งานวิจัยไทบ้านในพื้นที่ต่างๆ
น.พ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
นิธิ เอียวศรีวงศ์ มติชนสุดสัปดาห์ 9-15 สค 45 ปีที่ 22 หน้า 28 นับแต่งานวิจัย “การกลับมาของคนหาปลา” ซึ่งเป็นงานวิจัยไทบ้านหรืองานวิจัยชาวบ้าน ฉบับแรกซึ่ง จัดทำโดยชาวปากมูนแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๕ งานวิจัยไทบ้านที่ได้รับการ ยอมรับอย่างกว้างขวางก็ได้รับการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและขยายไปยังพื้นที่ต่างๆ หลายแห่งในลุ่มน้ำโขงและสาละวินซึ่งชุมชนและองค์กรต่างๆ ที่ทำงานในพื้นที่ต้องการ ทำวิจัยในลักษณะเดียวกันเพื่อนำ งานวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความ เข้มแข็งให้ชุมชน ด้วยการรวมตัวกันรื้อฟื้นความรู้ท้องถิ่น ที่นับวันจะถูกทำให้ไม่มีความหมายหรือถูกกีดกันไปจากกระบวน การตัดสินใจในโครงการที่กระทบต่อทรัพยากรของท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นยังคาดหวังว่า งานวิจัยไทบ้านจะเป็นฐานในการ สร้างหลักสูตรการศึกษาของท้องถิ่นเช่น หลักสูตรโรงเรียนแม่น้ำ และหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน รวมไปถึงการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนเอง ปัจจุบันโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิตได้นำระเบียบวิธีวิจัยไทบ้านไปพัฒนาในหลายพื้นที่ดังรายชื่อข้างล่างนี้
|