eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

 1.บทนำ

                รายงานฉบับนี้ได้ทำขึ้นโดยนักวิจัยท่านหนึ่งจากการที่ได้ลงไปศึกษาในพื้นที่เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลัง น้ำเทินหินบูน ในประเทศลาวเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 นี้ โดยได้รับ การอนุมัติการสนับสนุนทาง การ เงินในปี พ.ศ.2537 จากรัฐบาลประเทศนอร์เวย์ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และแหล่งเงินทุนอื่นๆทั้งภาครัฐและ เอกชน ( โปรดดูภาคผนวก 1 สำหรับรายละเอียดและความเป็น มาของโครงการ ) โครงการนี้ได้รับการอนุมัติขึ้นถึงแม้จะมีกลุ่ม ต่างๆในประเทศไทย นอร์เวย์และประเทศ ต่างๆที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) แสดง ความห่วงใยว่าผู้เสนอ โครงการนั้นประสบความล้มเหลวในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนลาวทั้งในเรื่องการประเมิน ค่าผลกระทบ และการดำเนินงานตามสัญญาข้อตกลง ประชาชนลาวกว่า 6,000 คนใน 25 หมู่บ้านรอบพื้นที่ โครงการได้ถูก พิจารณาให้เป็น “กลุ่มที่มีความเสี่ยง” [1] ที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการ ในขณะนี้ประชาชนหลายพันคนซึ่งอาศัยอยู่ใน บริเวณลุ่มแม่น้ำเทินและหินบูน ก็กำลังได้รับผลกระทบจากโครงการ

                ในปี พ.ศ. 2539 องค์กร FIVAS แห่งประเทศนอร์เวย์ซึ่งได้เฝ้าติดตามการเข้าไปเกี่ยวข้องกับโครง การดังกล่าวของ รัฐบาลนอร์เวย์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ได้จัดทำรายงานฉบับหนึ่งขึ้นจำนวน 28 หน้า จากการ ศึกษาในพื้นที่โครงการนี้ [2] ซึ่งราย งานฉบับนี้ได้กล่าวถึงประเด็นปัญหาที่น่าตระหนักของโครงการจำนวน มาก ทั้งในเรื่องขบวนการที่ผิดผลาดในการดำเนินงาน ตามสัญญาข้อตกลง การขาดการปรึกษาและการมี ส่วนร่วมจากประชาชนในพื้นที่ ปัญหาผลกระทบของโครงการที่อาจจะเกิด ขึ้นต่อชีวิตของชาวบ้านจำนวน หลายพันคนรวมไปถึงการขาดมาตรการการช่วยเหลือและจ่ายค่าชดเชยที่เหมาะสม แต่ธนาคาร เพื่อการ พัฒนาเอเชีย (ADB) และผู้ร่วมพัฒนาโครงการกลับไม่ได้ให้ความสนใจกับประเด็นปัญหาและข้อตระหนัก ที่ FIVAS ได้เสนอไปนั้นเลย

                ขณะที่เขื่อนเทินหินบูนได้เริ่มดำเนินการ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้เข้าไปมีส่วนใน การรณรงค์ประชา สัมพันธ์ โดยยกย่องโครงการและบทบาทของตนเองในฐานะผู้อำนวยความสะดวกในการ ดำเนินงานโครงการ จากเอกสารประ ชาสัมพันธ์ล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(ADB)เกี่ยวกับโครง การเทินหินบูนได้กล่าวว่า “ทางธนาคารรู้สึกภูมิใจที่ได้ เป็นผู้สนับสนุนผู้สำเร็จ”[3] และในบทความยังได้กล่าว ว่า “ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อโครงการ เทินหินบูน” และ “โครงการนี้ไม่มี ความจำเป็นต้องอพยพโยกย้ายชาวบ้านเลย ” ซึ่งมีนัยว่าโครงการนี้แทบจะไม่มีผลกระทบ ทางด้านลบเลย

               เพื่อเป็นการติดตามประเด็นปัญหาและข้อตระหนักที่ FIVAS ได้เสนอไปนั้นและเพื่อจัดทำรายงาน สถานการณ์ของ ประชาชนลาวที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ผู้ทำการศึกษาได้ถูกร้องขอให้ทำการศึกษา หมู่บ้านในพื้นที่ผลกระทบ และทำการ สัมภาษณ์ชาวบ้านในกลุ่มต่างๆ จากรายละเอียดที่จะได้นำเสนอต่อไป ผู้ทำการศึกษาได้พบว่าประชาชนลาวจำนวนมากได้ ประสบความเดือดร้อนจากผลกระทบของโครงการที่มี ต่อวิถีการดำเนินชีวิตของตนอย่างรุนแรง ทั้งในเรื่องปริมาณการจับปลา ที่ลดลงอย่างมากสำหรับชาวบ้านที่ ต้องพึ่งพิงการประมงซึ่งเป็นทั้งแหล่งอาหารและรายได้หลักของครอบครัว การสูญเสียพื้นที่ เพาะปลูกริมฝั่ง แม่น้ำ การสูญเสียแหล่งน้ำดื่มในฤดูแล้ง ปัญหาอุปสรรคในการคมนาคม และปัญหาจากการที่ต้องอพยพ บ้าน เรือนหรือกระทั่งการอพยพทั้งหมู่บ้าน ผู้ทำการศึกษายังพบว่าแผนงานในการลดปัญหาผลกระทบในรูป แบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีการพิจารณาผลกระทบของโครงการที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างเพียงพอ  

                เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประเทศลาวต้องการการนำเงินเข้าจากต่างประเทศและไม่มีทางเลือก มากนักในการหาเงิน ตราเหล่านั้นมาในทางที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการเขื่อนเทินหินบูนนี้ก็เป็นโครงการหนึ่งที่อาจจะ เป็นส่วนสำคัญในการนำเงินเข้า จากต่างประเทศแก่ประเทศลาว ในขณะที่ประสบการณ์ในประเทศต่างๆได้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าโครงการเขื่อน ขนาดใหญ่ต่างๆที่ได้สร้างขึ้นเมื่อพิจารณาจากผลระยะยาว แล้วจะพบว่าให้ผลประโยชน์ที่น้อยกว่าในขณะที่มีต้นทุนที่สูงกว่า ที่ผู้เสนอโครงการได้ระบุใว้ โครงการ เขื่อนเทินหินบูนมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดรายได้ที่มากกว่าโครงการเขื่อนอื่นๆที่มีใน ประเทศลาว ทั้งโครงการในปัจจุบันและโครงการที่ถูกเสนอเพื่อดำเนินงานในอนาคต แต่ถ้าหากผู้พัฒนาโครงการยังคงละเลย ค่าต้น ทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และล้มเหลวในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อชดเชยปัญหาผลกระทบอย่างเพียง พอ โครงการ ดังกล่าวก็ไม่อาจจะเรียกได้ว่าประสบผลสำเร็จหรือเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและไม่สามารถที่ จะนำไปเป็นต้นแบบในการ พัฒนาแก่ประเทศลาวหรือแม้แต่ประเทศใดๆในภูมิภาคนี้เลย

                รายงานฉบับนี้เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ในประเทศลาว กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียน และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(ADB)ได้ตระหนักถึงการ พัฒนาอย่างยั่งยืนของการผลิตกระแส ไฟฟ้าพลังน้ำและการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศลาว โดยมีวัตถุประ- สงค์หลัก 3 ประการคือ

                1.เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงผลเสียหายที่ได้เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำเทินและหินบูน

                2.เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการประเมินผลกระทบและการตีค่าความเสียหายทาง เศรษฐกิจและสิ่ง แวดล้อมที่เกิดขึ้นจากโครงการในรายละเอียดต่อไป                                 

                3.เพื่อที่จะเป็นการเรียกร้องและวิงวอนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบและผู้ร่วมลงทุนในการสร้าง เขื่อนเพื่อที่ว่าประ เด็นปัญหาเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามความต้องการของ ชาวบ้าน 

                รายงานฉบับนี้ได้ถูกจัดทำให้กับองค์กรเครือข่ายแม่น้ำสากล ( International Revers Network, IRN )  ( ตั้งอยู่ที่เมือง เบิร์คเลย์ (Berkley) ในประเทศสหรัฐอเมริกา, ผู้แปล ) โดย Bruce Shoemaker นักวิจัยอิสระ ชาวเมืองมินเนียโพลิส (Minneapolis) รัฐมินเนโซตา ( Minnesota ) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้อาศัยอยู่ใน ประเทศลาวมาเป็นเวลากว่า 7 ปี ( พ.ศ. 2533 - 2540 ) และทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนหลายองค์กร ในประเทศลาว ผู้ทำการศึกษาได้ทำการศึกษาพื้นที่โครงการ ดังกล่าวในฐานะแขกของสำนักงานคณะกรรม การการจัดการสิ่งแวดล้อม ( Environmental Management Committee Office, EMCO ) ของบริษัทเทินหิน- บูนเพาเวอร์(THPC) และขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการจัดการสิ่งแวดล้อม และของ บริษัทเทินหินบูนเพาเวอร์มา (THPC)  ณ ที่นี้ด้วยที่ได้ให้การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการศึกษา พื้นที่ดัง กล่าวเป็นอย่างดี



[1] Midas/Burapha, Theun-Hinboun Environmental Studies in Lao PDR: Draft Final Report, Vientiane, June, 1995. Page 9-10 

[2] Fivas, More water, more fish?: A report on Norwegian involvement in the Theun-Hinboun Hydropower Project in Lao PDR, Oslo,Norway,1996.

[3] “Hydropower project to increase Lao PDR’s GDP by 7 percent,” ADB Review, Nov.-Dec. 1997, Asian Development Bank, Manila, Page 8.

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา