eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

                โครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเทินหินบูนตั้งอยู่บนแม่น้ำเทินในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก่อสร้าง แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 เปิดดำเนินงานเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2541 มีมูลค่ารวม 260 ล้าน เหรียญสหรัฐโดยได้รับการสนับ สนุนทางการเงินจากรัฐบาลประเทศนอร์เวย์ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asain Development Bank, ADB) และแหล่งเงิน ทุนอื่นๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ในขณะที่ธนาคารเพื่อ การพัฒนาเอเชีย(ADB)และผู้พัฒนาโครงการทั้งหลายกำลัง ประกาศถึงความสำเร็จของโครงการ โครงการ ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้าน หลาย พันคน  Bruce Shoemaker นักวิจัยอิสระซึ่งได้อาศัยอยู่ในประเทศลาวเป็นเวลากว่า 7 ปี ได้ลงไปศึกษาหมู่บ้านในพื้นที่ที่ได้ รับผลกระ- ทบจากโครงการเมื่อไม่นานมานี้

                ผู้ศึกษาได้ทำการสัมภาษณ์ ชาวบ้านจำนวน 60 คน ใน 10 หมู่บ้าน ระหว่างระยะเวลา 3 วัน ในการ ลงสำรวจพื้นที่ โครงการในช่วงต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2541 โดยได้ทำการสัมภาษณ์ครอบคลุมชาวบ้านใน หลายกลุ่มทั้ง ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก เจ้าของแผงขายปลา เจ้าของร้านค้า ชาวประมง ผู้นำชาวบ้าน คนขับ เรือ  และอื่นๆ

                สิ่งสำคัญที่ได้พบจากการศึกษาพื้นที่คือการที่ชาวบ้านทั้งหมดได้รายงานเหมือนกันถึงความเดือด ร้อนจากผลกระทบ ที่ได้รับโครงการเขื่อนนี้  ในทั้งสามพื้นที่ที่ได้ทำการศึกษา ทั้งบริเวณแม่น้ำกระดิ่ง แม่น้ำ ไฮและหินบูน และในพื้นที่บริเวณ ตัวเขื่อน ชาวบ้านได้กล่าวถึงผลกระทบต่อการลดลงอย่างมากของปริมาณ ปลาที่จับได้ซึ่งได้ลดลงเป็นปริมาณถึง 30 - 90 %   การสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกริมฝั่งแม่น้ำ การสูญเสียแหล่ง น้ำดื่มในฤดูแล้ง การก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการคมนาคม และในบาง พื้นที่ชาวบ้านต้องอพยพบ้านเรือนโดย ที่ไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเพียงพอจากโครงการ

ผู้ศึกษายังได้พบว่าประชาชนลาวหลายพันคนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการไม่ได้รับ การจ่ายค่าชดเชยสำหรับการ สูญเสียของพวกเขา ทั้งยังไม่มีแผนการรองรับใดๆในการจ่ายค่าชดเชยในอนาคตด้วย ภายใน งบประมาณโครงการทั้งหมด 260 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงงบประมาณสำหรับโครงการลดปัญหาผล กระทบจำนวน 2.59 ล้านเหรียญสหรัฐนั้นมีเพียง 50,000 เหรียญสหรัฐเท่านั้นที่ได้ถูกจัดสรรสำหรับการ อพยพและจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ในความเป็นจริงแล้ว 67% ของงบประมาณในโครงการลด ปัญหาความเดือดร้อนแก่ผู้ได้รับผลกระทบนี้ได้ถูกใช้ไปในการสร้างอ่างพักน้ำและ ปรับปรุงระบบการไหล ของน้ำลงในแม่น้ำเทินซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวควรจะอยู่ในส่วนงบประมาณจัดสรรสำหรับการก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่เริ่มก่อสร้างโครงการ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 รัฐบาลลาวซึ่งได้ทำตามคำแนะนำของ ธนาคารเพื่อ การพัฒนาเอเชีย(ADB)ได้เซ็นสัญญากับบริษัท เทินหินบูนเพาเวอร์ (Theun-Hinboun Power Company, THPC) ให้ทาง บริษัทพ้นจากความรับผิดชอบในมาตรการแก้ปัญหาผลกระทบและจ่ายค่าชดเชย ใดๆที่จะเกิดขึ้นอีกตลอดอายุโครงการ 

                แทนที่จะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(ADB)และบริษัทเทินหินบูนเพาเวอร์ (THPC) กลับป่าวประกาศถึงความสำเร็จของโครงการโดยที่ปฏิเสธที่จะรับรู้ถึงผลกระทบใน ด้านลบที่กำลังเกิดขึ้นต่อชีวิต ของประชาชน ไม่มีการตรวจสอบจากภายนอกใดๆ แม้กระทั่งในเรื่องที่ว่างบ ประมาณในการจ่ายค่าชดเชยที่ถูกจัดสรรขึ้น ในจำนวนเล็กน้อยนั้นได้ถูกส่งถึงมือผู้ได้รับผล กระทบจริงหรือไม่และไม่มีระบบการจัดทำเอกสารข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่อง การสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน บริษัทเทิน หินบูนเพาเวอร์(THPC)เองก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการพยามที่จะติดตาม ค้นหา หรือ ตรวจสอบความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ

                ขั้นตอนแรกในการจัดการกับประเด็นที่กล่าวถึงข้างต้นควรจะเป็นบทบาทขององค์กรทุนภาครัฐ ของโครงการซึ่ง หมายถึง  NORAD และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ในการสนับสนุนให้มีการ ศึกษาและประเมินผลเพิ่มเติมอย่าง อิสระในประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นดังที่ได้กล่าวในรายงานฉบับนี้ ทั้งนี้ การศึกษาและประเมินผลเพิ่มเติมนี้จะเป็นสิ่ง สำคัญในเบื้องต้นที่จะช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการชดเชยแก่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการซึ่งถือว่า เป็นผู้ขาด โอกาสและทางเลือกทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การดำเนินงานนี้จึงควรเกิดขึ้นอย่าง เร่งด่วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้             

                เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าบริษัทจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อต้นทุนที่แท้จริงของโครงการตามส่วนแบ่ง ของตน  ซึ่งเป็น ต้นทุนที่ได้ถูกเพิกเฉยละเลยและถูกบิดเบือนจากความเป็นจริงโดยบริษัทที่ปรึกษาซึ่งเจ้าของ ของบริษัทนี้ก็คือหนึ่งในผู้ร่วม ลงทุนในช่วงเริ่มต้นของโครงการ จากการดำเนินงานที่ผิดพลาดนี้อาจจะก่อ ให้เกิดข้อถกเถียงทางกฎหมายว่าข้อตกลงในการ ให้สัมปทานนั้นควรจะนำกลับมาเจรจาใหม่ ทั้งนี้เพื่อเรียก ร้องให้ผู้ร่วมลงทุนเข้ามาร่วมรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการลด ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้น นอกจากนี้แล้ว ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(ADB)ควรจะต้องรับผิดชอบในการให้การช่วยเหลือ การแก้ปัญหาเหล่านี้ดัง นโยบายที่ได้ประกาศไว้ว่าประชาชนไม่ควรที่จะถูกปล่อยให้อยู่ในสภาพที่เลวร้ายลงกว่าเดิมอัน เนื่อง มาจากโครงการที่ทางธนาคารได้เป็นผู้สนับสนุนทางการเงิน ผู้ทำการศึกษามีความหวังเป็นอย่างยิ่งต่อความรับผิด ชอบของ หน่วยงานของรัฐบาลลาวเมื่อได้รับทราบถึงข้อมูลความจริงของผลกระทบอย่างรุนแรงที่กำลังเกิด ขึ้นกับประชาชนของตน อย่างถูกต้องชัดเจนแล้วจะได้เร่งดำเนินการแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างเร่งด่วนและ ยุติธรรม

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา