eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

กฟผ.ขีดเส้น15มิ.ย.ฝ่าม็อบปากมูล
ซ่อมเครื่องปั่นไฟ-อ้างสูญ12ล./วัน

มติชน 11 มิ.ย. 43

กฟผ.ขีดเส้นตาย 15 มิถุนายนนี้ ส่งเจ้าหน้าที่ 500 คนเคลียร์พื้นที่เขื่อนปากมูลที่ถูกม็อบยึด เพื่อเข้าไปดู  แลเครื่องปั่นไฟฟ้าให้ได้อ้างได้รับความเสียหายเฉลี่ยวันละ 12 ล้าน กลุ่มสมัชชาคนจนแจ้งความดำเนิน  คดีเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ในข้อหาทำลายทรัพย์ 'อาทิตย์'และคณะเข้าไปดูปัญหาฝายราษีไศลแต่ ถูกม็อบปิดกั้นไม่ให้เอารถเข้าไป หมอ-เอ็นจีโอรุมยำโรคเขื่อนทำ  โภชนาการพัง-อาชญากรรมพุ่ง

กั้นรถ'อาทิตย์'เข้าฝายราษีไศล

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 10 มิถุนายน นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวด ล้อม พร้อมด้วย นายอิทธิ พิชเยนทรโยธิน อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน(พ.พ.) และคณะได้เดินทางไปยังศาลา กลางจังหวัดศรีสะเกษ

เพื่อร่วมหารือกับ นายโกสินทร์ เกษทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาของ ผู้ชุมนุมที่ได้รับความเดือดร้อนจากการสร้างฝายราษีไศล แล้วพากันเดินทางไปยังโครงการ

ฝายราษีไศล ต.หนองแค อ.ราษีไศล ปรากฏว่าเมื่อไปถึงชาวบ้านที่ปักหลักชุมนุมบริเวณสันเขื่อน ไม่อนุญาตให้นาย อาทิตย์และคณะนำรถยนต์ผ่านประตูเข้าไป นายอาทิตย์พร้อมคณะต้องเดินเท้าไปยังฝายและจุดชุมนุม โดยนายอาทิตย์ได้ จุดธูปเคารพอนุสาวรีย์ของนายโฮม ไชยยงค์ ผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมและชาวบ้านช่วยกันปั้นไว้

จากนั้น นายไพจิตร ศิลารักษ์ และ นางผา กองธรรม แกนนำผู้ชุมนุมได้นำนายอาทิตย์ชมนิทรรศการภาพการขยายตัว ของดินเค็ม ในโอกาสนี้นายอาทิตย์ได้ขอร้องนายไพจิตรให้ยุติการขุดเจาะโดยขอจับมือสัญญา แต่นายไพจิตรปฏิเสธ โดยอ้างว่าต้องนำเรื่องนี้ไปปรึกษาชาวบ้านที่ชุมนุมก่อน และเมื่อนายอาทิตย์ขอเข้าไปดูบริเวณที่ชาวบ้านร่วมกันขุดเจาะ ฝาย แต่นายไพจิตรก็ไม่ยอมให้เข้าไปดู โดยมีชาวบ้านยืนกันเอาไว้ตลอดแนว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นนายอาทิตย์ได้เดินจากสันฝายเข้าไปดูสภาพความเป็นอยู่ของชาวหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 1-2 และชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากฝายหัวนาบนสันเขื่อนที่ชุมนุมกันอยู่ประมาณ 1,000 คน และหมู่บ้านแม่มูนมั่นคง ด้านหน้าฝายที่ชาวบ้านชุมนุมกันอยู่อีกประมาณ 500 คน โดยมี นายโอภาส บุษบา แกนนำชาวบ้าน เรียกร้องให้ทางรัฐบาล แสดงความจริงใจในการแก้ปัญหาด้วย ทางนายอาทิตย์กล่าวตอบว่า วันนี้มาเพื่อขอโทษประชาชนที่มาชุมนุมทุกกลุ่ม เมื่อ มาเห็นสภาพแล้วไม่อยากให้ชาวบ้านต้องมาลำบากมาชุมนุมอยู่อย่างนี้ ที่มาวันนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีความจริงใจ ในการแก้ปัญหา ไม่ทอดทิ้งผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งหากฝายราษีไศลไม่มีประโยชน์กับใครเลยก็สามารถทุบทิ้งได้ เมื่อพูดมา ถึงช่วงนี้ชาวบ้านพากันปรบมืออย่างกึกก้อง ในตอนท้ายนายอาทิตย์ระบุว่า จะเร่งแก้ปัญหานี้โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราช การจังหวัดและนายอำเภอเร่งดำเนินการ และจะตั้งคณะกรรมการระดับตำบลในอีก 15 วัน หลังจากนั้นจะเร่งลงมือ ทำงานทันที คนที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยต้องได้รับ คนไม่มีสิทธิต้องไม่ได้

สมัชชาคนจนแจ้งข้อหากฟผ.

ด้าน นายพิษณุ พรหมจารย์ นายอำเภอราษีไศลกล่าวว่า การจ่ายเงินชดเชยกลุ่มที่ 2 จำนวน 57 ล้านบาท จะจ่ายในวันที่ 13-16 มิถุนายน นี้ ที่หอประชุมอำเภอราษีไศล ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะมาจากกิ่งศิลาลาด ซึ่งในเขต อ.ราษีไศล และกิ่งอ.ศิลา ลาดนี้แก้ปัญหาใกล้จะแล้วเสร็จ ยังมีปัญหาหนักอยู่ที่ อ.รัตนะบุรี จ.สุรินทร์เท่านั้น

ส่วนที่ จ.อุบลราชธานีมีรายงานว่า ตอนสายวันเดียวกันแกนนำกลุ่มสมัชชาคนจนที่ชุมนุมอยู่สันเขื่อนปากมูล นำโดย นางสีดา โพธิ์สุวรรณ ได้พาเยาวชนและชาวบ้าน 50 คน เดินทางไปยัง สภ.อ.โขงเจียม เพื่อแจ้งความดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ในข้อหาทำลายทรัพย์จากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ กฟผ. 100 คน บุกรื้อรั้วลวด หนาม และฉีกป้ายผ้าของกลุ่มสมัชชาคนจนที่ชุมนุมอยู่บนสันเขื่อนปากมูล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งเรื่องนี้ พ.ต.อ.สุรชาติ ศิริวงศ์ ผกก.สภ.อ.โขงเจียม ได้รับแจ้งและลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานเพื่อดำเนินการต่อไปแล้ว

รายงานข่าวจากเจ้าหน้าที่ กฟผ.เผยว่า ขณะนี้ทาง กฟผ.ได้ประสานสั่งการไปยังเจ้าหน้าที่ กฟผ.ที่เป็นหน่วยปฏิบัติสถานี ย่อยทุกเขตเขื่อนของการไฟฟ้าทั่วภาคอีสาน ซึ่งมีประมาณ 500 คน เตรียมที่จะเข้าปฏิบัติการเคลียร์พื้นที่ของเขื่อน ปากมูล เพื่อเข้าไปดูแลเครื่องปั่นไฟฟ้าให้ได้ เพราะที่ผ่านมาได้รับความเสียหายคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยวันละ 12 ล้านบาท ซึ่งในการระดมพลครั้งนี้ทาง กฟผ.จะไม่ทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุม เพียงแต่จะใช้วิธีการยกสิ่งกีดขวางที่กลุ่มสมัชชาคนจนอยู่ เช่นเพิงพัก การเข้าไปครั้งนี้จะแจ้งให้ทางกลุ่มสมัชชาคนจนทราบล่วงหน้าก่อน โดยจะลงมือปฏิบัติการภายในวันที่ 15 มิถุนายน นี้

กฟผ.ยันไม่ได้ยั่วยุม็อบ

นายอำนาจ โชติช่วง ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ กฟผ.ชี้แจงกรณีที่มีข่าวว่า กฟผ.ส่งคนประมาณ 100 คน เข้าไปบุกรื้อ รั้วหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน บริเวณสันเขื่อน ปากมูล จ.อุบลราชธานี จนหวิดจะเกิดเหตุรุนแรงเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ว่า กฟผ. ไม่ได้ต้องการใช้ความรุนแรงหรือยั่วยุกลุ่มผู้ชุมนุม กฟผ.เพียงแต่จะนำอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ ที่เตรียมเข้าไปบำรุงรักษา โรงไฟฟ้า ตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมเคยมีหนังสือแจ้งว่าหากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลางแล้วจะยินยอมให้ กฟผ.เข้าไป ปฏิบัติงานได้ แต่เมื่อไปถึงกลุ่มผู้ชุมนุมได้ออกมาปิดกั้น พร้อมกับสวดมนต์ไล่ผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด ทั้งๆที่เจ้าหน้าที่ กฟผ. ได้ยื่นหนังสือขอเข้าไปบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ แต่ไม่มีตัวแทนผู้ชุมนุมมารับ เจ้าหน้าที่จึงได้อ่านข้อความ ในหนังสือและพยายามอธิบายความจำเป็นในการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า พร้อมกับขอร้องให้กลุ่มผู้ชุมนุมย้ายออกไปจาก บริเวณโรงไฟฟ้า แต่กลับถูกผู้ชุมนุมไล่จนไม่สามารถทำงานตามแผนที่วางไว้ได้

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ชุมนุมที่เขื่อนปากมูลยืนยันว่า กฟผ.พยายามยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ดังนั้นเมื่อเวลา 15.00 น. จึงให้ กลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่ในกรุงเทพฯเดินทางไปที่พรรคประชาธิปัตย์นำโดย นายเชิดศักดิ์ แสงแก้ว แกนนำสมัชชาคนจนพร้อม ด้วยตัวแทน 10 คน ไปเพื่อยื่นหนังสือต่อ นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล กฟผ. เพื่อขอให้นำปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของชาวบ้านแม่มูนมั่นยืน 7 ที่เรียกร้องให้เปิดประตูเขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี เข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ทั้งนี้มี นายเกียรติฟ้า เลาหะพรสวรรค์ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นตัวแทนรับ หนังสือดังกล่าว

นายเชิดศักดิ์กล่าวกับนายเกียรติฟ้าว่า สิ่งที่จะต้องรีบแก้ไขโดยด่วนคือการสั่งให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่หยุดปฏิบัติการยั่วยุ มวลชนให้ใช้ความรุนแรง และปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการกลาง

"ชาวบ้านในหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนได้สูญเสียวิถีชีวิต อาชีพ ชุมชน วัฒนธรรมและทุกสิ่งที่เคยเป็นมรดกของบรรพบุรุษ แห่งลุ่มแม่น้ำมูล ไม่มีอะไรหลงเหลือให้สูญเสียอีกต่อไปแล้ว แม้ว่าร่างกายและเลือดเนื้อ ดังนั้น เราพร้อมจะเผชิญหน้า กับความรุนแรงโดยสันติวิธีทุกรูปแบบ" นายเชิดศักดิ์กล่าว

โรคเขื่อนทำสุขภาพจิตเสีย

วันเดียวกัน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพ(สปรส.) จัดเสวนา เรื่อง "โรคเขื่อนทำ...ภัยเรื้อรังที่ยังไร้ทางออก" มีนายศรีศักร วัลลิโภดม กรรมการกลางแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน นาย แพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ สมาชิกวุฒิสภา จ.อุบลราชธานี น.ส.วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน นายแพทย์ ชูชัย ศุภวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสาธารณสุข กรมอนามัย และนายสุทธิศักดิ์ ภัทรมานะวงศ์ ผู้แทนจากสำนักงานนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมเสวนา มีชาวบ้านกลุ่มผู้ชุมนุมกรณีเขื่อน ลำคันฉูเข้าฟังด้วยประมาณ 30 คน

น.ส.วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ กล่าวว่า ผลกระทบของเขื่อนต่อสุขภาพชาวบ้านเห็นชัดเจนมาตลอดสิบกว่าปี กรณีเขื่อน ปากมูลเป็นอุทาหรณ์ที่โครงการใหญ่เข้าไปในพื้นที่แล้วทำให้เกิดผลกระทบมาก ในช่วงก่อนการสร้างที่สัมผัสในเริ่ม แรกชาวบ้านมีปัญหาสุขภาพจิตชัดเจน มีความวิตกกังวลในบ้านเรือน ทรัพย์สิน กลัวว่าวิถีชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่เป็น ไปตามที่รัฐบาลโฆษณาไว้หรือไม่ ทั้งยังเกิดการแบ่งแยกความคิดเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายคัดค้าน ระหว่าง สร้างเขื่อนก็ยังมีปัญหาขัดแย้งมาตลอด กฟผ.ต้องระเบิดแก่ง 9 แก่ง ที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งตนะ การระเบิดแก่งเกิด ผลกระทบมหาศาล เพราะเป็นการทำลายแหล่งทำมาหากิน โดยเฉพาะตอนที่ระเบิดนั้นชาวบ้านบอกว่า กฟผ. ส.ส. นักการ เมืองที่ออกมาตะโกนว่าการสร้างเขื่อนดี กลับไม่เคยแจ้งให้ชาวบ้านรู้เรื่องการระเบิดแก่งเลย ทั้งที่แก่งเหล่านี้กินบริเวณ ตั้งแต่ อ.พิบูลมังสาหาร ถึง อ.โขงเจียม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด เป็นแหล่งชุมนุมปลา มีหมู่บ้านชาวประมงตั้งถิ่น ฐานมาเป็นเวลานับร้อยปี และช่วงระหว่างการสร้างเขื่อนแม่น้ำมูลตั้งแต่ อ.เมือง ถึง อ.โขงเจียมเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นเมื่อ ชาวบ้านลงไปอาบน้ำก็เป็นโรคผิวหนัง

โภชนาการพัง-อาชญากรรมพุ่ง

"ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านมีมากมาย ปรับตัวไม่ได้ น้ำขาดแคลน หน้าแล้งมีปัญหาเรื่องหาอาหาร ชาวบ้านขาดสาร อาหาร ปัญหายาเสพติด คดีอาชญากรรมเพิ่มขึ้น ภูมิปัญญาของผู้เฒ่าไม่มีใครสานต่อ ในจุดนี้รัฐบาลไม่เคยชดเชยให้รัฐ ไม่หาทางออก มองชาวบ้านที่ออกมาชุมนุมเป็นพวกหัวแข็งต่อต้านบ้านเมืองแล้วก็ตั้งข้อหาซ่องโจร" น.ส.วนิดากล่าว และว่า รัฐบาลกำลังบิดเบือนการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาให้กลายเป็นว่าทำอย่างไรให้เลิกชุมนุมกันและให้ กฟผ.เข้าไป ทำงานได้ เรากำลังได้รัฐบาลนักการเมืองที่แก้ปัญหาผิดทางและไม่มีวิสัยทัศน์เรื่องนี้

ด้านนายศิริศักดิ์กล่าวว่า โรคเขื่อนทำเป็นโรคที่เกิดจากการพัฒนา เพราะทุกครั้งที่มีการพัฒนามีการสร้างเขื่อนทำให้เกิด ภาวะโรคบ้านแตก คือ ชุมชน และชีวิตผู้คนในท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ทั้งระบบโครงสร้างสังคมไม่ว่าจะ เป็นชุมชน ครอบครัว ระบบเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ระบบความเชื่อประเพณี เป็นการสร้างเขื่อนโดยไม่มีความ เข้าใจ ทำให้กระทบความเป็นมนุษย์ รัฐทำให้ดูเหมือนชาวบ้านเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่สัตว์สังคม ฉะนั้นรัฐก็คิดแต่ว่า จะทำอะไร ก็ใช้เงินฟาดหัวจะไปอยู่ที่ไหนก็ช่าง ไม่คำนึงว่าชาวบ้านไม่มีความสามารถ ปรับตัวไม่ได้ เป็นความผิดพลาด ในการบริหารประเทศที่ต่างชาติให้เรามาแต่เปลือกเน้นวิชาที่เกี่ยวกับวัตถุ เทคโนโลยี แต่เราขาดความเป็นมนุษย์ จึงไม่ ศึกษาเรื่องนี้ให้ละเอียด

"ระยะหลังเรามีนักวิชาการชั่วร้ายที่เข้ามาดูแลการสร้างเขื่อน มีการเก็บข้อมูลด้านวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างลวกๆ เห็นชีวิต มนุษย์เป็นหมูหมา ข้อมูลเป็นแต่ข้อมูลที่สนับสนุนการตัดสินใจสร้าง จะไปหวังพึ่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่ง แวดล้อมหรืออีไอเอก็ถูกล็อบบี้ ต่อไปในอนาคตก่อนจะทำโครงการใหญ่ต้องมีการศึกษาชีวิต วัฒนธรรม สังคมมนุษย์ เป็นตัวพื้นฐาน เพราะหากอ้างแต่เพียงว่าสร้างเขื่อนแล้วคนภาคอีสาน คนจังหวัดอุบลราชธานีจะมีไฟฟ้าใช้ราคาถูก มีที่ทำ กินเป็นการอ้างลอยๆ ดังนั้นต้องระวัง การพูดกำกวมจะทำให้คนฆ่ากัน" นายศิริศักดิ์กล่าว และว่า วันที่ 12 มิถุนายน คณะกรรมการกลางจะประชุมต่อจากคราวที่แล้ว

เขื่อนปากมูลมี15-16ปัญหา

ส่วนนายนิรันดร์กล่าวว่า ปัญหานี้เป็นความมั่นคงของชาติในแง่ชุมชน เขื่อนปากมูลมีปัญหามากมายถึง 15-16 ปัญหา การสร้างเขื่อน โดยไม่มองถึงเรื่องสังคมวัฒนธรรมของชุมชนทำให้ชีวิตชาวบ้านเปลี่ยนไป เมื่อต้องแก้ไขปัญหาจะให้ กฟผ. และชาวบ้านแก้ไขไม่ได้ เพราะป่วยทั้งคู่ คนแก้ไขจึงต้องเป็นคนกลางที่มองปัญหา แต่ระบบการปกครองที่เป็นมา บ้านเราให้รัฐเข้ามารับผิดชอบ ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา การสัมภาษณ์ที่เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารเกี่ยวกับ เรื่องนี้ต้องกว้าง เพราะปัญหาปากมูลเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชน และเป็นปัญหากรณีศึกษาของโลก

"10 ปีที่ผ่านมารัฐหมักหมมความไม่เข้าใจหลายอย่าง อย่างไรก็ตาม การมีคณะกรรมการทั้ง 10 คน ถือว่ามีความจริงใจ ระดับหนึ่ง แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นต้องรอดูกันต่อไป ถ้าเป็นไปได้อยากเรียกร้องให้นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีหรือ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงพื้นที่ได้หรือไม่ จะได้เห็นปัญหา กับตา ระหว่างนี้ก็ต้องรอคณะกรรมการทั้ง 10 คน ศึกษาและดูว่ามีข้อคิดเห็นอย่างไร การที่นายอานันท์ ปันยารชุน อดีต นายกรัฐมนตรีเสนอให้ธนาคารโลกเข้ามาศึกษาข้อขัดแย้งก็เป็นหนทางหนึ่ง เพราะในฐานะธนาคารโลกเป็นผู้ให้เงินมา ทำโครงการ รวมถึงแนวทางของธนาคารโลกในระยะหลังมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเริ่มพูดถึงปัญหาชุมชน และปัญหา สังคมมากขึ้น" นายนิรันดร์กล่าว

นายสุทธิศักดิ์กล่าวว่า ควรจะรีบเสนอเรื่องการมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพไปที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยเร็ว

นายแพทย์ชูชัยกล่าวว่า ต้องพยายามผลักดันให้มีการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ และเสนอระบบเฝ้าระวังสุขภาพ และ สิ่งแวดล้อมในทุกโครงการก่อนสร้าง ระหว่างสร้าง และหลังสร้าง โดยให้มีระบุอยู่ใน พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมที่กำลังแก้ไข อยู่นี้ หรือให้อยู่ในร่าง พ.ร.บ
.ธารสุแห่ชาติ

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา