eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

นักวิจัย'ปลา'หมายเลข 1 เปิดข้อมูลเด็ด บันไดปลาโจน-เขื่อนปากมูล

เรื่อง - พิเชษฐ์ บุตรปาละ ข่าวสด 11 มิถุนายน 2543

 

หากแม้นปลาพูดได้ อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ คงไม่ต้องถกเถียงกันให้ยุ่งยาก ว่า 'เขื่อนปากมูล' สิ่งก่อสร้าง มหึมาที่กั้นแม่น้ำมูล ส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นหรือไม่ อย่างไร

คงไม่ต้องถกเถียงกัน ว่า 'บันไดปลาโจน' ที่อุบัติขึ้นเพื่อลดแรงเสียดทานจากชาวบ้านผู้เดือดร้อนขณะนั้น ปลา มีปัญญาโจนขึ้นไปวางไข่เหนือเขื่อนได้หรือไม่ อย่างไร และคงไม่ต้องถกเถียงกันอีกหลายเรื่องหลายปัญหา ที่เกิดจากเขื่อนนี้เมื่อครั้งสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เปลี่ยนโฉมคลับบนชั้นเพนต์เฮาส์ของตึกระฟ้ากลางกรุง เป็นสถานที่พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกรณีปัญหาเขื่อนปากมูล ซึ่งถือว่าเป็นกรณีปัญหาที่ทำให้เก้าอี้รัฐบาลร้อน รุ่มอยู่ในขณะนี้ หนึ่งในผู้รู้จริงที่มาร่วมพูดคุยคือ ดร.ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ปลา จากสถาบันวิจัยเขตร้อน สมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา

ดร.ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส ผู้ศึกษาวิจัยพันธุ์ปลาในลุ่มแม่น้ำโขง ก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนปากมูล จนได้ชื่อ เป็นนักวิจัยอันดับหนึ่งของโลก ที่รู้เรื่องปลาน้ำจืดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดังนั้น ดร.จากสถาบันวิจัยเขตร้อน สมิธโซเนียน จึงพูดถึงปลาได้อย่างเข้าอกเข้าใจ และอย่างถูกต้องตามหลัก วิชาการ

หลังจากแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเวที ดร.ไทสัน ลงมาแลกเปลี่ยนนอกรอบอีกครั้ง เริ่มต้นที่หลังจากสร้างเขื่อน ปากมูลปลาในแม่น้ำโขงจะสามารถอพยพขึ้นไปวางไข่ที่แม่น้ำมูล แม่น้ำชีได้เหมือนเดิมหรือไม่

ดร.ไทสัน กล่าวว่า ภาพรวมของปลาในแถบประเทศเขตร้อน ส่วนใหญ่จะเป็นปลาอพยพ และการอพยพของ ปลาส่วนมากจะอพยพจากท้ายน้ำขึ้นไปเหนือน้ำ

กรณีแม่น้ำมูลนั้นปลาจากแม่น้ำโขงจะอพยพไปวางไข่ในแม่น้ำมูล ปลาบางชนิดเมื่อฝนตกใหม่ๆ ก็จะเริ่ม พฤติกรรมการอพยพเพื่อขึ้นไปวางไข่ บางชนิดต้องรอให้ระดับน้ำสูงจนได้ระดับจึงจะเริ่มอพยพและวิธีการ วางไข่ของปลาก็จะแตกต่างกันออกไป บางชนิดจะวางไข่ครั้งเดียวหลายล้านฟอง แต่บางชนิดจะ วางไข่หลาย ครั้ง หลายพื้นที่บางชนิดจะวางไข่ในแม่น้ำสายเดิมตลอด ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นระยะเวลาของการวาง ไข่ของปลาจะยาวนานแค่ไหนจึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพูดได้ชัด

ดร.ไทสัน ชี้ให้เห็นอีกว่า การอพยพของปลานั้นนอกจากเพื่อการวางไข่แล้ว ยังมีการอพยพเพื่อย้ายพื้นที่หา กินด้วย ฉะนั้นพฤติกรรมการอพยพจึงไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาของฤดูฝนเท่านั้น แต่จะเกิดขึ้นในหลายๆ ช่วง เวลาในรอบปี อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปีพฤติกรรมการอพยพของปลาก็จะแตกต่างกันออกไป บางปีน้ำมาก น้ำน้อย ฝนตกช้า เร็ว เหล่านี้มีผลต่อพฤติกรรมของปลา เราจึงไม่สามารถบอกได้ว่าช่วงเดือนใดปลาจะอพยพ ขึ้นไปวางไข่

นอกจากนี้หากปีใดฝนตกน้อย ปริมาณน้ำไม่มากพอ ปลาบางชนิดที่มีขนาดใหญ่ก็ไม่สามารถขึ้นไปวางไข่ได้ ต้องรอปีต่อไป ว่าปัจจัยต่างๆ จะเอื้อต่อการวางไข่หรือไม่

ดร.ไทสัน เปรียบเทียบการอพยพของปลาว่า เหมือนการทำนาของชาวนา หากปีใดฝนตกหนักน้ำท่วม น้ำก็จะ พัดพาซากพืชซากสัตว์มาทับถมในที่นา ปีต่อไปข้าวก็จะงามเพราะได้ปุ๋ยดี ปลาก็เช่นกันปีใดปริมาณน้ำมาก ปลาก็จะมีพื้นที่การวางไข่มากขึ้นและมีอาหารมากขึ้น

ไม่ใช่นักวิจัยระดับโลกอย่าง ดร.ไทสัน ก็สำนึกได้ คิดได้ว่า เมื่อมีเขื่อนขวางกั้นลำน้ำเต็มๆ อย่างเขื่อนปากมูล พฤติกรรมการอพยพเคลื่อนย้ายของปลา ไม่ว่าจะเพื่อวางไข่หรือเพื่อย้ายถิ่นที่หากินก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ในอดีตข้อมูลเรื่องปลาในแม่น้ำมูลมีน้อยมาก เพราะไม่มีนักวิจัยเข้ามาศึกษา ถึงแม้ว่าจะมีนักวิจัยอยากศึกษา แต่ก็ไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ได้ เนื่องจากการเดินทางในอดีตเป็นเรื่องที่ลำบากมาก เข้าพื้นที่แต่ละครั้งต้อง ใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ ดังนั้นผู้ที่รู้เรื่องปลาในสายน้ำแห่งนี้ดีที่สุดคือ 'ชาวประมง' ผู้มีวิถีชีวิตผูกพันกับ สายน้ำ

ดร.ไทสัน เล่าว่า เมื่อประมาณ30ปีที่แล้ว ได้มีโอกาสพบเห็นปลาชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขนาดใหญ่มากที่ประเทศลาว
ปลาชนิดนี้ไม่มีข้อมูลบันทึกไว้เลยว่าเป็นอย่างไรต่อมาได้พบเห็นปลาชนิดเดียวกันแต่ขนาดเล็กที่ตลาดปลาอำ เภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แต่หลังจากนั้นไม่พบอีกเลย สิ่งที่คิดถึงคือชาวประมงที่หากินกับสายน้ำ เพราะชาวประมงหาปลาทุกวัน จึงมีโอกาสที่จะพบเห็นปลามากที่สุด ดังนั้นจึงคิดว่าหากชาวประมงต้อง สูญเสียอาชีพไป โอกาสที่องค์ความรู้เหล่านี้จะสูญหายไปก็มีเพิ่มขึ้น เพราะความจำของคนคลาดเคลื่อนไปตาม กาลเวลา

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า นอกจากการอพยพเพื่อวางไข่แล้ว ปลาในแถบนี้จะอพยพเพื่อหาอาหารด้วย ซึ่งการ หาอาหารของปลาจะเกิดขึ้นตลอดปี การเสนอ 'บันไดปลาโจน' เพื่อแก้ไขปัญหาการอพยพของปลาของ การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงเป็นเพียงการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เขื่อนสามารถสร้างต่อไปได้เท่า นั้น โดยการสร้างบันไดปลาโจนไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ปลาที่ขึ้นได้ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นและ ไม่มีใครยืนยันได้ว่าเมื่อปลาดิ้นรนจนผ่านบันไดปลาไปได้จะมีชีวิตอยู่รอดต่อไป

นอกจากนี้บันไดปลาโจนที่สร้างขึ้นนั้นมีเพียงขาขึ้นเท่านั้น ในขณะที่วงจรชีวิตของปลา มีทั้งอพยพขึ้นและ อพยพลง กรมประมงรู้ดีว่าบันไดปลาโจนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่ไม่มีใครพูด ซึ่งความจริงแล้ว กรมประ มงควรจะออกมาพูดในเรื่องนี้บ้าง

ดร.ไทสัน ได้กล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อเสนอของประชาชนในพื้นที่ ในเรื่องการเปิดประตูระบาย น้ำในช่วงฤดูฝน ว่า เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น ไม่ได้แก้ไขปัญหาถาวร เพราะวงจรชีวิตของปลา ในแถบนี้จะเดินทางไปมาระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำมูลโดยการเดินทางของปลาไม่ใช่เพียงการเข้ามาวางไข่ หากว่าหมายถึงการเข้ามาหาอาหารเพื่อให้เกิดการขยายพันธุ์ด้วย ซึ่งประเด็นนี้ไม่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล เพราะ ฉะนั้นทางแก้ไขปัญหาในระยะยาวคือ การหยุดการทำงานของเขื่อน และหรือควรรื้อเขื่อนทิ้งเสีย จากนั้นต้อง เร่งฟื้นฟูลำน้ำให้กลับสู่สภาพเดิม

ประเทศไทยภายในพุทธศักราชนี้จะต้องมีการศึกษาในเรื่องการรื้อทิ้งของเขื่อนที่กั้นลำน้ำ เพื่อฟื้นฟูแม่น้ำ และพันธุ์ปลากลับมา โดยเริ่มที่เขื่อนปากมูลก่อนด้วยเหตุผล ความจำเป็นของชาวประมงที่อาศัยสองริมแม่น้ำ มูล เพื่อการทำมาหากิน และหลังจากนั้นควรจะต้องศึกษาเขื่อนอื่นๆ เพื่อดำเนินการรื้อทิ้ง ไม่อย่างนั้นทรัพยา กรในเรื่องปลาอาจจะหมดไป

"ทางแก้ไขปัญหาคือการรื้อเขื่อนทิ้ง หรือหยุดการทำงานของเขื่อน เพื่อให้ลำน้ำฟื้นฟูลำน้ำเดิม และการรื้อ เขื่อนทิ้งควรจะต้องเริ่มมีการวางแผนตั้งแต่วันนี้ ทั้งในเรื่องค่าใช้จ่าย งบประมาณในการดำเนินการโดยไม่ ควรจะให้ กฟผ.ดำเนินการ"

"ควรเป็นกรรมการหรือองค์กรอิสระในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว ผมคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนวิธีการ พัฒนาที่ทำลายทรัพยากรแล้ว เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยเดินตามถนนสายการพัฒนาอย่างไม่ยั่งยืน เป็นถนน การพัฒนาที่มุ่งหน้าสู่เหว" ผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐให้ความเห็น เป็นความเห็นจากการศึกษาวิจัย ที่สั่งสมมา อย่างยาวนานตามวิธีการมาตรฐานของโลก น่าที่บุคคล องค์กร หน่วยงานที่รับผิดชอบนำไปพิจารณาหาทาง ออกสำหรับทุกชีวิตที่ต้องพึ่งพาแม่น้ำมูล เพราะทุกวันนี้เขื่อนปากมูลได้ดึงดูดพลังชีวิตของสายน้ำที่ชื่อแม่มูล ไป แปรเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าเสียแล้ว เมื่อสายน้ำไม่ไหลก็เท่ากับว่าสายน้ำตาย เมื่อสายน้ำตายปลาที่อยู่ใน น้
ำก็ตาย


เมื่อปลาตายชีวิตผู้คนสองฝั่งน้ำจะอยู่ได้อย่างไร

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา