eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

เขื่อนลำคันฉู

 

“ก่อนสร้างไม่ศึกษา สร้างปัญหาไม่รู้จบ”

สมัชชคนจน       

ความเป็นมา

              เขื่อนลำคันฉูเป็นเขื่อนดินเพื่อการชลประทานของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งอยู่ที่ ต.โคก เพชรพัฒนา อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ เหตุผลในการสร้างระบุว่า สร้างตามคำร้องเรียนของราษฎร เพื่อช่วยเหลือแก้ไขสภาพ การขาด แคลนน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรของราษฎร ตามหนังสือที่ ชย.๐๕๑๖/๒๕๑ ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๒๖ และหนังสือที่ ชย.๐๔๑๖/๑๓๙ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๑

              เขื่อนนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรของราษฎร ในพื้นที่ ชลประทาน ๔๓,๐๐๐ ไร่  เป้าหมายคือ พื้นที่ริมฝั่งลำคันฉู ตั้งแต่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในเขต ต.โคกเพชรพัฒนา ต.มะนาว อ.บำเหน็จณรงค์ ครอบคลุมถึง ๑๒ ตำบล ได้แก่ บ.โคกเพชรพัฒนา บ.เพชร บ.ชวน บ.ตาล บ.หัวทะเล บ.ทุ่งเสมียนตรา บ.ทม บ.หนองโดน บ.กุดน้ำใส บ.กอก บ.หนองบัวใหญ่ บ.ละหาน ซึ่งตำบลเหล่านี้เป็นเขตที่ลำน้ำไหลผ่านจนเข้าเขต อ.จัตุรัส ก่อนที่จะไหลลงสู่ บึงละหาน อันเป็นหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ และไหลลงแม่น้ำชีตามลำดับ

ข้อมูลพื้นฐานโครงการ

               อ่างเก็บน้ำลำคันฉู  อยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาตินายางกลัก พื้นที่อ่างเก็บน้ำขนาด ๕,๘๑๐ ไร่  น้ำท่วม ๑๑ หมู่บ้าน ๔๑๖ ครอบครัว ครอบคลุม ต.โคกเพชรพัฒนา อ.บำเหน็จณรงค์ และ ต.ห้วยยายจิ๋ว อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ใช้งบประ มาณในการก่อสร้าง ๒๖๖.๔๗ ล้านบาท เริ่มก่อสร้างในปี ๒๕๓๒ ตัวเขื่อน เป็นคันดิน ขนาดความกว้าง ๘ เมตร ความยาว สันเขื่อนรวมคันดินรอบเขื่อน กว่า ๒ กม. แล้วเสร็จในปี ๒๕๓๙ และเริ่มกักเก็บน้ำเดือนตุลาคม ๒๕๓๙  

สภาพปัญหา

                พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนลำคันฉู ครอบคลุม 2 อำเภอ 3 ตำบล 11 หมู่บ้าน ดังนี้คือ

1.อ.บำเหน็จณรงค์ - ต.โคกเพชรพัฒนา –บ.โคกพะงาด บ.โคกคึม บ.เก่าลำคันฉู บ.คลองบงพัฒนา บ.วังอ้ายพิมย์

2.อ.เทพสถิตย์-ต.ห้วยยายจิ๋ว – บ.วังคมคาย บ.โนน (วังตลาดสมบูรณ์) บ.หินเพิง บ.หาดทราย (วังคมคาย) ต.บ้านไร่ – บ.วังอ้ายคง

            ผู้ที่ได้รับผลกระทบมี ๒ กลุ่มคือ กลุ่มที่มีที่ดินและถูกน้ำท่วมและกลุ่มที่สูญเสียอาชีพจากการเก็บของป่า เช่น หน่อไม้ เห็ด กะบุก ผักหวาน อึ่งและสมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น โดยแทบจะไม่ต้องทำการเพาะปลูกเลย

            เขื่อนแห่งนี้ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก โดยวิถีชีวิตของชุมชนบริเวณนี้คือการหาอยู่หากินกับ ป่านายางกลักนี้ตลอดทั้งปี ทั้งการเก็บหาของป่า ผักหวาน ไข่มดแดง อึ่ง หน่อไม้ เห็ด และการทำไร่ ซึ่งจะไม่ตัดต้นไม้ แต่จะ ปลูกพืชผักต่างๆใต้ต้นไม้แทน ชุมชนที่พึ่งพาและอาศัยผืนป่าแห่งนี้ ยังมีชนเผ่าญากรู [1] อาศัยอยู่ด้วย

            หลังการสร้างเขื่อนลำคันฉูในปี ๒๕๓๙ ผืนป่าแห่งนี้ถูกน้ำท่วมถึง ๖,๐๐๐  ไร่  แหล่งพึ่งพิงทั้งการบริโภคในครอบ ครัวและรายได้ทางเศรษฐกิจจมอยู่ใต้น้ำ

            ลูกหลานหลายครอบครัวที่อยู่ในวัยเรียน ต้องลาออกกลางคัน เพราะพ่อแม่ขาดรายได้ หลายครอบครัวต้องอพยพ ขายแรงงานในกรุงเทพ-ต่างจังหวัด บ้างเช่าที่นาทำนาทำไร่ แต่ที่สุดก็เกิดหนี้สินล้นพ้นตัว ชุมชนที่อยู่อย่างสงบช่วยเหลือกัน ต้องแตกสลายไป เพราะปัญหาปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ

             ความเดือดร้อนเหล่านี้จึงเกิดการรวมตัวกันของกลุ่มผู้เดือดร้อน เรียกร้องค่าชดเชยความสูญเสีย ในสมัยรัฐบาลพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ แต่สิ่งที่ได้รับกลับเป็นการจ่ายค่าชดเชยที่ไม่เป็นธรรม ไม่ครบถ้วน ชาวบ้านถูกหลอกลวงและฉ้อโกง จากนายทุนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่

             เช่น กรณีนายสมชัย สวัสดี ตามมติ ครม. ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ ควรได้รับค่าชดเชยไร่ละ ๒๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๑๔ ไร่ แต่มีการพิมพ์ตัวเลขตกไปเหลือเพียง ๔ ไร่ และเมื่อมีการร้องเรียนภายหลัง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกลับอ้างถึงมติ ครม. ๒๑ เมษายน ๒๕๔๑ ที่ไม่ให้มีการจ่ายค่าชดเชยซ้ำซ้อนย้อนหลัง

             กรณีนายเชย จิตต์จำนง มีพื้นที่ทำกินจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำจำนวน ๑๕๐  ไร่ ในช่วงแรก ได้รับค่าชดเชยจำนวน ๗๔ ไร่ ส่วนอีก ๗๖ ไร่ กรมชลประทานไม่จ่ายค่าชดเชย แม้จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ คือ เลี้ยงสัตว์ ทำนา ปลูกมันสำปะ หลังและ พืชไร่ เช่นเดียวกับ ๗๔ ไร่ที่ได้รับค่าชดเชยไปก่อนหน้านี้ โดยกรมชลประทานให้เหตุผลว่า จ่ายครบแล้วไม่ต้อง พิสูจน์ใดๆ

               นอกจากนั้น ตลอดเวลา ๕ ปีที่มีเขื่อนลำคันฉู ไม่มีการสร้างคลองส่งน้ำเพื่อการชลประทานตามวัตถุประสงค์ของ โครงการ นอกจากนั้น ปรากฏว่าน้ำจากเขื่อนแห่งนี้กลับนำไปป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งผิดกับวัตถุประสงค์ที่ตั้ง ไว้แต่ต้น

                ปัจจุบันเขื่อนนี้ได้เกิดรอยแตกร้าว และเกิดหลุมขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านหวาดกลัวว่าเขื่อนจะพังลงในไม่ช้า


[1] “ญากรู” (Nyah Kur, pah kur) คือคนพื้นถิ่นที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำมูล-โขงทางภาคอีสานของไทยมาก่อน แปลว่า คนที่อยู่ป่าหรือคนภูเขา (Hill people) ดำรงชีวิตโดยการหาหน่อไม้ กระบุก ผักหวาน  ตามป่าตามริมลำน้ำ ทำไร่

ตารางเปรียบเทียบข้อเรียกร้องของชาวบ้าน  มติคณะกรรมการกลาง ๖ ก.ค.๒๕๔๓  มติ ครม. ๒๕ ก.ค.๒๕๔๓

และข้อคิดเห็นสมัชชาคนจนต่อมติ ครม.

 สมัชชาคนจน            

ข้อเรียกร้องของชาวบ้าน

มติคณะกรรมการกลางฯ

มติคณะรัฐมนตรี

ข้อคิดเห็นสมัชชาคนจน

๑) ให้มีกรรมการตรวจ สอบกรณี เขื่อนร้าวว่า ซ่อม แซมแก้ไขให้มั่น คงได้หรือไม่ ถ้าสามารถ ซ่อม แซมได้ก็ให้ซ่อม แซม ถ้าไม่สามารถ ซ่อม แซมได้ก็ให้รื้อ เขื่อน หรือเลิก ใช้เขื่อน

 

 

๑) คณะกรรมการเห็นว่า เนื่องจากคณะ กรรม การตรวจ สอบยังไม่เป็นที่ยอมรับ ตาม ข้อตก ลงที่เคยมีอยู่เดิม และข้อมูลทั้งสอง ฝ่าย ยังขัด แย้งกันไม่สามารถหาข้อยุติ ได้ ดังนั้น เพื่อให้ เป็นที่ยุติ ควรตั้งคณะกรรมการ ที่เป็น กลาง เป็นที่ยอมรับของทั้ง สองฝ่ายลง ไปใน พื้นที่เ พื่อพิสูจน์ ข้อเท็จ จริงให้เป็นที่ ยุติอีกครั้ง และ ให้มีการประ กันความ เสี่ยง หากเกิดความเสีย หายขึ้นภาย หลัง

 

๑)ให้ตั้งคณะกรรมการ กลางที่ทุก ฝ่าย ยอมรับ เพื่อพิสูจน์เรื่องกรณี เขื่อนร้าว หากราษฎรมีความ ประสงค์ จะให้มีการ ตรวจสอบ ปัญหาการร้าว ของ เขื่อนอีก ครั้ง หนึ่ง แต่เรื่องนี้เคย มีการตรวจสอบ โดยคณะผู้ทรงคุณ วุฒิมา แล้วถึงสอง ครั้ง ซึ่งได้รับคำ ยืนยันว่า เขื่อนดัง กล่าว มี ความ ปลอด ภัยและมั่นคง แข็งแรง ส่วน รอยร้าวบริเวณผิวที่ พบเห็นนั้น เกิด จาก การหดตัวของ วัสดุส่วน บนของ สัน เขื่อนซึ่งไม่ เป็น อันตรายต่อตัว เขื่อนแต่ อย่างใด

๑)คณะรัฐมนตรีไม่ยอมรับ การประกันความเสี่ยงหาก เกิดความเสียหายขึ้นภาย หลังตามที่คณะกรรมการ กลางเสนอ

 

๒) ในกรณีเขื่อนพัง รัฐบาลจะต้อง ให้หลัก ประกัน ความปลอดภัย ใน ชีวิตและทรัพย์สิน โดยรัฐบาลจะต้อง ชดใช้ ค่าเสีย หายให้เต็มราคา ตามความเป็นจริง

 

๒) กรณีนายสมชัย สวัสดี ข้อเท็จจริงเป็น ที่ ยอมรับของทุกฝ่าย ว่าตามมติคณะรัฐ มนตรี ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ ควรได้รับค่า ชดเชยไร่ ละ ๒๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๑๔ ไร่ คณะกรรม การกลางฯเห็นว่า การไม่จ่ายค่า ชดเชยให้แก่ นายสมชัย สวัสดี โดยอ้างมติ คณะรัฐมนตรี ๒๑ เมษายน ๒๕๔๓ ว่าไม่ ให้มีการจ่ายค่า ชดเชย ซ้ำซ้อนย้อนหลัง ซึ่ง ไม่เป็นธรรมแก่ ชาวบ้าน เพราะความผิด พลาดที่เกิดขึ้น เป็น เพียงปัญหาในเชิงเทคนิค รัฐบาลควรเร่งจ่าย ค่าชดเชย ตามความ เดือดร้อนที่ได้ ผ่านกระ บวนการพิสูจน์มา แล้ว พร้อมทั้งควรจ่ายดอก เบี้ยด้วย

      กรณี  นายเชย จิตจำนง ซึ่งร้องเรียนว่า ไม่ ได้รับค่า ชดเชยพื้นที่ที่ทำประโยชน์ โดยเป็น พื้นที่สำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ คณะ กรรมการ กลางฯเห็นว่า ควรดำเนินการ พิสูจน์การครอบ ครองและทำประโยชน์ ที่ให้ฝ่ายชาวบ้านเข้า มามีส่วน ร่วมในกระ บวนการพิสูจน์ สิทธิ โดยให้ใช้หลักเกณฑ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ เป็นแนวทางปฏิบัติ

๒) เห็นชอบให้จ่ายค่าชดเชย แก่ราย นาย สมชัย สวัสดี ในส่วนของพื้นที่ ที่ยังขาดอยู่ อีกจำนวน ๑๐ ไร่ ส่วน รายของนายเชย จิตต์จำนงค์นั้น เนื่อง จากว่ามีการจ่ายค่า ชดเชยให้ครบ ถ้วนไปก่อนแล้ว จึงไม่อาจจ่ายค่าชด เชยใดๆให้อีก

๒) กรณีการจ่ายค่าชดเชย ของนายสมชัย สวัสดี คณะ รัฐมนตรีพิจารณา ขาดไป ๔ ไร่

ส่วนกรณีนายเชย จิตจำนง มติคณะรัฐมนตรีไม่ยอม พิสูจน์ข้อเท็จจริงตามที่ คณะกรรมการกลางเสนอ โดยคณะรัฐมนตรี รับฟัง ความเห็นจากกรมชลประ ทานที่อ้างว่าจ่ายไป หมด แล้ว แต่ชาวบ้านยืนยันว่า ได้รับ ค่าชดเชยเพียงบาง ส่วน

๓) ให้รัฐบาลฟื้นฟู ชีวิต ของ ชาวบ้านที่ได้รับผล กระทบ จากการสร้าง เขื่อน (การเก็บหาของ ป่า จากป่า ที่ถูกน้ำท่วม เคยเป็น อาชีพ หลักของ ชาวบ้าน ทำให้ปัจจุบัน ขาด รายได้ เพราะรัฐ บาลได้ โฆษณาเอาไว้ ก่อน การสร้างเขื่อนว่า จะทำ ให้วิถีชีวิตของชาว บ้านดีขึ้น กว่าเดิมดังนั้น รัฐบาล จะต้องรับผิด ชอบต่อความ ผิดพลาด ทั้งหมด

 

๓) ควรจัดให้มีการศึกษาผลกระทบ ทางสิ่ง แวดล้อมและสังคมย้อนหลัง โดยองค์กร/ หน่วยงานที่เป็นกลาง และให้ชาวบ้านหรือตัว แทนเข้าไปมี ส่วนร่วมในการกำหนดกรอบ และ กระบวนการศึกษาตลอดทั้งกระบวน การ โดยกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน และหากพบ ว่ามีผลกระทบเกิดขึ้นจริง ต้องมีมาตราการใน การฟื้นฟูสภาพ วิถีชีวิตและชุมชนให้ชาวบ้าน สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ใกล้เคียง กับสภาพเดิม หรือใช้แนวทางตามมติคณะ รัฐมนตรี ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙

๓)ไม่เห็นชอบให้มีการ ศึกษาผล กระทบด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคม ย้อนหลัง เนื่องจากได้ดำเนินการ ก่อ สร้างเขื่อนลำคันฉูเกือบ แล้วเสร็จทั้ง โครงการแล้ว การศึกษาผลกระทบ ด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคม ย้อนหลัง จึงไม่อาจทำ ได้ในขณะนี้

๓)มติคณะรัฐมนตรีไม่เห็น ชอบกับการศึกษาผล กระ ทบสิ่งแวดล้อมและ สังคม ย้อนหลัง หรือที่จริงคือ การ ศึกษาผลกระทบฯ หลัง โครง การ(Post Project EIA) เหมือนกับไม่ยอมรับว่า หลัง จากที่สร้างเขื่อนแล้ว ชาว บ้าน จะเป็นอย่างไรก็เป็น ผลกระทบอะไรจะเกิดก็เกิด รัฐบาลไม่รับรู้ด้วย เพราะถ้า รัฐบาลเข้าไปดูแล กรณีนี้ แล้วจะเป็นตัวอย่าง ให้ต้อง ไปดูแลกรณีอื่นอีก ซึ่งไม่ ควรเป็นเหตุผลที่ รัฐบาลใช้ ในการแก้ปัญหา ให้ราษฎร ที่เดือดร้อนจาก ผลการ พัฒนา

4)  ถ้าพิสูจน์ได้ว่า เขื่อน ลำคันฉู สามารถซ่อม แซม ให้มั่นคงได้ ให้กรม ชลประทานจัดทำ คลอง ส่งน้ำและระบบ ชลประ ทานให้ชาวบ้าน ผู้ได้รับ ผลกระทบ

4) กรณีคลองส่งน้ำ ให้รอผลการศึกษาของ กรม ชลประทานซึ่งกำลังจัดทำแผนคลอง ส่ง น้ำและกำหนดจะแล้ว เสร็จในเดือน พฤษภาคม 2544 โดยคณะกรรมการกลางฯเห็นว่า ให้เร่ง รัดทำแผนโดยต้อง ให้ชาวบ้านเข้าไปมีส่วน ร่วมใน การจัดทำแผนดังกล่าว และรัฐบาลต้อง จัดหางบ ประมาณสนับสนุน

4) เห็นชอบให้เร่งรัดการ จัดทำแผน ชลประทานโดย ให้ราษฎรเข้ามามี ส่วนร่วม และรัฐบาลจัดหางบประ มาณสนับสนุน ทั้งนี้คาดว่าจะ สามารถ ดำเนินการได้ในปีงบ ประมาณ พ.ศ.2544

 

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา