eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

 ปัญหาปลาตายในแม่น้ำมูน

 ความจริงใจข้าราชการจังหวัดอุบลฯมีเท่านี้จริงหรือ

หลังจากที่ชาวบ้านสมัชชาคนจนได้เข้ายื่นหนังสือที่จังหวัดอุบลราชธานี  กรณีปลาในแม่น้ำมูนตาย เป็นจำนวนมากนั้น ภายหลังการับหนังสือของนายสุรพันธ์ เงินหมื่น รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการ นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เดินทางไปราชการต่างประเทศ นายสุรพันธ์ ได้ออกคำสั่งด้วยวาจา ว่าจะให้หน่วย งานที่รับผิดชอบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งลงไปสำรวจหาสาเหตุการตายของปลา โดยได้นัดหมาย ประมงจังหวัด และนักวิชาการประมง พร้อมทั้งชาวบ้าน  โดยได้ย้ำว่าในการลงตรวจสอบจะต้องมีกำนันผู้ใหญ่บ้านทุก หมู่บ้านในพื้นที่เกิดเห ตุอยู่ด้วย ตัวแทนสมัชชาคนจน ในวันที่ 24 เม.ย 44 เวลา10.00  น.ที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจืด เขื่อนปากมูล เพื่อคลายความสงสัยของชาวบ้านและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยด่วน นั้น

 ดังนั้นในเวลาประมาณ 10.00  น.ชาวบ้านจากหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน  และจากหมู่บ้านสองริมฝั่งแม่น้ำมูนกว่า 100 คน ได้เดิน ทางมายังศูนย์อนุรักษ์ประมงน้ำจืด ประจำเขื่อนปากมูล บ้านหัวเห่ว อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี  กว่า 1  ชั่วโมงผ่านไปก็ยังไม่มี ตัวแทนของหน่วยงานที่นัดหมายกันไว้เมื่อวานเดินทางมายัง ศูนย์ดังกล่าว

จนเมื่อ เวลาประมาณ 11.00 น. นายธวัชชัย สายเนตร ปลัดอำเภอสิรินธร ได้ออกมาบอกกับชาวบ้านว่าตนเป็นตัวแทนของ จังหวัด ในการมาทำการหาสาเหตุการตายของปลาในแม่น้ำมูนในวันนี้  และประมงจังหวัดได้ส่งนายบุญเกิด กลีบบัว เจ้าหน้าที่บริหารงานประมง พร้อมเจ้าหน้าที่ประมง 2 คน  คือนายจามิกร พิลาศเอมอร  นักวิชาการศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืด จังหวัดอุบลราชธานี และนายธีระชัย พงศ์จรรยากุล นักวิชาการศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืด จังหวัดศรีสะเกษ  นายบุญเกิด ยอมรับว่าที่ผ่านมาจนปัจจุบัน ในแม่น้ำมูนมีปลาตายจริง แต่ไม่ทราบสาเหตุ ได้เพียงสันนิษฐานเท่านั้น  ในวันนี้ตนและทีม งานจะได้ไปเก็บตัวอย่างปลาที่ตายแล้ว และตัวอย่างน้ำบริเวณที่ปลาตาย มาพิสูจน์ว่าเหตุใดปลาจึงตายเป็นจำนวนมาก

ด้านนายธวัชชัย สายเนตร ปลัดอำเภอสิรินธร ตัวแทนจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวกับชาวบ้านว่า  ตนได้รับรายงานทางวิทยุ ให้ลงมาดูการตรวจหาสาเหตุปลาตายในแม่น้ำมูนในวันนี้  ซี่งในเรื่องนี้ได้รับรายงานจากกำนันผู้ใหญ่บ้าน เช่นเดียวกันแต่ ไม่ได้สนใจ แต่ในวันนี้ไม่ได้รับรายงานว่าต้องสั่งกำนันผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้านมาด้วย จึงไม่ได้สั่งลงไปทางวิทยุ นายธวัชชัยได้ขอโทษชาวบ้านที่ชาวบ้านท้วงติงว่าทางจังหวัดรับปากว่าจะให้กำนันผู ้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้านมาร่วมด้วย แต่ไม่เห็น และเมื่อรู้ว่าทางจังหวัดไม่ได้ นางสุดใจ มหาไชย ชาวบ้านบ้านหัวเห่ว หมู่ 11 กล่าวว่า “ในวันนี้ตนเห็นว่า  ทางจังหวัดไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกิดขึ้น  คำพูดของรองฯสุรพันธ์ เมื่อวานที่ชาวบ้านไปยื่นหนังสือ  เป็นการหลอก เพื่อให้ชาวบ้านรีบกลับบ้าน แต่ในทางปฏิบัติ  ไม่ได้เป็นไปตามที่พูดเอาไว้ เช่น  จะสั่งการให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน แต่ละพื้นที่ เข้าร่วม  ก็ไม่มีสักคน จะให้ประมงจังหวัดมาก็ไม่มีใครมา ตัวแทนจังหวัดอุบลก็ส่งปลัดอำเภอมา ซึ่งในวันนี้นับว่าทางจังหวัด แก้ไขปัญหาแบบขอไปที ไม่จริงจังที่จะ ทำให้ปัญหาลุล่วง  เป็นเรื่องที่น่าเศร้าสำหรับปัญหาคนจน เพราะคนแม่น้ำมูน เรื่องปลาเป็นเรื่องชีวิต เรื่องความอยู่รอด  เมื่อเกิดปัญหากับปลา นั่นคือคนเดือดร้อนเช่นกัน” นางสุดใจกล่าวต่อว่า การแก้ไขปัญหาจะเป็นจริงได้ ทางราชการจะต้องจริงจังต่อปัญหามากว่านี้  ไม่ใช่การส่งเจ้าหน้าที่ระดับล่างลงมา  และไม่มีการเตรียมการใดๆ มาก่อน เช่น  การเตรียมเครื่องมือในการตรวจสอบ  การเตรียมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ  เพราะปัญหานี้เกิดขึ้นมากว่า 1 เดือนมาแล้ว  แต่ทางการก็ยังเฉยเมย  ด้านนายชูชี กอแก้ว ชาวประมงบ้านคำนกหอ อ.สิรินธร  กล่าวว่า ตนเป็นคนหาปลาในแม่น้ำมูนเป็นประจำ ประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา เห็นปลาตายลอยมาตามน้ำ แต่ก็ไม่ได้เอะใจ  เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา  แต่หลังจากนั้นมาเห็นปลาตายลอยมามากขึ้น เป็นปลาตัวใหญ่ๆ ทั้งนั้น น้ำก็เริ่มเหม็น คาวขึ้นเรื่อยๆ  พอลงอาบก็เกิดผื่นคันซึ่งไม่เคยเกิดกับตนมาก่อน เพราะลงแม่น้ำมูนทุกวัน แต่ช่วงนี้ลงไม่ได้เลย  ซึ่งกรณีนี้ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนหนักขึ้นเพราะช่วงนี้เป็นหน้าร้อน  ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ยังใช้แม่น้ำมูนอยู่ นายชูชีพกล่าว  ส่วนคณะสำรวจปลาที่นำโดยนายบุญเกิด กลีบบัว  พบว่ามีปลาในแม่น้ำมูนตายจริง และเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่  คือตั้งแต่ 0.5 กิโลกรัม ขึ้นไป  แต่เมื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณบ้านคันไร่ใต้  ต.คันไร่ใต้ อ.สิรินธร จ.อุบลฯ พบว่า คุณภาพน้ำ  อุณหภูมิของน้ำและปริมาณออกซิเจนในน้ำอยู่ในระดับปกติที่ปลาสามารถดำรงชีวิตอยู่ ได้  นายบุญเกิดแสดงความแปลกใจว่า  เมื่อน้ำไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ปลาในแม่น้ำมูนตายแล้วจะเป็นอะไรพร้อมให้ความเห็นว ่า  มีสารเคมีชนิดหนึ่งที่สามารถผสมทรา ยแล้วทิ้งลงในแม่น้ำได้  ปลาที่อยู่ลึก และกินดิน พืชใต้น้ำเป็นอาหารอาจตายได้  แต่ตนยังไม่สรุปว่าปลาที่ตายเกิดจากกรณีนี้  ภายหลังการสำรวจ คณะได้เดินทางไปยังบ้านนายเวียงชัย  วรเชษฐ์ ชาวบ้านบ้านชาด ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร  จ.อุบลราชธานี  เพื่อดูปลาร้าที่ทำจากปลาที่ตายในแม่น้ำมูน  จากการสอบถามทราบว่า ปลาร้าทั้งหมด จำนวน 1 โอ่งมังกร 2 ไหใหญ่ และอีก 1 ถังใหญ่นั้น  ได้จากการเก็บปลาตายจากแม่น้ำมูนตั้งแต่ช่วงวันที่ 17  มีนาคม 2544 ที่ผ่านมา  โดยได้เก็บปลาบริเวณท้ายแก่งไก่เขี่ย  และจำนวนปลาเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งตนก็ไม่ทราบสาเหตุว่าเพราะเหตุใดดูปลาร้า ที่ชาวบ้านได้จากปลาที่ตายในแม่น้ำ มูน

 นี่คงเป็นบทแรกของการพิสูจน์ศักยภาพของราชการ  ในการแก้ไขปัญหาปากท้องของชาวบ้าน ความหวังหนึ่งของคนจน > คงต้องติดตามความจริงจังและจริงใจของราชการจากนี้ไป  หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 24 เมษายน 2544

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา