eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

มาตรการการอพยพ : การจัดสรรที่ดินทำกิน หรือเพียงแค่การย้าย

           ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(ADB)และบริษัทเทินหินบูนเพาเวอร์(THPC) ได้กล่าวยืนยันว่าไม่มี การอพยพชาวบ้านสำหรับเขื่อน เทินหินบูน ซึ่งมันเป็นการบิดเบือนความจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ในขณะที่ ความจริงชาวบ้านต้องอพยพหนีเนื่องจากปัญหาผลกระทบกลับ ไม่มีการกล่าวถึงเลย โครงการเขื่อนเทินหิน บูนได้ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพจำนวนมากและที่จะเกิดขึ้นตามมาอีกในอนาคต และโครงการ ก็แทบจะไม่ ได้มีการจัดสรรงบประมาณในการช่วยเหลือหรือชดเชยแก่ชาวบ้านที่ต้องการย้ายอันเนื่องมาจากผลกระทบ จากโครงการเลย  

                จากรายงานการศึกษาซึ่งดำเนินงานโดยองค์กรกองทุน NORAD ( Norwegian Agency for Develop- ment ) ได้ระบุว่าปัญหาการ พังทลายของตลิ่งรอบตัวเขื่อนซึ่งกำลังเกิดอยู่ในขณะนี้อาจจะเป็นผลให้ครัวเรือน ประมาณ 20-30%[1] ในพื้นที่ 4 หมู่บ้านต้องอพยพ ที่หมู่ บ้านสบเงิงชาวบ้านกล่าวว่ามีจำนวน 16 ครัวเรือน จากทั้งหมด 50 ครัวเรือนที่เคยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านได้ย้ายออกไปแล้วตั้งแต่เริ่มมีการก่อ สร้าง บ้างก็ย้ายไปที่ หมู่บ้านท่าบาก บ้านนาหิน และบ้างก็ไกลไปถึงบ้านหลักเสา ความไม่แน่นอนและความวิตกกังวลเกี่ยวกับ สถานการณ์ ปัญหาที่เป็นอยู่ที่เกิดจากโครงการคือปัจจัยหลักที่ทำให้พวกเขาย้าย ชาวบ้านที่บ้านน้ำสนาน ใกล้กับคลองส่งน้ำรายงานว่าทางหน่วยงาน ราชการเคยบอกว่าพวกเขาจะต้องย้ายหมู่บ้านกว่าร้อยหลังคา- เรือนเนื่องจากพื้นที่หมู่บ้านพวกเขามีความเสี่ยงต่อการที่จะถูกน้ำท่วม พื้นที่ ด้านตรงกันข้ามกับคลองส่งน้ำ บริเวณใกล้ๆกับตัวอาคารผลิตไฟฟ้าได้ถูกเตรียมไว้รองรับซึ่งได้ระบุไว้ในรายงานการศึกษาของบริษัท บูรพารูรอลดิเวลอปเมนท์ ( Burapha Rural Development ) และจากเอกสารของบริษัทเทินหินบูนเพาเวอร์ (THPC) ชาวบ้านขณะนี้ต่าง กำลังหวาดกลัวอย่างมากกับเรื่องที่จะถูกน้ำท่วม และพวกเขาก็ต้องการที่จะย้าย แต่ก็ยังลังเลอยู่ เพราะว่ายังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆเลย การย้ายจะมีปัญหามากทั้งเรื่องการที่ต้องใช้แรง งานจำนวนมากและปัญหาการที่ต้องสูญเสียสวนผักไม้ผลที่มีอยู่ในพื้นที่เดิม

                หลายหมู่บ้านตามฝั่งแม่น้ำไฮและแม่น้ำหินบูนต่างก็แสดงถึงความกลัวอย่างเดียวกันเรื่องน้ำท่วม และคิดว่าพวกเขาอาจจะต้องย้าย เช่นกัน ในที่สุดแล้วผลกระทบของโครงการที่ได้กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้ก็อาจจะ ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพหาที่อยู่ใหม่ที่ไกลออกไป เจ้าหน้าที่ โครงการ สื่อสารมวลชน และบริษัทที่ปรึกษา เมื่อได้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดต่างก็พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ว่าเป็น “การอพยพ หนีภัย”  มากกว่า การอพยพเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ในที่จัดสรร แต่ชาวบ้านเองไม่ได้มองว่า 2 อย่างนี้แตกต่างกันเลย  

 


[1] Midas/Burapha, Theun-Hinboun Environmental Studies in Lao PDR: Draft Final Report, Vientiane, June, 1995. Page 45.

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา