eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

กมธ.ชี้ทางออก 'ปากมูน' ใช้ความรู้แทนความเห็นตัดสิน

โดย ผู้จัดการออนไลน์ วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2546

http://www.manager.co.th/politics/PoliticsView.asp?newsID=4674681288003

กมธ.ของวุฒิสภา แนะรัฐต้องตัดสินใจ "ปากมูน" บนองค์ความรู้หรืองานวิจัย มากกว่าการสำรวจความเห็น ไม่เช่นนั้นแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ได้ ขณะเดียวกันเตรียมหารือ กมธ.ชุดอื่นๆ และ กมธ.สิทธิมนุษยชนฯ หาทางออกเสนอต่อรัฐบาล
      
      
       กรณีรัฐบาลได้สรุปปัญหาเขื่อนปากมูล โดยให้เปิดเขื่อน 4 เดือนและปิด 8 เดือน ขัดแย้งกับความเห็นของคณะกรรมาธิการฯ และชาวบ้านสมัชชาคนจนที่เสนอให้เปิดตลอดทั้งปี น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ส.ว.อุบลราชธานี และกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้หารือกันเมื่อวันพุธที่ผ่านมา และเห็นตรงกันใน 3 ประเด็น คือ
      
       1. ยืนยันในข้อสรุปเดิมของคณะกรรมาธิการฯ ที่ได้เสนอนายกรัฐมนตรีไปว่า กรณีเขื่อนปากมูลจะต้องใช้การตัดสินใจเชิงนโยบายที่ยึดเรื่ององค์ความรู้หรืองานวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มากกว่าไปสอบถามความเห็นหรือใช้แบบสอบถาม
      
       2. รัฐบาลจะต้องมองไกลไปถึงปัญหาความขัดแย้งเชิงระบบโครงสร้าง ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาที่มีความแตกต่างกัน หากรัฐบาลยังมองในเรื่องของเสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย จะไม่ใช่แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ตรงกันข้ามจะทำให้ความขัดแย้งขยายบานปลายมากขึ้น
      
       3. ในภารกิจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ คงต้องพยายามเสนอแนวทางในการแก้ปัญหานี้ในเชิงนโยบาย โดยจะหารือกับคณะกรรมาธิการชุดอื่นๆ รวมทั้งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะเราเชื่อว่า ข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหาเขื่อนปากมูลครั้งนี้ จะทำให้ปัญหาความขัดแย้งยังคงอยู่ และเกิดความรุนแรงในสังคมขึ้นได้
      
       "คณะกรรมาธิการฯ คงต้องหารือกับคณะกรรมาธิการชุดอื่นๆ รวมทั้งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า ควรแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวอย่างไร รวมทั้งดูว่าหากมีการเปิดสมัยประชุมรัฐสภาในช่วงต้นเดือนหน้า ประเด็นนี้จะมีวิธีการนำเสนอเข้าสู่ระบบการทำงานของวุฒิสภา ในการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลอย่างไรบ้าง" นพ.นิรันดร์กล่าว
      
       ส.ว.อุบลราชธานี กล่าวว่า กรณีปัญหาเขื่อนปากมูลจะสอดคล้องกับวิธีคิดในการแก้ไขปัญหาวิกฤตความยากจน ซึ่งการที่รัฐบาลตัดสินโดยการใช้แบบสอบถาม เป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลยังมองนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนที่ไม่ถูกต้อง ทั้งที่น่าจะเอางานวิจัยทางวิชาการมาเป็นเครื่องตัดสินใจ โดยเฉพาะดูในเรื่องของสิทธิของชุมชนเป็นสำคัญ ส่วนตัวเห็นว่าการแปลงสิทธิชุมชมเป็นทุน จะก่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องเศรษฐกิจชุมนุมแบบยั่งยืน มากกว่าการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา