eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ความยุติธรรมในการพัฒนา : กรณีเขื่อนปากมูล

 ชยันต์  วรรธนะภูติ
กรกฎาคม  2543

                ขณะที่เขียนบทความชิ้นนี้ ชาวบ้านปากมูล ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนปากมูลกำลังชุมุนมอยู่ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล และ เตรียมตัวอดอาหาร เพื่อรอการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี ที่จะพิจารณาข้อเรียกร้องให้มีการนำเอามติคณะกรรมการกลางแก้ไขปัญหา ปากมูล ที่เสนอให้เปิดประตูระบายน้ำ เป็นระยะเวลา 4 เดือน เพื่อไม่ให้ปลาขึ้นมาวางไข่ และเพื่อให้ลำน้ำมูลได้ไหลตามธรรมชาติ และให้ระบบ นิเวศน์ฟื้นตัว ทำไมรัฐบาลจึงไม่ฟังเสียงของคณะกรรมการกลาง ทำไมจึงเมินเฉยต่อปัญหาคนจน ที่มาเรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงสิบปี ที่ผ่านมา ทำไมคนจน ซึ่งมีทั้งผู้หญิง คนแก่ และเด็ก จึงต้องเดินทางมาชุมนุมหน้าทำเนียบอีกครั้ง จนถึงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตา ใช้ความรุนแรง และจับกุมชาวบ้านเมื่อพยายามจะเข้าไปภายในบริเวณทำเนียบ (ซึ่งเป็นความพยายามครั้งที่ 2) แต่ต่อมาได้รับการประกันตัว

                เขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ที่ได้รับอนุมัติให้สร้างขึ้นในปี 2532 ในสมัยรัฐบาลชาติชาย ชุณหวัณ และดำเนินการแล้วเสร็จ ในปี 2537 โดยที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอ้างว่าเป็นเอนกประสงค์ นอกจากจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อสนอง ความต้องการด้านพลังงาน ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของเมือง และภาคอุตสาหกรรมแล้ว ยังจะนำความเจริญมาสู่ “พื้นที่” นั้นคือ สามารถพัฒนาระบบชลประทาน ช่วยให้สามารถทำการเกษตรได้มากขึ้น สามารถจะใช้อ่างหลังเขื่อนเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลา และพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีงานทำและมีรายได้มากขึ้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เขื่อนจะนำมาซึ่งการพัฒนามาสู่พื้นที่บริเวณ ปากมูล ซึ่งอยู่ในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถูกมองว่าด้อยพัฒนาในสายตาของรัฐ ภายใต้กระแสการพัฒนาแบบทุนนิยม การสร้าง เขื่อนก็คือสัญลักษณ์ของการพัฒนา ที่จะเอื้อประโยชน์ใหญ่หลวงต่อสังคม แต่ในความเป็นจริง ก็คือการอาศัยตรรกของการพัฒนาเข้าครอบครอง พื้นที่ เพื่อดึงเอาทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการผลิตของคนในชนบทไปให้คนในเมือง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม นั่นเอง

                การสร้างเขื่อนปากมูล ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับเงินกู้จากธนาคารโลก ดำเนินไปท่ามกลางกระแสการคัดค้านจากชาวเมืองอุบลราชธานี และชาวบ้านที่อยู่อาศัยริมฝั่งแม่น้ำมูล ด้วยเหตุผลที่ว่า การสสร้างเขื่อนปากมูลจะมีปผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของแม่น้ำมูลที่เต็มไปด้วยเกาะ แก่ง 50 กว่าแก่ง และมีความสำคัญต่อปลาสองร้อยกว่าชนิดที่อาศัยอยู่ในลำน้ำมูล ซึ่งในจำนวนนี้มีปลาประเภทต่างๆที่อพยพจากแม่น้ำโขงขึ้น มาวางไข่ในแม่น้ำมูล ซึ่งมีบริเวณที่เป็น “ป่าบุ่งป่าทาม” และห้วยหนองที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำมูล เช่นเดียวกับโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ดำเนิน ไปในนามของการพัฒนา การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการตัดสินว่าจะให้มีการสร้างเขื่อนหรือไม่ เป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในส่วนหนึ่งของกระบวนการ วางแผน และการตัดสินใจ เพราะตรรกะของการพัฒนา ก็คือ คนส่วนน้อยต้องเสียสละให้แก่คนส่วนใหญ่ ในกรณีโครงการเขื่อนปากมูล กฟผ.ซึ่ง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบก็หาได้เปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจนว่าจะมีผลกระทบต่อชีวิตชาวบ้เาานอย่างไร ความไม่ยุติธรรมประการแรกคือ แม้กระ ทั่งเขื่อนสร้างจวนจะเสร็จ ชาวบ้านเพิ่งจะทราบว่าที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของตนจะถูกน้ำท่วมหรือไม่ กลวิธีในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่ มีการคัดค้านก็คือ การใช้กลวิธีแบ่งแยกแล้วปกครอง โดยดึงชาวบ้านส่วนหนึ่งที่อิงกับอำนาจรัฐออกไปดูงาน และโน้มน้าวให้สนับสนุนการ สร้างเขื่อน จนกระทั่งพี่น้องชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกันต้องแบ่งแยกออกเป็นสองฝักสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันในประเด็นของการสร้างหรือไม่สร้าง เขื่อน

                มีข้อสังเกตว่า พื้นที่ก่อสร้างเขื่อนปากมูลนั้น เป็นบริเวณระหว่างแก่งหัวเห่วและแก่งตะนะ ที่ชาวบ้าานถือว่าเป็น “เมืองหลวงของ ปลา” เพราะเป็นบริเวณที่มีปลาชุกชุม เนื่องจากมีแก่ง มีถ้ำ ซอกหลืบหิน หรือบาางแห่งเป็น”วัง” หรือที่ที่มีน้ำลึก เพื่อการวางฐานรากของเขื่อน กฟผ.จึงใช้วิธีการระเบิดเขื่อนเพื่อขนย้ายหินออก และเปิดช่องทางสำหรับระบายน้ำที่ออกจากกังหันปั่นไฟ แรงระเบิดในช่วงสามปีของการสร้าง เขื่อนทำให้ปลาตายเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดสะเก็ดหิน ฝุ่นละอองปลิวกระจายทั่วหมู่บ้าน ชาวบ้าน และมีเสียงดังของระเบิด จนชาวบ้านไม่ สามารถอาศัยอยู่ในบ้านของตนได้ การระเบิดแก่งดังกล่าวนี้ ไม่ได้มีการระบุไว้ในแผนงานของโครงการแต่อย่างใด  แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลัง จากการสร้างเขื่อนไม่ใช่อยู่ที่การระเบิดแก่งอย่างเดียว หรือไม่ได้อยู่ที่การที่ชาวบ้านต้องถูกอพยพย้ายบ้านเรือน และที่ทำกินเพราะถูน้ำท่วม เท่านั้น แต่การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ ยังทำให้เกิดน้ำท่วมจากบริเวณหลังเขื่อน ที่ทำให้แก่งต่างๆ ในบริเวณแม่น้ำมูลตอนล่าง 50 กว่าแก่งต้องจม อยู่ภายใต้กระแสน้ำ แต่เดิมแก่งเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นเครื่องฟอกน้ำให้ใสสะอาด ในระบบนิเวศจองลุ่มน้ำมูลตอนล่าง แก่งเป็นแหล่งที่พักอาศัย แหล่งอาหารจองปลาหลากหลายชนิด และเป็นเสมือนบันไดธรรมชาติ ให้ปลาว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ในฤดูน้ำหลาก พื้นที่ป่าบุ่งป่าทาม ริมฝั่ง แม่น้ำมูลที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติก็ถูกน้ำท่วมด้วยเช่นกัน ปัญหาสำคัญที่เกิดตามมาในเชิงนิเวศวิทยาก็คือ ตัว เขื่อนเองกลับกลายเป็นกำแพงขวางกั้น ตัดวงจรของชีวิตชองปลาในลำน้ำมูล และแม่น้ำโขง ทำให้ไม่สามารถว่ายขึ้นมาวางไข่ตามฤดูกาลได้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ได้เขื่อนพลังไฟฟ้า แต่ชาวบ้าน 50 – 60 หมู่บ้านไม่สามารถจะอาศัยลำน้ำเป็นแหล่งทำมาหากินได้เช่นเดิม ชาวบ้านเหบ่านี้ หาใช่ชาวนาที่มีที่ดินปลูกข้าวเป็นหลัก แต่เป็นชาวประมงขนาดเล็กที่จับปลาขาย หรือแลกข้าว ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างบันได ปลาโจนบริเวณหน้าเขื่อน โดยหวังส่าปลาจะสามารถกระโดดขึ้นมาตามขั้นบันไดได้ แต่ในความเป็นจริงบันได้ปลาโจนที่สร้างขึ้นมีความลาด ขันสูงเกินกว่าปลาจนาดต่าง ๆจะขึ้นมา ในน้ำไม่มีปลา เพราะปลาขึ้นน้ำไม่ได้ และการเพาะเลี้ยวปลาของศูนย์เพาะพันธ์ของกรมประมง ก็ไม่ สามารถจะเพาะพันธุ์ ให้เติบโตได้ในอ่างเก็บน้ำหลังเจื่อน ซึ่งมีสภาวะน้ำเสีย เนื่องจากน้ำไม่ถ่ายเท เมื่อรัฐบาลยึด “ พื้นที่ของชาวบ้าน” เพื่อ เปลี่ยนให้เป็น “ พื้นที่ของรัฐเพื่อการพัฒนา “ คำถามก็คือ รัฐ หรือหน่วยงานรับผิดชอบได้ดำเนินการขดเขยให้แก่อย่างไร เพราะประเด็นนี้คนส่วน ใหญ่ไม่เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และมักจะได้รับการบอกเล่าจากกฟผ.ว่า ได้มีการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ชาวบ้านหมดแล้ว และอ้างว่าชาวบ้านบางราย ได้รับเงินค่าชดเชยเป็นเงินเรือนแสนเรือนล้าน ค่าชดเชยแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ ค่าชดเชยให้แก่ชาวบ้านที่ต้องอพยพไปตั้งบ้านเรือนใหม่ ทั้งใน กรณีที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดแก่ง แลกรณีที่พื้นที่ทำกิน หรือที่ชาวบ้านถูกน้ำท่วม กรณีที่สองคือ ค่าชดเชยที่จ่ายให้ชาวบ้าน เนื่องจากการ สูญเสียรายได้ระหว่างการก่อสร้างเจื่อนเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งจ่ายให้เป็นเงินสดรายละ 30000 บาท และเป็นเงินผลประโยชน์ที่ฝากไว้ในรูป สหกรณ์ปากมูลรายละ 60000 บาท แต่กว่าที่ชาวบ้านเหล่านี้จะได้รับเงินก็จะต้องผ่านการต่อสู้เรียกร้องจำนวนหลายครั้ง เนื่องจากกฟผ.มีการ เกณฑ์คิดค่าชดเชย ชาวบ้านที่เติบโตจากแม่น้ำมูล ต้องว่ายน้ำพายเรือและทอดแห เพื่อพิสูจน์ว่า เขาคือชาวประมงที่แท้จริง เงื่อนไขกฎระเบียบ ของทางการ และระยะเวลาที่ทอดยาวนานกว่าจะได้รับค่าชดเชย ก็คือท่าทีที่เฉื่อยชาจากรัฐต่อปัญหาความยุติธรรมในการพัฒนา ที่สุดทำให้ชาว บ้านต้องขายทรัพย์สินที่มีอยู่ หรือกู้ยืมเงิน หรือออกไปเป็นแรงงานรับจ้างต่างจังหวัด ครอบครัวต้องแยกกันอยู่ เกิดสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ยิ่งเมื่อสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ชาวบ้านที่เคยออกไปหางานทำในเมืองก็ต้องกลับคืนสู่บ้าน

                การพัฒนาอาชีพเพื่อให้เป็นทางออกแก่ชาวบ้าน ก็หาได้เป็นจริงตามที่ได้ระบุไว้ในโครงการ กฟผ.จัดให้มีการอบรมวิชาชีพให้แก่ชาว บ้าน เช่น ทำขนมเค้ก ตัดผม ดัดผม ซ่อมจักรยายยนต์ ช่างไฟ แต่การอบรมอาชีพเปล่านี้ กลับมีปัญหา เพราะไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ และชาวบ้านเองก็ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ที่เข้าอบรมส่วนใหญ่เป็นฝ่ายของชาวบ้านที่อยู่ส่วนเดียวกับกฟผ.เมื่อชาวบ้านไม่มีอาชีพทางเลือก ก็ต้องกลับ ไปจับหลาเช่นเดิม จนเกิดข้อขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ประมงที่ต้องการอนุรักษ์พันธ์ปลา และขัดแย้งกับกฟผ.ที่ควบคุมการปิดเปิดประตูระบายน้ำ การ เปิดประตูระบายน้ำทำให้ชาวบ้านเข้าไปหาปลาหน้าเขื่อนไม่ได้ หรือเมื่อมีการเปิดประตูระบายน้ำเพื่อปั่นไฟ น้ำที่ระบายออกมาจากช่องระบาย น้ำกังหัน มีความแรงมากจนทำให้เครื่องมือจับปลาของชาวบ้านถูกน้ำพัดเสียหาย ผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาของรัฐ มิใช่ แค่เพียงการสูญเสียอาชีพ การแตกสลายของชุมชน หรือการสูญเสียองค์ความรู้พื้นบ้านเท่านั้น แต่การที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจากการพัฒนา และการไม่นำพาของรัฐต่างหากที่เป็นผลกระทบทางสังคม ที่ชาวบ้านได้รับครั้งแล้วครั้งเล่า

                การต่อสู้ของชาวปากมูล โดยการรวมตัวเข้ากับสมัชชาคนจนในเงื่อนไขความไม่ยุติธรรม จากการพัฒนา ต้องเข้าใจว่า เป็นความต้อง การที่แสวงหาพ้นที่ทางสังคม ที่ช่วยให้เขาสามารถจะเรียกร้องให้รัฐและสังคมได้รับทราบถึงความไม่ยุติธรรมในการพัฒนา เป็นที่น่าสังเกตว่า ตลอดระยะเวลาดังกล่าว หาได้มีนักการเมืองในท้องถิ่น เข้ามาแก้ไขปัญหาแต่ประการใด การเมื่องในระบบเป็นการเมืองที่ไม่เปิดโอกาสให้คน คนเรียกร้องให้ฟื้นฟูสภาพของแม่น้ำมูลเพื่อให้แม่น้ำมูลอันเป็นสายเลือดของเขาได้ไหลตาม ธรรมชาติ และให้ปลาหลากหลายพันธุ์ได้ขึ้นมาวาง ไข่ตามฤดูกาล แต่ข้อเรียกร้องหาได้รับความสนใจจากรัฐบาลไม่ ชาวบ้านปากมูลจึงได้เข้ามาร้องเรียนต่อรัฐบาลในกรุงเทพ และเข้ายึดพื้นที่ บริเวณทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 นำมาสู่การตั้งคณะกรรมการกลาง ฯ ซึ่งมาจากตัวแทนของทั้งสองฝ่าย แต่ท้ายสุดมติของ คณะกรรมการกลางฯ ก็ไม่ได้รับการพิจารณา จึงทำให้ชาวบ้านปากมูลต้องเข้ามาชุมนุมที่หน้าทำเนียบอีกครั้ง และถูกกดดันจนกระทั่งนำมาสู่ การใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ทุบตี และจับกุมในฐานะที่บุกรุกพื้นที่ของทางราชการ

                ถ้ารัฐบาลได้มองปัญหาของคนจนด้วยความเข้าใจว่า โครงการพัฒนาของรัฐทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรของชาวบ้าน เพื่อประโยชน์ ที่เรียกว่า การพัฒนา ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายแต่ประการใด แต่กลับนำมาสู่ การทำลายสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่การสูญ เสียปัจจัยในการดำรงชีวิตของชาวบ้าน ตลอดจนข้อเท็จจริงที่ว่า รัฐเองก็ไม่มีความเข้าใจปัญหา และไม่ได้แก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง แต่กลับมอง ว่าเป็นปัญหาการเมือง หรือปล่อยให้มีการใช้กำลังเข้ากระทำต่อชาวบ้าน หรือปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกล่าวหาป้ายสีชาวบ้านต่างๆ นานาดังที่ เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา คำถามก็คือ คนจนจะอยู่ได้อย่างไร และความยุติธรรมของการพัฒนาอยู่ที่ไหน ถึงเวลาหรือยังที่สังคมจะต้องประเมิน ผลอย่างจริงจังกับตรรกของการพัฒนา และรัฐที่เมินเฉยต่อคนจน

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา