสอบถามว่าหลังจากนี้ตำรวจจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ได้ รับคำตอบแต่เพียงว่า ตำรวจที่นี่มีหน้าที่เฝ้าให้เท่านั้น ต้องรอรับคำสั่งจากสนง.ตำรวจแห่งชาติเท่านั้น เพราะที่นี่ถูกใช้เป็นที่คุม ขังผู้ต้องหา ที่ปรึกษาและชาวบ้านไม่สามารถขึ้นไปเยี่ยมข้างบนได้ ต้องตะโกนคุยข้างล่างผ่านทางหน้าต่างห้องที่ใช้คุมขัง เท่านั้น เมื่อสอบถามแล้วได้ความว่าความเป็นอยู่ก็ดีขึ้นมากกว่าเมื่อวานที่ตำรวจไม่ดูแล แต่ช่วงกลางคืนได้รับความกดดันสูง  

เวลา 11.00 น.โดยประมาณ สมัชชาคนจน 89 คนที่ถูกจับได้อ่านแถลงการณ์เรื่อง "หยุดความรุนแรงมุ่งแก้ปัญหาเถิดชวน"  ซึ่ง ยืนยันว่า "เราขอประกาศว่า แม้จะถูกจับกุมดำเนินคดีเราก็ยินดี และถึงแม้ว่าจะปล่อยตัว ตำรวจก็จะต้องปล่อยผู้ที่ถูกจับกุมมา ทั้งหมดทั้งหญิงและชาย จะเลือกดำเนินคดีหรือจับกุมเฉพาะคนใดคนหนึ่งไม่ได้ เราจะไม่ยินยอมแยกจากกันอย่างเด็ดขาด  และเราจะยืนยันต่อสู้ต่อไป จนกว่ารัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหา ยอมรับมติของคณะกรรมการกลางและนำเข้าสู่มติของ คณะรัฐมนตรี โดยเร่งด่วน สั่งการให้มีการเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลทันที"        

"ท้ายที่สุดพวกเราขอเพียงความเข้าใจจากประชาชนทั่วไป ว่าสิ่งที่พวกเราทำไปมีเหตุมาจากความดื้อรั้นของรัฐบาล ที่ไม่ยอม แก้ไขปัญหาให้พวกเรา พวกเราพร้อมที่จะยอมรับกับความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นทุกอย่างแม้จะแลกด้วยชีวิต"

ด้วยจิตคารวะ  สมัชชาคนจน  

โรงเรียนนายสิบตำรวจนครบาล อ.ศาลายา จ.นครปฐม

18 กรกฎาคม 2543

ช่วงระหว่างที่อ่านแถลงการณ์ตำรวจได้ดัดแปลงห้องโถงชั้นล่างตึกที่ได้ใช้คุมขังผู้ชุมนุมเป็นห้องประชุมและ ปฏิบัติเกี่ยวกับ เรื่องนี้ชั่วคราว (จากคำบอกเล่าของตำรวจผู้หนึ่ง)

เวลา 13.00 น.โดยประมาณ                 พล.ต.ท.วีระ วิสุทธิกุล ผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เดินทางมาพร้อมกับนำ ผลไม้และขนมมาให้สมัชชาคนจนที่ถูกกักขังอยู่ โดยอ้างวา ผบ.ตร.สั่งให้นำมาให้ หลังจากนั้นจึงได้เข้าไปเยี่ยมสมัชชาคนจน ในห้องขัง พูดคุยกับชาวบ้าน และมีหมอ และพยาบาลเข้าไปรักษาอาการบาดเจ็บของสมัชชาคนจนด้วย (คงจะเป็นเพราะว่า ช่วงที่ที่ปรึกษาและพี่น้องสมัชชาคนจนไปเยี่ยม มีนักข่าวอยู่เป็นจำนวนมาก และสมัชชาคนจนในห้องขังได้โชว์บาดแผลที่ เกิดจากการปะทะและยังไม่ได้รับการรักษาให้กับผู้สื่อข่าวดูด้วย)

จากการสังเกตห้องที่ใช้กักขังสมัชชาคนจนมีผู้หญิงที่ถูกจับตัวไป 89 คน พร้อมเด็กอายุ 1 ขวบหนึ่งคนนั้นเป็นโรงนอนทั่วๆ ไป

  เวลา 14.00 น.โดยประมาณ       พล.ต.ท.วีระ วิสุทธิกุล ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ข้อกล่าวหาของสมัชชาคนจนคือ บุกรุกสถานที่ราชการ ในยามวิกาล และจะดำเนินคดีให้เร็วที่สุด ตามขั้นตอนของศาลต่อไป หากจะให้ดี สมัชชาคนจนน่าจะมาประกันตัวไปมากกว่า ด้วยวงเงิน 30,000 บ./คน  

นายนันทโชติ ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนได้สอบถามว่า เพราะเหตุใดตำรวจจึงต้องใช้ความรุนแรงเข้าบังคับให้ชาวบ้าน ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ ทั้งที่ชาวบ้านไม่ยินยอม เป็นจำนวนถึง 21 คน ซึ่งการกระทำก็เป็นอย่างเคลือบแคลงสงสัย เพราะเรียกตัว ไปทีละคน และถูกตำรวจประมาณ 3-4 คน ข่มขู่ บังคับด้วยวาจาไม่สุภาพ และใช้กำลังให้ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ  

พล.ต.ท.วีระ ตอบว่า เป็นไปตามหลักปฏิบัติ ที่ว่าต้องมีการพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ แม้แต่บัตรประชาชนยังต้องพิมพ์ลายนิ้วมือเลย ไม่ใช่เรื่องที่แปลกอะไร นายนันทโชติตอบว่าประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นการพิมพ์ลายนิ้วมือของอะไร แต่เรื่องอยู่ที่ว่า เมื่อชาว บ้านไม่ยินยอม ทำไมต้องใช้กำลังและข่มขู่ แทนที่จะชี้แจง นี่คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนใช่หรือไม่ ซึ่ง พล.ต.ต.ยงยุทธ สิงหพันธุ ผช.ผบก.จ.นครปฐม ที่ติดตามมาด้วยเกิดบันดาลโทสะ ไล่นายนันทโชติลงจากตึกทันที บอกว่าที่นี่เป็นที่ของผม และ ไม่อนุญาตให้ขึ้นมา พวกชอบก่อความวุ่นวาย อกทั้งด่าว่าต่างๆอีกมากมาย จนในที่สุด พล.ต.ท.วีระ ได้เข้ามากันออกไป และเข้า ไปปรึกษาหารือในห้องนักข่าวและกลับออกไปประมาณ 14.30 น. จนกระทั่ง ประมาณ 15.00 น. สมัชชาคนจนจึงเดิน ทางกลับ

เจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิ/ปิดกั้นสิทธิในการเยี่ยมผู้ต้องหาชาย

ในขณะเดียวกันกลุ่มสมัชชาคนจนผู้ชาย 118 คน ที่ถูกจับกุมไปคุมขังไว้ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกับการตำรวจ ตระเวนชายแดนภาคหนึ่ง ที่คลองห้า ปทุมธานี ยังไม่สามารถติดต่อกับกลุ่มสมัชชาคนจนข้างนอกได้ จนกระทั่ง 19.00 น. ของ วันที่ 18 กรกฎาคม 2543 ตำรวจจึงให้สามารถเดินทางเข้าไปเยี่ยมสมัชชาคนจนผู้ชาย 118 คนที่ถูกจับกุมได้ โดยขั้นตอนค่อน ข้างยุ่งยาก คือต้องมีการแลกบัตรประชาชน ให้เข้าเยี่ยมได้เป็นชุดๆ ไป เมื่อผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยากนี้ได้แล้ว สิ่งที่เข้าไปเห็นคือ กรงเหล็กกั้นที่อยู่ไกลมาก นักข่าวไม่สามารถนำอุปกรณ์ถ่ายภาพเข้าไปได้ และมีรายงานว่า มีเด็กผู้ชาย 4 คนถูกส่งไปอยู่ที่บ้าน เมตตาด้วย ขึ้นศาลเด็กแล้ว และถูกส่งไปอยู่ที่ทัณฑสถานพินิจ

เวลา 22.00 น.มีรายงานมาว่า ภายในเช้าวันที่ 19 กรกฎาคม  จะทำการตัดสินคดี  มีรายงานมาว่า  อาจจะนำตัวผู้ต้องหาออกมา ตัดสินที่ศาล หรืออาจตัดสินคดีที่คุมขังปัจจุบัน แล้วจึงนำไปฝากขังที่อื่นต่อ ใครจะประกันก็ให้ประกันไป

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา