การผันน้ำโขง บางตอนจาก สนทนาประสาสมัคร

fas fa-pencil-alt
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT
fas fa-calendar
8 มิถุนายน 2551

รายการ สนทนาประสาสมัคร
โดยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT
และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์
วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2551 เวลา 08.30-09.30 น.

ถัดไปเรื่องน้ำว่ายังไง เรื่องน้ำเดินหน้าไปมากทีเดียวครับ ประชุมกันอย่างที่ว่านี่ละครับ หัวไม่วางหางไม่เว้น ตกลงอธิบายแล้ว ยืนยันได้ว่าเอาที่เป็นแน่ ๆ นอน ๆ ก่อน สตางค์เขาเตรียมการไว้แล้ว ทั้งหมดโครงการเขาใช้ประมาณ 2-3 แสนล้านสำหรับพัฒนา ยังไม่ได้ไปทำใหม่นะครับ ปีแรก 15,000 กว่าล้านที่เขาจะทำ คือขุดลอกคลองหนองบึง ทั้งหลายที่มี อธิบายให้ฟังได้ อีสานนี่หนองทั้งหลาย ใครต่อใครแต่ก่อนไม่กล้าขุด ตอนนี้จะกล้าขุด ทางฝ่ายที่เขาตรวจสอบ คือมีคนบอกว่าลงไป 7 เมตรเค็ม ไม่ละครับ 50 เมตรถึงจะเค็ม เวลานี้บึงทั้งหลายใหญ่มหึมา รับน้ำ 1 เมตร รับน้ำ 2 เมตร ถ้าขุดลงไปอีก 1 ได้ 1 เท่า ถ้าขุดลงไปอีก 2 ได้ 2 เท่า ขุดไป 5 ได้ 5 เท่า เพราะฉะนั้น ขุดแล้วไปกองเป็นกำแพงล้อม น่าเกลียดไหม กลางเมืองสวย ๆ มีกำแพงล้อมไม่ได้ครับ ผมนี่ละออกความคิดไม่ใช่ Engineer นะครับ ผมบอกตรงไหน ที่ไม่มีบ้านก่อสร้าง กว้างสัก 30 ดึงสัก 100 เมตร ขุดเป็นบ่อสี่เหลี่ยมลึกตรงนั้นเลย เอาดินออกไป เสร็จแล้วก็เอา เรือขุดลงไปในบึงเลยครับ วางทุ่นเรือขุด ขุดเลยครับ ขุดกวาดเป็นวงกลม เอาดินที่ได้ลงไปช่องสี่เหลี่ยม รถไปขนเลยครับ จะไปใส่ที่ไหน จะไปถมที่ไหน จะไปปรับระดับที่ไหน ทั้งหมดเวลาขุดแล้วเข้าไปบ่อสี่เหลี่ยม 30 คูณ 100 เมตรนี่ละครับ บ่อลึกนะครับ แล้วเรือสูบเข้ามา ๆ ตกลงทุกบึงทุกบางหมดครับ พูดถึงหนองหาน หนองประจักษ์ ประชุมพรรคพวก บอก บึงบอระเพ็ด เอาด้วยก็ได้ครับ แต่ว่าต้องคอยเฝ้าดูหน่อยว่าเขาจะไปกระทบนิเวศอะไรไหม ถ้าทางโน้นละ ที่กว๊านพะเยา ทำด้วยหมดครับ แปลว่าต่อไปนี้น้ำฝนที่ลงมา จะมีปริมาตรให้เก็บมากขึ้น ตกแต่งขอบให้เรียบร้อย แต่ไม่ได้เป็นกำแพง และเอาดินออกไป จะไปถมไปปรับที่ไหนก็ไปทำ นี่ทำอันนี้คู คลอง น้ำบึง และระบบชลประทาน ทั้งหมด ปรับปรุงหมดครับ เขาตั้งวงเงินไว้ 3 แสนล้าน ทำพวกนี้ที่มีอยู่แล้วให้น้ำมีมากขึ้น ดำเนินการแล้วนะครับ ตกลงแล้ว อนุมัติไปเรียบร้อยแล้ว กำลังเริ่มดำเนินการ

ส่วนอีก 4 แสนล้านนั้นคือที่ว่า ภาคอีสานโดยเฉพาะ เพราะระบบชลประทานนั้นภาคเหนือลงไปทำที่ลุ่มภาคกลาง ภาคอีสานเป็นภาคเดียวที่ปลูกข้าว ปลูกข้าวปีละ 10 ล้านตันข้าวเปลือก แต่ปลูกได้หนเดียว เราจะทำให้อีสานปลูกได้ 2 หน เราจะทำให้น้ำเข้าไป อธิบายให้ฟังคร่าว ๆ ง่าย ๆ คือว่า น้ำไม่เจาะแม่น้ำโขง ไม่ผันแม่น้ำโขง ผันจากแม่น้ำเลย ซึ่งแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำในประเทศไทย จะตกแต่งความลึกให้โผล่เข้ามา ให้น้ำโขงไหลเข้ามาอยู่ในแม่น้ำเลย ปากแม่น้ำเลย ธรรมดาน้ำมาก บวก 214 น้ำน้อยบวก 194 คำว่าบวกแปลว่าเหนือระดับน้ำทะเล ปากแม่น้ำเลยบวก 194 ต่ำสุด แล้วเขื่อนอุบลรัตน์บวก 182 เห็นไหมครับ 94 กับอีก 8 คือ 12 เมตร ความแตกต่าง 12 เมตรนี่ละครับ ที่เราจะสามารถทำอุโมงค์ผันน้ำจากแม่น้ำเลย 80 กิโลฯ เป็นที่ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว จะอยู่ขนาดของอุโมงค์เท่านั้นละครับ ว่าจะกว้างเท่าไร ๆ ตะแคง 12 เมตร ลอดใต้ภูเขา ตรวจแล้วทำได้แน่นอนไม่มีปัญหา แล้วตกลงแล้วว่าทำตรงนี้ 80 กิโลฯ โผล่มาก็ต้นน้ำที่ส่งลงเขื่อนอุบลรัตน์ ตกลงน้ำจากแม่น้ำโขงมาก็เข้าแม่น้ำเลยคือประเทศไทยก่อน แล้วเราผันน้ำจากแม่น้ำเลยบ้านเราลอดใต้ลงมา 80 กิโลฯ โผล่ออกมาแล้วจะลงเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนอุบลรัตน์ก็เป็นหัวใจทางภาคเหนือตรงด้านนี้ มีน้ำเต็มมากเท่าไร ก็ส่งออก ส่งลงแม่น้ำพอง น้ำพองเข้าน้ำชี มีระบบที่จะส่งออกจากเขื่อนอุบลรัตน์ จะออกตรงทิศไหน ๆ อย่างไร ยกเว้นไม่ออก ทางด้านหลัง ไม่ลงไปแม่น้ำป่าสักเท่านั้นเอง เราก็กำลังดูระบบทั้งหมด อันนี้อันหนึ่งนะครับ แน่นอนนะครับ ตกลงกันแล้วในหลักการ ทำได้แน่นอน

อีกอันหนึ่งคือว่า อยู่ที่เขาเรียกว่าท่าหลวง เป็นบริเวณที่น้ำโขงขึ้นสูง จะสูงกว่าระดับที่จะอยู่ทางแม่น้ำท่าหลวง 6 เมตร 157 ต่อ 163 เพราะฉะนั้น แตกต่างกัน 6 เมตร ประตูทำเสร็จแล้ว แต่เอาน้ำเข้าไม่ได้ เพราะยังไม่จ่ายเงินราษฎร บัดนี้ ตกลงจ่ายเงินเรื่องค่าที่ดินต่าง ๆ น้ำจะเข้ามา จะท่วมราษฎรก็จ่ายเงิน ยาว 90 กิโลฯ น้ำแม่น้ำโขงนะวิ่งจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว 90 กิโลฯ จาก 90 กิโลฯ มีระยะปรับระดับเพียง 20 เมตร สูบตะแคงตรงปลายทาง 20 เมตรขึ้นไป และส่งปล่อยลง ลงกุมภวาปี จากกุมภวาปีแล้วก็ไปตามธรรมชาติเลย ส่งเข้าลำปาว กาฬสินธุ์ แล้วส่งแจกจ่ายทั่วไป เอาน้ำที่น้ำโขงเข้ามา ตามธรรมชาติยาว 90 กิโลฯ สูบตะแคงขึ้น 20 เมตรและปล่อยลงอีกทาง เห็นไหมครับเข้ากุมภาวาปี เข้าไปถึงกาฬสินธุ์ ไปลำปาว นี่จะได้ระบบชลประทาน

เพราะฉะนั้น ยังมีระบบที่เล่าให้ฟังแล้วอีก คือว่าสามารถที่จะกั้นแม่น้ำโขง มีตั้งใจไว้ 3 แต่อย่างน้อยเอา 2 ก่อน แน่นอน คือที่ปากชม และบ้านกุ่มน้อย จำชื่อไม่ถนัด อยู่จังหวัดอุบลราชธานี 2 ฝายที่ละครับ ฝายขวางแม่น้ำโขง เซ็นสัญญากับลาว ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว กำลังทำสำรวจความเป็นไปได้เรียบร้อย ไม่เรียกว่าเขื่อนละครับ เป็นฝายนี่ละครับ ทำไฟฟ้าเปิดน้ำตลอด ไม่มีใครว่าครับ ขวางแม่น้ำโขง แต่เจาะเดินไฟฟ้าตลอด แปลว่าน้ำลง 24 ชั่วโมง อย่างนี้ไม่มีใครว่า แต่น้ำที่เราจะสะสมไว้นั้น สามารถจะถอยหลัง ถอยหลังที่น้ำระดับแม่น้ำโขงจะเต็ม110 กิโลฯ จากปากชม จะถอยหลังไป แปลว่ามีอ่างอยู่ข้างประเทศไทยมหึมา 2 อ่าง จะเอาน้ำขึ้นใช้ยังไงอะไรทางอีสานย่อมได้

ถัดไปสุดท้ายของแถมนะครับ เจรจากับประเทศลาว น้ำงึม เขาปล่อยจากท้ายเขื่อนลงแม่น้ำโขง แต่ปล่อยจาก น้ำโขงลงมาถึงชายน้ำโขง ลงน้ำโขงก็ไปเลย ไทยมองเห็นว่าตรงปลายน้ำงึมที่ออกมา สูงกว่าตรงประเทศไทย เลยจะทำประเภทเหมือนกับกาลักน้ำ จะทำอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำโขง เข้ามาทางฝั่งไทย แปลว่าน้ำงึมจะปล่อยแล้ว กักน้ำงึมปล่อยมา ก็ลอดใต้แม่น้ำโขงเข้าประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำที่จะเข้ามาผันออกไปอีกที เพราะที่รองรับน้ำทางประเทศไทยต่ำกว่า ทางประเทศลาว เป็นอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำโขง เรื่องนี้ไม่มีใครมาว่าอะไรได้เลย น้ำของลาว แล้วเขาจะทิ้งลงแม่น้ำโขง ไทยรับแล้วก็ส่งมาไทยทางนี้ ดูแลกันหมดเรียบร้อยครับ โครงการนี้ดำเนินการแน่นอน ประชุมกันแล้ว ได้ดำเนินการ สั่งการให้ปฏิบัติการแล้ว ต้องใช้เวลาตามสมควร แต่ที่จะมีกันทันที ลงมือทันที คือที่จะขุดลอกคูคลองหนองบึงทั้งหมด ตกแต่งที่เก็บน้ำเก็บท่าทั้งหมดในระบบชลประทานที่มีอยู่แล้ว ที่ไหนมีบึงใหญ่โตที่ตื้นเขิน ทำระบบอย่างผม ว่าละครับ เรือขุดลงไปเลยครับ ลงไปในบึงแล้วขุดให้ลึกเลย เป็นที่รับน้ำ

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง