eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

รวมภาพปากมูล 16

ปลาลำน้ำมูน ความสมบูรณ์ที่กลับคืนมา

 

ปลาเอี่ยนหูหรือตูหนาหูขาว ปลาหายากอีกชนิดหนึ่ง วางไข่ในทะเลลึกประมาณ 1 กม.แถบทะเลระหว่างเวียตนามกับ ฟิลิปปินส์ และเดินทางเข้ามาเจริญเติบโตในแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูน  ปลาตูหนา 2 ตัวนี้พบหลังเปิดเขื่อนปากมูนปีนี้ ตัวสีดำ พบเวณปากมูน ขณะที่ตัวจางพบบริเวณบ้านแสนตอ เมื่อวันที่ 30 ที่ผ่านมาชาวบ้านปากมูนได้ปล่อยล่งสู่ธรรมชาติอีกครั้ง เพราะถือว่าเป็นปลาหายาก

 

 

ปลาโจก ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyclocheilichthys enoplos (Bleeker, 1850) เป็นปลาอพยพและเข้าไปอาศัยตามบุ่งทาม  ตัวนี้หนัก 1.2 กิโลกรัม

ปลาเทโพ (Tepo) หรือปลาปึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasius Iarnaudiei (Bocourt, 1866) หนึ่งในชนิดพันธุ์ปลาที่อพยพจาก แม่น้ำโขง ในลาวและเขมรเพื่อมาวางไข่ใน แม่น้ำมูน ตัวนี้น้ำหนัก 3.4 กิโลกรัม (ถ่ายเมื่อ 16 มิถุนายน 2544 บริเวณเหนือเขื่อนปากมูล)
 

เด็กและปลาปึ่งที่บริเวณตลาดนัดปลาหมู่บ้าน แม่มูนมั่นยืน

ปลาเลิม ปลาหายากและใกล้จะสูญพันธุ์ในบัญชี red lists ของ IUCN

 

 ปลาแข้หินซึ่งเป็นปลาที่อาศัย หากิน วางไข่เฉพาะบริเวณแก่งปากมูน  

บริเวณปากมูนที่มีระบบนิเวศน์แบบเกาะแก่งสลับซับซ้อน เป็นถิ่นอาศัย หากิน และวางไข่ที่สำคัญของปลาในแม่น้ำมูน-โขง และมีปลาบางชนิดที่อาศัยเฉพาะระบบนิเวศน์แถบนี้ ไม่พบที่อื่น ภายหลังเปิดเขื่อนพบว่ามีปลาที่อาศัย หากินและวางไข่เฉพาะบริเวณแก่งและวังที่ปากมูนเท่านั้น 2 ชนิด คือปลาบู่หินและแข้หิน ปลาทั้ง 2 ชนิดถือว่าเป็นปลาหายากและใกล้สูญพันธุ์ด้วย   

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา