eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ถอดข้อความจาก “ผลกระทบของเขื่อนต่อการประมงในลุ่มแม่น้ำโขง

แหล่งที่มา CPWF-Mekong
 http://mekong.waterandfood.org/wp-content/uploads/SOK-1-Thai.pdf
ศึกษาโดย Ilse Pukinskis and Kim Geheb, พฤษภาคม 2555

ข้อมูลด้านการประมง

  1. แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดเป็นลำดับที่สองรองจากแม่น้ำอะเมซอน (Ferguson et al., 2011; ICEM, 2010; World Bank, 2004) มีอัตราความเข้มข้นทางชีวภาพต่อพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแม่น้ำสายอื่น (Valbo-Jørgensen et al., 2009)
  2. แม้การประเมินความหลากหลายทางสายพันธุ์ของสัตว์น้ำยังไม่แน่นอน แต่ประมาณได้ว่าแม่น้ำโขงมีสายพันธุ์ปลาอยู่ประมาณ 850 สายพันธุ์ (Hortle 2009)
  3. จำนวนสายพันธุ์ของปลา ในลุ่มแม่น้ำโขงที่มีการย้ายถิ่นยังไม่ทราบแน่ชัด ปัจจุบันเราทราบเพียงประมาณ 87 เปอร์เซ็นต์ ของสายพันธุ์ทั้งหมดที่มีการย้ายถิ่น (ประมาณ 165 สายพันธุ์) (Baran, 2006; Baran and Ratner, 2007; Baran and Myschowoda 2009)
  4. ประมาณการณ์ว่าสายพันธุ์ของปลาที่มีการย้ายถิ่นมีอยู่ถึง 37 เปอร์เซ็นต์ ของปลาทั้งหมด (Ferguson et al., 2011)
  5. ปลาที่มีการย้ายถิ่นระยะไกลมีอยู่อย่างน้อย 1 ใน 3 ของปริมาณมวลรวมของปลาที่จับได้ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (ICEM, 2010; World Bank, 2004)
  6. ปลา 58 สายพันธุ์ ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศของลุ่มน้ำตอนต้นในเวียงจันทน์ มีความอ่อนไหวอย่างมากต่อการพัฒนาเขื่อนในแม่น้ำสายหลัก
  7. โดยรวมแล้วในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง มีผลผลิตทางการประมงจากปลาและสัตว์น้ำอื่นๆถึง 4.5 ล้านตันต่อปี มูลค่าทางเศรษฐกิจของการประมงแต่ละปีอยู่ที่ 3.9-7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (MRC, 2010b) การประมงแบบธรรมชาติเพียงอย่างเดียวมีมูลค่าถึง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปี (Baran and Ratner, 2007)
  8. ประมาณได้ว่าในแต่ละปีมีการบริโภคปลาและสัตว์น้ำที่จับได้ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างประมาณ 2.56 ล้านตัน (MRC, 2010a) ผลผลิตจากสัตว์น้ำให้คุณค่าทางโปรตีนประมาณ 47-80 เปอร์เซ็นต์แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (Baran and Ratner, 2007; Bush, 2003; Friend and Blake, 2009)
  9. ลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีผลิตผลทางการประมงใหญ่ที่สุด (Baran and Myschowoda, 2009; Baran and Ratner, 2007; ICEM, 2010; Sarkkula et al., 2009)
  10. การประมงในลุ่มแม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในการประมงที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก และมีการค้นพบสัตว์น้ำสายพันธ์ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา
  11. 2 ใน 3 ของประชากร 40 ล้านคนในเขตชนบทของลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างมีชีวิตผูกพันอยู่กับการประมงแบบธรรมชาติ

ผลกระทบของเขื่อน

  1. เขื่อนทำลายชีวิต ของสายพันธุ์ปลาไปแล้วประมาณ 10- 60 เปอร์เซ็นต์ ทั่วโลก (Baran et al., 2009)
  2. ประสบการณ์จากทั่วโลกเป็นหลักฐานยืนยันว่าเขื่อนก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบโดยขัดขวาง เส้นทางอพยพของปลา อย่างไรก็ตาม ยังมีความต้องการข้อมูลด้านผลวิจัยเกี่ยวกับความรุนแรงของผลกระทบของเขื่อนที่มีต่อสายพันธุ์ของปลาในลุ่มแม่น้ำโขงคาดการณ์ว่า เขื่อนจะก่อให้เกิดอุปสรรคที่ยากแก่การเอาชนะได้ต่อการย้ายถิ่นของปลา
  3. เขื่อนจะลดระดับชีพจรน้ำท่วมของลุ่มแม่น้ำโขงในอัตราที่เรายังไม่สามารถคาดเดาได้     
  4. ปลาหลายสายพันธุ์ในแม่น้ำโขงต้องพึ่งพาวัฏจักรของน้ำในการย้ายถิ่นหากฤดูแล้งมีระยะเวลายาวนานขึ้นอาจส่งผลทำให้ ปลาที่อ่อนแอไม่สามารถย้ายถิ่นฐานเพื่อการผสมพันธุ์ได้
  5. หากแผนการที่จะสร้างเขื่อน 11 แห่งบนลำน้ำสายหลักสำเร็จลงในปี ค.ศ. 2030 ลำน้ำกว่า 81 เปอร์เซ็นต์ ของลุ่มน้ำโขงจะถูกขัดขวางและ ส่งผลให้ปลาไม่มีที่อยู่อาศัยและเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน (Baran, 2010)
  6. หากเขื่อนทั้งหมดถูกสร้างตามที่มีการวางแผนไว้จะก่อให้ เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศวิทยา ซึ่งคิดเป็นมูลค่าถึง 274,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (Stone, 2011)
  7. หากภายในปี ค.ศ. 2030 เขื่อน 11 แห่งได้รับการสร้างสำเร็จในบริเวณลุ่ม น้ำโขงตอนล่าง คาดการณ์ได้ว่าความ สูญเสียทางการประมงจะมีปริมาณถึง 550,000-880,000 ตัน เมื่อเปรียบเทียบ กับปี ค.ศ. 2000 (ลดลงประมาณ 26-42 เปอร์เซ็นต์) แต่หากไม่มีการสร้างเขื่อน 11 แห่ง ภายในปี ค.ศ. 2030 ปริมาณความสูญเสีย จะอยู่ที่ 340,000 ตัน (ICEM, 2010)
  8. ประมาณการณ์ของมูลค่าความสูญเสียของผลผลิตทางการประมงอยู่ที่ระหว่าง 200 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ (Baird, 2011) และ 476 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี (ICEM, 2010)
  9. ในปี ค.ศ. 2008 ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงจำนวน 17 คน ได้ ร่วมประชุมกันในที่ประชุมเลขาธิการ คณะกรรมการธิการแม่น้ำโขง โดยได้ ผลสรุปว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถนำมาใช้บริหารจัดการกับจำนวนการอพยพย้ายถิ่นของปลาในลุ่มน้ำโขงได้ (Dugan, 2008: 14)
  10. ยังไม่มีหลักฐาน ยืนยันจากทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกว่ามาตรการในการแก้ไข ผลกระทบสามารถป้องกันผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นกับวัฏจักร ของน้ำและการประมงได้ทั้งหมด ที่เพียงทำได้ก็คือการช่วยลดผลก ระทบลงบ้างเท่านั้น
  11. สิ่งที่สำคัญคือการผลิตและการบริโภคไม่ใช่เรื่องเดียวกันเสมอไป การผลิตอาหารจำนวนมากไม่ได้ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการบริโภคหากอาหารไม่ได้ถูกแจกจ่าย ไปยังผู้ที่ต้องการอาหารเช่นคนยากจนที่ไม่มีกำลังในการซื้อ (Sen, 1981) และนี่คือความแตกต่างระหว่างการประมงแบบเพาะพันธุ์สัตว์น้ำและการประมงแบบธรรมชาติ
  12. การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจะสามารถมาทดแทนการประมงแบบธรรมชาติที่กำลังเสื่อมสลายลงเพราะการสร้างเขื่อนได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้
  13. มีแนวโน้มว่าการประมงจากอ่างเก็บน้ำไม่สามารถชดเชยความสูญเสียของการประมงตามธรรมชาติได้ (Baran and Myschowoda, 2009; Friend and Blake, 2009)
  14. ผลผลิตของสัตว์น้ำจากอ่างเก็บน้ำในเขื่อนไม่สามารถชดเชยความสูญเสียของการประมงตามธรรมชาติที่เกิดจากผลกระ ทบของการสร้างเขื่อนได้
  15. การศึกษาเบื้องต้น พบว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะได้รับมีแนวโน้มจะไม่คุ้มค่ากับความสูญเสียทางสังคมและสภาพแวดล้อม (Kirby and Mainuddin, 2009)
  16. เขื่อนมีผลกระทบด้านลบอย่างใหญ่หลวงต่อการประมง ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบบางรายถึงขั้นล้มละลาย
 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา