eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

บันทึกสถานการณ์สมัชชาคนจน หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน8
หน้าทำเนียบรัฐบาล วันที่ 1 ตุลาคม 2543

ต่อเนื่องจากการเตรียมความพร้อมในการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลของกลุ่มสมัชชาคนจน ล่าสุดได้จัดให้มีโครงการ ธรรมยาตรา ขึ้นเพื่อออกทำความเข้าใจกับชาวกรุงเทพมหานคร ตามที่เมื่อวานที่ผ่านมา(30 ก.ย.43)มีการซ้อมใหญ่ ไปรอบๆ ทำเนียบรัฐบาล

วันนี้ คนจนได้เริ่มโครงการธรรมยาตราเพื่อการประสานใจแล้ว โดยเมื่อเวลาประมาณ 09.30น. คณะขบวนอาสาสมัครออกมา รวมกันที่หน้าเวที ก่อนการเคลื่อนขบวน พระอาจารย์ทวีศักดิ์ จิรธัมโม พระสงฆ์จากกลุ่มพุทธศึกษา ในส่วนของกลุ่มเสขิยธรรม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำงานด้านสันติวิธี จำวัดอยู่ที่ วัดแห่งหนึ่งในอำเภอภูเขียว จ.ชัยภูมิ เดินทางมาถึงที่ชุมนุมได้ 3  วันแล้ว ได้เทศนา ชาวบ้านให้เข้าใจถึงหลักธรรม อธิบายให้เห็นถึงแนวทางสันติวิธี

จากนั้นขบวน อาสาสมัครธรรมยาตราก็ออกเดินทางไปตามถนนลูกหลวง เลี้ยวเข้าเขตถนนหลานหลวงก่อนที่จะวกเข้าเขต อุรุพงษ์ มุ่งหน้าไปยังชุมชนบ้านครัว โดยมีชาวบ้านและพี่เลี้ยงที่ปรึกษา ประมาณ 21 คน มีธงสีเหลืองมีข้อความว่า “ธรรมยา ตราเพื่อการประสานใจ” นำหน้าและปิดท้ายขบวนด้านละผืน อีกทั้งมีป้ายผ้าเขียนว่า “เดินเพื่อคนจน ค้นหาความจริง” และ “คืน ปลาให้แม่น้ำมูน คืนความสมบูรณ์สู่อีสาน” นอกจากนั้นระหว่างการเดินทางรณรงค์ จะมีผู้ใช้โทรโข่ง พูดชี้แจงกับผู้คนผ่านไป ผ่านมาแล้ว การเคลื่อนขบวนยังมีเสียงระฆังดังให้จังหวะกังวานอยู่ตลอดเวลาด้วย

ขบวนสมัชชาคนจนเทื่อไปถึง บริเวณบ้านครัวแล้วก็ได้จัดแบ่งกลุ่มออกเป็นชุดๆละ 5 คน ออกเดินเคาะประตูพูดคุย แจกแผ่น พับ กับชาวบ้านชุมชนละแวกนั้น บรรยากาศตามที่ผู้สื่อข่าวได้ติดตามวิธีทำงานรณรงค์แนวนี้อย่างใกล้ชิด เห็นว่าประชาชน ทั่ว ไปต่างให้ความสนใจ การพูดคุยเป็นกันเองต่างก็จัดหาน้ำหาท่ามาต้อนรับเหมือนญาติสนิท ซึ่งก็มีเหมือนกันที่บางคนใช้ท่าทาง และวาจาเย้ยหยันไม่เห็นด้วย แต่ชาวบ้านที่มารณรงค์ก็อาศัยความใจเย็นเข้าไปพูดคุยด้วยจึงทำให้หลายคนเริ่มเปลี่ยนทัศนคติที่ ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คณะธรรมยาตราได้ตระเวณไปตามซอกซอย ตามบ้านเรือนหลังต่างๆ ซึ่งส่วนมากอาสาสมัครเป็นผู้สูงอายุ แต่จากการสังเกตการทำงาน การเอาจริงเอาจังแล้วก็เห็นว่าพวกเขาไม่มีความย่อท้อแม้แต่น้อย กระทั่งเวลาประมาณ 11.30 น. แต่ ละกลุ่มต่างทยอยไปรวมกันที่ ใต้ทางด่วนอุรุพงษ์ตัดใหม่ เพื่อหยุดพักและรอกินข้าวเที่ยงกับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ ซึ่งแต่ละคนจะห่อ ข้าวมากินร่วมกัน

ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างทางด่วน ซึ่งประชากรส่วนมากนับถือศาสนา อิสลามและ ทั้งหมดจะต้องถูกไล่รื้อ เวณคืนที่อยู่อาศัย สำหรับการมารณรงค์ที่บ้านครัวของกลุ่มสมัชชาคนจนครั้งนี้เป็นชุมชนบ้านครัวฝั่ง ตะวันตก ซึ่งเป็นการพบปะกันระหว่างผู้มีชะตากรรมเดียวกัน ดังเห็นได้จากแม่ใหญ่จากสมัชชาคนจนคนหนึ่งกับแม่ใหญ่ ชุมชน บ้านครัวนั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหากันอย่างถูกคอ นางสาวปรัชญ์สิริ ไชยพุฒ ผู้ริเริ่มโครงการธรรมยาตราเพื่อการประสานใจ นี้บอกว่า “ทั้งสองส่วนไม่ว่าชนบทหรือ เมืองหากเป็นคนจนแล้วก็มีความเดือดร้อนเหมือนกัน คือถูกทอดทิ้ง” ตนเองไม่ได้ สังกัดกลุ่มองค์กรไหนแต่ได้ติดตามข่าวสารจากสื่อมวลชนเห็นว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา คนจน จึงนำเรื่อง นี้ไปปรึกษากับเพื่อนๆ ร่วมกับพี่ๆที่ทำงานด้านสันติวิธีให้ช่วยคิดวางแผนงานมานานแล้ว จึงได้เริ่มทำ น.ส.ปรัชญ์สิริ กล่าวต่อ อีกว่า จุดประสงค์ที่ทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการสื่อข้อเท็จจริงอันเป็นปัญหาที่พี่น้องสมัชชาคนจนประสบอยู่(ทุกขสัจ) ไปยัง พี่น้องประชาชนทั่วไป โดยนำศาสนธรรมจากทุกๆ ศาสนามาเป็นหลักใจและเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ประสบ ปัญหาเพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วม ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของรัฐ อนึ่ง ศาสนธรรมซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนไทยทั้งหลาย ควรนำมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาในชีวิต ทั้งระดับปัจเจกบุคคลและระดับสังคม น.ส.ปรัชญ์สิริ บอกอีกด้วยว่า โครงการนี้จะ เป็นสื่อกลางเป็นเวที เป็นลานพูดคุยให้คนทั้งหลายมาเรียนรู้ร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ประสานงานให้เกิดโครงการนี้ขึ้นมายังได้กล่าวย้ำอีกว่า สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมหรือต้องการรับฟังปัญหาจาก ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงก็ขอให้ติดต่อตนได้ที่ ที่ชุมนุมสมัชชาคนจน หน้าทำเนียบรัฐบาล

นอกจากนี้ กลุ่มอาสาสมัครธรรมยาตราฯ สมัชชาคนจน ได้แจ้งกำหนดการและเส้นทางสำหรับวันอื่นๆล่วงหน้ามาด้วย โดยจะ พักวันพรุ่งนี้ 1 วัน ส่วนวันต่อๆ ไปมีกำหนดการดังนี้

กำหนดการธรรมยาตรา
1,3 ตุลาคม 2543 -ธรรมยาตราเพื่อการประสานใจ จะเดินเท้าไปยังชุมชนบ้านครัว พบปะพี่น้องมุสลิมกว่า 800 หลังคาเรือน ปฏิบัติการ “เคาะประตู”

5 คุลาคม 2543 -ธรรมยาตราฯเดินทางไปยัง “เสถียรธรรมสถาน”

6 ตุลาคม 2543 -ธรรมยาตราจะเดินเท้าไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกิจกรรม “รำลึก 6 ตุลา” 8 ตุลาคม 2543 -ธรรมยาตราฯ เดินทางไปยังบ้านเซเวียร์ พบปะกลุ่มพี่น้องชาวคริสต์

ภายหลังคณะรณรงค์ธรรมยาตราเพื่อการประสานใจได้ร่วมพักกินข้าวเที่ยงเสร็จแล้ว จึงได้เข้าร่วมและเปลี่ยนกับกลุ่มตัวแทน ปัญหาชุมชนบ้านครัวและคณะคริสเตียนที่มาจากบ้านเซเวียร์ ที่มัสยิดซูลูกุลมุตตากีนในเวลาประมาณ 14.30 น.โดยใช้เวลา ประมาณ 1 ชั่วโมง สมัชชาคนจนจึงเดินทางกลับหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 8 หน้าทำเนียบรัฐบาล

----------------------


ธรรมยาตราเพื่อการประสานใจ:ฑูตธรรมยาตรา-สมัชชาคนจน

หลักการและความเป็นมา

เอ่ยชื่อ สมัชชาคนจน ขึ้นมาในปัจจุบันนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยรับรู้เพราะนั่นเนื่องจากว่ากลุ่มพี่น้อง สมัชชาคนจนได้รวมกลุ่มชุมนุมเรียกร้องทวงถามความเป็นธรรมจาก รัฐบาลมาเป็นเวลาอันยาวนานนับตั้งแต่ปี 2538 มาแล้ว โดยเฉพาะการชุมนุมที่สันเขื่อนปากมูล ในชื่อ หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 1 นั้น ได้ร่วมปักหลักชุมนุมติดต่อกันมาไม่ต่ำกว่า 1 ปี 6 เดือน เข้าไปแล้ว หนึ่งปีหกเดือนท่ามกลางความไม่จริงใจในการแก้ปัญหาของรัฐบาล ภายใต้สมมติฐานที่ว่า ปัญหาเหล่านี้ล้วน ไม่มีอยู่จริง การชุมนุมเป็นเพียงเกมทางการเมืองขยองพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม เป็นเพียงการทำลายความเชื่อถือในการบริหาร งานของรัฐบาลจากฝ่ายนักพัฒนาเอกชน (NGOs)และมายาคติอีกมากที่สรรหามากล่าวอ้าง หนึ่งปีหกเดือนแม้จะมินับเป็นอะไร ได้ในสายตาของคนภายนอกที่ไม่ใช่ “คนจน” แต่ทว่าสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาโดยตรงแล้ว ทัณฑ์ทรมานที่เกิดจากการถ่วงเวลา ในการแก้ปัญหาซึ่งได้รับอยู่ทุกวี่วีนเป็นเวลายาวนานนี้ ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า หากปัญหาไม่มีอยู่จริง พี่น้องคนจนทั้งหลายใยถึง ร่วมต่อสู่ได้ยาวนานถึงปานนี้?

แม้ทุกคนจะได้ยินชื่อ สมัชชาคนจน และเห็นภาพข่าวการชุมนุมตามสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อวิทยุ โทรทัศน์และสื่ออื่นๆ ก็ดี แต่ดู เหมือนข่าวสารข้อมูลเหล่านั่นล้วนคลุมเคลือเจือปนไปด้วยมายาคติต่างๆ จนทำให้ผู้รับสื่อมิอาจตัดสินใจว่าอันไหนคือความจริง อันไหนคือความลวง ยื่งในปัจจุบัน อังที่ทราบกันดีว่า “สื่อ” ทั้งหลายจำนวนมากล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจทุนด้วยแล้ว การไว้วาง ใจให้สื่อทำหน้าที่ส่งผ่าน “ความจริง” อย่างชนิดที่ไม่ถูกลิดเลือนย่อมเป็นเรื่องที่มิอาจคาดหวังได้ ด้วยการที่พวกเรา กลุ่มพี่น้อง สมัชชาคนจน ตระหนักดีว่า พื้นฐานจิตใจมนุษย์ทุกคนย่อมประกอบอยู่ด้วย มนุษยธรรม  อันหมายถึง ความรัก ความเมตตา การุณย์ ความเห็นอกเห็นใจในความทุกข์ของผู้อื่น อันเป็นพื้นฐานจิตใจที่อยู่ภายใต้หลักศาสนธรรมของทุกๆ ศาสนาที่เชื่อว่า “สรรพชีวิตล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน” พวกเราเองจึงเชื่อมั่นว่า หากพี่น้องประชาชนคนไทย รวมทั้งชาวโลกทั้งหลาย ได้รับข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีปัญหาอันเป็นสาเหตุที่ทำให้ สมัชชาคนจน ต้องมาร่วมชุมนุมเรียกร้องอย่างถูกต้องแล้ว อย่างน้อย น่าจะนำไปสู่ความเข้าอกเข้าใจในกันและกันทั่งสองฝ่าย อันจะนำไปสู่การตัดสินใจในอันดับต่อไปว่า ท่านจะเลือกสนับสนุน หรือช่วยเหลือพวกเราได้อย่างไร ล่าสุดนี้ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกลางเพทาอแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน 16 กรณี โดยมี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน โดยมีนายบัณฑร อ่อนดำเป็นประธานคณะกรรมการ กลางฯ กระทั่งออกมาเป็นข้อเสนอของมติคณะกรรมการกลางฯ 3 กรกฎาคม 2543 และที่สุดเมื่อนำเรื่องนี้เข้าสู่วาระการพิจารณา ของคณะรัฐมนตรี ก็ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และมติคณะรัฐมนตรีเพื่อ การแก้ไขปัญหาระยะยาวเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543 ออกมาดังที่ปรากฏต่อสาธารณชนนั้นแล้ว ดูเหมือนว่า รัฐบาลได้ให้ความ จริงใจที่สุเดแล้วในการแก้ปัญหาคนจน แต่ไฉน คนจนทั้งหลายยังปักหลักตรึงอยู่หน้าทำเนียบไม่ยอมกลับบ้าน ทำไมยังทะเลาะ ไม่เลิก ได้คืบจะเอาศอก ได้ศอกจะเอาวา ทำตัวเป็นที่ขายขี้หน้าแขกบ้านแขกเมือง กู่ร้องตะโกนเหมือนวิญญาณจรจัดร้องหา ส่วนบุญเทศกาลสารทเดือนสิบ!!! ทำไม ทำไม ทำไม??? คือ คำถามที่ค้างคาใจและเต็มไปด้วยความไม่เข้าใจจากสาธารณชน

ความไม่เข้าใจได้ดำรงสืบเนื่องมากว่า 2 เดือนเข้าไปแล้ว จนรู้สึกเหมือนคนจนก็คือความเป็นอื่น เป็นสิ่งแปลกปลอมที่เผอิญ เข้ามาแทรกอยู่ข้างทำเนียบหรือหากจะนับกันตั้งแต่สมัชชาคนจนได้เคลื่อนทัพมา ประชิดทำเนียบงแต่ก่อนหน้าเข้าพรรษาหนึ่ง สัปดาห์ก็เป็นเวลาถึง 2 เดือนกับ 20 วันแต่กระนั้น เมื่อมีการศึกษาเปรียบเทียบ ข้อเสนอของคณะกรรมการกลาง และมติคณะ รัฐมนตรีฯ ทั้งสองวาระอย่างละเอียดแล้ว พวกเราพี่น้องสมัชชาคนจนพบว่า หนทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็น รูปธรรมทั้ง 16 กรณีปัญหานั้นหาได้มีอยู่จริงไม่ หากจะพูดกันอย่างตรงไปตรงมาแล้ว ก็คือ นี่เป็นเพียงชั้นเชิงทางการเมืองของฝ่ายรัฐบาลที่ อาศัยทักษะความเชี่ยวชาญในเชิงวาทะ มาทำให้ดูเหมือนว่า สาระสำคัญของปัญหาได้รับการแก้ไขจากรัฐอย่าง เต็มความสามารถ แล้ว ส่วนข้อเรียกร้องของพี่น้องสมัชชาคนจนที่รัฐไม่สามารถรับปากแก้ไขได้นั้น ก็เพราะไปกระทบกระเทือนต่อภาษี ประชาชน ซึ่งตาม หลักการแล้ว ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นแก่คนส่วนน้อยเพื่อสูญเสียประโยชน์ของคนหมู่ใหญ่ มาถึงวันนี้ พี่น้องสมัชชาคนจน ยังปักหลักชุมนุมโดยสันติอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาลต่อไป เหตุผลสำคัญอันหนึ่งก็เพื่อทวงถาม มาตรการแก้ไข ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมจากรัฐบาล แต่หากจะกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้วจากประสบการณ์ที่ผ่านๆ มาพวกเราล้วนไม่เชื่อมั่นว่าจะมี มาตรการที่ว่านี้ออกมาจากฝ่ายรัฐ(ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดนี้หรือชุดไหนๆ ที่ยังเชื่อในทิศทางการพัฒนาดังที่เป็นอยู่) ดังนั้น พวก เราจึงคงเหลือความหวังเพียงหนึ่งเดี่ยว นั้นคือ ความหวังในพลังประชาชนหรือพลังทางสังคม อันหมายถึงพลังแห่งความเข้าอก เข้าใจจากพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งชาติ ธรรมยาตราเพื่อการประสานใจ เป็นก้าวย่างหนึ่งที่พี่น้องสมัชชาคนจนๆด้นำมาเป็น รูปแบบในการทำความเข้าใจกับพี่น้อง ประชาชนกรุงเทพฯและพี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งชาติ โดยธรรมยาตาฯจะกลายเป็น “สื่อ” โดยตรงให้พี่น้องได้รับทราบความทุกข์ยากของพวกเราแทนที่จะผ่าน “สื่อ” ชั้นสองหรือชั้นสามดังที่ผ่านมา

ธรรมยาตราเพื่อการประสานใจ คือ การจาริก เดินเท้าเพื่อประกาศความจริง)สัจธรรม) ให้เป็นที่รับรู้ของคนทุกฝ่าย โดยอาศัย ธรรมะจากทุกๆศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นการเดินเท้าอย่างมีสติเอกระต้นเตือนให้ ความจริงได้ประจักษ์ พวกเรา พี่น้องสมัชชาคนจน เชื่อมั่นเหลือเกินว่า เมื่อความจริงได้ปรากฏขึ้นจนเป็นที่ประจักษ์แจ้งต่อพี่ น้องประชาชนชาวงไทยทั้งชาติแล้ว พลังประชาชนหรือพลังทางสังคมย่อมไม่นิ่งดูดายกับปัญหา(ทุกขสัจ)ที่คนจนประสบอยู่ อย่างแน่นอน พลังทางสังคมย่อมนำไปสู่การคิดค้นมรรควิธีการแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์แล้เป็นรูปธรรม แม้กระทั่งนำไปสู่การ แก้ไขปัยหาการเอารัดเอาเปรียบเชี่ยงโครงสร้างที่คนจนทั่วประเทศประสบชะตากรรมอยู่ในขณะนี้ จุดประสงค์และเป้าหมาย ของธรรมยาตราเพื่อการประสานใจ

1.เพื่อเป็นการสื่อข้อเท็จจริงอันเป็นปัญหาที่พี่น้องสมัชชาคนจนประสบอยู่ (ทุกขสัจ) ไปยังพี่น้องประชาชนทั่วไป โดยนำ “ศาสนธรรม” จากทุกๆ ศาสนาเป็นหลักใจ
2.เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ประสบปัญหา และก่อให้เกิดจิตสำนึกร่วมกันของพี่น้องประชาชนชาวไทย เพื่อนำ ไปสู่การเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนา ที่สามารถกระจายอำนาจไปสู่คนเล็กคนน้อยอย่างแท้จริง
3.เพื่อนำศาสนธรรมอันเป็นวิถีชีวิตของคนไทยทั้งหลายซึ่งมีอยู่อย่างอุดมในทุกๆศาสนา มาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาในชีวิต
ทั้งในระดับปัจเจกลุคบคลและระดับสังคม ตลอดถึงปัญหาในระดับโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
4.เป็นสื่อกลาง เป็นเวที เป็นลานคุย ให้คนทั้งหลายได้มาร่วมเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีกรณีปัญหาสมัชชาคนจนทั้ง 16 กรณี เป็นกรณี ศึกษา อันจะนำไปสู่มาตรการในการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในระดับโครงสร้างทางสังคมต่อไป

วินัยและระเบียบปฏิบัติของผู้เข้าร่วมขบวนธรรมยาตราฯ

1.ยึดมั่นในหลักสันติวิธีอันเป็นหลักธรรมที่อยู่ในทุกๆ ศาสนา ทั้งในแง่การคิด พูด กระทำ
2.ไม่พูดหรือสื่อสารใดๆ ในเรื่องราวที่ไม่เป็นจริง ไม่กล่าวร้ายผู้อื่นโดยไม่มีมูลความจริง
3.งดเว้นจากสิ่งเสพติด มึนเมา ไม่ดื่มสุรา หรือก่อเหตุอื่นใดที่นำไปสู่การทะเลาะวิวาท
4.ไม่ลักขโมย หรือฉกฉวยสิ่งของของผู้อื่นหรือสมบัติสาธารณะ
5.ดูแลตนเองได้ ในเรื่องการกินอยู่หลับนอน ไม่ทำตนเป็นภาระของผู้อื่น
6.เชื่อมั่นในหลักการของธรรมยาตราเพื่อการประสานใจ
7.แต่งกายอย่างสุภาพ ไม่นำสิ่งของอื่นใดที่ไม่เหมาะสมมาร่วมขบวนธรรมยาตรา
8.เดินอย่างสงบเสมือนหนึ่งผู้ปฏิบัติธรรม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับสาธารณชน
9.พฤติกรรมต่างๆของผู้เข้าร่วมท่านใด หากคณะกรรมการธรรมยาตราฯพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เหมาะสม คณะกรรมการธรรมยาตรา ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาว่าจะให้ท่านเข้าร่วมต่อไปหรือไม่

กำหนดการธรรมยาตรา

1,3 ตุลาคม 2543 -ธรรมยาตราเพื่อการประสานใจ จะเดินเท้าไปยังชุมชนบ้านครัว พบปะพี่น้องมุสลิมกว่า 800 หลังคาเรือน ปฏิบัติการ “เคาะประตู”
5 คุลาคม 2543 -ธรรมยาตราฯเดินทางไปยัง “เสถียรธรรมสถาน”
6 ตุลาคม 2543 -ธรรมยาตราจะเดินเท้าไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกิจกรรม “รำลึก 6 ตุลา”
8 ตุลาคม 2543 -ธรรมยาตราฯ เดินทางไปยังบ้านเซเวียร์ พบปะกลุ่มพี่น้องชาวคริสต์

กลุ่มชุมชน,หน่วยงาน,องค์กรใดต้องการพบปะคณะธรรมยาตราเพื่อพูดข้อเท็จจริง ทำไมสมัชชาคนจนอยู่ต่อ อยู่ได้อย่างไร เมื่อไหร่จะกลับ สนใจติดต่อเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนพูดคุย พบปะกับพี่น้องคนจน ติดต่อ 01-9161478 ,01-8028403 หรือ ติดต่อโดยตรง สมัชชาคนจน หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 8 (ข้างร.ร.พาณิชยการพระนคร ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล)

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา