eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ใบแถลงข่าว

เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

"กฟผ.ต้องหยุดทำตัวเป็นเด็กเลี้ยงแกะ"

สืบเนื่องจาก กฟผ.ได้ปฏิเสธที่จะเปิดประตูเขื่อนปากมูลทั้ง 8 บานโดยมีข้ออ้างต่าง ๆ นานานั้น นายไชย ณรงค์ เศรษฐเชื้อ ผู้อำนวยการเครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แถลงตอบโต้ว่า ข้ออ้างที่ กฟผ.อ้าง นั้นเป็นข้ออ้างเก่า ๆ ที่พิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง

ประการแรก ข้ออ้างที่ว่าการเปิดประตูน้ำจะเสียผลผลิตที่ควรจะได้ในเรื่องการผลิตไฟฟ้า ข้ออ้างนี้นับว่า เป็นข้ออ้างที่สะท้อนให้เห็นความเห็นแก่ตัวของ กฟผ. และการที่ กฟผ.คำนึงแต่ประโยชน์ขององค์กรแต ่ฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ เพราะขณะนี้ กฟผ.มีทางเลือกอื่นมากมายที่จะหา ไฟฟ้ามาทดแทนไฟฟ้าที่ขาดหายไปจากเขื่อนปากมูล เช่น การเดินเครื่องโรงไฟฟ้าอื่น ๆ ที่มีอย่างเหลือ เฟือถึง 5,000 เมกกะวัตต์ เป็นต้น รวมถึงการใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ในขณะที่ชาวบ้าน ปากมูลไม่มีทางเลือกอื่นเลย หาก กฟผ.ตระหนักถึงความเป็นธรรมแล้ว ไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อน ปากมูลที่เป็น กำไรของ กฟผ.นั้นต้องแลกกับการสูญเสียวิถีชีวิตชาวประมงลุ่มน้ำมูลนั่นเอง และตอนนี้ชาวบ้านก็หมด เนื้อหมดตัวมา 7 ปีแล้ว ขณะที่เจ้าหน้าที่ กฟผ.นั้นสุขสบาย ทำตัวหรูหรา เช่น ผู้ว่า กฟผ.เช่ารถถึงเดือนละ 60,000 บาท ตนจึงเห็นว่า กฟผ.น่าจะเสียสละบ้าง ไม่ใช่จะหาประโยชน์จากความทุกข์ของชาวบ้านอย่าง เดียว

ประการที่สอง ข้ออ้างที่ว่า การเปิดประตูน้ำ จะเกิดผลกระทบต่อผู้ที่ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคและพื้นที่ การเกษตร 40,000 ไร่ นั้น เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นเนื่องจากการเปิดประตูระบายน้ำออกไม่ได้ทำให้แม่น้ำ มูนแห้งแต่อย่างใด เพราะแม่น้ำมูนตั้งแต่พิบูลลงไปจนถึงโขงเจียมมีแก่งต่าง ๆ ถึง 50 กว่าแก่ง แก่งเหล่านี้ เหมือนกับเขื่อนธรรมชาติที่ควบคุมน้ำในแม่น้ำมูนไม่ให้แห้งอยู่แล้ว ดังนั้นการเปิดประตูเขื่อนจึงไม่ได้ทำ ให้คนที่อยู่เหนือน้ำเดือดร้อน ยกเว้นพวกที่ กฟผ.จัดตั้งเท่านั้น ขณะที่ข้ออ้าง ที่ว่าพื้นที่เกษตร 40,000 ไร่ อาจจะได้รับผลกระทบนั้น ก็ไม่จริงเนื่องจากเขื่อนปากมูลไม่มีพื้นที่ชลประทานแม้แต่ไร่เดียว ตนจึงไม่เข้า ใจว่า กฟผ.ปั้นตัวเลขนี้มาจากไหน

ประการที่สาม ข้ออ้างที่ว่าบันไดปลาโจนใช้งานได้จริงนั้น เป็นข้ออ้างที่ได้พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะแม้ แต่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลาของกรมประมงซึ่งเป็นหน่วยงานที่ออกแบบบันไดปลาโจน ก็ยอมรับว่าปลา ผ่าน บันไดปลาโจนได้น้อยมาก บางวันผ่านแค่ 2 ตัวก็มี และการอ้างว่ามีการดักปลาที่แก่งตะนะนั้นทำให้ปลา ไม่สามารถขึ้นบันไดปลาโจนได้ก็เป็นเรื่องตลก เนื่องจากแก่งตะนะห่างจากเขื่อนปากมูลถึง 1.5 กิโลเมตร และการที่ชาวบ้านจะจับปลาที่นั่นก็เป็นสิทธิของเขาเพราะกฎหมายห้ามจับปลา 500 เมตรจากท้ายเขื่อน แต่อย่างไรก็ตาม จากการลงดูพื้นที่ ชาวบ้านจับปลาที่แก่งตะนะได้ยากมาก เนื่องจากเวลาเขื่อนไม่ปล่อย น้ำก็ไม่มีปลาขึ้นมาจากแม่น้ำโขง เวลาเขื่อนปล่อยน้ำน้ำก็ไหลเชี่ยวมากจนเป็นอันตรายไม่สามารถจับปลา ได้ ตนเห็นว่าข้ออ้างของ กฟผ.นั้นประหลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกหน่อย กฟผ.ก็คงจะอ้างว่าปลาไม่ขึ้นบันได ปลาโจนเพราะมีการจับปลาในแม่น้ำโขงแน่เลย ดังนั้นตนจึงอยากให้ กฟผ.หยุดอ้างเรื่อยเปื่อยเสียที

ประการที่สี่ การอ้างว่า กฟผ.ไม่จำเป็นต้องเปิดประตูระบายน้ำเพราะมีการสนับสนุนการเลี้ยงปลาใน บริเวณเหนือเขื่อน นั้นเป็นข้ออ้างที่ไม่มีเหตุผลรองรับ จากการสำรวจพบว่า กฟผ.ได้เข้าสนับสนุนชาว บ้านจริง โดย กฟผ.เข้าสนับสนุนให้ขุดบ่อ บอกว่าจะเอาน้ำเอาพันธุ์ปลามาให้ แต่ตอนนี้เหลือแต่บ่อเปล่า ที่แห้ง ไม่มีปลาเลี้ยง ตอนนี้มีกรรมการกลางตนอยากเสนอให้คณะกรรมการลงไปดูข้ออ้างนี้ที่บ้านหัวเห่ว ได้เลย ถ้ากรรมการเห็นโครงการสนับสนุนการเลี้ยงปลาของ กฟผ.แล้ว เชื่อแน่ว่า สามารถสรุปได้ทันทีว่า โครงการนี้เหมือนกับการทำงานของเด็กอมมือมากกว่าที่จะมุ่งการแก้ปัญหาของชาวบ้าน

นอกจากนั้น การที่ กฟผ.จะดำเนินการปล่อยกุ้งก้ามกราม 1,000,000 ตัวในวันที่ 14 มิถุนายน นี้ ตนเห็นว่า ควรจะยกเลิกได้แล้ว เพราะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ และเป็นการปล่อยกุ้งเพื่อเอาภาพไม่ต่างอะไร เลยกับการใช้เงินซื้อหน้าโฆษณา เพราะขณะนี้มีรายงานชัดเจนแล้วว่า ผลของการปล่อยกุ้งนั้น ได้กุ้งกลับ มาเพียง 6-15 ตัน หากเฉลี่ยกุ้งจำนวนนี้กับชาวบ้านที่เดือดร้อนจากเขื่อนปากมูลแล้ว แต่ละครอบครัวจะได้ กุ้งปีละ 0.9-2.4 กิโลกรัมหรือวันละ 0.003-0.007 กิโลกรัมเท่านั้น ตนจึงอยากถามว่า กุ้งจำนวนเท่านี้หรือที่ จะให้ชาวบ้านปากมูนอยู่รอด ส่วนที่มีการถ่ายรูปชาวบ้านถือกุ้งมากมายนั้น แท้จริงแล้วเป็นผู้ใหญ่บ้านที่ กฟผ.จ้างให้ไปซื้อกุ้งจากตลาดมารวม ๆ กันแล้วถ่ายรูปเพื่อโชว์นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ ตนจึงขอให้ กฟผ.หยุดการอ้างที่เห็นแก่ตัวและไม่มีเหตุผลรองรับได้แล้ว เพราะการที่ กฟผ.ดัน ทุรังต่อไป ก็จะยิ่งผูกมัดตัวเองมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญก็คือ กฟผ.ควรจะตระหนักถึงประโยชน์ของคนท้องถิ่น และคนภาคอีสานบ้าง ไม่ใช่คำนึงถึงประโยชน์ขององค์กรอย่างเดียว การคำนึงแต่ประโยชน์ของตนเอง อย่างเดียวนั้นท้ายที่สุดแล้วจะทำให้ กฟผ.อยู่อย่างโดดเดี่ยวในสังคมในวันข้างหน้า

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา