eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

"วันนอร์"หนุนแก้ปากมูล นักวิชาการอัดรัฐ"เขลา"

"วันนอร์"หนุนแก้ปัญหาเขื่อนปากมูลด้วยหลักมนุษยธรรม - ศีลธรรม ยันกางตำรายึดนิติศาสตร์แก้ไม่ถึง รากเหง้า นักวิชาการดัง จวกรัฐบาลเขลาเบาปัญญาหมกเม็ด ไม่พยายามรับรู้ถือเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์

วันนอร์วอนใช้ศีลธรรมแก้ปัญหา

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 8 มิถุนายน ที่หอประชุมสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเสวนาโต๊ะกลมเรื่อง เขื่อน ปากมูล ความคุ้มค่า ผลกระทบและทางออกจัดโดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ ศูนย์เศรษฐศาสตร์ การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ข่าวสารสันติภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี นักวิชาการ ตัวแทนจากองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล และผู้สนใจร่วมฟัง ประมาณ 200 คน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภากล่าวว่า ปัญหาเรื่องเขื่อนปากมูลนั้นจะใช้การแก้ไขตามหลักเศรษฐ ศาสตร์และนิติศาสตร์หรือใช้วิธีการเอาตำรามา นั่งกางไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเกินกว่าที่วิชาการ เหล่านั้นจะเข้าถึงปัญหานี้ จึงต้องเอาคนมาเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหา เอาหลักมนุษยธรรมและศีลธรรมมา ประกอบการพิจารณาแก้ไข ต้องเอาทุกเรื่องมารวมกัน หากการพิจารณาขาดประเด็นใดประเด็นหนึ่งก็จะไม่ สามารถแก้ถึงรากเหง้าของปัญหาได้

นายวันมูหะมัดนอร์กล่าวต่อว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้กำหนดเรื่องการจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมว่า การดำ เนินการในเรื่องนี้จะต้องทำประชาพิจารณ์ก่อน แต่กรณีของเขื่อนปากมูลไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การแก้ไขปัญหาจึงว่ากันไปตามสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในฐานะประธานรัฐสภา ไม่มีอำนาจในการแก้ไขปัญหา เรื่องนี้โดยตรง แต่ที่จะฝากไว้กับทุกคือ ให้ทุกคนสนใจเรื่องการเมืองให้มากขึ้น เพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมาประชา ชนไม่ได้รับชัยชนะ แต่ชัยชนะไปอยู่กับนายทุนพรรคการเมือง หากประชาชนสนใจการเมืองจะทำให้การแก้ไข ปัญหาทำได้ง่ายขึ้น เพราะในสภาจะมีแต่คนพวกเดียวกับประชาชนสวนใหญ่จริงๆ และคนเหล่านี้จึงจะสนใจมา แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนจริงจัง

'ศรีศักดิ์'จวกรบ.'เขลา-หมกเม็ด'

นายศรีศักดิ์ วัลลิโภดม กรรมการกลางแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนกล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะรัฐบาลปฏิเสธ ความรับผิดชอบหน้าที่ปล่อยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ออกมาเป็นหนังหน้าไฟแทน รัฐบาล หลายชุดที่ผ่านมาทำความผิดสะสมในเรื่องของการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติมาโดยตลอด เพราะคิดเฉพาะกำไร ทางเศรษฐศาสตร์ แต่ไม่คิดถึงปัญหาสังคมที่จะตามมา กรณีปากมูล เดิมชาวบ้านที่อยู่ริมน้ำมูลทั้งสองฝั่งมีชีวิตและ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำ เมื่อมีการสร้างเขื่อนและรัฐบาลไปห้ามไม่ให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เป็น ความเคยชินแล้วยังกลับ บังคับให้ไปทำอย่างอื่นที่คน
เหล่านั้นไม่ถนัด และไม่เคยสนใจเอาใจใส่เมื่อคนเหล่านั้น มาเรียกร้องขอความคิดเห็น

"การกระทำดังกล่าวของรัฐบาลเป็นความเขลาเบาปัญญาและหมกเม็ด ไม่พยายามรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด ถ้ารัฐบาลมีจิตสำนึกของความเป็นมนุษย์เพียงพอคงไม่ปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อมานานขนาดนี้ เพราะสองฝั่งลำน้ำ มูลคือชีวิตของชาวอีสานส่วนใหญ่ การทำให้คนเหล่านั้นแตกแยกมีสภาพย่ำแย่ เป็นข้อผิดพลาดอย่างมหันต์ของ รัฐบาล" นายศรีศักดิ์กล่าว

นายชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลา กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เดิมลำน้ำ โขง ตั้งแต่ต้นแม่น้ำที่ธิเบตถึงปากน้ำโขงตลอดทั้งสายมีปลาอาศัยอยู่มากกว่า 1,200 ชนิด ในจำนวนนี้พบว่าเป็นปลา ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำมูล เป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงทั้งหมด 330 ชนิด จากการศึกษาพบว่า เป็นปลาพื้นเมืองจริงๆ ไม่ใช่ปลานิล ปลาตะเพียนที่กรมประมงนำมาปล่อยถึง 258 ชนิด ข้อมูลเหล่านี้ กฝผ.ไม่เคยมีก่อนที่จะสร้างเขื่อน แต่กลับให้ข้อมูลสาธารณะมาโดยตลอดว่า แม่น้ำมูลทั้งสายมีปลาเพียง 63 ชนิดเท่านั้น และเป็นเพียงปลาเล็กปลา น้อยไม่มีปลาหายาก และปลาที่กำลังสูญพันธ์ การสร้างเขื่อนจึงไม่ส่งผลกระทบต่อพันธ์ปลาในบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการกล่าวโทษชาวประมง หลังจากการก่อสร้างเขื่อนแล้วเสร็จว่าชาวประมงจับปลามากเกินไป จน กระทั่งปลาสูญพันธุ์

อัดกฟผ.ไร้ข้อมูลสิ่งแวดล้อม

"เกี่ยวกับเรื่องนี้ผมอยากจะบอกว่า กฝผ.ไม่เคยจะศึกษาอย่างจริงจัง ในเรื่องผลกระทบเรื่องสิ่งแวดล้อมนั้น นักวิชา การเขียนข้อเท็จจริงทางวิชาการจริงๆ มักจะไม่มีความรุ่งเรืองในวิชาชีพของตนเอง แต่หากนักวิชาการคนใดที่ เขียนผลงานทางวิชาการโดยบิดเบือนความจริงและเนื้อหาในวิชาการเอื้อ อำนวยประโยชน์ต่อเจ้าของ
โครงการก็ จะเจริญรุ่งเรือง ส่วนผู้ที่ทำตามข้อเท็จจริงก็จะกลายเป็นผู้ที่ตกงานไป ส่วนในเรื่องบันไดปลาโจนนั้นเดิมที่ กฝผ. ไม่เคยคิดจะทำ แต่กรมประมงเสนอว่าควรจะต้องทำ เพราะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ปลาว่ายน้ำผ่านไปได้ และ พบว่าประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง บางวันมีปลาใช้บริการบันไดปลาโจนเพียง 2 ตัวเท่านั้น จึงเป็นการหมด สมัยแล้วที่ว่าการพัฒนาจะต้องควบคู่ไปกับการสูญเสีย เพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่แล้วเอาเงินสาดหัวผู้ที่ เสียประโยชน์ ต่อไปนี้เมื่อมีการพัฒนาไม่จำเป็นจะต้องสูญเสีย เพราะเรามีทางเลือกมีเทคนิค ที่จะต้องดำเนินการ ต่างๆ มากมายโดยที่ไม่ต้องสูญเสีย" นายชวลิตกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่มีการสัมมนาอยู่นั้นได้มีมือมืดส่งแฟกซ์แถลงการณ์ไปตามสำนักพิมพ์ต่าง ๆ โดยอ้างว่า เป็นเอกสารของกลุ่มสมัชชาคนจน จะแจ้งข่าวเรื่องสมัชชาคนจนลงมติขับ นางสาววนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ ออก จากตำแหน่งที่ปรึกษา เพราะมีพฤติกรรมกระทำผิดซ้ำซาก จนถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาร่วมกันมั่วสุ่มทำให้ บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายนับครั้งไม่ถ้วน โดยตามหลักปฏิบัติสากลขององค์กรพัฒนาเอกชนมีข้อห้ามสำคัญคือ ห้ามไปบุกยึดสถานที่สาธารณะประโยชน์สำคัญเช่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงไฟฟ้า แม้แต่ในยามสงครามข้าศึก ก็จะไม่มีการยึดโรงไฟฟ้าเขื่อน โรงพยาบาลของฝ่ายตรงกันข้าม เพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน

เอกสารดังกล่าวได้ลงชื่อคณะกรรมการเช่น นายชัยวัฒน์ สถาอนันท์ ประธานที่ปรึกษา นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ประธาน นายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ รองประธาน นางสาววัชรี เผ่าเหลืองทอง ประธานเขต ภาคใต้ นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ประธานเขต ภาคเหนือ นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด ประธานเขตภาคกลาง ฯลฯ

นักวิชาการแฉใบปลิวถล่มเอ็นจีโอ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายชื่อของคณะกรรมการที่เอกสารดังกล่าวระบุนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในเวทีประชุมสัมมนาเกือบ ทั้งหมด โดยเมื่อบุคคลเหล่านั้นทราบว่าเอกสารดังกล่าวอ้างชื่อของตนเอง ต่างก็หัวเราะด้วยความขบขัน และ ปฏิเสธว่าเอกสารดังกล่าวเป็นความเท็จ นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าเนื้อหาที่ปรากฏใน เอกสาร ซึ่งอ้างว่านางสาววนิดาถูกปลดจากที่ปรึกษาสมัชชาคนจนนั้น บางข้อความคล้ายกับเนื้อหาที่นายสุพิน ปัญญามาก ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟผ.เคยพูดเอาไว้ในเวทีต่างๆ โดยเฉพาะข้อความที่ว่า ในยามสงครามข้าศึกจะไม่มีการ ยึดโรงไฟฟ้าฝ่ายตรงข้ามอย่างเด็ดขาด

"หากพฤติกรรมเช่นนี้เป็นของ กฟผ.จริงสะท้อนให้เห็นว่าเป็นการใช้วิธีการสกปรก เพราะเป็นไม่ได้อยู่แล้วคณะ กรรมการที่ถูกระบุชื่อเหล่านั้นจะทำเช่นนี้ และคิดว่าเรื่องนี้เป็นเพียงลูกไม้ตื่นๆ ที่จะมาหลอกสังคมไทย เพราะ สังคมเข้าใจดีว่านักวิชาการที่ถูกระบุชื่อคงมีวิจารณญาณเพียงพอที่จะไม่ทำเรื่องอย่างนี้อยู่แล้ว" นายไชยณรงค์กล่าว

นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ กล่าวว่า เห็นใบปลิวแล้วรู้สึกขำ ใครก็ตามที่ออกใบปลิวแผ่นนี้ออกมาคงจะคิดว่า น.ส.วนิดา เป็นคนสำคัญที่สุดในการดำเนินการเรื่องเหล่านี้ จึงพยายามที่จะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาโจมตี
  เพราะหาก ไม่มี น.ส.วนิดาแล้ว การเรียกร้องจะไม่เกิดขึ้น ถือเป็นความเข้าใจผิด ยืนยันว่าเอกสารฉบับนี้ไม่เป็นความจริง ไม่คิดว่าเป็นของ กฟผ. เพราะ กฟผ.เป็นที่รวมของคนที่มีปัญญา

น.ส.วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนกล่าวว่า ในทางสังคมอาจจะมองว่าการออกใบปลิวโจมตีกันนั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่ตนและชาวบ้านที่ต่อสู้เรื่องเขื่อนปากมูลเจอปัญหานี้มาโดยตลอด เช่น ใบปลิวโจมตีในพื้นที่ เพียงแต่ไม่เป็นข่าวเท่านั้น การกระทำเช่นนี้ไม่ได้ทำให้เราหลงทาง ตนมองว่าเป็นความคิดเด็กๆ ที่เด็ก ป.4 อาจจะ ทำได้ดีกว่านี้

ม็อบราษีไศลหนุนไอเดีย'พรเทพ'

ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้เดือดร้อนจากการก่อสร้างฝายราษีไศลและเขื่อนหัวนา กลุ่มสมัชชาคนจน ประมาณ 50 คนเดินทางมาที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเพื่อเข้าพบนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อยื่นหนังสือสนับสนุนให้ทุบเขื่อนราษีไศล

เนื้อหาหนังสือระบุว่า จากการที่นายพรเทพเสนอให้ทุบเขื่อนทิ้ง โดยอ้างว่ายอมสูญเสียค่าก่อสร้าง 900 ล้านบาท คุ้มกว่าการจ่ายค่าชดเชย 2,000 ล้านบาทนั้น กลุ่มสมัชชาคนจนเห็นว่าเหตุผลดังกล่าวยังอ่อนเกินไป หากเสนอเข้า ครม.อาจจะไม่ได้รับการพิจารณา ควรจะเติมเหตุผลประกอบดังต่อไปนี้ 1.ราษีไศลเป็นเขื่อนที่ผิดกฎหมาย การ สร้างเขื่อนขัดกับมติ ครม.และยังก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน คือทำให้เกิดน้ำท่วมกว่า 50,000 ไร่ จึงไม่ ควรมีอีกต่อไป 2.ไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเพราะขณะนี้สร้างไปแล้ว 7 ปี ไม่ได้ก่อประโยชน์ต่อสาธารณะแม้ แต่นิดเดียว 3.เขื่อนนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง คือทำให้เกิดการแพร่กระจายของดินเค็ม 4.ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่ชลประทานตามที่อ้างไว้ 5.ก่อให้เกิดความแตกแยกของชุมชน เหตุผลเหล่านี้ หากนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีประกอบกับการขออนุมัติให้ทุบเขื่อนอาจ
จะได้รับการอนุมัติ เพราะมี เหตุผลมากกว่าการทุบเขื่อนเพราะดีกว่าจ้างค่าชดเชย

สภาตั้ง5กก.ถกบันไดปลาโจน

ที่รัฐสภา นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการประชุม หลังพิจารณาปัญหาเขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี ว่า มีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งกรรมาธิการมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่อศึกษาปัญหาดังกล่าว และให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือด ร้อนคัดเลือกตัวแทนจำนวน 5 คนเข้ามาเป็นกรรมาธิการ เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

นายวิรัตน์กล่าวว่า ปัญหาที่มีการร้องเรียนมากก็คือบันไดปลาโจนที่ชาวบ้านบอกว่าไม่สามารถขึ้นไปวางไข่เหนือ เขื่อนได้ แต่กรมประมงชี้แจงว่า ปลาบางชนิดสามารถโจนได้ แต่บางชนิดยังมีปัญหา ดังนั้นวิธีการแก้ไขจะต้องให้ สองฝ่ายพิสูจน์บันไดปลาโจน ถ้าปลาโจนไม่ได้จริง คงต้องทุบบันไดปลาโจนทิ้ง หรือนำลูกปลาบางชนิดมาปล่อย

"นอกจากนั้นที่ประชุมยังตำหนินายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล กฟผ. ไม่ ยอมลงมาดูรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา และกรรมาธิการได้เชิญมาชี้แจงก็ไม่ยอมมา จึงมีมติประณามการกระทำ ของนายสาวิตต์กลางที่ประชุม และในครั้งหน้าถ้าไม่ยอมมาชี้แจงก็จะเสนอชื่อประณามกลางสภาผู้แทนราษฎร ต่อไป" นายวิรัตน์กล่าว

ม็อบคนจนเผาหุ่นปธ.สิ่งแวดล้อม

ที่ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มสมัชชาคนจน หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนจาก จ.อุบลราชธานี จำนวน 100 คนเคลื่อนขบวนออก จากที่ตั้งข้างโรงเรียนพณิชยพระนคร ไปยังประตูทำเนียบด้านสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) พร้อมเรียกร้องให้นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีสั่งการให้กรมชลประทานเปิดเผยข้อมูลโครงการการสร้าง เขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ แก่สมัชชาคนจนและให้ตั้งกรรมการสอบสวนกรมชลประทานฐานขัดคำสั่งนายกฯ ไม่ยอมนำข้อมูลมา
ชี้แจงอีกทั้งยังปิดบังข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้จะรอคำตอบจากนายกฯจนถึงเวลาเที่ยงวันที่ 9 มิถุนายน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางไปต่อไปยังอาคารรัฐสภา โดยมีตำรวจหน่วยปราบจลาจลเดินตามประกบ
ควบคุมสถานการณ์ไปตลอด ทางกลุ่มสมัชชาถือหุ่นฟางมีชื่อนายสนิท กุลเจริญ ประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนฯติดอยู่ด้วย บริเวณหน้าประตูมีหน่วยปราบจลาจลถือกระบองพร้อมโล่ป้องกันการบุกรุกของกลุ่มม็อบ จากนั้นม็อบได้อ่านแถลงการณ์ประณามนายสนิท ระบุเป็นเครื่องมือของ กฟผ.ทำลายความชอบธรรมของ ประชาชน และกดดันกรรมการกลางที่นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ตั้งขึ้นเพื่อหาทางออกปัญหาเขื่อนปากมูล ต่อมาทาง กลุ่มม็อบเผาหุ่นแล้วเดินทางกลับมายังที่ตั้งเดิม

'สาวิตต์'ยันไฟฟ้าเจ๊ง50ล้าน/เดือน

นายสาวิตต์ โพธิวิหค ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูลยื่นฟ้องการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย ที่จะเข้าไปกำจัดขยะ ผักตบชวาเพื่อเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าว่า ขณะนี้ กฟผ. แจ้งไปยังจัง หวัดและแจ้งให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่ในพื้นที่สันเขื่อนว่ามีความจำเป็นจะต้องเข้าไปรักษา
เครื่องจักร ทั้งนี้การที่จะ เดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง 4 เครื่อง จำเป็นต้องกำจัดขยะผักตบชวาที่อยู่หน้าเขื่อน ถ้าหากไม่กำจัดขยะออกไปทำ ให้ไม่สามารถที่จะเดินเครื่องได้ เพราะว่าขยะ ผักตบชวาจะเข้าไปในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ เครื่องมือหนักเข้าไปตักขยะออกมา

นายสาวิตต์กล่าวว่า ในการปฏิบัติไม่ควรที่จะให้ใครเข้าไปในเขตหวงห้าม เพราะเกรงว่าจะได้รับอันตราย
จะต้อง มีการย้ายคนออกไป จะมีการเจรจากันในวันเดียวกันนี้ เรื่องที่ว่าจะให้สื่อมวลชนเข้าไปดูบริเวณเขื่อนว่าไม่น่าจะ มีปัญหา แต่ในทางที่ปลอดภัยจะต้องเน้นที่ความปลอดภัยเป็นหลักและจะต้องเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ ตนได้รับ รายงานว่าเราสูญเสียประมาณ 50 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 1.5-2 ล้านบาทต่อวัน เนื่องจากไม่สามารถผลิตกระแส ไฟฟ้าได้ คิดว่าน่าเสียดายที่ต้องสูญเสียเงินไปเปล่าๆ

ที่บริเวณฝายราษีไศล จ.ศรีสะเกษ นายนันทโชติ ชัยรัตน์ แกนนำสมัชชาคนจน ได้เรียกประชุมชาวบ้าน เพื่อเตรียม
เสนอแนวทางสนับสนุนนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯทำการทุบฝายราษี ไศลทิ้ง

นายสมเกียรติ เจือจาน แกนนำชาวบ้านกล่าวว่า วันที่ 9 มิถุนายนจะจัดทำป้ายขนาดใหญ่เขียนแสดงประโยชน์และ
โทษของฝายราษีไศล ส่วนการที่ทางราชการจะจับกุมชาวบ้าน 11 คนไปดำเนินคดีนั้นตนยังไม่ทราบ หากออกหมาย จับมาจริงก็พร้อมให้จับกุม

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา