eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

พื้นที่บริเวณแม่น้ำไฮ และแม่น้ำหินบูนตอนล่าง

                น้ำในแม่น้ำเทินได้ถูกผันผ่านจากอาคารผลิตไฟฟ้า ( Power House ) คลองส่งน้ำ และอ่างพักน้ำ แล้วลงไปสู่แม่น้ำ ไฮซึ่งปรกติเป็นเพียงลำน้ำเล็กๆและไหลในบางฤดูกาลเท่านั้น แม่น้ำไฮมีระยะทางหลาย กิโลเมตรจน ไปบรรจบกับน้ำหิน บูนซึ่งไหลต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตรจนไปบรรจบกับแม่- น้ำโขง ถึงแม้จะมีหมู่บ้านหลายหมู่บ้านตั้งอยู่ ตลอดริมฝั่งแม่น้ำทั้งสองนี้ แต่มีเพียงบางหมู่บ้านเท่านั้นที่ตั้งอยู่ ใกล้กับโครงการและใต้ลงไปบริเวณปากแม่น้ำไฮกับแม่น้ำ หินบูนที่ทางโครงการและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB)ระบุว่าเป็นหมู่บ้านที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการ การสัมภาษณ์ได้ยืนยันว่าชาว บ้านจากหมู่บ้านน้ำสนานตลอดทางลงไปถึงแม่น้ำโขงก็กำลังประสบกับปัญหาความเดือดร้อน จากโครงการ

                อำเภอเมืองหินบูน ตั้งอยู่ใต้ลงไปไม่ไกลจากจุดที่ทางหลวงหมายเลขที่ 13 ตัดกับแม่น้ำหินบูนใน จังหวัดคำม่วน ประชาชนจำนวนมากที่นี่เป็นข้าราชการในตัวอำเภอหินบูน ถึงแม้ว่าพื้นที่นี้จะอยู่ไกลออกไป จากโครงการทางตอนล่างของ แม่น้ำ พวกเขาก็ยังได้รับผลกระทบจากการลดลงของปลาและกำลังเป็นกังวล ถึงคุณภาพน้ำในแม่น้ำหินบูน หมู่บ้านสอง ห้องก็เป็นหมู่บ้านหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บริเวณนี้บนฝั่งด้านซ้ายของแม่น้ำ หินบูนไม่ไกลจากตัวอำเภอมากนัก

                “การจับปลาเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากเขื่อนได้ปล่อยน้ำลงมาซึ่งไหลแรงและขุ่น มากทำให้ปลา หนีไปเกือบจะหมดอาจจะมากถึง 90 % เมื่อก่อนนี้พวกเราหาปลากันหมดแต่เดี๋ยวนี้มันทำให้ เราเสียเวลาเปล่าๆ ทุกวันนี้แม้ แต่ในตลาดก็ยังหาปลาจากแม่น้ำหินบูนแทบจะไม่ได้ ตั้งแต่เขื่อนปล่อยน้ำออก มาราคาปลาแพงขึ้นไปเท่าหนึ่ง เราเห็นแต่ ปลาตัวเล็กๆจากแม่น้ำเล็กๆเหนือน้ำขึ้นไปแถวหมู่บ้านหนองบัว ซึ่งพวกเขาก็หาปลาอยู่เหมือนกัน พวกชาวบ้านแต่ก่อน จะมาขายปลาในตลาดแต่เดี๋ยวนี้เราไม่เห็นพวกเขาเลย ” ข้อคิดเห็นจากข้าราชการ 3 ครอบครัวในอำเภอหินบูน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2541

                “แต่ก่อนข่อยเคยจับปลาได้วันละ 3 - 4 กิโลกรัมเมื่อเขื่อนได้ปล่อยน้ำลงมาตอนนี้จับปลาได้อย่าง มากแค่วันละ 1-2 กิโลกรัม” หญิงชาวประมงที่หาปลาในแม่น้ำหินบูน ที่หมู่บ้านสองห้อง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2541

                หมู่บ้านวังดาว( Ban Vang Dao ) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำหินบูนใต้ลงไปจากจุดบรรจบของแม่น้ำไฮกับ แม่น้ำหินบูน  รายงานขององค์กร FIVAS เมื่อปี พ.ศ. 2539 ได้กล่าวถึงความสำคัญของการประมงที่มีต่อ หมู่บ้านนี้ ความกังวลของชาวบ้าน เรื่องน้ำท่วม และความหวังของพวกเขาต่อผลประโยชน์ที่จะเกิดจาก โครงการ เช่น เรื่องการชลประทานและปลาที่จะมีให้จับ มากขึ้น เหนือขึ้นไปจากจุดที่บรรจบกับแม่น้ำไฮ น้ำ ในแม่น้ำหินบูนในฤดูแล้งจะไหลอย่างช้าๆและใสสะอาดแต่ที่หมู่บ้าน วังดาวใต้ลงไปไม่ไกลจากจุดที่ตัดกับแม่น้ำไฮ นี้น้ำจะมีลักษณะขุ่นและไหลเร็วมาก ในช่วงการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ กับผู้ศึกษา ชาวบ้าน ประมาณ 15 คนได้พูดถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นจากโครงการ               

               “ก่อนที่เขื่อนจะปิดและน้ำเอ่อท่วมขึ้นมาในฤดูแล้งพวกเราจะกินน้ำจากบ่อริมฝั่งแม่น้ำ และในหน้า ฝนเราก็มีน้ำ จากลำธารอื่นๆใกล้เคียง แต่ตอนนี้บ่อน้ำถูกน้ำขุ่นๆพวกนั้นท่วมหมดแล้วเราต้องเดินทางไป ไกลเพื่อหาน้ำกิน พวกโครงการ บอกกับพวกเราว่าเขาจะจ่ายเงินให้กับเรา 200,000 กีบ ( ประมาณ 80 เหรียญ สหรัฐ ) สำหรับการขุดน้ำบาดาลแต่จนถึงทุก วันนี้เราก็ยังไม่ได้รับเงินเลยถึงแม้เราจะได้ไปทวงถามหลายต่อ หลายครั้ง แม้แต่ในวันนี้ผู้ใหญ่บ้านของเราก็ได้ไปที่ตัว โครงการเพื่อถามอีกครั้ง แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเงินแค่ 2 แสนกีบนั้นมันไม่เพียงพอกับการขุดน้ำบาดาล ” ชาวบ้านที่หมู่บ้าน วังดาว เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541

                “ปลามันหายไปหมดแล้ว เมื่อปีก่อนมันยังมีเยอะอยู่เลย เรากินปลาเกือบทุกวันและบางส่วนเราก็เอา ไปขาย แต่ ทุกวันนี้แย่หนักจริงๆ ปลาหายไปเกือบหมดประมาณ 90 %หรืออาจจะมากกว่านี้ด้วยซ้ำ การหา ปลาแถวเหนือขึ้นไปจาก ปากแม่น้ำไฮดีกว่าแถวนี้ แต่หมู่บ้านอื่นเขาก็ทำอยู่ก่อนแล้วมันเลยยากที่เราจะไปหา ปลาที่นั่นอีก” ชาวบ้านที่หมู่บ้านวังดาว เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541

                “ในหลายปีที่ผ่านมาเรามีปัญหาหนักเรื่องน้ำท่วมในบางทีน้ำท่วมล้นตลิ่งจนเข้ามาในบ้านเรา แต่ทุก วันนี้เราเป็น ห่วงว่ามันจะแย่กว่าเก่าด้วยซ้ำ นาข้าวเราที่นี่ตอนที่น้ำยังไม่ท่วมเราทำนาได้ผลดีมาก  หลายคน ต้องการที่จะย้ายแต่เราก็ไม่รู้ จะทำอย่างไร เราอยากย้ายไปอยู่ตอนบนแต่ทางการบอกว่าให้ดูรอไปก่อน” ชาวบ้านที่อยู่บ้านวังดาวเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541

                 “ในหน้าแล้งทุกปีเราจะทำสวนผักตามฝั่งแม่น้ำหินบูนซึ่งตอนนี้ถูกน้ำท่วมไปหมดแล้ว เราพยายาม ที่จะทำสวน ผักในที่ดินที่ไกลออกไปทางโน้นแต่ว่ามันต้องใช้เวลานานเหมือนกันและที่มันก็มีไม่มาก” ชาวบ้านที่หมู่บ้านวังดาวเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541

                “ หมู่บ้านเราก็เจอปัญหาในสภาพเดียวกัน พวกโครงการได้บอกกับพวกเราว่าจะช่วยเหลือเรื่องน้ำ การขุดน้ำ บาดาลและท่อน้ำก่อนที่เขื่อนจะปล่อยน้ำแต่ว่าจนมาถึงตอนนี้น้ำมันก็ได้ท่วมขึ้นมาแล้วแต่เราก็ยังไม่ได้รับอะไร เลย เราถูก พวกเขาหลอก อย่างนี้มันไม่ยุติธรรมเลยคุณคิดว่ายังงั้นมั้ย” ชาวบ้านจากหมู่บ้าน ดอนซึ่งตั้งอยู่ไกลไปทางใต้ตามลำน้ำจาก หมู่บ้านวังดาวซึ่งได้ให้สัมภาษณ์ที่บ้านวังดาวเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา