eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

คำประกาศราษีไศล

ฉบับภาษาอังกฤษคลิกที่นี่

รับรอง ณ การประชุมนานาชาติของผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนและองค์กรพันธมิตร ครั้งที่ ๒
ราษีไศล ประเทศไทย ๒๘ พฤศจิกายน – ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖

           

แรงบันดาลใจจากราษีไศล

            พวกเราผู้เข้าร่วมประชุมกว่า ๓๐๐ คนจาก ๖๒ ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อน นักสู้ผู้ คัดค้านเขื่อน นักกิจกรรมการพัฒนาเพื่อความสมดุลย์และยั่งยืนในการจัดการน้ำและพลังงานประชุม กันที่ราษีไศล ประเทศไทย เราได้พบกัน ณ ดินแดนที่ได้รับการฟื้นฟูเพื่อชีวิตภายหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อน บัดนี้ประตู เขื่อนราษีไศลได้เปิดออกแล้ว สายน้ำได้ไหลผ่านอีกครั้ง ในขณะที่ผลผลิตเริ่มงอกเงย หมู่ปลาได้หวนกลับคืนมา ชีวิตชุมชนเริ่มก่อตัวขึ้นอีกครั้ง ผู้ประสบภัยจากการ สร้างเขื่อนของไทยได้ถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิต การตัดสินใจ และบทเรียนการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ชีวิต แม่น้ำ เขตแดน วัฒนธรรม และ อัตลักษณ์ แก่พวกเราและประชาชนทั่วโลก

           น้ำเพื่อชีวิต มิใช่เพื่อความตาย ! คำประกาศในการประชุมผู้เดือดร้อนจากการ สร้างเขื่อนนานาชาติครั้งแรก ที่เมืองคูริทิบา ประเทศบราซิลเมื่อปี ๒๕๔๐ ได้ปรากฏเป็นจริงที่ราษีไศล ประเทศไทย

ความสำเร็จของเรา

           นับแต่การประชุมที่คูริทิบา พวกเราได้ผลักดันให้เกิดความคืบหน้าในการต่อสู้อย่างมาก ตามลุ่มน้ำต่าง ๆ ปฏิบัติการรณรงค์แล ะระดมสรรพกำลังของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบได้ท้าทายอุตสาหกรรมเขื่อน รัฐบาล และสถา บันการเงิน ขบวนการเพื่อคัดค้านเขื่อน จากนานาชาติได้แสดงศักยภาพในการท้าทายต่ออุตสาหกรรมเขื่อนทั้งในด้าน เทคนิค การเมือง และจริยธรรม เราได้หยุดเขื่อนและปลด ระวางเขื่อนบางแห่ง ในบางพื้นที่เราประสบผลสำเร็จในการ เรียกร้องสิทธิในการได้รับค่าปฏิกรณ์ความเสียหายอย่างเป็นธรรม

           ผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนและองค์กรพันธมิตรมีบทบาทอย่างสำคัญในการเข้าร่วมเป็นผู้ตัดสินใจและ เป็นผู้กำหนดชะตา กรรมของตนเอง

           เราประสบความสำเร็จในการดำเนินการจัดการน้ำในระดับชุมชนที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ทั้งทางสังคม และ สิ่งแวดล้อม เรามีส่วนสนับสนุนให้เกิดพัฒนาการอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนแบบใหม่ ๆ รวมถึงการจัดการด้านความต้องการพลังงาน

           การเติบโตของขบวนการต่อสู้ของเรา เป็นผลมาจากการกระชับความร่วมมือของกลุ่มชนพื้นถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ ขบวนการ ประชาชน ระดับรากหญ้า องค์กรพัฒนาภาคเอกชน และระหว่างประชาสังคมจากทั้งประเทศกลุ่มเหนือ และ ประเทศกลุ่มใต้ เราได้ สมานฉันท์กับขบวนการต่อสู้ของกลุ่มระดับโลกที่รวมตัวต่อต้านลัทธิเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ และ ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสังคม ที่เสมอ ภาคและเป็นธรรม
           กระบวนการของคณะกรรมการเขื่อนโลก ถือเป็นความสำเร็จที่สำคัญยิ่งในช่วงระยะเวลา ๖ ปีที่ผ่านมา รายงานฉบับสมบูรณ์ ของคณะกรรมการเขื่อนโลกถือเป็นบทวิพากษ์ที่สำคัญต่อการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างชัดแจ้ง แม้ว่ารายงานฉบับนี้ไม่ได้ตั้งคำถาม ต่อ ความผิดพลาดของแบบแผนการพัฒนาตามแนวเสรีนิยมใหม่ แต่ข้อเสนอแนะ ของคณะกรรมการเขื่อนโลกก็ได้กำหนดกรอบกระบวน การ ตัดสินใจที่เป็นประชาธิปไตย มีความโปร่งใส และความรับ ผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

ความท้าทายของเรา

           ในอดีต พวกเรามักได้รับการบอกกล่าวว่า เขื่อนขนาดใหญ่นำมาซึ่งการพัฒนา ปัจจุบันนักสร้างเขื่อนยังกล่าวอ้างอีกว่า เขื่อน ขนาดใหญ่มีความสำคัญต่อการบรรเทาปัญหาความยากจน และลดช่องว่างระหว่างประเทศกลุ่มเหนือและกลุ่มใต้ ในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา ได้ปรากฏให้เห็นชัดแจ้งว่าคำกล่าวดังว่านั้นเป็นเพียงเรื่องหลอกลวงทั้งเพ ยุคสมัยของเขื่อนขนาดใหญ่ได้นำมาซึ่งความเหลื่อมล้ำ ไม่เสมอ ภาคระหว่างประเทศกลุ่มเหนือและใต้ที่ไม่สามารถยอมรับได้ และช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่นับวันจะขยายกว้างมากขึ้นทุกที

          เราขอประณามคำกล่าวอ้างโคมลอยที่ว่า เขื่อนขนาดใหญ่และโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำช่วยลดปัญหาโลกร้อนจากปรากฏการณ์ เรือนกระจก

          ชนพื้นถิ่นถูกคุกคามทั้งทางด้านเขตแดน ผืนดิน และทรัพยากร การใช้กำลังทหารในการจัดการกับโครงการเหล่านี้ถือเป็นการ ล่วง ละเมิดสิทธิมนุษยชนและคุกคามต่อการอยู่รอดของชนพื้นถิ่น

           การแปรรูปกิจการรัฐวิสาหกิจให้เป็นของบรรษัทธุรกิจเอกชนได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ล้มเหลวทั่วโลกมานาน กว่าทศวรรษแล้ว ก็ตาม

           เราขอยืนหยัดคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของบรรษัทธุรกิจเอกชนซึ่งจะทำให้น้ำและแม่น้ำอันเป็นปัจจัยสำคัญของ ชีวิต ต้องตกอยู่ในมือของ บรรษัทธุรกิจ ภายใต้ระบบกลไกตลาด

           โครงการเชื่อมลำน้ำ และผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำต่าง ๆ รวมถึงอภิมหาโครงการข้ามชาติที่เกี่ยวกับน้ำได้สะท้อนให้เห็นถึงความ ไร้ศักยภาพ ของบรรดาผู้สนับสนุนเขื่อน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล บรรษัท และบรรดานักเทคนิคในการเรียนรู้และเข้าใจถึงผลกระทบ อันเนื่องมาจาก โครงการขนาดใหญ่ ตลอดจนความล้มเหลวทั้งทางเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ของโครงการขนาดยักษ์เหล่านี้

           การโยกย้ายอุตสาหกรรมที่ต้องใช้พลังงานมากๆ เช่น อุตสาหกรรมอลูมิเนียม จากประเทศอุตสาหกรรมกลุ่มเหนือไปสู่ประเทศกลุ่มใต้ จากประเทศศูนย์กลางไปยังประเทศบริวาร ทำให้ประเทศกลุ่มใต้หรือประเทศบริวารต้องแบกรับภาระการเงินเพิ่มมากขึ้น เกิดหนี้ต่างประเทศ อย่างมากมาย และได้รับหายนะจากโครงการเขื่อนขนาดใหญ่

ข้อเรียกร้องของเรา

จากประสบการณ์ร่วมของเรา รวมกับ ๕ วันที่พวกเราได้ร่วมกันแลกเปลี่ยน เราเห็นพ้องต้องกันว่า

๑.   เรารับรองและยืนยันในหลักการและข้อเรียกร้องตามคำประกาศคูริทิบา พ.ศ. ๒๕๔๐

๒.   เราคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนใดๆ ก็ตามที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เราคัดค้านเขื่อนใดๆ ก็ตามที่มิได้รับความเห็นชอบ และฉันทานุมัติจากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ หลังจากที่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการ ตัดสินใจ และเราต่อต้านโครงการเขื่อนใดก็ตามที่ไม่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของชุมชน

๓.   เราเรียกร้องให้มีการเคารพภูมิปัญญาของชนพื้นถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ การจัดการทรัพยากรตามแบบแผนประเพณี และสิทธิส่วนรวมในการกำหนดอนาคตของตนเองอย่างเป็นอิสระ ตลอดจนความเห็นชอบในการวางแผนและร่วมตัดสินใจในการจัดการน้ำและพลังงาน

๔.   จะต้องคำนึงถึงความเสมอภาคหญิงชายในนโยบาย แผนงานและโครงการด้านน้ำและพลังงาน

๕.   รัฐและภาคธุรกิจเอกชนจะต้องหยุดการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ทั้งการข่มขู่ บีบบังคับ ปราบปรามประชาชน และใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงจัดการกับผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนรวมถึงกลุ่มองค์กรประชาชนผู้คัดค้านเขื่อน

๖.   จะต้องมีการชดใช้ค่าปฏิกรณ์ความเสียหายให้กับประชาชนและชุมชน โดยการเจรจากับผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนนับล้านคน รวมถึงการจัดตั้งกองทุน การจัดสรรให้มีที่ดิน ที่อยู่อาศัย และสาธารณูปโภคอย่างเพียงพอ โดยที่เจ้าของแหล่งเงินทุน เจ้าของโครงการ และผู้ได้รับผลประโยชน์จากเขื่อนไปแล้ว จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในค่าปฏิกรณ์ดังกล่าว

๗.   ต้องมีการดำเนินการอันรวมถึงการปลดระวางเขื่อนเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์และวิถีชีวิตของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อน และเพื่อรักษาความหลากหลายด้านชีวภาพของแม่น้ำเอาไว้

๘.   เราปฏิเสธการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและน้ำให้เป็นของบรรษัทธุรกิจเอกชน เราเรียกร้องให้มีกลไกการควบคุมและตรวจสอบความรับผิดชอบจากสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและเป็นประชาธิปไตย รวมถึงมีการควบคุมสาธารณูปการด้านน้ำและไฟฟ้า

๙.   รัฐบาล สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หน่วยงานส่งเสริมการส่งออก และบรรษัทธุรกิจเอกชนจะต้องดำเนินการตาม ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการเขื่อนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความเห็นชอบจากสาธารณะและฉันทานุมัติจากชุมชน การชดใช้ค่าปฏิกรณ์ความเสียหาย และการประเมินทางเลือกอย่างรอบด้าน ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการเขื่อนโลกควรได้รับการผนวกเข้าไปเป็นส่วนสำคัญของนโยบายและกฎหมาย รวมทั้งกิจกรรมระดับภูมิภาค

๑๐.  รัฐบาลและบรรษัททุนภาคเอกชนจะต้องให้หลักประกันในการลงทุนอย่างเต็มที่ในด้านการศึกษาวิจัย และดำเนินการด้านเทคโนโลยีพลังงาน และการจัดการน้ำที่ยั่งยืนและเป็นธรรม รัฐจะต้องดำเนินการตามนโยบายที่จะลดกากของเสีย การบริโภคที่มากและฟุ่มเฟือย และให้มีหลักประกันในการกระจายความมั่นคงผาสุกอย่างเท่าเทียม

๑๑.  หยุดยั้งโครงการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำ และโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ

๑๒.  ให้มีการยุติตลาดการค้าคาร์บอนระหว่างประเทศ

๑๓.  ทางน้ำเพื่อการเดินเรือจะต้องเป็นไปตามหลักการ “ปรับสภาพเรือให้เหมาะสมกับแม่น้ำ” ไม่ใช่ “ปรับแม่น้ำให้เหมาะสมกับเรือ”

เรามีความมุ่งมั่นที่จะ

-  ยกระดับการต่อสู้และรณรงค์คัดค้านเขื่อนมหันตภัย และให้มีการชดใช้ค่าปฏิกรณ์ความเสียหายจากเขื่อนอย่างเป็นธรรม รวมถึงการฟื้นฟูแม่น้ำ และลุ่มน้ำ

-  ดำเนินการจัดการน้ำและพลังงานด้วยแนวทางแบบยั่งยืนและเป็นธรรมทั่วโลก เช่น เกษตรกรรมน้ำฝน โครงการพลังงานหมุนเวียนที่จัดการโดยชุมชน

- พัฒนาองค์ความรู้และฟื้นฟูประเพณีในการจัดการทรัพยากรน้ำที่หลากหลาย โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกลุ่มเด็กและเยาวชน

- เสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักกิจกรรม และขบวนการประชาชนที่ทำงานด้านเขื่อน น้ำ และพลังงาน รวมถึงโครงการแลกเปลี่ยนเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกันของบรรดาผู้ได้รับผลกระทบจากประเทศต่าง ๆ

- เสริมสร้างความเข้มแข็งของขบวนการของเรา ด้วยการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายขบวนการประชาชนอื่น ๆ ในการต่อสู้ คัดค้านแบบแผนการพัฒนาตามแนวทางเสรีนิยมใหม่ที่เป็นตัวปัญหา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งทางสังคมและระบบนิเวศน์ในระดับโลก

- จัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง ๑๔ มีนาคม วันหยุดเขื่อนโลกเพื่อปกป้องแม่น้ำและชีวิต เป็นประจำทุกปี เราขอเรียกร้องให้ขบวนการประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน องค์กรพันธมิตร และขบวนการทางสังคมอื่น ๆ รวมทั้งองค์กรพัฒนาภาคเอกชน ได้ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติการร่วมในวันหยุดเขื่อนโลกเพื่อปกป้องแม่น้ำและชีวิต ในปี ๒๕๔๗ ซึ่งจะมีการประท้วงธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปีด้วย

การต่อสู้คัดค้านเขื่อนมหันตภัย และแบบแผนของการจัดการน้ำและพลังงานในปัจจุบัน ถือเป็นการคัดค้านโครงสร้างทางการเมืองและสังคมที่ถูกครอบงำโดยวิธีคิดที่มุ่งหวังแต่ผลกำไรอย่างเต็มที่ และนี่คือการต่อสู้เพื่อสังคมที่อยู่บนฐานของความเสมอภาคและความสมานฉันท์ของประชาชนทั้งมวล

แบบแผนใหม่ในการจัดการพลังงานและน้ำที่ดีกว่าเดิมย่อมเป็นไปได้ !
น้ำเพื่อชีวิต มิใช่เพื่อความตาย !

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา