eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

  รายงานระบุ เขื่อนปากมูลล้มเหลวในทุกด้าน : แพงและมีแต่ทำลาย  

บางกอกโพสต์  20 กันยายน 43 (ฉบับแปล)

คณะกรรมการเขื่อนโลกประกาศชัด เขื่อนปากมูลล้มเหลวในทุกๆด้าน

ในรายงานที่ออกมาเมื่อวานนี้ระบุว่าเขื่อนปากมูลไม่มีความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ ก่อความเสียหายอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศ วิทยาของแม่น้ำมูล และทำลายวิถีชีวิตของชาวบ้าน

รายงานฉบับนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการวิเคราะห์เขื่อนในลุ่มน้ำโขงเขื่อนนี้อย่างรอบด้านและเป็นอิสระ และเป็นการยืนยันผลของ รายงานที่หลุดรอดออกมาสู่สื่อมวลชนก่อนหน้านี้ ซึ่งเคยถูกโต้แย้งมาแล้วโดยกฟผ.ผู้เป็นเจ้าของโครงการ

เขื่อนปากมูลเป็นหนึ่งในเจ็ดเขื่อนทั่วโลกที่คณะกรรมการทำการศึกษาโดยมีการประมินตรวจสอบผลกระทบทั้งใน ทางเศรษฐ ศาสตร์ สิ่งแวดล้อม สังคม กระบวนการการตัดสินใจและโครงสร้างอำนาจที่ผลักดันโครงการ  ถือเป็นความพยายามที่จะ “หาข้อ สรุปร่วมในสนามรบของการพัฒนาทรัพยากรที่ดำเนินไปอย่างดุเดือด” นายเจมส์ เวิร์คแมน โฆษกของคณะกรรมการ กล่าว  

ต่อประเด็นเรื่องประโยชน์ของโครงการที่มีการคาดการณ์ไว้และประโยช์ที่เกิดขึ้นจริง ต้นทุนและผลกระทบนั้น ส่วนต่าง ระหว่างต้นทุนซึ่งคาดการณ์ไว้ที่ 3.88 พันล้านบาท กับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง  6.507 พันล้านบาทนั้นไม่ถือว่ามากเกินไป

แต่อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของค่าชดเชยและการจัดหาที่ทำกินให้ใหม่นั้นเพิ่มขึ้นถึง 182 % นั่นคือจากที่คาดการณ์ไว้ 231,550,000 บาทนั้น เพิ่มขึ้นไปถึง 1,113,100,000 บาท  ค่าชดเชยสำหรับความสูญเสียในด้านประมง ซึ่งไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้แต่เดิมนั้น สูงถึง 395,600,000 บาท

กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงของเขื่อนปากมูลเมื่อคิดจากกระแสไฟที่จ่ายออกมารายวันในระหว่างปี 1995-1998 นั้น ได้เพียง 20.81 เมกะวัตต์ ในขณะที่ตัวเลขที่คาดการณ์ไว้คือ 150 เมกะวัตต์ “โครงการนี้ถือได้ว่าไม่มีความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ” รายงานฉบับ ดังกล่าวระบุ

เขื่อนปากมูลเป็นโครงการเขื่อนเอนกประสงค์ แต่ประโยชน์ที่ได้ในการชลประทานยังไม่มีให้เห็นอย่างชัดเจน  ปริมาณปลาที่ คาดว่าจะได้จากเขื่อนขนาด 60 ตารางกิโลเมตรแห่งนี้ คาดการณ์ไว้ที่ 100 กิโลกรัม/1 หมื่นตารางเมตร/ปีในกรณีที่ไม่มีการ เพาะพันธุ์ปลา และ 220 กิโลกรัม/1 หมื่นตารางเมตร/ปี ในกรณีที่มีโครงการเพาะพันธุ์ปลา

แต่ปรากฏว่าตัวเลขที่เป็นจริงที่สุดกลับอยู่ที่ 10 กิโลกรัม/1 หมื่นตารางเมตร/ปี

จำนวนครอบครัวที่ต้องอพยพโยกย้ายมีถึง 1,700 ครอบครัวจากที่คาดการณ์ไว้เพียง 241 ครอบครัว เนื่องจากปริมาณปลาลดลง

ในจำนวนพันธุ์ปลา 265 ชนิดที่บันทึกได้ในเขตต้นน้ำมูล-ชีก่อนปี 2537 นั้น มีเพียง 96 ชนิดที่บันทึกได้ในเขตพื้นที่ต้นน้ำ  การ จับปลาในเขตต้นน้ำลดลงถึง 60-80 %

เส้นทางปลาหรือบันไดปลาโจนที่สร้างขึ้นหลังจากเขื่อนเสร็จ ด้วยมูลค่า 2 ล้านบาทนั้น ล้มเหลวในการช่วยปลาให้ว่ายทวนน้ำ

ต้นทุนในการทำบ่อสำหรับกุ้งน้ำจืดอยู่ระหว่าง 31,920 และ 444,240 ในแต่ละปี (หรือ 1.213 ล้านบาทถึง 1.681 ล้านบาท ที่ค่าเงิน 38 บาท/ดอลลาร์) ในระหว่างปี 2538-2541

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกุ้งพันธุ์ดังกล่าวไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ในน้ำจืด การเพาะพันธุ์ดังกล่าวจึงอาจไม่สามารถเพิ่มรายได้ อะไรให้แก่ชาวประมง

รายงานระบุว่าปริมาณปลาที่ชาวบ้านจับได้นั้นลดลงถึง 50-100 % และพบว่าพันธุ์ปลาหลาย

ชนิดสูญหายไป  แก่งธรรมชาติมากกว่า 50 แก่งซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของปลาหลายชนิด จมน้ำอย่างถาวร โดยที่รายงานผลกระ ทบสิ่งแวดล้อมของโครงการนี้ไม่เคยประเมินความสูญเสียดังกล่าว

ในประเด็นที่ว่าใครคือผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ รายงานฉบับนี้สรุปว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกรายเป็นผู้เสียประโยชน์ ไม่เพียงจากสาเหตุที่ระบบนิเวศเสียหาย แต่รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการพยายามบรรเทาผลกระทบซึ่งดูท่าว่าจะไม่สามารถ บรรเทาได้”

รายงานฉบับดังกล่าว ตำหนิส่วนราชการที่ไม่ได้มีการหารือกับชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบเสียก่อนตั้งแต่ในช่วงแรกของกระ บวนการตัดสินใจ รวมทั้งการที่ไม่พยายามให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจหรือกระบวนการแก้ไขผล กระทบ

รายงานยังระบุว่าโครงการนี้ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ธนาคารโลกกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมและการ หามาตรการแก้ไขผลกระทบอย่างเหมาะสมก่อนดำเนินโครงการ

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา