eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ตารางเปรียบเทียบข้อเรียกร้องของชาวบ้าน  มติคณะกรรมการกลาง ๖ ก.ค.๒๕๔๓ มติ ครม. ๒๕ ก.ค.๒๕๔๓

และข้อคิดเห็นสมัชชาคนจนต่อมติ ครม.

เขื่อนปากมูล  

สมัชชาคนจน           

ข้อ เรียกร้องของ ชาวบ้าน

มติคณะกรรมการกลางฯ

มติคณะรัฐมนตรี

ข้อคิดเห็นของสมัชชาคนจน

๑) เปิดประตู ระบาย น้ำเขื่อน ปากมูลทั้ง ๘ บาน เต็มที่อย่าง ถาวร เพื่อให้ปลาขึ้น วางไข่

๑) ทดลองเปิดประตูระบายน้ำ ๔ เดือน ในช่วงฤดูฝน (ประมาณเดือนพฤษภาคม- สิงหาคม) เพื่อให้ปลา สามารถขึ้นไปวางไข่ได้ โดยจะต้อง มีระบบการ ประเมิน และส่งเสริมผล กระทบด้านบวกในเรื่องการ ประมง เช่น สภาพการอพยพของปลาในแม่น้ำโขง ความหลากหลาย ทางชีวภาพของสัตว์น้ำภาย หลัง มาตรการเปิดประตู ระบายน้ำ ตลอดจนการฟื้นฟู ระบบนิเวศน์ของลำน้ำมูล โดยมีการใช้เครื่องมือทาง วิทยาศาสตร์และ ภูมิปัญญาชาว บ้านเพื่อช่วยในการ ประเมิน ได้อย่างถูกต้อง ขณะเดียวกัน ต้องมีการติด ตามและบรรเทา ผลกระทบด้านลบ เช่น การ พิจารณา ระดับน้ำในแม่น้ำมูลหลังการ เปิดประตู ระบาย น้ำที่ จะไม่กระทบต่อกลุ่มผู้เลี้ยง ปลาในกระชัง หรือ สภาพ พื้นที่เพาะปลูกจากสถานีสูบน้ำ ขั้นตอน และวิธีการ เปิดประตูระบายน้ำ ที่ไม่ส่งผลต่อการเลื่อนตัวของดิน ชายฝั่ง ตลอดจนคำนึงถึงผลกระทบต่อต้นทุน การ ผลิต และ รายได้จากการผลิตไฟฟ้าของเขื่อนปากมูล

๑) เห็นชอบให้เปิดประตู ระบายน้ำทั้ง ๘ บาน  เป็นระยะ เวลา ๔ เดือน ในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึงสิ้นเดือนสิงหาคม เพื่อให้ปลาสามารถขึ้นไป วาง ไข่ได้

๑)การทดลองเปิดประตูระบายน้ำ เขื่อนปากมูล เพื่อทดลองให้ปลาขึ้น วางไข่ จะต้องมีการประเมินผลด้าน ต่างๆ  และเนื่องจากการสั่งการของ รัฐบาลล่าช้า ประกอบกับยังไม่มีการ ตั้งคณะ กรรมการ ทดลองเปิดประตู น้ำ ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลไม่เพียงพอ หรือคลาดเคลื่อนได้ สมัชชาคนจน เห็นว่า ควรขยายเวลาในการ เปิดประ ตู ระบายน้ำไปอีกระยะหนึ่ง

๒) ฟื้นฟูระบบ นิเวศน์และ แก่ง ต่างๆ ในแม่น้ำมูล

 ๒) จัดตั้งคณะกรรมการทดลองเปิดประตู ระบายน้ำ กรณี เขื่อนปากมูลโดยมีองค์ ประกอบที่เป็นพหุภาคี ได้แก่ ตัว แทน กฟผ. ตัวแทนสมัชชาคนจน ตัวแทน เกษตรกรที่ได้ รับผลกระทบด้านลบ จากมาตรการ เปิดประตูระบายน้ำ ตัวแทนนักวิชาการจากมหา วิทยาลัย ในท้องถิ่นอันประ กอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านประมง ด้านวิศวกรรมและด้าน สังคม ตัวแทนส่วน ราชการอันได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทน โดย ให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยใน ท้องถิ่นดัง กล่าวเป็น ประธาน เนื่องจากมีความเป็นอิสระและสอด คล้องกับ ภารกิจของคณะกรรมการชุดนี้ ซึ่งเป็นการ พิจารณา ปัญหาด้านเทคนิควิชาการ และกระบวนการ ปฏิบัติการ โดยอาศัยข้อ มูลข้อเท็จจริง ทั้งนี้ไม่ควรมี จำนวนกรรมการเกิน ๑๐ คน โดยมีระยะเวลาในการ ทำงานประมาณ ๑ ปี ส่วนในระยะยาวควรจัดตั้งคณะ กรรมการ ลุ่มน้ำขึ้นมา เพื่อพิจารณาตัดสินใจในการ รักษา ดูแล และใช้ประโยชน์จาก ลำน้ำ(ดูรายละเอียด ใน(ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะ กรรมการพิจารณาทดลอง การเปิดประตู ระบายน้ำ)

 ๓) ขอบเขตการทำงานของคณะกรรมการทดลอง เปิด ประตูระบายน้ำกรณีเขื่อนปากมูลให้อยู่ ภายใต้มติตาม ข้อ ๑ ได้แก่การยอมรับมาตรการทดลองเปิดประตู ระบาย น้ำ โดยทำหน้าที่พิจารณาขั้นตอนและวิธีการ เปิดประตู ระบายน้ำ โดยคำนึงถึงผลกระทบจากมาตร การดังกล่าว รวมทั้งเสนอแนะมาตรการสนับสนุนผล กระทบ ด้านบวก และบรรเทาผลกระทบด้านลบ ที่ อาจเกิดขึ้น คณะกรรม การชุดนี้ควรมีอำนาจให้กฟผ. ให้ความร่วมมือในการเปิด ประตูระบายน้ำ รวมทั้ง ความร่วมมือจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วย งานราชการอื่นๆเพื่อรองรับการ ศึกษา ติดตาม และ ประเมินผลกระทบจากมาตรการดัง กล่าว โดยรัฐบาล ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุน เป็น การเฉพาะให้ กับคณะกรรมการชุดนี้ และให้รายงานโดย ตรงต่อ คณะรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีในฐานะได้ รับ มอบ หมายจากนายกรัฐมนตรี

๒) และ๓) เห็นชอบให้แต่ง ตั้ง คณะกรรมการ เพื่อทำหน้า ที่ กำกับ การดำเนิน โครงการ ศึก ษาวิจัยด้าน ทรัพยากร ประมง และฟื้นฟูระบบ นิเวศน์วิทยา ของแม่น้ำมูลใน ลักษณะ พหุภาคี โดยมีองค์ ประกอบ และ ขอบเขตการ ทำงาน ซึ่ง ครอบคลุมการ ทดลอง การเปิด ประตู ระบาย น้ำ เพื่อประโยชน์ ในการ บริหาร เขื่อนในปีต่อๆ ไป ตามที่คณะกรรมการกลาง ฯ และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) เสนอ

๒)โครงการศึกษาวิจัยด้าน ทรัพยากร ประมง และฟื้นฟูระบบนิเวศน์วิทยา ของ แม่น้ำมูล ตามมติคณะรัฐมนตรี ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๓ เป็นข้อเสนอ ตามแนวทางของ กฟผ.ไม่ใช่ข้อ เสนอของคณะ กรรมการกลางฯ นั้น มีแนวคิด เนื้อหา กรอบการศึกษา กระบวนการ องค์ประกอบ บทบาท หน้าที่ อย่างไร และมีเหตุผลอะไร ที่ไม่ทำตามข้อเสนอของคณะ กรรม การกลางฯ

 

๓)ฟื้นฟูวิถีชีวิตและ ชุมชนที่ได้ รับผล กระทบจาก การ สร้าง เขื่อน ปากมูล

 

 

๓)ต้องมีการกำหนดมาตรการ ระยะ ยาว ตามมติของคณะกรรมการกลางฯ เพราะมีผลต่อการฟื้นฟู และการสร้าง ความเป็นธรรมให้กับ ผู้ที่ได้รับ ผล กระทบนับแต่มีการก่อ สร้างเขื่อน จนถึงปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งถือว่า เป็นมาตรการที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะ การประเมินผลกระทบ หลังโครงการ (Post Project EIA) ในด้านผลกระทบ สิ่งแวดล้อม และกำหนดมาตรการและ วิธีการ แก้ไข ตลอดจนถึงการกำหนด แผนงานและ มาตรการ เพื่อดำเนิน การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และสภาพความ เป็นอยู่ ของผู้ได้รับผลกระทบที่มี สภาพ ย่ำแย่กว่า ก่อนการสร้างเขื่อน โดยอาศัยกระบวนการมีส่วน ร่วมของ ประชาชน (ดูภาคผนวก)

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา