eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

กรรมการยื่นมติบัญญัติ จี กฟผ.เปิดเขื่อน

ข่าวสด  19 มิ.ย. 43

กก.กลางแก้ไขปัญหา 'เขื่อนปากมูล' แถลงย้ำอีก ต้องเปิดประตูกั้นน้ำทั้ง 8 บานเท่านั้น เพื่อคลี่คลายปัญหา หลัง กฟผ.ยังดื้อ ประกาศไม่ยอมรับมติ 'บัณฑร อ่อนดำ' ปธ.กก. ชี้ชาวบ้านเดือดร้อนจริง เขื่อนทำลายอาชีพ ประมง วิถีชีวิต การเปิดเขื่อนมีแต่ผลดี จะฟื้นฟูธรรมชาติแม่น้ำมูล ปลาว่ายขึ้นไปวางไข่ตามธรรมชาติ เตรียมสรุปเสนอ 'บัญญัติ บรรทัดฐาน' ตัดสิน พร้อมตั้ง กก.ศึกษาและให้ข้อเสนอแนะหลังเปิดเขื่อน สมัชชา คนจนแฉอีก ที่แท้ กฟผ.ควบคุมเขื่อนเองได้ โดยไม่ต้องให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ เพราะหลังฝนตกยังเปิด ประตูระบายน้ำจาก ข้างนอกได้ โวยกลับหยุดใส่ร้ายเสียที ชาวบ้านไม่มีอาวุธ ซ่องสุมกำลังคน ชุมนุมอย่าง สันติ ด้านม็อบราษีไศล ตายเพิ่มอีก 1 ศพ ด.ญ.เคราะห์ร้ายตกน้ำมูลดับ ขณะที่ชาวบ้านกรูด จ.ประจวบฯ จัดเสวนาหนุนปากมูลสู้รัฐ-กฟผ.

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการชุมนุมของชาวบ้านกลุ่มสมัชชาคนจน ที่บริเวณฝั่งตะวันออกของสัน เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี ว่า ตั้งแต่กลางดึกของคืนวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก ทำให้ชาว บ้านที่ปลูกเพิงพักด้วยหญ้าแฝก บริเวณลานจอดรถของเขื่อนปากมูลต้องประสบปัญหาน้ำรั่วซึม จนไม่สามารถ นอนได้ ฝนตกติดต่อกันจนถึงเวลา15.00น. ของวันที่ 18 มิ.ย. ฝนจึงหยุดตก และจากปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่าง หนัก ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องยกบานประตูระบายน้ำบานที่ 2 และ 3 ขึ้น สูงจากเดิม ประมาณ 2 เมตร เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อนให้เร็วขึ้น เพราะน้ำเหนือเขื่อนมีปริมาณมากขึ้นจนไหลเข้า ท่วมบ้านเรือนชาวบ้านเหนือเขื่อน และการยกบานประตูระบายน้ำดังกล่าว ทำให้กอสวะและผักตบชวาที่ลอยอยู่ หน้าประตูกั้นน้ำ ถูกแรงดูดของน้ำไหลออกไปท้ายเขื่อนจนหมดแล้ว

น.ส.สมภาร คืนดี แกนนำชาวบ้าน กล่าวว่า การเปิดประตูระบายน้ำของกฟผ.ครั้งนี้ ทำให้ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ ทั้งหมดเข้าใจว่า การควบคุมการทำงานของเขื่อนปากมูลสามารถทำงานได้ตาม ปกติ แต่ที่ผ่านมากฟผ.พยายาม ออกข่าวหลอกลวงประชาชนว่า การควบคุมเขื่อนไม่สามารถทำได้เลย เพราะการชุมนุมของชาวบ้านกีดขวางการ ทำงาน การกระทำดังกล่าวเป็นการทำลายความชอบธรรมของชาวบ้านที่ชุมนุมเรียกร้อง ดังนั้น เราจึงเชื่อว่ากฟผ. จะพยายามไม่เข้าไปทำงานตามที่เคยพูดไว้ เพราะสามารถทำงานได้อยู่แล้วนั่นเอง

น.ส.สมภาร กล่าวต่อว่า จากการที่นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์ ผวจ.อุบลราชธานี และกฟผ. เข้ามาเจรจาขอพื้นที่เพิ่มเพื่อ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กฟผ.นั้น ชาวบ้านหารือร่วมกันและมีความเห็นว่า ชาวบ้านต้องการให้กฟผ.ทดลองนำ เครื่องมือที่จะใช้ในการดูแลเครื่องปั่นไฟฟ้า และเจ้าหน้าที่เข้ามาในพื้นที่ก่อน หากมีเพิงไม้หรือการชุมนุมของ ชาวบ้านกีดขวางในบริเวณใด ชาวบ้านก็พร้อมถอยออกมาตามความจำเป็นและเหมาะสม ไม่ใช่ยังไม่นำเครื่องมือ เข้ามา แต่ให้ชาวบ้านถอยออกจากที่ชุมนุมตามที่กฟผ.เสนอ ชาวบ้านอยากเห็นความตั้งใจของกฟผ.ที่จะเข้ามา ปฏิบัติหน้าที่ และยอมรับว่าการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่นั้น อาจจะไม่สะดวกเหมือนกับสถานการณ์ปกติ แต่ผู้ชุมนุม ก็พร้อมที่จะขยับขยายพื้นที่ให้ตามความจำเป็น

แกนนำชาวบ้าน กล่าวอีกว่า ขณะนี้คณะกรรมการกลางแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน มีมติยืนยันอย่างเป็นเอกฉันท์ ให้กฟผ.ทดลองเปิดประตูระบายน้ำทั้ง8บาน เป็นเวลา4เดือน แต่กฟผ.ยังไม่มีทีท่าว่าจะดำเนินการ หากกฟผ.ดำ เนินการ ชาวบ้านก็พร้อมที่จะเคลื่อนออกไปชุมนุมที่หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน1ส่วนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการ บริหารเขื่อนปากมูลนั้น จำเป็นต้องดูเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าวก่อน ว่าต้องได้รับอำนาจเต็ม จากรัฐบาลด้วย ส่วนกรณีที่กฟผ.ยื่นเรื่องให้ศาลจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานอัยการจังหวัดพิจารณาถอน ประกันแกนนำชาวบ้านคือ น.ส.วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ และนายทองเจริญ สีหาธรรม นั้น พวกเรามีความเชื่อมั่น ในกระบวนการยุติธรรมที่จะพิจารณา และเห็นว่ากฟผ.พยายามสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองเท่านั้น

"ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าชาวบ้านนำไม้แหลมมาเป็นอาวุธ หรือนำอาวุธสงครามมาไว้ในที่ชุมนุมนั้น ขอปฏิเสธว่าไม่ เป็นความจริง เพราะตั้งแต่มีการชุมนุมวันที่15พ.ค. ที่ผ่านมา ชาวบ้านประกาศว่าเป็นการชุมนุมโดยสันติวิธี ไม่มีการนำอาวุธ หรือชายฉกรรจ์ไว้ต่อสู้กับทางราชการแต่อย่างใด และกรณีที่ชาวบ้านแม่มูนมั่นยืน7เข้าใจผิด หยิบขวดน้ำกรดมาดื่มแทนเหล้าขาวนั้น ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะการชุมนุมของชาวบ้านทุกครั้งมีข้อ ตกลงร่วมกันว่าห้ามดื่มสุราในที่ชุมนุมเด็ดขาด เรื่องนี้จึงเป็นเพียงการปล่อยข่าวเพื่อทำลายชาวบ้านเท่านั้น และ ขอร้องกฟผ.ให้เลิกปล่อยข่าวเช่นนี้เสียที แล้วหันมาร่วมกันแก้ไขปัญหา" น.ส.สมภาร กล่าว

วันเดียวกัน นายบัณฑร อ่อนดำ ประธานคณะกรรมการกลางแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน แถลงว่า ในการประชุม คณะกรรมการกลางทั้ง3ครั้ง มีบทสรุปสำคัญยืนยันในข้อเสนอ ให้มีการทดลองเปิดประตูน้ำทั้ง8บาน เป็นเวลา 4 เดือน ด้วยเหตุผลดังนี้ 1.การสร้างเขื่อนปากมูลมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านเดิม ชาวบ้านมีความเดือดร้อน จริง โดยเฉพาะด้านอาชีพประมง ซึ่งงานวิชาการอันเป็นที่ยอมรับยืนยันว่า หลังการเก็บกักน้ำ ชาวบ้านไม่สามารถ ดำรงชีพโดยทำอาชีพประมงได้ 2.คณะกรรมการเห็นว่า เมื่อเกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านหลังการสร้าง เขื่อนปากมูล จำเป็นต้องพิจารณาถึงมาตรการที่จะฟื้นฟูสภาพนิเวศวิทยาของแม่น้ำมูล ที่เดิมเคยเป็นฐานทรัพยา กรในการดำรงชีพของชาวบ้านด้านประมง โดยเห็นว่ามาตรการที่พยายามลดผลกระทบ โดยการสร้างบันไดปลา โจนนั้น ไม่มีประสิทธิภาพพอเพียงแก่การฟื้นฟูวิถีชีวิตเดิมที่ได้รับผลกระทบ ให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตขั้น พื้นฐานที่ดี

นายบัณฑร กล่าวต่อว่า 3.การเปิดประตูน้ำจึงเป็นมาตรการที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อการฟื้นฟูสภาพระบบนิเวศของ แม่น้ำมูล การเปิดประตูกั้นน้ำมีผลดี ปลาสามารถอพยพขึ้นมาวางไข่ตามธรรมชาติ มีการเคลื่อนไหวของปลาจาก แม่น้ำโขงเข้าสู่แม่น้ำมูล เกิดผลดีด้านการอนุรักษ์อย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องทำให้พันธุ์ปลามีความหลากหลาย ทางชีวภาพ และจะเกิดผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจด้านประมงกับชาวบ้านริมแม่น้ำมูล คณะกรรมการกลางจึง เสนอความเห็นชอบต่อนายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย โดยท่านมีข้อเสนอแนะ ให้มีการพิจารณาต่อประเด็นการตั้งคณะกรรมการพหุภาคีศึกษาผลกระทบจาก การเปิดประตูกั้นน้ำ

ประธานคณะกรรมการกลางแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน กล่าวต่อว่า ในการประชุมครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการ กลางมีข้อสรุปคือ 1. คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นนี้ ต้องตั้งอยู่บนมติเดิมคือ ให้ทดลองเปิดประตูระบายน้ำ 2. อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ไม่ใช่การพิจารณาว่าจะเปิดหรือไม่เปิดประตูระบายน้ำ   แต่จะทำหน้าที่ทางด้าน วิชาการและด้านเทคนิค เพื่อให้ข้อเสนอด้านเทคนิคว่า จะเปิดประตูระบายน้ำอย่างไร และศึกษาผลกระทบทั้ง ด้านบวกและลบ จากการเปิดประตูระบายน้ำ เสนอแนะมาตรการสนับสนุนด้านการประมง ด้านนิเวศวิทยา และ การบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การเลื่อนตัวของดินชายฝั่ง การเลี้ยงปลาในกระชัง และรายได้จากการ ผลิตกระแสไฟฟ้า 3.องค์ประกอบที่สำคัญที่เป็นหัวใจของคณะกรรมการคือ นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาด้าน ประมง ด้านวิศวกรรม และด้านสังคมศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่เสนอแนะทางด้านเทคนิค และเป็นผู้ศึกษาผลกระทบ ส่วนองค์ประกอบที่เหลือคือ ตัวแทนจากผู้ได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ จากการเปิดประตูน้ำ ส่วนราชการ ในจังหวัดที่จะให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ

นายบัณฑร กล่าวต่อว่า สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการคือ 1.  อธิการบดีมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น เป็นประ ธานคณะกรรมการ 2.  ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรองประธาน 3.  ตัวแทนกฟผ. 4.  ตัวแทนสมัชชาคนจน 5. ตัวแทน เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 6.ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยด้านประมง 7.  ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยด้าน วิศวกรรม  8 .ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยด้านสังคมศาสตร์ เป็นกรรมการ และ 9. ผู้ที่ประธานเห็นสมควรเป็น กรรมการและเลขานุการ มีระยะเวลาในการทำงาน1 ปี โดยให้รัฐบาลจัดหางบประมาณสนับสนุน มติของที่ ประชุม คณะกรรมการกลางจะเร่งนำเสนอต่อนายบัญญัติโดยเร็ว พร้อมกันนี้มีมติขอต่ออายุการทำงานของคณะ กรรมการกลางออกไปอีก15วัน

นายประกอบ วิโรจนกูฎ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในฐานะกรรมการกลาง กล่าวว่า ปัญหาเขื่อนปากมูลเป็นปัญหาเฉพาะหน้า ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้น คณะกรรมการกลางจะหารือกัน ประมาณกลางสัปดาห์หน้า ทั้งในกรณีเขื่อนที่สร้างแล้วและเขื่อนที่ยังไม่สร้าง โดยมีกรอบความคิดว่าเขื่อนที่สร้าง แล้ว รัฐบาลจะต้องหามาตรการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อวิถีชีวิตเป็นกรณีไป โดยให้มีการบริหารในรูปของคณะ กรรมการบริหารเขื่อน เพราะแต่เดิมการบริหารเขื่อนจะเป็นหน่วยงานที่สร้างเขื่อน ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้คน มากมาย นอกจากนี้ หากมีความจำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย จะต้องจ่ายในอัตราที่เหมาะสม รวมทั้งให้หลักประกัน ด้านอาชีพ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

เวลา16.00น. วันเดียวกัน ที่หน้า สภ.ต.ธงชัย ต.ธงชัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชาวบ้านกรูด ต.ธงชัย อ.บางสะพาน และกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด ร่วมกันจัดงานเสวนาเรื่อง "บทเรียน จากปากมูล ท่อก๊าซเมืองกาญจน์ สู่โรงไฟฟ้าประจวบฯ ความผิดพลาดที่รัฐบาลต้องทบทวน" โดยมีวิทยากรจาก หลายหน่วยงานเข้าร่วมเสวนา และในการเสวนาครั้งนี้มีการนำแถลงการณ์ของกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด แจกจ่ายผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน

แถลงการณ์ระบุว่า กฟผ.ต้องฟังเสียงประชาชน หยุดโครงการพลังงานที่ทำลายสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตชุมชน การต่อสู้ของชาวบ้านหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนที่เขื่อนปากมูล กำลังบอกเราว่า เพื่อให้ได้กระแสไฟฟ้าเพียง 40 เมกะวัตต์ เขื่อนปากมูลทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำมูลลงอย่างสิ้นเชิง พวกเขาได้เผชิญ และเรียนรู้วิถีแห่งการ ทำลายของมันด้วยชีวิต และน้ำตาที่ต้องหลั่งไหล นับตั้งแต่การก่อสร้างเขื่อน วันนี้พวกเขาเรียกร้องอิสระให้แก่ สายน้ำ แต่พวกเขาไม่อาจเรียกร้องวิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกเขากลับคืนมาได้ เช่นเดียวกับชาว จ.กาญจนบุรีที่กำลัง เศร้าโศก และโกรธแค้นเพราะไม่สามารถหยุดยั้งการรุกรานทำลายผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ จากการก่อสร้างท่อส่ง ก๊าซไทย-พม่า ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ได้ ในที่สุดข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า โครงการท่อส่ง ก๊าซไทย-พม่า ไม่ได้ก่อประโยชน์ทางด้านพลังงานตามที่ปตท.อ้างถึง ซ้ำร้ายทั้งปตท.และกฟผ.ยังได้ผลักภาระ แห่งความผิดพลาดมาให้ประชาชนเป็นผู้แบกรับ

แถลงการณ์ระบุต่อว่า กฟผ.บอกกับชาวจ.ประจวบฯ และชาวไทยทั้งประเทศว่า ถ้าไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะทำให้ประเทศไทยไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่กฟผ.ไม่ได้บอกว่า ขณะนี้กฟผ.ต้องแก้ไขปัญหา ปริมาณไฟฟ้าสำรองที่มีมากถึง50เปอร์เซ็นต์ ด้วยการปิดโรงไฟฟ้าของตัวเอง ในขณะที่สำนักงานนโยบายพลัง งานแห่งชาติ ต้องยกเลิกสัญญากับโครงการโรงไฟฟ้าที่ยังไม่ได้ก่อสร้างอีกหลายโครงการ และกฟผ.ยังไม่ได้บอก ว่าภายใต้ผลประโยชน์จำนวนมหาศาลที่บริษัทยูเนี่ยนเพาเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เจ้าของโรงไฟฟ้าหินกรูด และบริษัทกัลฟ์ เพาเวอร์ เจอเนอเรชั่น จำกัด เจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอกที่จะได้รับ กฟผ.โดยเฉพาะใน ระดับผู้บริหารก็จะได้รับผลประโยชน์ด้วย ด้วยการให้บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่กฟผ.ก่อตั้งขึ้นเพื่อ เข้าไปถือหุ้นในโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง

"ผลประโยชน์ที่กฟผ.จะได้รับจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ทั้ง 2 โรง จึงเป็นคำอธิบายต่อ พี่น้องประชาชนได้เป็นอย่างดีว่า ทำไมกฟผ.จึงไม่ยอมยกเลิกโครงการ และไม่ยอมเปิดสัญญาซื้อขายกระแส ไฟฟ้าที่เป็นสัญญาร่วมกันระหว่าง กฟผ. กับบริษัทเจ้าของโครงการ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับพี่น้องแม่มูนมั่นยืน และพี่น้องชาวกาญจนบุรี เป็นบทเรียนให้เราตระหนักว่า เราจะต่อสู้ไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ และวันนี้ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีชีวิตอันงดงามของจ.ประจวบคีรีขันธ์ เราขอประกาศว่าเราจะต่อสู้ ต่อไปตามวิถีทางของประชาชน เช่นเดียวกับพี่น้องชาวแม่มูนมั่นยืนที่ลุกขึ้นสู้เพื่อปลดปล่อยอิสรภาพคืนสู่สาย น้ำ" แถลงการณ์ระบุตอนท้าย

ส่วนความคืบหน้าการชุมนุมของชาวบ้านที่เขื่อนราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เมื่อเวลา12.00น. วันเดียวกัน นายไพรจิตร ศิลารักษ์ แกนนำชาวบ้าน เปิดเผยว่า เมื่อเวลา19.00น. วันที่17มิ.ย. ที่ผ่านมา ด.ญ.ไพรินทร์ โบรามูล อายุ 14 ปี อยู่บ้านเหล่าโดน ต.หนองแค อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ที่มาชุมนุมแทนนางบุญมี โบรามูล มารดาที่เดินทางกลับ ไปทำนา ได้ลงไปอาบน้ำร่วมกับเพื่อนๆ จากนั้นด.ญ.ไพรินทร์จมน้ำหายไปท่ามกลางความตกใจของผู้พบเห็น แต่ไม่สามารถลงไปช่วยได้

นายไพรจิตรกล่าวต่อว่า หลังจากทราบเรื่องจึงระดมชาวบ้านกว่า30คน ลงน้ำงมหาร่างด.ญ.ไพรินทร์จนพบ จากนั้นนำส่งร.พ.ราษีไศล แต่แพทย์ไม่สามารถช่วยเหลือชีวิตไว้ได้ จึงนำศพของด.ญ.ไพรินทร์ไปตั้งบำเพ็ญ กุศลที่ศาลาวัดบ้านหนองโดน และกำหนดฌาปนกิจศพในวันที่19มิ.ย. เวลา14.00น. นอกจากนี้ยังประสานงาน ไปยังนายพิษณุ พรหมจารีย์ นายอำเภอราษีไศล เพื่อขอให้ทางประชาสงเคราะห์จังหวัดให้ความช่วยเหลือ ครอบครัวของ ด.ญ.ไพรินทร์ เพราะมีฐานะยากจน นายพิษณุรับปากว่าจะประสานขอความช่วยเหลืออย่างเร่ง ด่วน ส่วนของชาวบ้านที่ร่วมชุมนุมอยู่ที่เขื่อนราษีไศลยังร่วมกันเรี่ยไรเงินให้กับนางบุญมี จำนวน1,000บาท เพื่อเป็นเงินช่วยเหลืองานศพของด.ญ.ไพรินทร์ และอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาเขื่อนราษีไศล อย่าปล่อยให้ชาวบ้านต้องตายไปที่ละคนเช่นนี้

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา