eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

มติคณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน  16 กรณี

http://www.spokesman.go.th ข่าวที่ 07/251

วันที่ 25 กรกฎาคม 2543

สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (เพิ่มเติม)

วันนี้ เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี นายอรรคพล สรสุชาติ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง และนายปาน พึ่งสุจริต รองโฆษกประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

เรื่อง การแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน

คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ตามที่ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่า การกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน (คชช.) เสนอ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการ กลาง รวม 16 กรณีปัญหา ซึ่งเกี่ยวพันกับเขื่อน ป่าสงวนและที่ดินสาธารณประโยชน์ 16 แห่ง แต่ละข้อประกอบด้วยประเด็น ย่อยรวมทั้งสิ้น 45 ประเด็น แล้วมีมติ ดังนี้

ลำดับ กรณีปัญหา ประเด็นตามความเห็นของคณะกรรมการกลาง มติคณะรัฐมนตรี

กลุ่มปัญหาเขื่อน 

(8 โครงการ)

1

เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี

1. ให้ทดลองเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 8 บาน เป็นเวลา 4 เดือน ในช่วงฤดูฝน (ประมาณเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม) เพื่อให้ปลาวางไข่

2. จัดตั้งคณะกรรมการทดลองเปิดประตูระบายน้ำ โดยมีองค์ ประกอบที่เป็นพหุภาคี

3. กำหนดขอบเขตการทำงานของคณะกรรมการ ทดลอง เปิดประตูระบายน้ำ

เห็นชอบ

 

เห็นชอบ ตามข้อ 2 และข้อ 3 โดยให้แต่งตั้ง คณะกรรมการ ทำหน้าที่กำกับการดำเนิน โครงการ ศึกษาวิจัยตามที่ กฟผ. เสนอ

2

เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี

1. ให้จ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ชาวบ้านเป็นการเฉพาะ กรณี

 

 

2. กรณีบ้านโนนจันทร์เก่า ควรดำเนินการตรวจสอบการใช้ ประโยชน์จากพื้นที่ หากไม่ได้ใช้ประโยชน์ในกิจการของ กฟผ.  ก็ควรพิจารณาคืนแก่ชาวบ้าน

ไม่เห็นชอบ  เนื่องจากมีการจ่ายค่าชดเชย แก่ผู้ได้รับผลกระทบ จากการ สร้างเขื่อน สิรินธรครบถ้วนแล้วประกอบกับ คณะรัฐ มนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21เมษายน 2541 ไม่ให้จ่ายค่าทดแทน หรือค่าชดเชย ซ้ำ ซ้อนย้อนหลังสำหรับ เขื่อนที่สร้างเสร็จ แล้ว

เห็นชอบ โดยให้จังหวัดประสานกับ กฟผ. ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ดังกล่าว หาก เห็นว่าไม่ได้ใช้ประโยชน์จริง ก็ให้ กฟผ. ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ดังกล่าว คืนแก่เจ้าของที่ดินเดิมตาม กฎหมาย ต่อไป

3

ฝายราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

1. เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 7 บาน เพื่อบรรเทาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม

 

 

2. การตัดสินใจดำเนินการใด ๆ ในอนาคต ให้รอผลการ ศึกษาโดยสถาบันการศึกษาที่กำลังดำเนินการอยู่

เห็นชอบ  ให้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 7 บาน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อมและ สังคมในระยะเฉพาะหน้า และ ให้ พิสูจน์สิทธิ การครอบครอง และการ ใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้วย

เห็นชอบ ให้รอผลการศึกษาผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่อยู่ระหว่าง การดำเนินการของสถาบันวิจัยทางสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขอนแก่น

4

ฝายหัวนา

1. ควรระงับโครงการทั้งหมด เพื่อศึกษาผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคม

2. ให้เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดโครงการตาม พ.ร.บ. ข้อมูล ข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

3. ตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่คาดว่าจะเสีย หายจาก ฝายดังกล่าวร่วมกับราษฎร

เห็นชอบ

 

เห็นชอบ

เห็นชอบ 

5

โครงการลำคันฉู จ.ชัยภูมิ

1. ควรตั้งกรรมการกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับเพื่อพิสูจน์ เรื่อง กรณี เขื่อนร้าวอีกครั้ง

 

 

 

 

2. กรณีค่าชดเชยของราษฎร 2 ราย คือ นายสมชัย สวัสดี และ นายเชย จิตต์จำนงค์ ควรมีการจ่ายค่าชดเชย พร้อม ดอกเบี้ย และควรมีการพิสูจน์สิทธิการครอบครองและทำ ประโยชน์

3. กรณีคลองส่งน้ำ ให้เร่งรัดการจัดทำแผนของกรมชล ประทาน โดยให้ชาวบ้านเข้ามีส่วนร่วม และรัฐบาลจัดหา งบประมาณ สนับสนุน

4. ให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมย้อน หลัง

เห็นชอบ  หากราษฎรมีความประสงค์ให้ มี การดำเนินการตรวจ สอบปัญหาการ สร้าง ของเขื่อนอีก ครั้งหนึ่ง แต่เรื่องนี้ เคยมีการ ตรวจสอบโดย คณะผู้ทรงคุณ วุฒิมาแล้วถึง สองครั้ง ซึ่งปรากฏว่าเขื่อน ดังกล่าวมีความ ปลอดภัยและมั่นคง แข็งแรง ส่วนรอยร้าว บริเวณผิวที่พบเห็น นั้นเกิดจากการหดตัว ของวัสดุส่วนบน ของสันเขื่อนซึ่งไม่ เป็นอันตราย ต่อตัว เขื่อนแต่อย่างใด

เห็นชอบ ให้จ่ายค่าชดเชยแก่ราย นาย สมชัย สวัสดี ในส่วนของพื้นที่ ที่ยังขาด อยู่อีก 10 ไร่ สำหรับราย ของนายเชย จิตต์จำนงค์ นั้น เนื่อง จากว่ามีการจ่าย ค่าชดเชยให้ครบถ้วนแล้ว จึงไม่อาจจ่าย ค่าชดเชยใด ๆ ให้อีก

เห็นชอบ และคาดว่าจะสามารถ ดำเนิน การได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544

ไม่เห็นชอบ เนื่องจากได้ดำเนินการ ก่อสร้าง เขื่อนลำคันฉูจนเกือบแล้ว เสร็จไป ก่อนแล้ว จึงไม่อาจศึกษา ผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม และสังคมย้อนหลังได้

6

ลำโดมใหญ่ จ.อุบลราชธานี

1. ระงับการดำเนินการใด ๆ โดยเฉพาะการออกแบบใน รายละเอียด

 

 

2. ให้ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม โดย คณะกรรมการติดตามเขื่อนที่ยังไม่สร้าง 4 เขื่อน

3. ให้เปิดเผยข้อมูลตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ. 2540

เห็นชอบ  ให้ระงับดำเนินการเกี่ยวกับ การ ออกแบบก่อสร้างโครงการเขื่อน ลำโดมใหญ่ ไว้ก่อน ทั้งนี้ ให้ดำเนินการ ได้เฉพาะการออก แบบ เพื่อการศึกษา ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสังคมเท่านั้น

เห็นชอบ

 

เห็นชอบ

7

โครงการโปร่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ

1. ให้ระงับการดำเนินโครงการใด ๆ

2. ให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติ คณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณี เขื่อนที่ยังไม่ได้ สร้าง 4 เขื่อน

3. ให้รัฐบาลสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการ โดย เร่งจัด หางบประมาณและวัสดุอุปกรณ์สนับสนุน

4. ให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และเปิด เผย ข้อมูล ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

เห็นชอบ 

เห็นชอบ

 

เห็นชอบ

 

เห็นชอบ 

8

โครงการห้วยระห้า จ.อุบลราชธานี

1. ให้ดำเนินการพิสูจน์สิทธิและความเสียหายโดยคณะ กรรมการ ระดับจังหวัด โดยให้มีตัวแทนสมัชชาคนจน ร่วม กระบวนการ

 

 

 

2. หากมีพื้นที่เสียหายก็ดำเนินการจ่ายค่าชดเชย ตามสภาพที่ เป็นจริง

ไม่เห็นชอบ  เพราะโครงการชนิดนี้ เป็น โครง การชลประทานขนาดเล็ก ซึ่งมี ลักษณะเป็น ฝาย (ไม่ใช่เขื่อน)และมีอยู่ นับหมื่นแห่งทั่ว ประเทศ และจัดสร้างขึ้น ตามคำเรียกร้อง ของราษฎร ในพื้นที่ โดย ทางราชการไม่เคย ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ อย่างใด หากต้องมีการ ชดเชยการดำ เนินการ โครงการเหล่านี้จะเป็น ภาระด้าน งบประมาณอย่างยิ่ง

ไม่เห็นชอบ 

ปัญหาป่าไม้

9

อุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี

1. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541

2. แก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการที่ชาวบ้านมีส่วนร่วม

ไม่ห็นชอบ 

เห็นชอบ

10

ป่าสงวนแห่งชาติ ดงหินกองและ อุทยานแห่งชาติ แก่งตะนะ

1. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541

2. ตั้งคณะกรรมการร่วมในการรังวัดปักแนวเขตเพื่อ กันพื้น ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของราษฎรออกจาก พื้นที่ตาม กฎ หมาย ป่าไม้

3. ระหว่างการแก้ไขปัญหา ห้ามไม่ให้มีการข่มขู่ คุกคาม จับกุม คุมขังราษฎร

ไม่เห็นชอบ

 

เห็นชอบ

 

เห็นชอบ ในการห้ามข่มขู่ คุกคาม ราษฎร แต่การจับกุมราษฎรนั้น จะระงับ การดำเนิน การแก่ราษฎร ที่อยู่ในพื้นที่ เดิมไว้ก่อนจน กว่าจะ พิสูจน์สิทธิเรียบ ร้อยแล้ว แต่ใน ระหว่างนี้ต้องไม่บุกรุก หักร้าง ถางพงเพิ่ม เติมหรือดำเนินการ ใดที่ กระทบต่อการ อนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

11

ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงภูโหล่น จ.อุบลราชธานี

1. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541

2. ปรับลดแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติตามสภาพที่เป็น จริง

3. ระหว่างดำเนินการ ห้ามไม่ให้มีการจับกุม อพยพ หรือ ขับไล่ ชาวบ้านโดยเด็ดขาด

 

4. ห้ามไม่ให้ชาวบ้านบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ใหม่

ไม่เห็นชอบ 

เห็นชอบ

เห็นชอบ ไม่ให้มีการจับกุมดังกล่าว เว้น แต่ กรณีราษฎรรายใหม่บุกรุก เข้าไปอยู่ ใหม่ หรือ ราษฎรรายเดิมที่ บุกรุกเพิ่ม เติมหรือกระทำ การใดอันมี ผลกระทบ ต่อ การอนุรักษ์ทรัพยา กรธรรมชาติ หรือ สิ่งแวดล้อม

เห็นชอบ 

12

ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าหลังภู จ.อุบลราชธานี

1. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541

2. กรณีที่มีการสำรวจรังวัดที่ดินแล้ว ให้ดำเนินการต่อ เนื่อง จาก เดิมตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 เมษายน 2540

ไม่เห็นชอบ 

ไม่เห็นชอบ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมี มติ แล้วว่ากรณีเช่นนี้ให้ดำเนินการ ตาม มติวันที่ 30 มิถุนายน 2541

13

ป่ากุดชมภูและ โครงการ ส.ป.ก. ทับที่ดินทำกิน จ.อุบลราชธานี

1. กันแนวเขตป่าชุมชนออกจากที่อยู่อาศัย และที่ดิน ทำกิน ของชาวบ้าน

2. หากที่ดินทำกินของชาวบ้านแปลงใดที่มีเอกสาร สิทธิ ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน ให้คงสิทธินั้นไว้ ตามกฎหมาย

3. หากที่ดินแปลงใดมีการครอบครองทำประโยชน์ และ ไม่มี เอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่อยู่ในเกณฑ์ที่จะ ออก ส.ป.ก. 4-01 ได้ ให้เร่งรัด ดำเนินการออก ส.ป.ก. 4-01

เห็นชอบ 

 

ไม่เห็นชอบ แต่ให้ใช้วิธีพิสูจน์สิทธิ ตามกฎหมาย

เห็นชอบ 

ปัญหาที่ดิน

14

ที่ดินสาธารณประโยชน์ บ้านวังใหม่ จ.อุบลราชธานี

- ให้สั่งการจังหวัด ประสานงานกับองค์กรบริหาร ส่วนตำบล หนองแสงใหญ่ และตัวแทนชาวบ้าน ให้มีการพิจารณาสภาพ การใช้ที่ดินสาธารณ ประโยชน์อีกครั้ง

เห็นชอบ 

15

ที่ดินสาธารณประโยชน์ บ้านตุงลุง จ.อุบลราชธานี

1. ให้ยุติการดำเนินคดีกับชาวบ้านทั้งหมด

2. ให้ชาวบ้านอาศัยในบริเวณเดิม ห้ามการบุกรุก เพิ่มเติม

3. อนุมัติให้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านตามกฎหมาย และ จัดหา สาธารณูปโภคตามสภาพหมู่บ้านทั่วไป

ไม่เห็นชอบ 

เห็นชอบ

เห็นชอบ 

16

โครงการพัฒนา ด่านช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี

กรณีช่องเม็ก

1. ในระหว่างสอบสวนสิทธิครอบครองและการใช้ ประโยชน์ที่ดิน ควรให้ชาวบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินเดิม ไปก่อน

2. ให้คณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณา โครงการ ดังกล่าว โดยให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการ ใช้ประ โยชน์ที่ดิน และการวางแผนโครงการพัฒนา ด่านช่องเม็ก

กรณีบ้านเหล่าอินทร์แปลง

1. ให้ดำเนินการต่อจากเดิมที่ได้มีกระบวนการ ระหว่าง ตัวแทน ชาวบ้านกับทางราชการ

2. ในเรื่องกันพื้นที่ออกจากโครงการ ให้หน่วยราช การที่รับผิดชอบ เร่งรัดในการปฏิบัติโดยใช้หลัก ให้ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วม

ห็นชอบ 

เห็นชอบ

 

 

 

 

เห็นชอบ

เห็นชอบ 

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา