eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

   เอกสารหมายเลข ๒

ข้อพิจารณาในการแก้ไขกรณี ๑๖ ปัญหาสมัชชาคนจน

ความนำ

ปัญหา ข้อเรียกร้อง และข้อเสนอพิจารณาในการแก้ไขนี้ มีข้อร้องเรียนทั้งหมด ๑๖ กรณี แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มปัญหาเขื่อน และกลุ่มปัญหา ป่าไม้- ที่ดิน

                                ๑.กลุ่มปัญหาเขื่อน  แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ

                               ๑.๑ กรณีเขื่อนที่สร้างแล้ว   มีจำนวน ๕ เขื่อน ข้อเรียกร้องโดยรวม คือ  ค่าชดเชยพื้นที่น้ำท่วมซึ่งได้เคยมีการ อนุมัติในหลักการ โดยมติครม.ที่ผ่านมาแล้ว และค่าชดเชยจากการสูญเสียฐานทรัพยากรของชุมชน ป่าบุ่ง-ป่าทาม การทำประมง ลุ่มน้ำ  ข้อเรียกร้องให้เปิดประตูระบาย น้ำเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำที่ได้รับผลกระทบจากการ สร้างเขื่อน และข้อเรียกร้อง ระงับการใช้เขื่อนพร้อมกับให้มีการศึกษาผลกระทบทางด้าน สิ่งแวดล้อม และทางสังคมหลังโครงการ (Post Project EIA,SIA) เพื่อ ประเมินความคุ้มค่าในการเปิดใช้เขื่อนต่อไป

                                ๑.๒ กรณีเขื่อนที่ยังไม่สร้าง มีจำนวน ๓ เขื่อน ข้อเรียกร้องโดยรวมคือ ให้ระงับการดำเนินการโครงการทั้ง หมดและศึกษาผล กระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (EIA,SIA) เพื่อประเมินความคุ้มค่าของโครงการโดยรวมต้นทุนทาง สิ่งแวด ล้อมและสังคมที่ได้จากการศึกษาด้วย มีข้อเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร  และยุติการโฆษณาชวนเชื่อ                                

                                ๒.กลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน

                                กลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน มีจำนวนทั้งหมด ๘ กรณี แบ่งได้เป็น ๓ ประเภทคือ

                               ๒.๑ กรณีปัญหาป่าสงวนฯ และป่าอนุรักษ์ทับที่ทำกิน มีจำนวน ๔ กรณี เป็น ปัญหาทีชาวบ้านร้องเรียนว่า การ ประกาศป่าสงวน แห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ ทับที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีความสืบเนื่องยาวนานมาหลาย รัฐบาล เคยมีมติครม.เดิมที่ให้มีกระบวน การพิสูจน์สิทธิ์ การครอบครองและการใช้ประโยชน์ โดยมีคณะกรรมการร่วมระหว่างเจ้า หน้าที่ป่าไม้ ตัวแทนชาวบ้าน นักวิชาการ/องค์กรพัฒนา เอกชน  แต่กระบวนการดังกล่าวได้ยุติลงเมื่อมีมติครม. ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑

                                ๒.๒ กรณีดินที่สาธารณประโยชน์ มีจำนวน ๒ กรณี ปัญหาและข้อเรียกร้องคือ ชาวบ้านเข้าไปอยู่อาศัยและ ทำกินในที่ดิน สาธารณประโยชน์ และต้องการให้ดำเนินการเพิกถอนสภาพ

                                ๒.๓ กรณีปัญหาโครงการพัฒนาของรัฐ มีจำนวน ๑ กรณี คือ ปัญหาโครงการ พัฒนาด่านช่องเม็ก  ปัญหาหา และข้อเรียกร้องคือ ชาวบ้านขออาศัยและทำกินอยู่ในที่เดิม และกันพื้นที่การครอบครอง ใช้ประโยชน์ออกจากพื้นที่โครงการ (ดูราย ละเอียดปัญหา ข้อเรียกร้องในเอก สารประกอบการจัดรับฟังข้อมูลโดยสมัชชาคนจน เสนอต่อคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไข ปัญหา สมัชชาคนจน, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓)

                                คณะกรรมการกลางฯ มอบให้คณะทำงานเพื่อสรุปสาเหตุ วินิจฉัย และเสนอแนวทางแก้ไข   รวบรวมข้อมูล ความเห็นต่อกรณี ปัญหาตามข้อเรียกร้องของสมัชชาคนจนจากเอกสารของสมัชชาคนจน การจัดเวทีรับฟังข้อมูลจากตัวแทน หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนชาว บ้านสมัชชาคนจน ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓ และข้อเสนอจากคณะทำงานฯ ได้ เสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการกลางแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน เพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะแก้ไขทั้ง ๑๖ กรณีปัญหาของสมัชชา คนจน

                               การพิจารณาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ ๑.การพิจารณาปัญหาเร่งด่วนที่มีการเผชิญหน้า การจับชาวบ้าน ฯลฯ และ ๒.การเสนอแนวทางแก้ไขตามข้อเรียกร้อง  และคณะกรรมการกลางฯ มีข้อสรุปดังต่อไปนี้

ปัญหาเร่งด่วน

                คณะกรรมการกลางเห็นว่า เพื่อลดปัญหาการเผชิญหน้าและสร้างบรรยากาศที่ดีในการแก้ไขปัญหา มีกรณีปัญหาเร่งด่วน ซึ่งรัฐบาลควรสั่งการให้มีการยุติการจับกุมชาวบ้าน หรือผู้นำในการชุมนุม หรือให้ยุติการกระทำใดๆ ของทั้ง ๒ ฝ่ายอันเป็นการยั่วยุ อันที่จะก่อให้เกิดบรรยากาศไม่สร้างสรรค์ ได้แก่

                ๑.กลุ่มเขื่อน ได้แก่ กรณีเขื่อนโป่งขุนเพชร ฝายราษีไศล ฝายหัวนา เขื่อนลำคันฉู

                ๒.กรณีกลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน ได้แก่ ปัญหาการจับกุม ดำเนินคดีชาวบ้านซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่มีความไม่ชัดเจนในด้าน กฎหมาย เช่น ปัญหาอุทยานฯ ป่าสงวนฯ ทับที่ทำกินและที่อยู่อาศัย โครงการปฏิรูปที่ดินซ้อนทับสิทธิในการถือครองเดิม ฯลฯ ซึ่งควรได้รับอนุเคราะห์จาก ฯพณฯ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สั่งการเพื่อยุติการจับกุมชาวบ้าน ในกรณีต่อไปนี้

                                -กรณีปัญหาป่าสงวนแห่งชาติดงภูโหล่น

                                -กรณีปัญหาป่าสงวนแห่งชาติป่าหลังภู

                               -กรณีปัญหาป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหินกอง และอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

                                -กรณีปัญหาที่ดินสาธารณประโยชน์บ้านตุงลุงและบ้านวังใหม่

การเสนอแนวทางแก้ไขตามข้อเรียกร้อง  

การพิจารณาปัญหา การเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาตามข้อเรียกร้องของสมัชชาคนจน กรณีปัญหาต่างๆ มีดังต่อไปนี้

๑.กรณีกลุ่มเขื่อนที่สร้างแล้ว  

                ๑.๑ เขื่อนปากมูล

ข้อเรียกร้อง

                ๑.เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลทั้ง 8 บานเต็มที่อย่างถาวรเพื่อให้ปลาขึ้นวางไข่

                ๒.ฟื้นฟูระบบนิเวศน์และแก่งต่าง ๆ ในแม่น้ำมูล

                ๓.ฟื้นฟูวิถีชีวิตและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

                ๑. ประเด็นด้านประมง

ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลทางด้านการประมง ข้อมูลจากสมัชชาคนจน และการศึกษาด้านผลกระทบ ทางเศรษฐกิจและสังคม ได้เสนอว่า รายได้จากการ ทำประมงลดลง และพบว่า ชาวประมงบริเวณเหนือเขื่อนมีรายได้ลดลง ขณะเดียวกัน กฟผ. อ้างถึงข้อมูล สถิติของกรมประมงที่ปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำ ในจังหวัดอุบลราชธานีในภาพรวมเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีข้อมูลโดยตรง บริเวณเขื่อน

อย่างไรก็ตาม จากเหตุผลทางวิชาการเชื่อได้ว่า การสร้างเขื่อนปากมูลมีผลกระทบในระดับหนึ่งต่อประชากรสัตว์น้ำ ระบบนิเวศน์ และการทำประมง เหนือเขื่อน เนื่องจากไปขัดขวางการอพยพของสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงน้ำหลากที่เป็นระยะเวลาการ แพร่พันธุ์วางไข่ สำหรับมาตรการที่ดำเนิน การเกี่ยวกับการสร้างบันไดปลาโจนนั้น คณะกรรมการกลางฯ มีความเห็นว่า เป็นการลด ผลกระทบได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด 

อนึ่ง แนวคิดเรื่องการเก็บข้อมูลพื้นฐาน (baseline data) ในเรื่องประมงและประชากรสัตว์น้ำนั้น บางส่วนเห็นว่าควรให้นักวิชา การด้านประมงที่เป็น กลาง เริ่มเก็บข้อมูลดังกล่าวโดยทันทีก่อนการเปิดประตูระบายน้ำ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบกับ ข้อมูลภายหลังการเปิดประตูระบายน้ำใน ช่วง ฤดูฝนของปีถัดไป ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและสามารถเปรียบเทียบผลกระทบ จากการเปิดประตูระบายน้ำได้อย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากนักวิชาการประมงพบว่า ปลาจะอพยพเคลื่อนย้ายตลอดช่วงฤดูฝนตั้งแต่ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือน สิงหาคมของทุกปี ซึ่งปลาแต่ละชนิดจะอพยพไม่พร้อมกัน บางชนิดจะอพยพในช่วงต้นฤดูฝน บางชนิดจะอพยพในช่วงปลาย ฤดูฝน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำท่า ปริมาณน้ำฝน ฯลฯ และมีข้อสังเกตว่าปลาที่อพยพในช่วงปลายฤดูฝนจะเป็นปลาขนาดใหญ่ที่มี คุณค่าทางเศรษฐกิจ  นอกจากนี้ ยังมีความเห็นว่า จากข้อมูลด้านการ ประมงที่มีอยู่ของนักวิชาการและชาวบ้านที่มีอาชีพประมงซึ่งมี การเก็บข้อมูลมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ทำให้น่าจะมีข้อมูลเพียงพอที่จะทำการ ติดตามและประเมินผลของการเปิดประตูเขื่อน ปากมูลได้

                ๒. ผลกระทบด้านลบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังการเปิดประตูระบายน้ำ

                ๒.๑ ประเด็นผลกระทบต่อระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                ซึ่งกฟผ.ได้ชี้แจงว่า แม้ว่าปัจจุบันการหยุดผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนปากมูลจะยังไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ของระบบไฟฟ้า เพราะมีกำลังไฟฟ้าสำรองมากแต่หากเศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้นในอนาคตอาจมีปัญหาเรื่องความต้องการ ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลต่อความ มั่นคงของระบบไฟฟ้า  อย่างไรก็ตามจากข้อมูลการผลิตพลังงานไฟฟ้าในปี 2541 พบว่า มีหลายเดือนที่เขื่อนปากมูลไม่สามารถผลิต พลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Load) แสดงให้เห็นว่า ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของจังหวัดอุบลราชธานี และใกล้เคียงได้ และไม่พบว่าในเดือนดังกล่าวมีปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับ ที่มีสาเหตุมาจากการหยุดผลิตไฟฟ้าของเขื่อนปากมูล แต่อย่างใด 

                นอกจากนี้  ข้อมูลการคาดการณ์การผลิตพลังงานไฟฟ้าในเดือน กรกฎาคม – ตุลาคม ปี 2541 พบว่าเขื่อนปากมูลจ่าย พลังงานไฟฟ้า ในช่วงเวลาปกติ 65 % และ ในช่วง Peak 35 % เท่านั้น และหากหยุดการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนปากมูล 4 เดือนจะส่งผลกระทบต่อค่า FT เท่ากับ 0.0061 บาทต่อ KWh หรือหากหยุดการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งปี จะส่งผลกระทบต่อค่า FT เท่ากับ 0.0038 บาทต่อ KWh

                ๒.๒ ประเด็นการสูญเสียรายได้จากการผลิตไฟฟ้า

                ทางตัวแทนกฟผ.ชี้แจงว่า หากหยุดการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนปากมูลนั้น ทางกฟผ.จะต้องซื้อกระแสไฟฟ้าจาก ประเทศลาวหรือต้องซื้อเชื้อเพลิงประเภทอื่นมาผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินของการสูญเสียรายได้จากการผลิตกระแส ไฟฟ้าถึงปีละ ๒๑๒ ล้านบาท  

                 อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการเชื่อว่าการเปิดประตูระบายน้ำเป็นเวลา ๔ เดือน (พฤษภาคม- สิงหาคม) จะทำให้ค่าใช้จ่าย ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นระดับหนึ่ง แต่ผลเสียนี้ก็ควรนำไปเปรียบเทียบกับผลดีในด้านอื่น ที่จะได้รับจากการเปิดประตู ระบายน้ำ

                ๒.๓ ผลกระทบต่อผู้เลี้ยงปลาในกะชัง

                ทางตัวแทนกฟผ.มองว่าระดับน้ำหลังการเปิดประตูระบายน้ำจะลดลงถึง ๑๐ เมตร (๙๔ ม.รทก.) ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อ กลุ่มที่อยู่เหนือเขื่อน เช่น ผู้เลี้ยงปลาในกระชัง  แต่จากการสำรวจพบว่าผู้เลี้ยงปลากะชังส่วนใหญ่อยู่นอกพื้นที่อ่างเก็บน้ำของ เขื่อนปากมูลโดยส่วนใหญ่อยู่เหนือแก่ง สะพือขึ้นไปจนถึงจ.อุบลราชธานี ซึ่งพบว่ามีอยู่ประมาณ ๒๐๐ รายหรือประมาณ ๑,๐๐๐ กระชัง โดยการเลี้ยงปลาดังกล่าวเป็นการเลี้ยงปลาทับทิมและปลานิล ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเจริญโภคภัณฑ์และกรม ประมง ดังนั้นการเปิดประตูระบายน้ำจึงไม่ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงปลาในกะชังในบริเวณดังกล่าว

                ส่วนในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากมูล มีผู้เลี้ยงปลาในกะชัง ๑๒ ราย แต่เนื่องจากการเลี้ยงปลาในกะชัง เป็นการเลี้ยง แบบแพที่สามารถขึ้นลงตามระดับน้ำได้ และเลี้ยงตรงบริเวณน้ำลึกหรือวังน้ำ จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้เลี้ยงปลาใน กะชัง และเกาะแก่งธรรมชาติในลำน้ำมูล จะช่วยไม่ให้ระดับลดต่ำลงจนเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงปลาในกะชัง

                นอกจากนี้ การเปิดประตูระบายน้ำ อาจจะเกิดผลประโยชน์ด้านบวก แก่ชาวบ้านผู้เลี้ยงปลาในกะชัง คือจะช่วยให้เกิด การระบายน้ำและลดความเป็นมลพิษของน้ำที่เกิดจากการเลี้ยงปลาในกะชัง

                ๒.๔ ผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ชลประทาน 40,000 ไร่

                พื้นที่ชลประทานดังกล่าว เป็นพื้นที่เพาะปลูกในโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ และมี ลักษณะเป็นสถานีสูบน้ำแบบแพลอย หากเปิดเขื่อนในช่วงฤดูฝน จะกระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้น้ำไม่มากนักเพราะสถานีสูบน้ำจะ ขึ้นลงตามระดับน้ำได้ และเกษตรกรยังสามารถใช้น้ำฝนตามธรรมชาติได้  

                นอกจากนี้ เกาะแก่งตามธรรมชาติในแม่น้ำมูล ซึ่งมีอยู่ เป็นช่วงๆ ตลอดแม่น้ำมูลกว่า 50 แก่ง จะช่วยกักเก็บน้ำได้ระดับ หนึ่ง และทำให้ระดับน้ำมีเพียงพอต่อการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคของประชาชน หากเปิดประตูระบายน้ำคาดว่าจะไม่มีผล กระทบมากนัก

ข้อเสนอแนะ

๑. ทดลองเปิดประตูระบายน้ำ ๔ เดือนในช่วงฤดูฝน (ประมาณเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม) เพื่อให้ปลาสามารถขึ้นไปวางไข่ได้ โดยจะต้องมีระบบการประเมินและส่งเสริมผลกระทบด้านบวกในเรื่องการประมง เช่น สภาพการอพยพของปลาในแม่น้ำโขง ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำภายหลังมาตรการเปิดประตูระบายน้ำ ตลอดจนการฟื้นฟูระบบนิเวศของลำน้ำมูล โดยมี การใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยในการประเมิน  โดยให้มีคณะทำงานด้านประมงที่เป็นกลางเริ่มเก็บข้อมูลทันที ก่อนการ เปิดประตูระบายน้ำ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล (Baseline Data) เปรียบเทียบหลังการเปิดประตูระบายน้ำในช่วงฤดูฝนของปีถัดไป ได้อย่างถูกต้อง   ขณะเดียวกันต้องมีการติดตามและบรรเทาผลกระทบด้านลบ  เช่น  การพิจารณาระดับน้ำในแม่น้ำมูลหลังการ เปิดประตูระบายน้ำ ที่จะไม่กระทบต่อกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง หรือสภาพพื้นที่เพาะปลูกจากสถานีสูบน้ำ ขั้นตอนและวิธีการ เปิด ประตูระบายน้ำ ที่ไม่ส่งผลต่อการเลื่อนตัวของดินชายฝั่ง ตลอดจนคำนึงถึงผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และรายได้จากการผลิต ไฟฟ้าของเขื่อนปากมูล

๒. จัดตั้งคณะกรรมการทดลองเปิดประตูระบายน้ำกรณีเขื่อนปากมูล โดยมีองค์ประกอบที่เป็นพหุภาคีได้แก่ ตัวแทนกฟผ. ตัวแทน สมัชชาคนจน ตัวแทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบด้านลบจากมาตรการเปิดประตูระบายน้ำ  ตัวแทนนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยใน ท้องถิ่นอันประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประมง ด้านวิศวกรรมและด้านสังคม ตัวแทนส่วนราชการอันได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทน โดยให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นดังกล่าวเป็นประธาน เนื่องจากมีความเป็นอิสระและสอดคล้องกับภารกิจของ คณะกรรมการชุดนี้ ซึ่งเป็นการพิจารณาปัญหาด้านเทคนิควิชาการและกระบวนการปฏิบัติการ โดยอาศัยข้อมูลข้อเท็จจริง ทั้งนี้ไม่ ควรมีจำนวนกรรมการเกิน ๑๐ คน  โดยมีระยะเวลาในการทำงานประมาณ ๑ ปี  ส่วนในระยะยาวควรจัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำ ขึ้นมา เพื่อพิจารณาตัดสินใจในการรักษาดูแลและใช้ประโยชน์จากลำน้ำ (รายละเอียดตามเอกสารหมายเลข ๔)

๓. ขอบเขตการทำงานของคณะกรรมการทดลองเปิดประตูระบายน้ำกรณีเขื่อนปากมูล ให้อยู่ภายใต้มติตามข้อ ๑ ได้แก่ การยอม รับมาตรการทดลองเปิดประตูระบายน้ำ โดยทำหน้าที่พิจารณาขั้นตอนและวิธีการเปิดประตูระบายน้ำ โดยคำนึงถึงผลกระทบจาก มาตรการดังกล่าว รวมทั้งเสนอแนะมาตรการสนับสนุนผลกระทบด้านบวกและบรรเทาผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้น คณะกรรม การชุดนี้ควรมีอำนาจให้ กฟผ.ให้ความร่วมมือในการเปิดประตูระบายน้ำ รวมทั้งความร่วมมือจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐอื่นๆเพื่อรองรับการศึกษา ติดตามและประเมินผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว โดยรัฐบาลควรจัดสรรงบ ประมาณสนับสนุนเป็นการเฉพาะให้กับคณะกรรมการชุดนี้ และให้รายงานโดยตรงต่อคณะรัฐมนตรี หรือต่อรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี

                ๑.๒ ฝายราษีไศล 

ข้อเรียกร้อง

๑.ให้ยกเลิกการกักเก็บน้ำโดยการเปิดประตูทั้ง ๗ บาน

๒.ให้ประเมินความคุ้มค่าของฝายราษีไศล โดยให้รวมค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้ามา ประ กอบการคำนวณด้วย และให้เร่งตรวจสอบการแพร่กระจายของดินเค็มที่เกิดจากการเก็บกักน้ำ

๓.ให้ฟื้นฟูป่าบุ่งป่าทามและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

๔.เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมดให้กับชาวบ้านและสาธารณะ รวมถึงสัญญาต่าง ๆ ที่มี เช่น แบบเขื่อน  ระบบชล ประทาน ฯลฯ รวมถึงสัญญาว่าจ้างการก่อสร้าง

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

คณะกรรมการกลางฯ ได้เปิดรับฟังข้อมูล และเชิญตัวแทนสถาบันการศึกษาที่กำลังศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม โดย มีข้อเท็จจริงสามารถประมวลสรุปได้ดังต่อไปนี้

๑.ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม

ตัวแทนสถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯ ชี้แจงประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมว่า การประท้วงของสมัชชาคนจน ทำ ให้รัฐบาลเห็นชอบให้มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมใหม่ โดยสถาบันวิจัยสังคมได้รับทำการประเมินผลกระทบ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม  แต่ไม่รวมเรื่องทางกายภาพ เช่น ปัญหาดินเค็ม ปัญหาการประมง โดยผลการศึกษาเบื้องต้นของสถาบัน วิจัยฯ พบว่า ปรากฏการณ์เรื่องดินเค็มเป็นจริงโดยเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ โดยก่อนหน้าการสร้างฝายไม่มีปรากฏการณ์ เช่นนี้ แต่ยัง ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นผลมาจากฝายหรือไม่ นักวิชาการให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเรื่องดินเค็มเกิดมาจากการความสมดุล ของแรงดันของน้ำ ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ที่ดิน  ขณะที่การชี้แจงโดยตัวแทนจากสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในประ เด็นปัญหาเรื่องดินเค็มและน้ำเค็มใต้ดินว่า ต้องรอผลการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน ส่วนน้ำเค็มใต้ดินนั้น ทางมหาวิทยาลัยขอน แก่นกำลังทำ Model ศึกษาโดยทางกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน(พพ.) เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ  อย่างไรก็ตาม ในการสัม มนาที่จัดโดยคณะกรรมาธิการเกษตรฯ ได้มีข้อสรุปว่า พื้นที่ฝายราษีไศลมีแนวโน้มดินเค็ม แต่ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ประโยชน์ อะไรไม่ได้ 

ประเด็นเรื่องป่าบุ่งป่าทามเป็นแหล่งทรัพยากรของชาวบ้าน แต่ยังไม่ได้มีการคำนวณเป็นตัวเลข โดยอาจไม่มีตัวเลขมากหากคิด ในระบบเศรษฐกิจหลัก แต่หากชาวบ้านต้องไปซื้อเองจะคิดเป็นมูลค่าสูงมาก ส่วนนัยทางเศรษฐกิจของพื้นที่ทามเพิ่มขึ้นเนื่อง จากเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ประเด็นเรื่องค่าชดเชยกลายเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมา

                ส่วนประเด็นเรื่องผลกระทบจากการทำคันดินขอบอ่าง พบว่า มีปัญหาน้ำเอ่อขังรอบอ่างจากปัญหาคันดินดังกล่าว แต่ยัง ไม่สามารถแก้ไขได้ แม้จะมีความพยายามโดยการทำระบบท่อสูบน้ำ 

                ๒.ประเด็นประโยชน์ที่ได้รับด้านการชลประทาน

ตัวแทนจากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ  ชี้แจงว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่ากลุ่มใดคือกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากโครงการ และกลุ่มที่ต้องการ ใช้ประโยชน์จากฝายนั้นจะได้ประโยชน์อย่างไร  ส่วนข้อเท็จจริงในประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์จากชลประทาน ได้ข้อสรุป ร่วมว่า พื้นที่ชลประทานตามแผนยังไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ เนื่องจากชาวบ้านไม่ยอมให้ที่ดินในบางช่วงของคลองสายหลัก และ คลองซอยทั้งหมดยังไม่มีการก่อสร้าง 

อย่างไรก็ดี ตัวแทนกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานชี้แจงว่าได้รับประโยชน์จากฝาย   ราษีไศลในฤดูแล้ง โดยเฉพาะจากสถานีสูบ น้ำเดิมที่มีอยู่ราว ๒๐ แห่ง อย่างไรก็ตาม จากการวินิจฉัยข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ ได้ข้อสรุปว่าอาจจะได้ประโยชน์บ้างจากสถานีสูบน้ำ เดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ ซึ่งอาจจะทำให้สูบน้ำในฤดูแล้งได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่จะไม่ได้มากนัก เพราะสถานีสูบน้ำเป็นแบบแพลอย และ ตั้งอยู่ในบริเวณน้ำลึกอยู่แล้ว

ข้อเสนอแนะ

คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า เนื่องจากยังไม่มีกลุ่มผู้รับประโยชน์จากโครงการนี้โดยตรงและมีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงผลกระทบในทาง ลบ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องดินเค็มและผลกระทบทางสังคม ประกอบกับโครงการนี้ไม่ได้มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผลกระทบทางสังคม ภายหลังการเคลื่อนไหวเรียกร้องของผู้ได้รับผลกระทบ จึงได้ให้สถาบันการศึกษาทำการศึกษาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบทางสังคม (SIA) เพื่อประเมินความคุ้มค่าของโครงการ ซึ่งหากพบว่าไม่คุ้ม ควรให้ยุติการใช้ประ โยชน์จากโครงการดังกล่าว โดยดำเนินการดังต่อไปนี้

                ๑.  เปิดประตูระบายน้ำทั้ง ๗ บานไปก่อน เพื่อบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมเฉพาะหน้า  และดำเนินการ พิสูจน์สิทธิการครอบครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

               ๒. การตัดสินใจในการดำเนินการใดๆของฝายราษีไศลในอนาคต ให้รอผลการศึกษาโดยสถาบันการศึกษาที่กำลังดำเนิน การอยู่เพื่อประกอบการพิจารณาการใช้ประโยชน์ของฝายราษีไศล ในระยะยาว  โดยให้มีการคิดรวมมูลค่าสิ่งแวดล้อมและสังคม เข้าเป็นต้นทุนของโครงการ พร้อมกับพิจารณาระดับเก็บกักน้ำที่เหมาะสมใหม่ โดยกระบวนการพิจารณาต้องตั้งคณะกรรมการ พหุภาคีที่มีฝ่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมพิจารณาผลการศึกษาดังกล่าว ทั้งนี้ มาตรการลดผลกระทบต่างๆจะต้องเป็นที่เข้าใจและยอม รับของประชาชน

๑.๓ เขื่อนสิรินธร

                ข้อเรียกร้อง

๑.ให้รัฐจัดหาที่ดินทำกินที่สมบูรณ์ให้ครอบครัวละ ๑๕ ไร่ เพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ให้กับชาวบ้านที่ถือว่าเป็นผู้เสีย สละในการพัฒนา

๒.ให้ กฟผ. คืนที่ดินบ้านโนนจันทร์เก่าให้กับชาวบ้าน และให้รัฐดำเนินการออกเอกสารสิทธิให้กับชาวบ้าน  

                ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

๑.มติครม. ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ ยอมรับว่าชาวบ้านกรณีปัญหาเขื่อนสิรินธร จ.อุบล มีความเดือดร้อนจริง และได้แต่งตั้งกรรม การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และจากมติครม. ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ ได้นำไปสู่กาตรวจสอบความเดือดร้อนของชาวบ้าน โดยคณะกรรม การระดับอำเภอและระดับจังหวัด จนถึงคณะกรรมการกลาง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เป็นประธาน คณะกรรมการ ทุกชุดยอมรับผลการดำเนินการตรวจสอบว่า ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจริงและสมควรให้การช่วยเหลือ

๒.มติครม. ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือโดยการจัดที่ดิน ให้การสนับสนุน เงินกู้ สนับสนุนด้านสาธารณูปโภค แต่ไม่สามารถจัดหาที่ดินให้ชาวบ้านได้

๓.มติครม.  ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ ให้ชดเชยที่ดินแก่ชาวบ้านครอบครัวละ ๑๕ ไร่ เป็นเงินแทน โดยให้จ่ายเป็นค่าชดเชยไร่ละ ๓๒,๐๐๐ บาท  รัฐบาลจึงได้โอนเงินงบประมาณไว้ที่กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สังกัดกระทรวงเกษตร จำนวน ๑,๒๐๐ ล้านบาท เพื่อจ่ายเป็นค่าชดเชยแทนที่ดิน แต่รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธได้ลาออกจึงไม่มีการดำเนินการจ่ายเงิน

๔. มติ ครม. ๒๑ เมษายน ๒๕๔๑ ไม่ให้มีการจ่ายค่าชดเชยซ้ำซ้อนย้อนหลัง สำหรับกรณีเขื่อนที่สร้างไปแล้ว

 ข้อเสนอแนะ

คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า การพิจารณาความเดือดร้อนของชาวบ้านได้ผ่านการดำเนินการมาหลายรัฐบาล จนได้ข้อยุติว่าชาวบ้านมีความเดือดร้อนจริง โดยขั้นตอนได้ดำเนินจนถึงขั้นที่มีการจัดหาวงเงินจำนวน ๑,๒๐๐ ล้านบาท โดยโอนไว้ที่กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร แต่กระบวนการการจ่ายเงินแก่ชาวบ้านได้ยุติลงเมื่อมีมติคณะรัฐมนตรี ๒๑ เมษายน ๒๕๔๑ ไม่ให้จ่ายค่าชดเชยซ้ำซ้อนย้อนหลังกรณีเขื่อนที่สร้างแล้ว

ดังนั้น คณะกรรมการกลางมีข้อเสนอแนะว่า 

๑.เพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลควรจ่ายค่าชดเชยให้แก่ชาวบ้านเป็นการเฉพาะกรณี โดยไม่ให้มี ผลผูกพันกรณีอื่นๆ 

๒.กรณีบ้านโนนจันทร์เก่า ควรดำเนินการตรวจสอบการให้ประโยชน์จากพื้นที่ หากไม่ได้ใช้ประโยชน์แก่กิจการของกฟผ. ควร พิจารณาคืนแก่ชาวบ้านตามข้อเรียกร้อง

๑.๔ เขื่อนลำคันฉู

ข้อเรียกร้อง

๑.ให้มีกรรมการตรวจสอบกรณีเขื่อนร้าวว่าซ่อมแซมแก้ไขให้มั่นคงได้หรือไม่ ถ้าสามารถซ่อมแซมได้ก็ให้ซ่อมแซม ถ้าไม่ สามารถซ่อมแซมได้ก็ให้รื้อเขื่อนหรือเลิกใช้เขื่อน

๒.ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเขื่อนลำคันฉูสามารถซ่อมแซมให้มั่นคงได้ ให้กรมชลประทานจัดทำคลองส่งน้ำและระบบชลประทานให้ ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ

๓.ในกรณีเขื่อนพัง รัฐบาลจะต้องให้หลักประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยรัฐบาลจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้เต็ม ราคาตามความเป็นจริง

๔.ให้รัฐบาล ฟื้นฟูชีวิตของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน (การเก็บหาของป่า จากป่าที่ถูกน้ำท่วมเคยเป็นอาชีพหลัก ของชาวบ้าน ทำให้ปัจจุบันขาดรายได้) เพราะรัฐบาลได้โฆษณาเอาไว้ก่อนการสร้างเขื่อนว่าจะให้วิถีชีวิตของชาวบ้านดีขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดทั้งหมด  

                ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

                ๑.กรมชลประทานชี้แจงว่า เขื่อนลำคันฉูสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกด้าน ท้ายน้ำซึ่งมีฝายอยู่ไม่น้อยกว่า ๒๐ แห่ง จึงได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อจัดส่งน้ำตามคำขอโดยกำหนดระยะเวลาการ ศึกษาไม่เกิน ๑ ปี (พฤษภาคม ๒๕๔๔)

                ๒.กรณีเขื่อนร้าว กรมชลประทานชี้แจงว่า ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยคณะวิศวกรจากสมาคมวิศวกรรมสถานแห่ง ประเทศไทยฯ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ กรมชลประทาน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน และกรมพัฒนาที่ดิน ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ผลการสำรวจพบว่า เขื่อนลำคันฉูมีความมั่นคงปลอดภัย แข็งแรงอยู่ในเกณฑ์ดี (หนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีที่ นร.๐๑๐๘.๓๓/๑๒๕๒๑ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓)

                ๓. ตัวแทนสมัชชาคนจนโต้แย้งว่า การตรวจสอบดังกล่าวมีข้อตกลงว่า ให้คณะกรรมการร่วมที่มีตัวแทนฝ่ายสมัชชาคนจน ด้วย แต่การตรวจสอบครั้งนี้สมัชชาคนจนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม รวมทั้งไม่ได้เชิญสื่อมวลชนตามที่ตกลงกับนายอำนวย ปะติเส ในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓ และโต้แย้งวิธีการตรวจสอบว่า ยังบกพร่อง ไม่รอบด้านในหลายประการ เช่น ขณะที่ไปตรวจ สอบได้มีการอุดและราดยางมะตอยปิดทับเอาไว้ มีโพรง ๓ โพรงไม่ใช่ ๑ โพรง ตามรายงานการตรวจสอบ ฯลฯ  (ตามเอกสาร หมายเลข ๕)

                ข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหา

                ๑.กรณีเขื่อนร้าว คณะกรรมการเห็นว่า เนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบยังไม่เป็นที่ยอมรับตามข้อตกลงที่เคยมีอยู่เดิม และข้อมูลทั้ง ๒ ฝ่ายยังขัดแย้งกัน ไม่สามารถยุติได้ ดังนั้น เพื่อให้เป็นที่ยุติปัญหา ควรตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลาง เป็นที่ยอมรับ ได้จากทุกฝ่ายลงไปในพื้นที่เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติอีกครั้ง และให้มีการประกันความเสี่ยงหากเกิดความเสียหายขึ้น ภายหลัง

                ๒. กรณีปัญหาค่าชดเชย ๒ ราย 

-กรณีนายสมชัย สวัสดี ข้อเท็จจริงเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายว่า ตามมติครม. ๒๒ เมษายน ๒๕๔๐ ควรได้รับค่าชดเชยไร่ละ ๒๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๑๔ ไร่ แต่มีการพิมพ์ตัวเลขตกไปเหลือเพียง ๔ ไร่  คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า การไม่จ่ายค่าชดเชยให้ แก่นายสมชัย สวัสดี     โดยอ้างมติ ครม. ๒๑ เมษายน ๒๔๔๑  ว่าไม่ให้มีการจ่ายค่าชดเชยซ้ำซ้อนย้อนหลัง ไม่เป็นธรรมแก่ ชาวบ้าน เพราะความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นเพียงปัญหาในเชิงเทคนิค รัฐบาลควรเร่งจ่ายค่าชดเชยตามความเดือดร้อนที่ได้ผ่าน กระบวนการพิสูจน์มาแล้ว พร้อมทั้งควรจ่ายดอกเบี้ยด้วย

-กรณีนายเชย จิตต์จำนง ซึ่งร้องเรียนว่า ไม่ได้รับค่าชดเชยพื้นที่ที่ทำประโยชน์เป็นที่ใช้เลี้ยงสัตว์ คณะกรรมการกลางเห็นว่า ควร ดำเนินการพิสูจน์การครอบครองและการทำประโยชน์ที่ให้ฝ่ายชาวบ้านเข้า มามีส่วนร่วมในกระบวนการพิสูจน์สิทธิ   โดยให้ใช้ หลักเกณฑ์ตามมติครม. ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ เป็นแนวทางปฏิบัติ

๓.กรณีคลองส่งน้ำ ให้รอผลการศึกษาของกรมชลประทานซึ่งกำลังจัดทำแผนคลองส่งน้ำ และกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือน พฤษภาคม ๒๕๔๔ โดยคณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า ให้เร่งรัดการจัดทำแผนโดยต้องให้ตัวแทนชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วมในการ จัดทำแผนดังกล่าว   และรัฐบาลต้องจัดหางบประมาณสนับสนุน

๔.ควรจัดให้มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมย้อนหลัง โดยองค์กร/หน่วยงานที่เป็นกลาง และให้ชาวบ้านหรือตัว แทนเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบและกระบวนการศึกษาตลอดทั้งกระบวนการ โดยการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน และ หากพบว่า มีผลกระทบเกิดขึ้นจริง ต้องมีมาตรการในการฟื้นฟูสภาพวิถีชีวิตและชุมชนให้ชาวบ้านสามารถดำรงชีพได้ใกล้เคียงกับ สภาพเดิม หรือใช้แนวทางตามมติครม. ๒๒ เมษายน ๒๕๔๓  

๑.๕ เขื่อนห้วยละห้า

ข้อเรียกร้อง

๑.ขอค่าชดเชยที่ดินทำกินที่ถูกน้ำท่วมตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งคณะกรรมการระดับจังหวัดได้ดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์แล้ว แต่ชาว บ้านร้องเรียนว่า การพิสูจน์สิทธ์ไม่เป็นธรรม ที่ดินของตนเองที่ถูกน้ำท่วมไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่จะได้รับค่าชดเชย

๒.ขอค่าความเสียหายซึ่งเป็นค่าเสียโอกาสเนื่องจากไม่ได้ทำนามาตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ จนกระทั่งปัจจุบัน  

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

มีการตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อพิจารณาเรื่องค่าทดแทนความเสียหาย โดยการพิสูจน์การถือครองที่ดินแล้ว แต่ชาวบ้านที่ ร้องเรียนเห็นว่า กระบวนการการพิสูจน์ไม่เป็นธรรม  

ข้อเสนอแนะ

 คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ควรดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์และความเสียหายโดยคณะกรรมการ ระดับจังหวัด โดยให้ตั้งตัวแทนสมัชชาคนจนร่วมกระบวนการในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง หากพบว่า พื้นที่เสียหายก็ดำเนินการจ่าย ค่าชดเชยตามสภาพที่เป็นจริง    

๒.กรณีเขื่อนที่ยังไม่สร้าง

๒.๑ เขื่อนโป่งขุนเพชร

ข้อเรียกร้อง

๑.ให้รัฐบาล รอผลการศึกษาข้อมูลฉบับสมบูรณ์ และการจัดประชาพิจารณ์ ของคณะกรรมการศึกษาผลกระทบ ความเหมาะสมและพิจารณาความเป็นไปได้ ที่ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี 29 เมษายน 2540

๒.ให้รัฐบาลยุติการดำเนินการใด ๆ โดยทันที โดยเฉพาะการโฆษณาชวนเชื่อ และให้ข้อมูลด้านเดียวของกรมชลประทาน รวมทั้งการจัดตั้งชาวบ้านอีกกลุ่มมาปะทะกัน ฯลฯ

๓.ให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องทุกประการ  รวมถึงสัญญาต่าง ๆ ที่มี

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

                ๑. เขื่อนดังกล่าวมีการลดพื้นที่อ่างจาก ๑๖.๔ ตร.กม.ลงมาเหลือ ๑๔.๖ ตร.กม. และความจุจาก ๑๑๒ ล้านลูกบาตรเมตร เหลือ ๙๗ ล้านลูกบาตรเมตร  ซึ่งไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๔๓

                ๒. มติครม. ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้สร้าง ๔ เขื่อน ปัจจุบันคณะกรรมการชุดดัดงกล่าวนี้ มี รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ เป็นประธาน และตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น ๒ ชุด เป็นคณะทำงาน กรณีเขื่อนโป่งขุนเพชร รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาทเพื่อจัดให้มีการรับฟังข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ แต่ไม่มีงบประมาณในการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อเสนอการแก้ปัญหา

คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า การดำเนินการโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ไม่ควรอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยเฉพาะในโครงการที่เจ้าของโครงการเป็นหน่วยราชการของรัฐ  และอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังเช่นในหลายกรณี  ดังนั้น ควรจะดำเนินการดังนี้

๑.ระงับการดำเนินโครงการใดๆ 

๒.ให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้สร้าง ๔ เขื่อน ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๑/๒๕๔๑    ทำการศึกษาด้านความเหมาะสมของโครงการ และการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (EIA,SIA) เพื่อใช้ประเมินความคุ้มค่า(ผลดี – ผลเสีย) ของโครงการอย่างละเอียดและรอบด้านในการการตัดสินใจของรัฐบาล ที่จะดำเนินโครงการต่อไปหรือไม่ทั้งหมด

                ๓.ให้รัฐบาลสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการ โดยเร่งจัดหางบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการตามข้อ ๑ บรรลุตามวัตถุประสงค์

                ๔.หลังจากคณะกรรมการได้ทำการศึกษาความคุ้มค่าเสร็จสิ้นตามกระบวนการแล้ว จึงค่อยให้คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

                ๕.ให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ ตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.๒๕๔๐  

๒.๒  เขื่อนลำโดมใหญ่

ข้อเรียกร้อง

๑.ให้รัฐบาลรอการดำเนินการตามผลการศึกษาคณะกรรมการศึกษาผลกระทบ ความเหมาะสมและพิจารณาความเป็นไปได้ ที่ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี 29 เมษายน 2540 หากเห็นว่าไม่คุ้มค่าก็ให้ยกเลิกโครงการ

๒.ให้รัฐบาลยุติการดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการผลักดันโครงการฯ ในเบื้องต้นให้ระงับการใช้งบประมาณเพื่อการออกแบบรายละเอียดโครงการฯ ไว้ก่อน จนกว่าคณะกรรมการฯ จะได้ดำเนินการจัดรับฟังความคิดเห็นให้มีข้อยุติ

๓.เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมดให้กับคณะกรรมการกลางฯ ชาวบ้าน และสาธารณรวมถึงสัญญาต่าง ๆ ที่มี เช่น แบบเขื่อน  ระบบชลประทาน รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

ขนาดของโครงการอยู่ในข่าย ที่ต้องมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางสังคมก่อน จึงจะสามารถตัดสินใจดำเนินการก่อสร้างหรือไม่ แต่โดยข้อเท็จจริงได้มีการดำเนินการออกแบบในรายละเอียดทางวิศวกรรมแล้ว  จากการชี้แจงของเลขานุการคณะกรรมการติดตามมติครม. ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ แจ้งว่าทางกรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ ได้เสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมาแล้วและอยู่ในระหว่างทำข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะในประเด็นเรื่อง ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมของตัวโครงการ เช่น หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบนั้นอยู่ติดริมแม่น้ำ ปัญหาพื้นที่รองรับหากมีการอพยพชาวบ้านในพื้นที ที่ยังไม่ชัดเจน รวมทั้งยังขาดรายงานผลกระทบทางสังคม (SIA) โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องป่าชุมชน และการพบแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ดังกล่าวด้วย  

ข้อเสนอแนะ

คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า

๑.ระงับการดำเนินการโครงการใดๆ  โดยเฉพาะการออกแบบในรายละเอียดทางวิศวกรรม

๒.ให้มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและทางสังคม (EIA และ SIA) โดยคณะกรรมการติดตามเขื่อนที่ยังไม่ได้สร้าง ๔ เขื่อน ที่มี ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ เป็นประธาน และให้รัฐบาลจัดหางบประมาณสนับสนุนคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าว เพื่อให้ได้ผลศึกษาโดยเร็ว

                ๓.ให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ ตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.๒๕๔๐

๒.๓ ฝายหัวนา

ข้อเรียกร้อง

๑.ระงับการดำเนินโครงการ โดยต้องมีหลักประกันว่าจะมีการบังคับใช้ได้จริง

๒.ตั้งคณะกรรมการศึกษาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม  และมาตรการการแก้ไขผลกระทบ

๓.ปักขอบเขตน้ำท่วม และสำรวจผู้ได้รับผลกระทบ และทรัพย์สินที่จะถูกน้ำท่วม

๔.เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมดให้กับชาวบ้าน และสาธารณะรวมถึงสัญญาต่าง ๆ ที่มี เช่น แบบเขื่อน  ระบบชลประทาน ฯลฯ รวมถึงสัญญาว่าจ้างการก่อสร้าง

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

๑. โครงการมีขนาดพื้นที่ ที่จะต้องมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

  ๒.ขณะนี้การดำเนินการก่อสร้างโครงการใกล้แล้วเสร็จ โดยบานประตูเสร็จแล้ว และมีกำลังจะดำเนินการถมลำมูลเดิมเพื่อเก็บกักน้ำ

ข้อเสนอแนะ

คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า ควรระงับโครงการทั้งหมดไว้ก่อน เพื่อศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ดำเนินการโดยคณะผู้ศึกษาที่ไม่ใช่หน่วยงานเจ้าของโครงการ โดยมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม(สผ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดจ้างและกำกับการศึกษา  หน่วยงานที่จะมาทำหน้าที่ศึกษาจะต้องเป็นสถาบันที่เป็นกลาง  ทั้งนี้ ต้องมีตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วมเป็นกรรมการกำกับ และให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษาท้องถิ่นร่วมเป็นคณะศึกษา ตามมาตรา ๕๖(๒) ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐  ในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว ควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของโครงการตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ รวมทั้งให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่คาดว่าจะเสียหายจากฝายหัวนา ร่วมกับราษฎร

๓.กรณีป่าไม้-ที่ดิน

๓.๑ กรณีป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์ทับที่ทำกิน

๓.๑.๑ กรณีปัญหาป่าสงวนฯ ดงภูโหล่น บ้านหนองผือ

บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ ๔ ต.นาโพธิ์กลาง บ้านยางโสภา หมู่ ๗ ต.ห้วยไผ่ และ

บ้านห้วยไผ่ หมู่ ๑ ต.ห้วยไผ่   อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

ข้อเรียกร้อง

๑.ให้กำหนดและกันแนวเขตชุมชนออกให้ชัดเจน

๒.ให้ออกเอกสารสิทธิ์ให้ชาวบ้านที่เรียกร้องโดยเร่งด่วน

๓.ในระหว่างการดำเนินการห้ามมีการจับกุม และขับไล่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบออกจากพื้นที่โดยเด็ดขาด

  ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

๑. มติครม. ๑๘ กุมภาพันธุ์ ๒๕๔๐ ให้จังหวัดอุบลราชธานี เร่งรัดดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และแก้ไขปัญหาให้กับราษฏรที่ได้รับ ความเดือดร้อน ให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน แล้วมอบพื้นที่ให้กับ สปก. นำไปปฏิรูปที่ดินตามขั้นตอน

๒. คณะทำงานได้ดำเนินการตรวจสอบสิทธิ์ และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ อำเภอโขงเจียมเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม แต่ไม่สามารถดำเนินการปฏิรูปที่ดินได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (โซนซี)

ข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหา

                 กรณีป่าดงภูโหล่นทับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยบ้านหนองผือใหญ่และบ้านโนนสวรรค์ มีกระบวนการแก้ไขปัญหา ตามขั้นตอนที่ตกลงลงกันระหว่างชาวบ้านกับส่วนราชการจนกระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ เห็นชอบกับข้อตกลงดังกล่าวและเป็นแนวทางการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลโดยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ ซึ่งทำให้กระบวนการแก้ไขปัญหายุติ และทำให้การแก้ปัญหาป่าอนุรักษ์ทับที่ชาวบ้านต้องกลับไปตั้งต้นใหม่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สร้างความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับราชการมากยิ่งขึ้น จึงมีข้อเสนอดังนี้

                ๑. พิจารณายกเลิกมติครม. ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑  โดยให้ใช้แนวทางการแก้ปัญหาโดยประชาชนมีส่วนร่วม

                ๒.กรณีบ้านหนองผือใหญ่และบ้านโนนสวรรค์ ให้กรมป่าไม้ เสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาปรับลดแนวเขตตามสภาพที่เป็นจริงจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

                ๓. กรณีบ้านห้วยไผ่และบ้านยางโสภา ใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาเช่นเดียวกับ บ้านหนองผือและบ้านโนนสวรรค์

                ๔.ในระหว่างการแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินเดิม ห้ามไม่ให้มีการจับกุม อพยพ ขับไล่ชาวบ้านโดยเด็ดขาด

                ๕. ห้ามไม่ให้ชาวบ้านบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ใหม่โดยเด็ดขาด

๓.๑.๒  กรณีปัญหาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม

บ้านหนองผือใหญ่ หมู่ที่ ๔ ต. นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

ข้อเรียกร้อง

๑.ให้กำหนดและกันแนวเขตชุมชนออกให้ชัดเจน

๒.ให้ออกเอกสารสิทธิ์ให้ชาวบ้านที่เรียกร้องโดยเร่งด่วน

๓.ในระหว่างการดำเนินการห้ามมีการจับกุม และขับไล่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบออกจากพื้นที่โดยเด็ดขาด

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

๑. มติครม. ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ ให้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างสมัชชาคนจนกับส่วนราชการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีหลักเกณฑ์คือ ให้กันแนวเขตอุทยานแห่งชาติภูผาแต้มออกจากที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน,  มติครม.๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ ให้ตั้งคณะทำงานที่จังหวัดอุบลราชธานีแต่งตั้งขึ้นร่วมกับตัวแทนสมัชชาคนจนดำเนินการปรับแนวเขตอุทยานแห่งชาติ และพิจารณาออกส.ป.ก. ๔ – ๐๑ให้แก่ราษฎรภายใน ๙ เดือน

๒. คณะทำงานได้ดำเนินการตรวจสอบสิทธิ์ ตามที่มติ ครม. ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีมติที่ประชุมคณะทำงานให้ปรับแนวเขตอุทยานผาแต้มตามโครงการปรับแนวเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้มพื้นที่ประมาณ ๔,๓๗๕ ไร่ และเพิ่มเติมอีกประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ เพื่อให้ครอบคลุมแปลงที่ทำกินของราษฎรทั้งหมด และต่อมาอนุกรรมการป้องกันฯประจำจังหวัดได้ให้ความเห็นชอบ ตามที่คณะทำงานเสนอมา และดำเนินการตามขั้นตอน จนกระทั่งปัจจุบันรอการพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ

๓. มติครม. ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑  ทำให้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวทางชาวบ้านมีส่วนร่วมกับฝ่ายราชการยุติลง  

ข้อเสนอพิจารณาแก้ไขปัญหา

                เนื่องจากกรณีดังกล่าวมีการเจรจาระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและดำเนินการร่วมกันจนกระทั่งมีมติ คณะรัฐมนตรีให้กันแนวเขตอุทยานแห่งชาติออกจากที่ทำกินของราษฎร ถึง ๒ มติ และจากข้อเท็จจริงเคยมีข้อตกลงระหว่างกองอุทยาน กรมป่าไม้กับ ชาวบ้านและสภาตำบลนาโพธิ์กลางอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาล ที่ใช้แนวทางการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการแก้ไขปัญหา โดยการออกมติคณะรัฐมนตรี ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ ทำให้กระบวนการมีส่วนร่วมที่ผ่านมายุติลง คณะกรรมการกลางฯ จึงเห็นว่า รัฐบาลยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี ๓๐มิถุนายน ๒๕๔๐ และดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมดังที่เคยดำเนินมา 

๓.๑.๓ กรณีปัญหาป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหินกองและอุทยานแห่งชาติแก่ง

ตะนะทับที่ อยู่อาศัย และที่ทำกินชาวบ้าน บ้านเวินบึก บ้านท่าแพ บ้านห้วย

หมากใต้ บ้านคันท่าไร่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

ข้อเรียกร้อง

๑. กรณีป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหินกองทับที่อยู่อาศัย

                ๑.๑ ให้กันแนวเขตที่ตั้งชุมชนออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหินกอง

                ๑.๒ ออกเอกสารรับรองสิทธิที่มั่นคงให้กับชาวบ้าน

                ๑.๓ ในระหว่างการแก้ไขปัญหาให้ทางราชการยุติการขับไล่ จับกุมและข่มขู่ ชาวบ้าน

๒. กรณีอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะทับที่ทำกินชาวบ้าน

๒.๑ ให้กันเขตที่ทำกินของชาวบ้านออกจากพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะแล้วออกพระราชกฤษฎีกา เพิกถอนอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะออกจากที่ทำกินของชาวบ้าน

๒.๒ ถ้าในที่ดินแปลงใดชาวบ้านมีเอกสารสิทธิ โฉนด น.ส๓ก น.ส๓ ส.ค๑ ให้คงสิทธิของชาวบ้านไว้ตามกฎหมาย หากที่ดินแปลงใดไม่มีเอกสารสิทธิให้ออกดังกล่าว ส.ปก ๔-๐๑

๒.๓ ในระหว่างการแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านเข้าทำกินในที่ดินเดิม ห้ามไม่ให้มีการจับกุมดำเนินคดีและทำลายทรัพย์สินของชาวบ้านโดยเด็ดขาด

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

ชาวบ้านในชุมชนบ้านท่าแพ บ้านเวินบึก บ้านห้วยหมากใต้ บ้านคันท่าไร่ อ.โขงเจียม ล้วนแล้วแต่เป็นชุมชนที่ก่อตั้งมาก่อนที่ทางราชการจะประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยเฉพาะกรณีอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะทับที่ โดยทางอุทยานฯยอมกันชุมชนออกจากเขตอุทยาน แต่ไม่ยอมกันที่ทำกินออกจากเขตอุทยาน ซึ่งทำให้เป็นปัญหากับการดำรงอยู่ของชุมชน  

ข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหา

                คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า แนวทางแก้ปัญหาควรให้ชุมชนที่เกิดปัญหาเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยเคารพสิทธิของชุมชนตามบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในพื้นที่ซึ่งไม่เคยมีการดำเนินการแก้ไขปัญหามาก่อนเช่นนี้ ควรใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาตามกรณีอื่นที่เคยปฏิบัติมาโดยในกรณีบ้านท่าแพ บ้านเวินบึก บ้านห้วยหมากใต้ และแนวทางการแก้ไขปัญหาของบ้านหนองชาติ ต.คำเขื่อนแก้ว อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ซึ่งถูกอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะทับที่อยู่อาศัยและถูกป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหินกองทับที่ทำกินเป็นแนวทาง ดังนี้

๑.ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ ซึ่งปิดกั้นชาวบ้านไม่ให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะแนวคิดเรื่อง “คนกับป่า”

๒.ตั้งคณะกรรมการร่วมในการรังวัดปักแนวเขตเพื่อกันพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของราษฎรออกจากพื้นที่ตามกฎหมายป่าไม้

๓.ออกเอกสารรับรองสิทธิที่มั่นคงให้กับราษฎรตามสิทธิที่ชาวบ้านพึงจะได้ และห้ามไม่ให้ราษฎรบุกรุกพื้นที่ใหม่เพิ่มเติมโดยเด็ดขาด

๔. ในระหว่างการแก้ไขปัญหา ห้ามไม่ให้มีการข่มขู่คุกคามจับกุมคุมขังราษฎร หรือกระทำการใดๆที่เป็นการริดรอนสิทธิ โดยเฉพาะในเรื่องของการอยู่อาศัยและทำประโยชน์ในที่ดินเดิมของราษฎร

๓.๑. ๔   กรณีปัญหาป่าสงวนแห่งชาติป่าหลังภู

บ้านด่านเก่า บ้านด่านใหม่ บ้านหัวเหว่พัฒนา บ้านคำผักกูด บ้านคอนหมู

อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

ข้อเรียกร้อง

๑.ให้กันแนวเขตออกจากที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านให้ชัดเจน

๒.ให้มีการออกเอกสารสิทธิ์ให้กับราษฎรที่เรียกร้อง

๓.ระหว่างรอการดำเนินงาน  ให้ยุติการข่มขู่ จับกุม และขับไล่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบโดยเด็ดขาด

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

๑. มติครม. ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ ให้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างสมัชชาคนจนกับตัวแทนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง มติครม. ๑ เมษายน ๒๕๔๐ กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาโดยให้ตรวจสอบรังวัดปรับเขตแนวป่าอนุรักษ์ให้แล้วเสร็จภายใน ๑ เดือนแล้วส่งเรื่องให้กรมป่าไม้เสนอ ครม.เพื่อให้ความเห็นชอบและส่งมอบที่ดินให้สปก.ภายใน ๑๕ วัน เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินออกสปก. ๔-๐๑แก่ราษฎรภายใน ๙ เดือน นับแต่วันที่กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่

๒. มติ ครม. ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ ที่ให้อพยพคนออกจากป่า จึงทำให้กระบวนการแก้ไขปัญหายุติลง

ข้อเสนอแนะ

๑. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑

๒. กรณีบ้านด่านใหม่ บ้านด่านเก่า บ้านคอนหมู บ้านหัวเห่วพัฒนา บ้านห้วยสะคราม ที่เคยมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีการรังวัดแปลงที่ดินแล้วให้ดำเนินการต่อเนื่องจากเดิม ตามมติคณะรัฐมนตรี ๑เมษายน ๒๕๔๐

๓. ส่วนกรณีบ้านคำผักกูดให้ใช้แนวทางที่เคยดำเนินการกับชาวบ้านในข้อ ๒

๔. ให้ยุติการดำเนินคดีกับชาวบ้าน และในระหว่างการแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านอยู่อาศัย และทำกินในที่ดินเดิมห้ามบุกรุกเพิ่มเติม

๓.๑.๕  กรณีปัญหาป่ากุดชมภูและโครงการสปก.ทับที่ทำกิน

ต.คำเขื่อนแก้ว อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี

ข้อเรียกร้อง

๑.ให้รังวัดกันเขตชุมชนและที่ทำกินของชาวบ้านออกจากเขตป่ากุดชมภู

๒.ให้ยกเลิกโครงการ สปก. ทับที่ดินทำกินของชาวบ้าน

๓.ให้คืนกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมที่ออกเป็น สปก. ให้กับชาวบ้าน โดยออกเอกสารสิทธิ์ที่มั่นคงให้กับชาวบ้าน เพื่อป้องกันมิให้โครงการต่างๆ ประกาศทับ                

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

                ปัญหาจากการกำหนดเขตป่าชุมชน และการออกสปก.ในพื้นที่ดังกล่าว ชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และไม่ได้มีโอกาสในการรับรู้ข้อมูล จึงทำให้เกิดความสับสนในประเด็นต่างๆ เช่น การออกสปก. ๔-๐๑ นั้นจะทับที่กินที่มีเอกสารสิทธิ์อยู่แล้วหรือไม่  และการกำหนดเขตป่าชุมชนที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีผลกระทบต่อที่ดินทำกินที่มีอยู่  

                ข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหา

                คณะกรรมการกลางฯ มีมติ ให้ตั้งคณะทำงานร่วม ระหว่างราชการกับตัวแทนชาวบ้านในสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อดำเนินการต่อไปนี้

                ๑.กันแนวเขตป่าชุมชนออกจากที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกินของชาวบ้าน

                ๒.หากพื้นที่ทำกินของชาวบ้านแปลงใดที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินให้คงสิทธินั้นไว้ตามกฎหมาย 

๓.หากที่ดินแปลงใดมีการครอบครองทำประโยชน์และไม่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่อยู่ในเกณฑ์ที่จะออก ส.ป.ก. ๔–๐๑ ได้  ให้เร่งดำเนินการออก ส.ป.ก. ๔–๐๑

๓.๒ กรณีปัญหาที่ดินสาธารณประโยชน์

๓.๒.๑ กรณีปัญหาที่ดินสาธารณประโยชน์บ้านตุงลุง บ้านตุงลุง ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม  จ.อุบลราชธานี

ข้อเรียกร้อง

๑.ให้กันแนวเขตให้ชาวบ้านครอบครัวละ ๒ ไร่ และออกเอกสารสิทธิ์ให้

๒.ให้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย และจัดหาสาธารณูปโภคให้ตามสภาพหมู่บ้านทั่ว ๆ ไปพึงจะมี

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

ประเด็นนี้เป็นปัญหาของชาวบ้านซึ่งได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล โดยเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในลักษณะน้ำล้อม ทำให้ชาวบ้านดังกล่าวไม่สามารถสัญจรไปมาและทำมาหากินได้ตามวิถีชีวิตปกติได้ แต่มีปัญหาเรื่องการชดเชยความเดือดร้อน เนื่องจากที่ดินดังกล่าวไม่ได้ถูกน้ำท่วมจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับค่าชดเชย ปัจจุบันชาวบ้านกลุ่มนี้ได้เข้าไปอยู่อาศัย ในที่ดินสาธารณประโยชน์บ้านตุงลุง แทนที่อยู่เดิม 

ข้อเสนอแนะ

คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า ต้องพิจารณาช่วยเหลือตามสภาพปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจริง โดยในระหว่างการดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริง ให้ยุติการดำเนินคดีชาวบ้านทั้งหมด และให้ชาวบ้านอยู่อาศัยในบริเวณเดิมโดยห้ามการบุกรุกเพิ่มเติม และอนุมัติจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านตามกฎหมาย จัดหาสาธารณูปโภคให้ตามสภาพหมู่บ้านทั่วไป

๓.๒.๒ กรณีปัญหาที่ดินสาธารณประโยชน์บ้านวังใหม่ ทับที่อยู่อาศัย ทับที่ทำกิน บ้านวังใหม่ ต.หนองแสงใหญ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

ข้อเรียกร้อง

ต้องการให้ออกเอกสารสิทธิ์ให้กับชาวบ้านที่ได้รางวัดที่ดินไปแล้ว

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

๑. มติครม. ๒๒ เม.ย.๒๕๓๙ เห็นชอบตามผลเจรจากับกลุ่มสมัชชาคนจนตามข้อเรียกร้องในการแก้ปัญหา โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะทำงาน มีตัวแทนชาวบ้านร่วมตรวจสอบ จัดทำแนวเขต พร้อมพิสูจน์สิทธิ์การอยู่อาศัย  ซึ่งจังหวัดได้สรุปแนวทางแก้ไขเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติครม. ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ เห็นชอบตามแนวทางของจังหวัดคือ เห็นควรให้ช่วยเหลือราษฎรโดยการออกกฎหมายกันพื้นที่ ที่ราษฎรเข้าอยู่อาศัยและทำกินจริงออกจากพื้นที่สาธารณประโยชน์ เพื่อพิจารณาออกเอกสารสิทธิ และพื้นที่ที่เหลือให้คงสภาพเป็นที่สาธารณประโยชน์เช่นเดิม

๒. วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๐ ที่ประชุมระหว่างทางราชการ และตัวแทนสมัชชาคนจนโดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร) เป็นประธาน ได้พิจารณาปฏิบัติตามมติ ครม. ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙  คือ ให้กรมที่ดินพิจารณาถอนสภาพในที่ดินซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์และออกเอกสารสิทธิ์แก่ราษฎร

๓. อำเภอโขงเจียมได้ให้สภาตำบลสำรวจความคิดเห็นราษฎรที่ใช้ประโยชน์ พบว่า ราษฎรยังใช้ประโยชน์ร่วมอยู่ แต่เห็นสมควรให้ดำเนินการถอนสภาพเฉพาะบริเวณที่เป็นที่ตั้งบ้านเรือน ซึ่งนายอำเภอเห็นชอบตามมติสภาตำบลดังกล่าวนี้ 

๔. ต่อมา จังหวัดได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ อบ ๐๐๒๒/๔๐๘๑ ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ ให้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนใหม่ และสภาตำบลหนองแสงใหญ่ ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยใช้แบบสอบถาม ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการเพิกถอนที่ดินสาธารณะทั้งหมด อำเภอโขงเจียมจึงไม่ดำเนินการเพิกถอนที่สาธารณประโยชน์

ข้อเสนอแนะ

คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า ให้สั่งการจังหวัดประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสงใหญ่ และตัวแทนชาวบ้าน ให้มีการพิจารณาสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงนี้อีกครั้งเพื่อให้เป็นที่ยุติ

๓.๓ กรณีปัญหาโครงการพัฒนาของรัฐ

๓.๓.๑ กรณีปัญหาโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี

(ส่วนที่ ๑ ชุมชนตลาดชุมชนช่องเม็ก ส่วนที่ ๒ ชุมชนบ้านเหล่าอินแปลง)

ข้อเรียกร้อง

๑.กรณีชุมชนบ้านเหล่าอินแปลง ต้องการให้กันที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินออกจากโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก ให้ปักเขตแดนให้ชัดเจน และออกเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองด้วย

๒.กรณีชุมชนช่องเม็กให้อยู่อาศัยในที่ดินเดิม ออกเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองและให้รัฐจัดสาธารณูปโภคในชุมชนช่องเม็ก

ประมวลข้อเท็จจริงและความเห็น

                โครงการพัฒนาด่านช่องเม็กมีปัญหาเรื่องข้อมูลและความชัดเจน  และเกี่ยวข้องกับหน่วย ราชการหลายแห่ง เช่น การเคหะแห่งชาติ  กรมธนารักษ์ และกรมป่าไม้ ตลอดจนหน่วยงานในระดับท้องถิ่น เช่น เทศบาล   เนื่องจากกรมป่าไม้ได้อนุมัติให้โครงการพัฒนาด่านช่องเม็กใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อพัฒนาด่านชายแดนไทย-ลาว โดยให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ภายใต้การดูแลของกรมธนารักษ์  และต่อมาการเคหะแห่งชาติได้เข้าปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ เพื่อให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เป็นหมู่บ้านและค้าขายกับชาวลาวแต่เดิม จนหมู่บ้านเจริญขึ้นเป็นเขตเทศบาลตำบล  ข้อเสนอของทางราชการคือ การให้ย้ายไปค้าขายที่อาคารพาณิชย์ดังกล่าว โดยมีปัญหาเรื่องค่าธรรมเนียมแรกเข้าและสถานที่อยู่ใหม่นั้น ชาวบ้านไม่สามารถขายของที่ขายอยู่เดิมได้

ข้อเสนอแนะ

คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า การเสนอให้ชาวบ้านย้ายเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารของการเคหะไม่สามารถ ทดแทนวิถีชีวิตเดิมในการค้าขายของชาวบ้านได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และชุมชนที่เป็นตลาดเคยสร้างรายได้ให้แก่รัฐจนกระทั่งขยายเป็นตลาดชายแดน รัฐบาลจึงควรมีมาตรการในเชิงตอบแทน ไม่ควรมีท่าทีในการขับไล่   โดยมีข้อเสนอคือ

กรณีชุมชนช่องเม็ก

๑.ในระหว่างที่มีการดำเนินการสอบสวนสิทธิ์ครอบครองและการใช้ประโยชน์ที่ดินอยู่ ควรให้ชาวบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินเดิมไปก่อน

๒.ให้คณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณาโครงการดังกล่าว โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ที่ดินและการวางแผนโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก

กรณีบ้านเหล่าอินทร์แปลง

คณะกรรมการกลางเห็นว่า ให้ดำเนินการต่อจากเดิมที่ได้มีกระบวนการระหว่างตัวแทนชาวบ้านกับทางราชการในเรื่องกันพื้น ที่บ้านเหล่าอินทร์แปลงออกจากโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก โดยให้หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเร่งรัดในการปฏิบัติ  โดยใช้หลักการให้ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วม

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา