eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

2.ผลกระทบของโครงการ    

“ คะเจ้าปล่อยน้ำแล้ว น้ำขุ่น บ่ได้กินปลา ”

 ( หญิงชาวประมงจากหมู่บ้านสองห้อง ที่ทำการประมงในแม่น้ำหินบูน, มีนาคม พ.ศ. 2541)

                เพื่อประเมินผลกระทบที่ชาวบ้านกำลังประสบจากโครงการ ผู้ทำการศึกษาได้ไปทำการศึกษาใน พื้นที่ที่ได้รับผล กระทบระหว่างวันที่ 2 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 เป็นเวลา 3 วัน ภายหลังที่มีการปิดเขื่อน 2 เดือน ขณะทำการสัมภาษณ์ซึ่งเป็น ภาษาลาวนั้นไม่มีเจ้าหน้าที่ของโครงการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าร่วม ด้วย การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาทั้งหมด 10 หมู่บ้าน ใน 3 พื้นที่ต่างกัน คือ 1.พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 2.พื้นที่ ลุ่มแม่น้ำเทินตอนล่าง (กะดิ่ง) และ 3.พื้นที่บริเวณแม่น้ำไฮและหินบูนตอน ล่าง (โปรดดูแผนที่) การศึกษา ได้ทำการสัมภาษณ์ชาวบ้านจำนวน 60 คนใน 17 กลุ่ม โดยประกอบด้วยชาวบ้านหลายกลุ่มทั้ง ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก เจ้าของแผงขายปลา เจ้าของร้านค้า ชาวประมง หัวหน้าหมู่บ้าน คนขับเรือ และอื่นๆ

                จากผลสรุปของการสัมภาษณ์ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโครงการเขื่อนเทินหินบูนได้ก่อให้เกิดความ เสียหาย ต่อการดำเนินชีวิตของชาวบ้านจำนวนมากในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเทินและหินบูน ชาวบ้านในทั้ง 3 พื้นที่ศึกษาได้กล่าวเป็นเสียงเดียว กันถึงการลดลงอย่างมากในปริมาณปลาที่จับได้ซึ่งลดลงเฉลี่ยโดยประมาณ 30 - 90 % และพวกเขายังได้กล่าวถึงการสูญเสีย พื้นที่เพาะปลูกริมฝั่งแม่น้ำ การสูญเสียแหล่งน้ำดื่มในฤดูแล้ง ปัญหาการคมนาคม และในบางพื้นที่ชาวบ้านต้องอพยพบ้าน เรือนโดยไม่ได้รู้สึกว่าพวกเขาได้รับการช่วย เหลืออย่างเพียงพอ

                พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเทินตอนล่าง (กะดิ่ง)

                แม่น้ำเทินช่วงที่ไหลจากบริเวณตัวเขื่อนไปจนถึงแม่น้ำโขงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าแม่น้ำกะดิ่ง ไหล ผ่านพื้นที่ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติน้ำกระดิ่ง ( Nam Kading National Biodiversity Con- servation Area, NBCA ) เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร และหมู่บ้านมากมายตลอดลำน้ำซึ่งพึ่งพาการ จับปลาเป็นอาหารและรายได้หลักของ ครอบครัว ผู้ดำเนินโครงการได้พิจารณาให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ นอกเขตผลกระทบโดยตรง แต่ในความเป็นจริงแล้วหมู่บ้าน ตลอดลำน้ำกะดิ่งจนบรรจบแม่น้ำโขงกำลังได้ รับผลกระทบจากการปิดเขื่อน ในพื้นที่จากช่วงระหว่างพื้นที่อนุรักษ์ความหลาก หลายทางชีวภาพแห่งชาติ น้ำกะดิ่ง (NBCA) ลงไปถึงจุดที่บรรจบกับแม่น้ำโขงนี้มีทั้งหมด 3 หมู่บ้านที่ได้ลงไปทำการศึกษา

                หมู่บ้านปากกะดิ่ง (Ban Pak Kading) หมู่บ้านแห่งนี้เป็นชุมชนที่เป็นตลาดใหญ่ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำ กะดิ่งบนถนน หมายเลขที่ 13 ในจังหวัดบอริคำไซ ที่นี่มีตลาดและร้านค้าอยู่มากซึ่งรับซื้อปลาจากชาวประมง จากแม่น้ำกะดิ่งไปขายในร้าน อาหาร หรือส่งไปขายที่เวียงจันท์ เจ้าของร้านค้าหลายคนได้ยืนยันว่าปลาที่จับ ได้จากแม่น้ำกะดิ่งได้ลดลงอย่างรวดเร็วหลัง จากที่ปิดเขื่อนมา

                 “ข่อยซื่อปลาโดยตรงจากชาวบ้าน พวกเขาจะข้ามสะพานมาขายทุกเช้า หน้าแล้งปีนี้มีปลาน้อยมาก ทำให้พวกเขา ไม่ได้มาขายเลยตั้งแต่ปิดเขื่อน ข่อยคิดว่าปลาแม่น้ำกะดิ่งที่ขายอยู่ในตลาดตอนนี้ลดลงไปประ- มาณ 70 % เมื่อเทียบกับปีที่ แล้วในฤดูนี้” เจ้าของร้านอาหาร เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541 ที่บ้านปากกระดิ่ง      

                 หมู่บ้านโพเซ (Ban Phosay) หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนถนนหมายเลขที่ 13 ห่างไปทางใต้จากหมู่บ้านปาก กะดิ่ง อยู่บนฝั่ง ด้านซ้ายของแม่น้ำกะดิ่ง หลายกิโลเมตรเหนือลำน้ำขึ้นไปจากปากกะดิ่ง ผู้ศึกษาได้สัมภาษณ์ ชาวประมง 2 คนและชาวบ้านอีก 3 คนซึ่งมาซื้อขายปลาในตลาดเล็กๆแห่งหนึ่ง พวกเขาต่างเห็น ด้วยว่าปริมาณปลาที่จับได้ลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากการปิดเขื่อน และการผันน้ำออกจากแม่น้ำกะดิ่ง นอก จากนี้ชาวบ้านในตลาดยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่ามีอีก 2 หมู่บ้านซึ่งไม่ได้เข้าไปศึกษาก็ กำลังได้รับความเดือด ร้อนจากการลดลงของปลาอยู่เช่นเดียวกัน

                “แต่ก่อนเราจับปลาได้อย่างพอกินและพอขาย ปลาจากแม่น้ำกระดิ่งส่วนมากจะถูกขายไปที่เวียงจันท์เพราะมันมีรส ชาติ ดีกว่าปลาจากแม่น้ำงึม เดี๋ยวนี้เราจับปลาได้แค่พอกินแต่ไม่พอที่จะขายในตลาด ปัญหาอย่างหนึ่งคือคนหาปลามันมากขึ้น ปลาก็เลยจับได้น้อยลง แต่เมื่อหลังปิดเขื่อนมานี้ยิ่งแย่หนักไปกว่า เก่า”  ชาวประมงคนหนึ่งในตลาดที่หมู่บ้านโพเซ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541

                “คนในบ้านหาดทรายคำ บ้านโพงาม บ้านปากซม และบ้านโพเซ ทั้งหมดต่างต้องพึ่งการหาปลาจาก แม่น้ำกระดิ่งทั้ง นั้น แต่ในขณะนี้ทุกหมู่บ้านกำลังเจอกับปัญหาเดียวกันคือปลามันหายากขึ้น มันลดลงไป ประมาณ 50 - 70 %”  หญิงชาวบ้าน ที่มาขายปลาที่ตลาดในหมู่บ้านในหมู่บ้านโพเซ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541

                หมู่บ้านโพงาม( Ban Phongam ) หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำกระดิ่งไม่ไกลจากถนนหมายเลขที่ 13 เหนือลำน้ำขึ้น ไปจากหมู่บ้านโพเซเพียงไม่กี่กิโลเมตร จากรายงานขององค์กร FIVAS ได้บันทึกไว้ว่า “การ ประมงมีความสำคัญต่อชาวบ้าน ที่นี่เป็นอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านกินปลาเป็นอาหารหลักเกือบทุกวัน และ มีรายได้หลักจากการขายปลา โดยเฉลี่ยแล้วพวก เขาจะจับปลาได้ประมาณวันละ 1 กิโลกรัม และในบางวัน ช่วงฤดูหาปลา ( ช่วงฤดูปลาอพยพ )สามารถจับได้ถึงวันละ 20 - 30 กิโลกรัม” [1]

                ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2541 ชาวบ้าน 6 คนได้บอกว่าหลังจากที่ได้มีการปิดเขื่อนปริมาณการจับปลา เฉลี่ยในปัจจุบัน ลดลงอย่างน้อย 50 %   จากที่เคยจับได้ในแต่ละปีในฤดูเดียวกันนี้ซึ่งทำให้กระทบต่ออาหาร และรายได้ของพวกเขา

                “ตั้งแต่ปิดเขื่อนมาปีนี้น้ำในแม่น้ำลดลงต่ำสุดเท่าที่เคยเห็นมาในฤดูนี้ ปลาที่เคยอยู่ในแม่น้ำมันหนี ลงโขงไปหมด แล้ว”  ของชาวบ้านหมู่บ้านโพงาม เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541

                “พวกข้าราชการผู้ใหญ่เขาเคยลงมาดูพวกเรา และบอกกับพวกเราว่าเขาจะลดระดับน้ำลงและมันจะ ได้ทำให้เรามี สวนปลูกผักที่ฝั่งน้ำ มันจริงอยู่ที่ว่าเราสามารถทำสวนในหน้าแล้งบนริมฝั่งแม่น้ำง่ายขึ้นกว่า ก่อน แต่ว่าปลาสำคัญกับพวกเรา มากกว่าการทำสวนพวกเราหาปลาที่นี่ตลอดทั้งปี” อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้าน โพงาม เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541

                “ปัญหาอีกอย่างคือการเดินทางทางเรือ ที่นี่เราใช้แม่น้ำเป็นหลักในการเดินทาง แต่เมื่อน้ำใน แม่น้ำลดต่ำลงปัญหาก็มี ขึ้น เรามีสวนผลไม้ทั้งที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามโน้นและเหนือลำน้ำนี้ขึ้นไป เราต้องใช้เรือ ตลอดในการบรรทุกพวกผลไม้ลงไปยัง หมู่บ้าน เช่น พวกแตงโม แต่เดี๋ยวนี้เรือเราวิ่งไม่ได้เพราะน้ำมันตื้น เดี๋ยวนี้เราก็เลยอยากได้ถนน” ชาวบ้านหมู่บ้านโพงาม เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541


[1] FIVAS, 1996, Page 16.

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา