ความเป็นมา โครงการผันน้ำโขง-ชี-มูล เป็นโครงการผันน้ำขนาดใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ๔๙๘ ล้านไร่ ใน ภาคอีสาน ซึ่งรับผิดชอบโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยการ สูบน้ำจากแม่น้ำ โขงลงสู่ห้วยหลวงในเขตอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และผันลงสู่แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และลำน้ำ สาขา โดยการสร้างเขื่อน ๒๒ เขื่อนเพื่อควบคุมปริมาณน้ำ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลถึง ๒๒๖,๐๐๐ ล้านบาท ใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการ ทั้งสิ้น ๔๒ ปี โดยแบ่งโครงการออกเป็น ๓ ระยะ โดยในระยะแรก ใช้เวลาดำเนินโครง การ ๙ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔–๒๕๔๓ โดยการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำมูล ๕ เขื่อน ลำน้ำชี ๕ เขื่อน และลำน้ำสาขาอื่นๆ ๔ เขื่อน เขื่อนหัวนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโครงการโขง ชี มูล ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ขณะที่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๒ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดขอนแก่น ให้ สร้างฝายยางกั้น แม่น้ำมูล บริเวณบ้านหัวนา ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ และเก็บกักน้ำไว้เพียงตลิ่งแม่น้ำมูล แต่เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๕ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกลับดำเนินการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีต ตัวเขื่อนมีความ กว้าง ๒๐๗.๓ เมตร มี ๑๔ บาน ประตู ซึ่งถือว่าเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโครงการโขง-ชี-มูล (ขนาดใหญ่กว่าเขื่อนราษี ไศล ๒ เท่า) กั้นแม่น้ำมูลบริเวณบ้านกอก ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งสถานที่ก่อสร้างใหม่ห่างจาก บริเวณที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ถึง ๑๐ ก.ม. โดยใน เอกสารเผยแพร่โครงการระบุว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี ๒๕๓๘ ปัจจุบันเหลือเพียงการถมดินกั้นแม่น้ำมูลเพื่อเปลี่ยน เส้นทางของสายน้ำ การก่อสร้างเขื่อนหัวนาก็จะเสร็จ สมบูรณ์ สภาพปัญหา ๑. ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการสร้างเขื่อนหัวนาให้ชาวบ้านและสาธารณชนรับรู้ จนกระทั่งปัจจุบันที่การก่อสร้างตัว เขื่อน คอนกรีตใกล้เสร็จสมบูรณ์ เหลือเพียงการถมดินกั้นแม่น้ำมูลเพื่อเปลี่ยนทางน้ำเท่านั้น แต่ราชการยังไม่มีการชี้แจง ข้อมูลให้ ชาวบ้านรับรู้เลยว่า น้ำจะท่วมถึงบริเวณใดบ้าง หมู่บ้านไหน ๒. ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการะบวนการตัดสินใจในการก่อสร้างโครงการ ๓. การก่อสร้างขัดกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๒ ที่อนุมัติโครงการให้ทำเป็นฝายยางกั้นแม่น้ำมูลที่ บ้าน หัวนา ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ แต่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกลับสร้างเป็นเขื่อนคอนกรีต ขนาด ๑๔ ประตู กั้นน้ำมูลบริเวณบ้านกอก ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งห่างจากจุดเดิมที่มติคณะรัฐมนตรี กำหนดไว้ ประมาณ ๑๐ ก.ม. ตามลำน้ำมูล ๔. ไม่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่สมบูรณ์ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด แม้ว่าลักษณะ โครงการ จะเข้าเงื่อนไขที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่อ่างเก็บน้ำที่มาก กว่า ๑๕ ตาราง กิโลเมตร และปริมาตรน้ำที่เกิน ๑๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ๕. จากการที่ไม่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผล ให้ไม่มี การแสดงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ มาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจ สอบผลกระทบ สิ่งแวดล้อม ๖. จากบทเรียนที่เกิดขึ้นกับผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนราษีไศลที่มีลักษณะของโครงการและ สภาพของพื้นที่ ใกล้เคียงกัน รวมกับประสบการณ์ของชาวบ้านในพื้นที่ เห็นว่า โครงการเขื่อนหัวนาจะก่อให้เกิดปัญหากับชุมชนและ ทรัพยากรหลายประการ ๖.๑ ต้องอพยพชาวบ้าน ๒ หมู่บ้าน คือบ้านหนองโอง หนองหวาย ต.โนนสังข์ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ๖.๒ การสร้างเขื่อนหัวนาทำให้น้ำท่วมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านของชาวบ้านในพื้นที่ ๕ อำเภอ คือ อ.กันทรารมย์ อ.เมือง อ.อุทุมพร อ.ยางชุมน้อย อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ๖.๓ กรณีน้ำท่วมนอกของอ่างเก็บน้ำ เนื่องจากโครงการเขื่อนหัวนา มีการทำคันดิน กั้นปากห้วยและบริเวณที่ตลิ่งของ แม่น้ำมูลมีระดับต่ำ ทำให้เมื่อถึงฤดูฝนน้ำฝนจะไม่สามารถไหลลงแม่น้ำมูลได้และจะเอ่อท่วมที่ทำกินของชาวบ้านใน ที่สุด ๖.๔ ตลอดระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร เหนือเขื่อนหัวนา อุดมไปด้วย ป่าทาม ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ซึ่งจะต้องเสียหายจาก เขื่อนหัวนา นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณคดี การสูญเสียอาชีพประมง ปัญหาดินเค็มน้ำเค็ม ปัญหาน้ำท่วมดินปั้นหม้อและผลกระทบ อื่นๆ อีกมากมาย |