eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ผลศึกษาชี้ไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับประเทศไทย
"แผนทางเลือก" ชี้ว่าไทยยังมีทางเลือกพลังงานที่สะอาดและราคา ถูกกว่าและตอบสนองความต้องการได้

3 ธค 54

กรุงเทพฯ ประเทศไทย: แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าทางเลือก (Alternative Power Development Plan) สำหรับ ประเทศไทยที่ได้รับการเผยแพร่ในวันนี้ ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยสามารถตอบสนองความต้องการด้านพลังงานใน อนาคต โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติม หรือสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์ใหม่ แผนดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีในแม่ น้ำโขง ไม่จำเป็นต่อการรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในอนาคตของไทย หากรัฐเลือกลงทุนด้านประสิทธิภาพพลังงาน พลังงานหมุนเวียนและระบบพลังความร้อนร่วม (โคเจนเนอเรชั่น) แทน จะช่วยลดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภคได้ถึง 12% ภายในปี 2573 และทำให้ประหยัดเงินลงทุนได้ถึงสองล้านล้านบาท

งานศึกษาชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลไทยกำลังหลอกลวงคนไทยจากการไปทำความตกลงกับรัฐบาลลาว เพื่อสร้างเขื่อน เพราะไม่ได้ตอบสนองผลประโยชน์ที่ดีสุดด้านไฟฟ้าของผู้บริโภคเลย นอกจากไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีจะไม่จำเป็นต่อการตอบสนองความต้อง การพลังงานในอนาคตแล้ว ยังมีราคาแพงกว่าแหล่งพลังงานทางเลือกอื่น ๆ เราจำเป็นต้องผลักดันทางเลือกพลังงานที่ฉลาดอย่างเร่งด่วน รัฐบาลไทยควรยกเลิกความพยายามที่จะซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี และเขื่อนอื่น ๆ ในแม่น้ำโขงสายหลักโดยทันที และให้ส่งเสริมกระบวนการที่มีส่วนร่วมและโปร่งใสเพื่อวิเคราะห์ ความต้องการพลังงานในอนาคต” เพียร พร ดีเทศน์ ผู้ประสานงานการรณรงค์ประเทศไทยของ International Rivers กล่าว

แผนพัฒนาพลังงานทางเลือก เป็น ผลงานของผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากไทย ได้แก่ ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซนและดร.คริส กรีเซน (Dr. Chris Greacen) โดยมีการนำแผน พัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับปัจจุบันของรัฐบาลไทย (“แผนพีดีพี 2010”) มาวิเคราะห์ และพบว่าการประมาณการความต้องการไฟฟ้าในปี 2573อาจสูงเกินจริงถึง 13,200 เมกะวัตต์ เท่ากับปริมาณไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี 10 เขื่อน ผู้ศึกษายังพบว่าประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าและโครงการที่อยู่ ระหว่างการก่อสร้างมากเพียงพอที่จะรักษาความมั่นคงของระบบ ด้วยการคงระดับกำลังผลิตสำรองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15  โดยไม่จำเป็นต้องมีกำลังผลิตใหม่เข้าระบบจนกว่าจะ ถึงปี 2560 

กระบวน การวางแผนภาคพลังงานของไทยในปัจจุบันมีข้อบกพร่องหลายประการ ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ชุดค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าที่รัฐบาลเห็นชอบทุกชุดที่ผ่าน มามักจะประเมินความต้องการไฟฟ้าระยะยาวสูงเกินจริงมาโดยตลอด ส่งผลให้มีการลงทุนเกินความจำเป็นและเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของ ผู้บริโภค หากมีการปรับปรุงค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าให้ใกลัเคียงความ เป็นจริงมากขึ้น และเลือกลงทุนในพลังงานทางเลือกที่สะอาด ราคาถูก และเสี่ยงน้อยกว่า จะไม่เพียงช่วยลดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภค แต่ยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษที่เป็นอันตรายอื่น ๆ ของไทยด้วย โครงการที่มีผลกระทบสูง อย่างเช่น โครงการ เขื่อนในแม่น้ำโขงสายหลัก โรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ไม่ใช่สิ่งจำเป็นแต่อย่างใดสำหรับ ประเทศไทย เพราะเรามีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า” ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน หนึ่ง ในผู้เขียนรายงานกล่าว

ผู้จัดทำรายงานได้เสนอค่าการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าถึงปี 2573 ที่ใกล้เคียงกับความจริงมากขึ้น โดยปรับจากแนวโน้มที่เกิดขึ้นจริงในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา เมื่อคำนึงถึงการพยากรณ์ความต้องการที่ปรับลดลงแล้ว ผู้จัดทำรายงานพบว่าภาคพลังงานยังจำเป็นต้องจัดหาไฟฟ้าเพิ่ม เติม 14,387 เมกะวัตต์ภายในปี 2573 ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับปริมาณไฟฟ้าสำรองไว้ที่ 15% โดยแหล่งพลังงานที่ปรากฏอยู่ในแผน พัฒนาพลังงานทางเลือกประกอบด้วย

  • โครงการที่ได้เริ่มการก่อสร้างแล้ว และโครงการพลังงานหมุนเวียนและระบบพลังความร้อนร่วม(โคเจนเนอเรชั่น) ตามที่บรรจุในแผนพีดีพี 2010 (ไม่รวมไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนไซยะ บุรีหรือที่จะนำเข้าจากแหล่งอื่น)  
  • ผลการประหยัดจากมาตรการประสิทธิภาพและการจัดการด้าน การใช้พลังงาน ที่สอดคล้องกับกับแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (.. 2554 – 2573) ของรัฐบาล ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายที่จะลดการใชัพลังงานลงร้อยละ 20  
  • รงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่นที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น เชื้อเพลิงอีก 4,800 เมกะ วัตต์ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถผลิตไฟฟ้าและนำความร้อนที่ผลิตได้มาใช้ประโยชน์ในภาค อุตสาหกรรมหรือธุรกิจได้  ใน ทางตรงข้ามเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าแบบรวมศูนย์ทั่วไปมักมี ประสิทธิภาพต่ำเพราะปล่อยทิ้งความร้อนที่ผลิตได้ผ่านระบบหล่อ เย็น
  • การขยายอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้าที่จะถูกปลดระวาง

แผน พีดีพี ของไทยสะท้อนถึงวิกฤตของกระบวนการวางแผนที่ตั้งอยู่บนค่า พยากรณ์การใช้ไฟฟ้าที่ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มที่ผ่านมา และยังกำหนดให้สร้างโรงไฟฟ้าประเภทที่ไม่เหมาะสมในจำนวนที่มาก เกินไปชื่น ชม สง่าราศรี กรีเซน กล่าว “ข้อบกพร่องของแผนพีดีพีฉบับปัจจุบันสะท้อนให้เห็นว่า ควรมีการปรับปรุงแผน และแก้ไขกระบวนการทำแผนพัฒนาระบบไฟฟ้า ให้กรอบการพิจารณามีความคลอบคลุมและสอดคล้องกับแนวนโยบาย พลังงานของประเทศมากขึ้น ไม่เช่นนั้นแล้ว คนไทยอาจจะต้องเสียเงินนับแสนล้านบาทต่อปีไปกับการลงทุนใน โครงการซึ่งทั้งไม่จำเป็นและไม่เป็นที่พึงประสงค์” 

ท่าน สามารถดาวน์โหลดบทสรุปของแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกได้ที่: www.internationalrivers.org/en/node/7010

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา