eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

     เอกสารหมายเลข ๓

ข้อเสนอด้านมาตรการระยะยาว

จากคณะกรรมการกลาง

คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า ปัญหา สาเหตุในกรณีปัญหาสมัชชาคนจน เป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีลักษณะเป็นปัญหาใน เชิงโครงสร้าง ทั้งในด้านหลักการ วิธีคิด และในระดับนโยบาย กฎหมาย  ดังนั้น เพื่อการแก้ไขปัญหาในระยะยาวจึงเสนอ มาตรการแก้ปัญหาระยะยาวของกลุ่มปัญหาเขื่อน และกลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน ดังต่อไปนี้

๑. กลุ่มปัญหาเขื่อน

                ๑.๑ หลักการร่วม

การแก้ปัญหาระยะยาวต้องพิจารณา “หลักการร่วม” ที่เกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและทางสังคมก่อน และหลังการดำเนินการโครงการ เกี่ยวกับเรื่องค่าชดเชย หรือค่าทดแทนความเสียหาย การอพยพโยกย้ายผู้ได้รับผลกระทบ การฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชน  ด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากร ด้านวัฒนธรรม ด้านอาชีพ ฯลฯ ดังต่อไปนี้

                ๑.  ทบทวนการจ่ายค่าชดเชยให้เป็นรายบุคคล  ในกรณีทรัพยากรสาธารณะที่ชุมชนท้องถิ่นใช้ร่วมกัน โดยที่การ ชดเชยดังกล่าว ต้องคำนึงถึงการทำให้ผู้รับผลกระทบมีวิถีการดำรงชีวิต ใกล้เคียงกับที่เคยเป็นอยู่แต่เดิมมากที่สุด

                ๒.                จ่ายค่าชดเชยให้เหมาะสมกับการสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชนจนเกิดความพอใจในระดับหนึ่ง  ก่อนการดำเนินการใช้ประโยชน์จากเขื่อน  (ก่อนการกักเก็บน้ำ)

                 ๓.                งานจัดตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ  หากมีจะต้องดำเนินการควบคู่กันไป หรือก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการนั้น

                ๔.                การอพยพโยกย้ายจะต้องทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด  พร้อมทั้งให้หลักประกัน ทางอาชีพและดูแลความเป็นอยู่ของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ  โดยการแก้ปัญหาให้กับทั้งชุมชน  ไม่ใช่มองแยกย่อยเป็นปัจเจก ชนแต่ละครัวเรือน

                ๕.                การศึกษาผลกระทบก่อนการสร้างเขื่อน  จะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษา  “สังคมและวัฒนธรรมท้อง ถิ่น”

                ๖.                ให้ยุติการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ทุกเขื่อนที่อยู่ในแผน จนกว่าจะมีการกำหนดมาตรการในการศึกษา ผลกระทบและความคุ้มทุน และมาตรการในการพิจารณาอนุมัติโครงการที่รอบคอบและเป็นธรรมมากกว่านี้

                ๗.                การฟื้นฟูอาชีพ และวัฒนธรรม ต้องคำนึงถึงความเป็นพื้นที่สาธารณที่ชุมชนตลอดสองฝั่ง ลำน้ำใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพราะชุมชนเหล่านี้ได้ปรับตัวเข้ากับระบบนิเวศน์ร่วมกัน และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน  มีการสร้าง  ประเพณี  พิธีกรรม หรือกติกาในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน สิ่งเหล่านี้ คือ  สังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น  ดังนั้น การฟื้นฟู อาชีพและวัฒนธรรมจึงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานเหล่านี้ โดยต้องมีการศึกษาประเมินผลการฟื้นฟูอาชีพและวัฒนธรรม สำหรับเขื่อนที่สร้างแล้ว

                ๘. แก้ปัญหาผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนและสิ่งแวดล้อมเป็นกรณีๆ ไป  โดยให้มีการบริหารโครงการในรูป ของคณะกรรมการพหุภาคี ที่ประกอบไปด้วยตัว แทนฝ่ายต่างๆ เพื่อให้การให้ประโยชน์เป็นไปอย่างสอดคล้อง และเกื้อหนุนต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน

                ๙. ต้องให้ฝ่ายต่างๆ ของสังคม และผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย (stakeholder) เข้ามามีส่วนร่วมในด้านองค์กรการบริหาร จัดการ และในทุกขั้นตอนและกระบวนการพัฒนาโครงการ

                   ๑๐. การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) ให้คิดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และแผนการแก้ไขผลกระทบของโครงการ มาคิดคำนวณเป็นต้นทุนของโครงการด้วย

                ๑.๒ กรณีเขื่อนที่ยังไม่สร้าง

                                ๑.๒.๑ ประเด็นการศึกษาผลกระทบ

                                   ๑.๒.๑.๑  หลักการ

  -ต้องยกระดับการประเมินผลกระทบด้านสังคม (Social Impact Assessment: SIA)  ให้มีฐานะเท่าเทียมกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA)  โดยอาจแยกการศึกษาผลกระทบด้านสังคมออกมาเป็นการศึกษาเฉพาะอีกด้านหนึ่ง

  -การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) ให้คิดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม และแผนการแก้ไขผลกระทบของโครงการ มาคิดคำนวณเป็นต้นทุนของโครงการด้วย

    -ในเรื่องเกี่ยวกับราษฎรที่ได้รับผลกระทบ จะต้องศึกษาให้มีทางเลือกในหลายแนวทางด้วยกัน  โดยเน้นถึงสภาพทางสังคมและมานุษยวิทยา  ความคงอยู่ในสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต และให้มีคุณภาพ ของชีวิตที่ดีขึ้น  โดยมองในรูปของชุมชน  ไม่ใช่แยกย่อยเป็นปัจเจกชนแต่ละครัวเรือน

                                                -ให้มีการศึกษาผลกระทบเบื้องต้นในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทุกประเภทที่ไม่อยู่ในข่ายต้องดำเนิการตามกฎหมาย

-ควรให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ และทรัพยากรที่มีผลต่อวิถีชีวิตของชุมชน ไม่ใช่ประเมินผลเชิงมูลค่าทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เช่น กรณีผลกระทบของการประมงในลำน้ำหรือในท้องทุ่งในฤดูน้ำหลาก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในระบบเศรษฐกิจชุมชนและวิถีชีวิตพื้นบ้าน  

                                                -กำหนดมาตรการในการศึกษาความคุ้มทุนและผลกระทบของโครงการสร้างเขื่อนโดยให้มีการศึกษาจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของท้องถิ่น เพื่อเป็นการเปรียบเทียบและตรวจสอบ

                                -ให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่จะได้รับผลกระทบมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาประเมินผลกระทบในทุกขั้นตอน  และให้มีการเผยแพร่รายงานการศึกษาผลกระทบแก่ประชาชน

 

๑.๒.๑.๒  วิธีการและกระบวนการ

                                                -ให้การศึกษาและการพิจารณาผลกระทบเป็นหน้าที่ขององค์กรตามข้อเสนอ ในข้อ ๑.๒.๔

                                                -ให้การศึกษาประเมินผลกระทบประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

ชี้แจงโครงการแก่ประชาชน

ศึกษาผลกระทบเบื้องต้น

จัดทำขอบเขตการศึกษา (Term of Reference: TOR)

ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study: FS)

ศึกษาประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบทางสังคม (SIA) ของโครงการ

การพิจารณารายงานผลกระทบ

                                                -จัดให้มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นในทุกขั้นตอนของการศึกษา  ทั้งนี้ต้องให้ประชาชนผู้รับผลกระทบมีส่วนร่วมในการนี้ด้วย

                                                -การศึกษาผลกระทบต้องให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลในพื้นที่จริงเป็นลำดับแรก

 

                                ๑.๒.๒                 ประเด็นด้านการประเมินและการชดเชยผลกระทบ

                ๑.๒.๒.๑ หลักการ

                                 การชดเชยผลกระทบต้องครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จริงเป็นสำคัญ หมายความว่าหากโครงการใดมีผลทำให้ทรัพยากรที่ประชาชนใช้ประโยชน์ลดลงหรือสูญเสียไป ก็ต้องชดเชยความสูญเสียนั้น

                ๑.๒.๒.๒ วิธีการและกระบวนการ

                -ãËéÁÕ¡Òê´àªÂ¤ÇÒÁàÊÕÂËÒ·Ñé§ã¹ÃÙ»µÑÇà§Ô¹áÅСÒÃãËé¤ÇÒÁªèÇÂàËÅ×Íã¹ÃٻẺÍ×è¹ àªè¹  ¡Òê´àªÂã¹ÃÙ»¡Í§·Ø¹ªØÁª¹

                                -การคำนวณราคาค่าชดเชยต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญต่อไปนี้

การสูญเสียการใช้ประโยชน์ (ราคาทรัพย์สิน, ราคาผลิตผล, รายได้จากการประกอบอาชีพ, มูลค่าการพึ่งพาทรัพยากรท้องถิ่นที่ไม่ต้องซื้อหา เช่น อาหาร เครื่องมือเครื่องใช้ ยา สมุนไพร และอื่นๆ ที่ประเมินได้ในปัจจุบัน)

ค่าการสูญเสียมูลค่าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (มูลค่าผลิตผล, รายได้จากการประกอบอาชีพ, มูลค่าการพึ่งพาทรัพยากรท้องถิ่น ที่ไม่ต้องซื้อหา  ฯลฯ  ซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปเรื่อยๆ  หากไม่มีโครงการ)

ค่าชดเชยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (มูลค่าการเสียสละเพื่อส่วนรวม, รายได้ ที่ควรได้ในระหว่างการปรับ เปลี่ยนชีวิตสู่ สภาพแวดล้อม ใหม่)

-กรณีมีการอพยพโยกย้ายผู้ได้รับผลกระทบ เจ้าของโครงการต้องมีแผนการที่ชัดเจน และต้องจัดหาพื้นที่รองรับที่เหมาะสม กับการประกอบอาชีพ  อันไม่ทำให้คุณภาพชีวิตด้อยไปกว่าที่เป็นอยู่เดิม  ทั้งนี้ต้องเป็น ไปตามความเห็นของผู้รับผลกระทบ

                   -ให้ตั้งกองทุนประกันความเสียหาย เพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภาย หลังการเปิดดำเนินโครงการ

                                ๑.๒.๓ ประเด็นด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

                -กำหนดให้เจ้าของโครงการต้องชี้แจงข้อมูลแก่ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบ ตั้งแต่เริ่มคิดโครงการ และให้จัดเวที ระดมความคิดเห็นจากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ

                                -ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำและพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมและ รายงานการประเมินผลกระทบด้านสังคมทุกขั้นตอน (ขั้นตอนที่ ๑ ก่อนทำ EIA  ขั้นตอนที่ ๒ ระหว่างทำ EIA  ขั้นตอนที่ ๓ การพิจารณาอนุมัติรายงาน EIA  ขั้นตอนที่ ๔ หลังการพิจารณาอนุมัติ) โดยอาจจัดแสดงความเห็นในรูปของการจัดรับฟังความ คิดเห็นหรือการจัดประชาพิจารณ์คู่ขนานกับกระบวนการศึกษา ผลกระทบ

                -การมีส่วนร่วมในการชดเชยผลกระทบ  ประชาชนผู้รับผลกระทบจะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการชดเชยผลกระทบ ในทุกขั้นตอน  ทั้งในการสำรวจประเมินความเสียหาย  การประเมินราคาค่าชดเชย และการจ่ายค่าชดเชย  โดยการมีส่วนร่วมใน กลไกและกระบวนการสำรวจประเมินความเสียหาย เช่น คณะกรรมการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นเพื่อการดังกล่าวต้องมีองค์ประกอบ ที่มาจากประชาชนผู้รับผลกระทบ หรือผู้แทนประชาชนผู้รับผลกระทบแต่งตั้งขึ้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

                                ๑.๒.๔                ประเด็นด้านองค์กรการบริหารจัดการ

                                -หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม ต้องไม่ใช่หน่วยงานที่จะก่อสร้าง โครงการนั้น อย่างเช่น มอบให้สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม(สผ.) ดำเนินการโดยต้องมีตัวแทนของชาวบ้านในพื้นที่ และองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วมเป็นกรรมการกำกับด้วย ให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษาในส่วนภูมิภาคนั้นๆร่วมเป็น คณะทีมงานศึกษา

                -ในโครงการที่มีผลกระทบค่อนข้างจะรุนแรง ควรให้มีหน่วยงานกลางหรือองค์กรซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม  ทำหน้าที่ในการศึกษาและจัดทำรายงาน ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม  และรายงานประเมินผลกระทบด้านสังคม  โดยอาจ เป็นในรูปหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นศึกษาเป็นกรณีๆ ไป เพื่อเป็นการศึกษาเปรียบเทียบกับการศึกษา ที่ได้ดำเนินการตามปกติ

                                -ให้องค์กรอิสระมหาชนที่มีองค์ประกอบของตัวแทนฝ่ายต่างๆ ของสังคม เช่นตัวแทนผู้ได้รับ ผลกระทบ, องค์กรเอกชน,นักวิชาการ หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐและบุคคลอื่นๆ ซึ่งมีอิสระปราศจากการชี้น้ำของนักการเมือง และหน่วยงานเจ้าของโครงการ ทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติรายงานก่อนการตัดสินใจในโครงการ และทำหน้าที่เป็น ผู้จัดการเกี่ยวค่าชดเชยผลกระทบ โดยสามารถแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำหน้าที่สำรวจประเมินความเสียหาย กำหนดค่าทดแทน องค์ประกอบของคณะกรรมการต้องมีที่มาจากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง

 

๑.๒.๕ ข้อเสนอด้านกฎหมาย และนโยบาย

                -แก้ไขปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รอบด้านมากขึ้น

                -ให้มีการปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการชดเชยผลกระทบ เพื่อให้การชดเชยครอบคลุมความเสีย หายที่เกิดขึ้นจริงและมีความเป็นธรรมมากที่สุด

                                -ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายน้ำให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งในปัจจุบันและ อนาคต

                                -หากอนุมัติให้มีการก่อสร้างโครงการ จะต้องอนุมัติงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการในการลด ผลกระทบสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป

                                -กรณีโครงการแหล่งน้ำขนาดกลางและเล็ก ต้องมีกระบวนการให้ข้อมูลที่แท้จริงแก่ประชาชน ก่อนการตัดสินใจสร้างโครงการ  โดยอาจนำขั้นตอนการศึกษาผลกระทบเบื้องต้นในกระบวนการประเมินผลกระทบ มา ประยุกต์ใช้  ให้ประชาชนในชุมชนหรือผู้รับผลกระทบมีส่วนร่วมในการตัดสินใจดำเนินโครงการ  ให้ผู้รับผลกระทบมีส่วนร่วม ในการประเมินความเสียหายและการชดเชยผลกระทบในทุกขั้นตอน และมีการกระจายอำนาจการพิจารณาตัดสิน ใจว่าจะดำเนินโครงการหรือไม่ให้องค์กรท้องถิ่น  โดยอาจจะเป็นในรูปของคณะกรรมการลุ่มน้ำ  ในระดับต่างๆ

                                -กำหนดให้มีค่าชดเชยและค่าเสียโอกาส สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก  ร่วมไปกับการกำหนดทางเลือกหรืออันดับความสำคัญในการพิจารณาโครงการ  หากประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากทั้งใน รูปของการมอบที่ดินหรือร่วมทุน  ให้พิจารณาอยู่ในอันดับต้นๆ ของการอนุมัติโครงการ  พร้อมกับกำหนดเงื่อนไขว่า  โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กจะต้องมาจากความต้องการที่แท้จริงของประชาชน  หรือมอบให้เป็นหน้าที่ขององค์การ บริหารส่วนตำบลในการพิจารณาตัดสินใจ  และดำเนินการ

 

๑.๓ กลุ่มเขื่อนที่สร้างแล้ว

                ๑. ให้ทำการประเมินผลโครงการ (Post Project EIA) เป็นการประเมินในลักษณะการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ที่พิจารณาทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม  พร้อมกับกำหนดมาตรการและวิธีการแก้ไข  โดยใช้หลักการและวิธีการตามข้อเสนอเรื่องการศึกษาผลกระทบในเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง

                                ๒. จากผลการดำเนินการในข้อ๑. ให้กำหนดแผนงานและมาตรการเพื่อดำเนินการฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ของผู้รับผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่อน  หากผลการศึกษาดังกล่าว ยืนยันว่าผู้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนมีสภาพความเป็นอยู่แย่กว่าที่เคยเป็นอยู่เดิมก่อนการสร้าง เขื่อน  ทั้งนี้เป็นไปตามสภาพความสูญเสียที่เกิดขึ้นจริง  และอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

                                ๓. โครงการใดที่ผลการประเมินออกมาในทางลบมากๆ อาจจะพิจารณาให้ยกเลิกโครงการนั้น และหาก โครงการใดไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้  ให้กำหนดมาตรการและการดำเนินงานให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์

                   ๔.  ให้มาตรการตามข้อเสนอข้างต้นเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย

๑.๔ ข้อเสนอต่อการศึกษาวิจัยและแผนงานในอนาคต

  ๑.ให้มีการศึกษาขั้นตอนและวิธีการให้มีโครงการก่อสร้างหรือพัฒนาแหล่งน้ำให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

                   ๒.ให้มีการศึกษารูปแบบหรือพัฒนากระบวนการศึกษาและพิจารณาตัดสินใจ โดยให้ประชาชนที่ได้รับผล กระทบและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การขอให้มีโครงการ  จนถึงการก่อสร้างและใช้ประโยชน์จาก โครงการ

                   ๓.ให้มีการศึกษาปรับปรุงกรอบวิธีการ และเกณฑ์มาตรฐานในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

                ๔.ให้มีการศึกษาถึงความจำเป็นและรูปแบบของการก่อสร้างบันไดปลาโจน ที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ ในประเทศไทย  โดยพิจารณาถึงรายละเอียดด้านชีวะประวัติและพฤติกรรมของปลา  วิศวกรรม  เศรษฐศาสตร์และสังคม

                ๕.ให้มีการจัดการบริหารโครงการในรูปของ คณะกรรมการบริหารเขื่อนแบพหุภาคี ที่ประกอบด้วยตัวแทน องค์กรชุมชนท้องถิ่น   เพื่อให้การใช้ประโยชน์เป็นไปอย่างสอดคล้องและเกื้อหนุนต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

                ๖. ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำมูล โดยเฉพาะในเขตลุ่มน้ำมูลตอนล่าง โดยอาจอาศัยโครงการศึกษาที่กำลัง ดำเนินการอยู่เป็นฐานข้อมูล เช่น โครงการ THAILAND-CAPACITY BUILDING IN THE WATER RESOURCES SECTOR ที่ได้รับสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย ภายใต้การประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการ ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทช.)

                ๗.  ให้มีการวางแผนการจัดการลุ่มน้ำของประเทศ โดยแบ่งเป็นแผนการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็ก (ประมาณ ๑,๕๐๐ ลุ่มน้ำ) ลุ่มน้ำขนาดกลาง (ประมาณ ๑๕๐ ลุ่มน้ำ) และลุ่มน้ำขนาดใหญ่ (๒๕ ลุ่มน้ำ)  ตามลำดับ  โดยให้มีคณะกรรมการลุ่มน้ำ เข้ามา มีส่วนร่วมในการดำเนินการ

                ๘.  จัดตั้งและทำการพัฒนาองค์กรบริหารจัดการลุ่มน้ำ (คณะกรรมการลุ่มน้ำ) ทั้งในระดับลุ่มน้ำขนาดใหญ่จน ถึงลุ่มน้ำขนาดเล็กให้เข้มแข็ง  โดยเริ่มในลุ่มน้ำที่มีปัญหาก่อน คณะกรรมการลุ่มน้ำจะเป็นองค์กรที่จะกำหนดนโยบาย ประสานงาน ติดตามและ ร่วมตัดสินใจ ในงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา บริหาร และจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งในด้านการจัดหา หรือการก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่ การจัดสรรแบ่งปันน้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การดูแลรักษาและอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร และแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  การบริหารจัดการเกี่ยวกับน้ำท่วม  รวมถึงน้ำเน่าเสีย  ทั้งนี้ องค์กรชุมชนท้องถิ่น  องค์กรพัฒนาเอกชน  และผู้ทรงคุณวุฒิ  และผู้แทนประชาชนในลุ่มน้ำนั้นจะต้องเข้ามามีบทบาท เป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการลุ่มน้ำในสัดส่วนที่เหมาะสม  ทั้งนี้ ควรลดบทบาทของหน่วยงานของรัฐ  ให้ทำงานในลักษณะหน่วยงานให้บริการมากขึ้น

 

๒ กลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน

               ๒.๑ ประมวลข้อเท็จจริง

๒.๑.๑                ปัญหาหลักการของมติครม. ๓๐ มิ.ย.๒๕๔๑

กลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน เหล่านี้เป็นปัญหาที่สืบเนื่องมีข้อเรียกร้อง การเจรจา และมติคณะรัฐมนตรีหลายครั้ง (เช่น มติ ครม. ๒๒  เม.ย.๒๕๓๙, มติ ครม. ๑๗ และ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐)  โดยมีหลักการในการแก้ปัญหาที่สำคัญคือ

๑. ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการดำเนินการพิสูจน์สิทธิการครอบครองและการทำประโยชน์ของ ชาวบ้าน โดยหลักเกณฑ์ในการพิสูจน์ไม่ใช้เกณฑ์ภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหารแต่เพียงอย่างเดียว โดยให้มีการเดินรังวัด ในพื้นที่ การใช้พยานบุคคล ฯลฯ และพิจารณาออกเอกสารรับรองการครอบครอง การใช้ประโยชน์ตามกรอบกฎหมาย และสภาพความเป็นจริง

๒.ให้มีคณะกรรมการร่วมที่มีตัวแทนจากหลายฝ่าย โดยการกำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างราชการกับราษฎร ในสัดส่วนที่เท่ากันทั้งสองฝ่ายเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหา

มติครม. ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ ยกเลิกหลักการดังกล่าว      จึงทำให้การแก้ไขปัญหาป่าไม้-ที่ดินกรณีต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถหาข้อยุติได้

 

๒.๑.๒ ความไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540

 

รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ ได้กำหนดบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมโดย ให้ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น เข้ามีส่วนร่วมในในการบริหาร จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ร่วมดูแลรักษา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติดิน น้ำ ป่า

ดังปรากฏในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ มาตรา ๗๖ กำหนดให้ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของประชาชน ในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ และมาตรา ๗๙ กำหนดให้รัฐต้องกำหนดแนวนโยบายของรัฐในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการที่สำคัญ ๒ ประการ คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และการจัดการทรัพยากรต้องดำเนินไปตามหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน

หมวดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทย มาตรา ๔๖ กำหนดให้ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิในการจัดการและใช้ประโยชน์ ในทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มาตรา ๕๖ ที่กำหนดไว้ว่า สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติ

 

๒.๑.๓ กฎหมายป่าไม้ที่ไม่สอดคล้องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

               

กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมาก  โดยกฎหมายที่เกี่ยวกับ การจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยตรง ๔ ฉบับ คือ พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔, พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔, พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗, และ พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕  แนวทางการจัดการทรัพยากร ภายใต้กฎหมายดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน อย่างกว้างขวาง

กฎหมายดังกล่าวนี้ เมื่อพิจารณาภายในกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งได้กำหนดหลักการ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใหม่ โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร และใช้ประโยขน์จากทรัพยากรธรรมชาติใน ลักษณะที่ยั่งยืน กฎหมายป่าไม้จึงมีบทบัญญัติที่ขัดขวางหรือไม่เอื้อต่อ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดการทรัพยากรป่าไม้ตามแนวทางของรัฐธรรมนูญ

๒.๒ ข้อเสนอแนะ

                คณะกรรมการกลางฯ จึงมีข้อเสนอแนะเป็นมาตรการระยะยาวต่อกรณีกลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน ดังต่อไปนี้

                ๑.ให้รัฐบาลทบทวนมติครม. ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ และใช้แนวทางที่ชาวบ้านมีส่วนร่วม กันแนวเขตที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของชาวบ้านออกจากเขตป่าฯ โดยดำเนินการตามมติ ครม.เดิมที่เป็นหลักเกณฑ์ร่วมระหว่างฝ่ายราชการกับชาวบ้าน ในการแก้ไขปัญหาทั้ง 4 กรณี

                ๒.ให้ทบทวนแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ ทั้ง ๔ ฉบับ ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการรับรองถึงสิทธิชุมชน การให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา