เขื่อนราษีไศล

เนื้อหาข้างล่างนี้จะเป็นการรวบรวมข่าวสารที่ทั้งผลิตโดยทางสมาคมเองและสำนักข่าวอื่นๆโดยจะเกี่ยวข้องกับเขื่อนราษีไศล ที่ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำยมตอนบน

ราษีไศล ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง

กิจกรรมโดยสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต


รวมภาพเหตุการณ์เขื่อนราษีไศล


สถานะการณ์ เขื่อนราษีไศล


แม่มูนมังสังขยาราษีไศล

ไม่เคยมีพิษภัยให้ผกผัน

พอมีเขื่อนเดือนก็ดับลับตะวัน

ความสัมพันธ์ของมนุษย์ก็หลุดลอย  

สุจิตต์ วงษ์เทศ

มติชนรายวัน 28 พ.ค. 43 น. 2

 ข้อมูลเบื้องต้นเขื่อนราษีไศล

โครงการเขื่อนราษีไศลเป็นหนึ่งใน 22 เขื่อนของโครงการผันน้ำโขง-ชี-มูล  โครงการผันน้ำขนาดยักษ์ในเขตลุ่ม น้ำโขงทางภาค อีสานของไทยภายใต้ความรับผิดชอบของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน  เพื่อทำการผันน้ำจากแม่น้ำโขง  ชี  และมูลใช้แก้ปัญหาการขาด แคลนน้ำในพื้นที่ 4.98 ล้านไร่ในภาคอีสาน  โครงการดังกล่าวต้องใช้งบประมาณถึง 228,000 ล้านบาท  และดำเนินการก่อสร้างนานถึง 42 ปี

เช่นเดียวกับเขื่อนอื่น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในภาคอีสานที่ถูกผลักดันมาจาก บรรดาบรรษัทสร้างเขื่อนจากตะวันตก  เขื่อนราษีไศล โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมและพลังงาน ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ โดยผ่านสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ตอนล่าง(Mekong Scretariat) ทำการศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำ โขงตอนล่างในชื่อ Development of the Lower Mun Basin Feasibility Study ที่ดำเนินการโดยบริษัท Nedeco รายงาน การศึกษาแล้วเสร็จเมื่อปี 2525 จากรายงานสรุปได้ว่าการพัฒนาลุ่มน้ำมูลตอนล่าง สมควรที่จะก่อสร้างประตูระบายน้ำ บนลำน้ำมูล 3 แห่ง คือที่ อ.สตึก จ.สุรินทร์ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ และอ.ราษีไศล จ.ศรีษะเกษ โดยจะมีการก่อ สร้างประตู ระบายน้ำและกักเก็บน้ำที่ อ.ราษีไศล ก่อน

ต่อมากรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ได้ทำการศึกษาและจัดทำรายงานเบื้องต้นโครงการโขง-ชี-มูล แล้วเสร็จ เมื่อปี 2530 โดยจะ ผันน้ำจากแม่น้ำโขงมาลงยังน้ำพองและ ลำปาวเพื่อปล่อยลงแม่น้ำชี และจากแม่น้ำชีมีคลองผันน้ำข้าม ลุ่มน้ำลงไปยังลุ่มน้ำมูลรวม 4 สาย โดยทำการก่อสร้างเขื่อนยกระดับน้ำรวม 4 เขื่อน เพื่อสูบน้ำเข้าคลองผันน้ำและส่งไปยัง ลำน้ำมูล

โครงการราษีไศลจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งในโครงการผันน้ำโขง-ชี-มูล หน้าที่หลักคือการกักเก็บน้ำในลำ น้ำมูลไว้ใช้ใน การเกษตร อุปโภคบริโภค รวมทั้งทำหน้าที่รับและควบคุมน้ำซึ่งจะส่งมาจากแม่น้ำโขง เพื่อส่งไปยังโครงการ ย่อยอื่นๆต่อไป

ปี พ.ศ. 2532 ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีดำเนินการ ภายใน 3 ปี โดยก่อสร้างปิดกั้นแม่น้ำมูลที่บริเวณบ้านปากห้วย อ.ราษีไศล จ.ศรีษะเกษ เป็นฝายยางเก็บน้ำไม่เกินตลิ่ง ตั้งงบประมาณในการก่อสร้าง 140.97 ล้านบาท แต่การก่อสร้างจริงในปี 2535-2536 กลับสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก งบประมาณบานปลายไปถึง 871.9 ล้านบาท มากกว่าราคาประเมินครั้งแรกถึง 6 เท่า


บทความเกี่ยวกับเขื่อนราษีไศล


วีดีโอข่าวจาก หมู่บ้านคนจน ช่วง นักข่าวพลเมือง ทีวีไทย


ข่าว