eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

เอ็มอาร์ซี-รบ.ลลาวตอบโต้กันหนัก กรณีเขื่อนไซยะบุรีกั้นแม่น้ำโขง

10 เมษายน 2554

เอ็มอาร์ซี-รัฐบาลลาวตอบโต้ กันหนัก กรณีสร้างเขื่อนไซยะบุรีกั้นแม่น้ำโขง หวั่นพันธุ์ปลา 100 ชนิดสูญพันธุ์เหตุปิดกั้นเส้นทางวางไข่ เตือนโครงสร้างไม่ได้มาตรฐานหวั่นไม่สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ รัฐบาลลาวแจงข้อกล่าวหาเกินจริง ระบุจำเป็นต้องสร้างต่อ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้เกิดประเด็นความเห็นขัดแย้งและตอบโต้กันระหว่างคณะกรรมาธิการแม่ น้ำโขง(เอ็มอาร์ซี) และรัฐบาลลาว กรณีสร้างเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งเป็นโครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนล่างแห่งแรกที่แขวงไซยะ บุรี สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ทั้งนี้ประเด็นปัญหาเรื่องขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ซึ่งเอ็มอาร์ซี ได้ออกรายงานผลการศึกษาข้อมูลโครงการเขื่อนไซยะบุรี โดยคณะผู้เชี่ยวชาญของเอ็มอาร์ซี ได้ระบุไว้เว็บไซต์ของเอ็มอาซี(www.mrcmekong.org)

ทั้งนี้เนื้อหาในรายงานของเอ็มอาร์ซีระบุว่า กระบวนการภายใต้ระเบียบปฏิบัติเรื่องการแจ้งให้ทราบ การปรึกษาหารือล่วงหน้า และการตกลง (PNPCA) ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง สำหรับโครงการเขื่อนไซยะบุรี เริ่มต้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 ใช้ระยะเวลา 6 เดือน และสิ้นสุดอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 เมษายน 2554 แต่คณะกรรมการร่วม (เจซี) มีมติให้ประชุมเพื่อตัดสินใจกรณีโครงการไซยะบุรี ในวันที่ 19 เมษายน ซึ่งมีข้อค้นพบที่สำคัญดังนี้   

การทบทวนโครงการของเอ็มอาร์ซีได้ให้ความสำคัญประเด็น ต่างๆ ที่ยังไม่มีความแน่นอนและมีความจำเป็นที่ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะผลกระทบข้ามพรมแดน และมาตรการบรรเทาผลกระทบ ตามที่รัฐบาลลาวและผู้พัฒนาโครงการ (ช.การช่าง) ระบุไว้ว่าจะใช้การปฏิบัติโครงการที่ดีตามหลักสากล 

โดยในประเด็นอุทกวิทยา จะมีความแตกต่างระหว่างกระแสน้ำที่ไหลเร็วและมีความหลากหลาย ของกระแสน้ำที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล แต่เขื่อนไซยะบุรีและอ่างเก็บน้ำจะทำให้กระแสน้ำไหลช้าลงและมีผล กระทบในทางลบ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงพบว่าเขื่อนไซยะบุรีและอ่างเก็บน้ำอาจกระทบ ต่อปลาแม่น้ำโขง 23-100 สายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงพันธุ์ปลาใกล้สูญพันธุ์ตามบัญชีแดงของสหภาพสากลว่าด้วยการ อนุรักษ์ หรือ IUCN

ในรายงานของเอ็มอาร์ซีระบุว่า เขื่อนบนแม่น้ำโขงทางตอนล่าง 6 แห่ง จะปิดกั้นเส้นทางสู่แหล่งอาศัยและวางไข่ของปลาอพยพ 39% ซึ่งเป็นปลาที่อพยพจากทางตอนล่างของลุ่มน้ำเพื่อมาวาง ไข่ทางตอนบน และประมาณการว่าผลผลิตการประมงในลุ่มน้ำโขงตอนล่างสูงถึง 2.5 ล้านตันต่อปี เขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงตอนล่าง (หมายถึงเขื่อนไซยะบุรี) จะส่งผลกระทบมากที่สุด

แม้เอกสารโครงการเขื่อนไซยะ บุรีจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับบันไดปลาโจน หรือทางปลาผ่าน แต่คณะผู้เชี่ยวชาญสรุปว่าการออกแบบบันไดปลาโจนสำหรับปลาขึ้นไปวาง ไข่ทางตอนบน และสำหรับพ่อแม่ปลาตลอดจนลูกปลาที่จะว่ายผ่านเขื่อนกลับลงมายังแม่ น้ำโขงทางตอนล่างนั้น “ไม่มีประสิทธิภาพ” ไม่สามารถบรรเทาผลกระทบได้ และส่งผลต่อการสูญเสียพันธุ์ปลาไปในที่สุด

มีความเป็นไปได้ว่าปลาที่ขนาด ยาวกว่า 150 ซม. จะว่ายผ่านเขื่อนไปทางตอนบนได้น้อยมาก มีความเป็นไปได้สูงที่ปลาบึกจะสูญพันธุ์

นอกจากนี้ยังขาดฐานความรู้เกี่ยวกับจำนวนพันธุ์ปลาอพยพ และความสามารถของปลาเหล่านั้นว่าจะว่ายผ่านเขื่อนไปได้อย่างไร ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าผลกระทบต่อปลาจะมากขนาดไหน ตลอดจนผลกระทบต่อวิถีชีวิตและผลกระทบข้ามพรมแดน ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่าได้พิจารณาผลกระทบอย่างรอบด้านแล้วหรือยัง และวางแผนบรรเทาผลกระทบเพียงพอแล้วหรือไม่

ในรายงานของเอ็มอาร์ซีระบุว่า การบรรเทาผลกระทบโดยเฉพาะด้านพันธุ์ปลาที่ออกแบบไว้ ยังไม่เคยนำมาปฏิบัติจริงกับแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก เท่ากับแม่น้ำโขงมาก่อน ควรพิจารณาการเยียวยา และชดเชยความสูญเสียทางการประมงต่อวิถีชีวิตในระดับข้ามพรมแดน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านตะกอนสรุปว่าการออกแบบโครงการยังไม่ได้มาตรฐานของเอ็ม อาร์ซีในเรื่องการจัดการตะกอน คาดว่าหากการใช้งานเขื่อนตามที่ออกแบบไว้ ตะกอนที่ทับถมจะทำให้อ่างเก็บน้ำของเขื่อนไซยะบุรีลดประสิทธิภาพลง 60% ในระยะเวลา 30 ปี

สำหรับประเด็นระบบนิเวศทางน้ำ พบว่าการออกแบบและแผนบรรเทาผลกระทบของเขื่อนไซยะบุรียังไม่ได้ มาตรฐานของเอ็มอาร์ซีและมาตรฐานนานาชาติ  ซึ่งแผ่นดินไหวที่ลาวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ชี้ให้เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทบทวนโครงการตามมาตรฐานความ ปลอดภัยสากล ต้องมีการทบทวน ภายใต้คณะทำงานความปลอดภัยของเขื่อนตามาตรฐานของเอ็มอาร์ซี จำเป็นต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงและวิเคราะห์สถานการหากเขื่อนแตก อย่างเต็มรูปแบบรวมถึงเขื่อนทางตอนบนในจีน

ทั้งนี้เขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนที่วางแผนจะก่อสร้างบนแม่ น้ำโขงเหนือเวียงจันทน์ 6 เขื่อนจะสร้างความสูญเสียต่อการ ประมง  วิถีชีวิตของประชาชนราว 450,000 คน จะต้องได้รับผลกระทบและความเสี่ยง ซึ่งกองเลขาเอ็มอาร์ซีเสนอแนะให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับรายละเอียดที่ระบุไว้ ในรายงานฉบับนี้ และนำไปพิจารณาในข้อตกลงสัมปทานโครงการ และสัญญารับซื้อไฟฟ้า

ใน วันที่ 10 เมษายน เวบไซต์เอ็มอาร์ซี ได้นำเสนอข้อโต้แย้งจากรัฐบาลลาวโดยมีเนื้อหาระบุว่า การศึกษาเรื่องผลกระทบพันธุ์ปลานั้น ทางผู้พัฒนาโครงการ(ช.การช่าง)จะศึกษาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามทางปลาผ่านแบบลำน้ำธรรมชาติที่คณะผู้เชี่ยวชาญของเอ็มอาร์ซีแนะ น้ำนั้นไม่สามารถปฎิบัติได้เพราะมีราคาแพงเกินไป และไม่สามารถใช้ได้ในช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งแม่น้ำโขงมีระดับสูง โดยผลการศึกษาของเอ็มอาร์ซีที่ระบุก่อนหน้านี้นั้นเป็นการกล่าว เกินจริง เนื่องจากเขื่อนไซยะบุรีเป็นเพียงการสร้างเขื่อน 1 แห่งในโครงการสร้างเขื่อนอีกนับ 10 แห่งบนแม่น้ำโขง

ทางการลาวยังระบุด้วยว่า โครงการเขื่อนไซยะบุรีเป็นโครงการที่สร้างการพัฒนาให้กับประเทศและ ประชาชนลาว ซึ่งจำเป็นที่ต้องเดินหน้าต่อไป

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา