eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

สรุปข้อมูลความคืบหน้าโครงการเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน
ณ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๙

ข้อมูลเกี่ยวกับความสูง พื้นที่ที่จะถูกน้ำท่วมและพลังการผลิตของแต่ละเขื่อนจะแตกต่างกันออกไปตามหน่วยงานต่างๆ  ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัดนัก ทั้งนี้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงการวางแผนและไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อย่างเป็นทางการ

เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ลงนามใน Memorandum of Understanding (MOU) กับกระทรวงพลังงานไฟฟ้า ของรัฐบาลพม่าเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเขื่อนมูลค่า หลายหมื่นล้านบาทบนแม่น้ำสาละวินและตะนาวศรี

MOU นี้เป็นกรอบใหญ่สำหรับการศึกษาการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าทั้งลุ่มน้ำสาละวินและตะนาวศรี ข้อมูลปัจจุบันชี้ว่ามีโครงการที่ถูกผลักดันมากที่สุดทั้งสิ้น ๖ แห่ง ได้แก่

๑) ท่าซาง ตั้งอยู่ในรัฐฉาน ขนาด ๗,๑๑๐ เมกกะวัตต์ เขื่อนแห่งนี้จะเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดบนลุ่มน้ำสาละวินและจะสูงที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ ด้วยความสูงถึง ๒๒๘ เมตร เป็นโครงการของบริษัทเอกชนไทย MDX ซึ่งระหว่างปี ๒๕๓๙-๒๕๔๑ กองทัพพม่าบังคับอพยพประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวถึง ๓ แสนคน ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่มีการศึกษาโครงการ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบโครงการ และมีรายงานว่าบริษัทฯ ได้ก่อสร้างถนนจากชายแดนไทยที่จังหวัดเชียงใหม่เข้าถึงหัวงานเขื่อน โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก และอาคารบ้านพักคนงาน 

๒) ยวาติ๊ด ๖๐๐ เมกกะวัตต์ อยู่ในเขตรัฐคะเรนนี ประเทศพม่า  

๓) เว่ยจี หรือสาละวินชายแดนตอนบน ๔,๐๐-๕,๖๐๐ เมกกะวัตต์ ความสูง ๒๒๐ เมตร ตั้งอยู่ที่ “เว่ยจี” บนชายแดนประเทศไทย-พม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรงข้ามกับรัฐกะเหรี่ยง เป็นโครงการของกฟผ. ส่วนหนึ่งของพื้นที่โครงการอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน ขณะนี้มีการตัดถนนเลียบแม่น้ำสาละวินไปจนถึงด่านออเลาะ ใกล้หัวงานเขื่อน

๔) ดา-กวิน หรือสาละวินชายแดนตอนล่าง ๕๐๐ หรือ ๗๙๒ หรือ ๙๐๐ เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ใกล้บ้านท่าตาฝั่ง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน เป็นโครงการของกฟผ. อ่างเก็บน้ำของเขื่อนแห่งนี้จะยาวไปจนจรดฐานของเขื่อนบน

๕) ฮัตจี  ในรัฐกะเหรี่ยง พื้นที่โครงการตรงข้ามกับจังหวัดตาก เขื่อนตั้งอยู่ท้ายน้ำจากชายแดนที่สบเมยลงไปในประเทศพม่าประมาณ ๔๐-๕๐ กิโลเมตร ระดับเก็บกักน้ำของเขื่อน (Head Water) อยู่ที่ระดับประมาณ ๔๘ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง และ crest + ๖๐ เมตร ซึ่งเป็นข้อมูลที่คาดการณ์เท่านั้น ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอน      ทั้งนี้ กฟผ. ระบุว่า เขื่อนกักเก็บน้ำอยู่ที่ระดับ ๔๘ มรทก. จึงจะไม่ท่วมในประเทศไทยเลย พื้นที่อ่างเก็บน้ำจะท่วมเฉพาะในเขตพม่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษา กำลังผลิตติดตั้ง คาดว่าอยู่ในระดับ ๖๐๐-๑,๒๐๐ เมกกะวัตต์ เขื่อนฮัตจีเป็นโครงการที่มีการผลักดันมากที่สุดในขณะนี้ โดยกฟผ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOA)กับกรมไฟฟ้าพลังน้ำพม่า ในการร่วมทุน และล่าสุดได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับบริษัท Sinohydro รัฐวิสาหกิจของจีน เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๙ รายงานข่าวระบุว่ากฟผ. จะกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากประเทศจีนเพื่อลงทุนสร้างเขื่อนแห่งนี้ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว ๓,๘๐๐ ล้านบาท

๖) ตะนาวศรี ๖๐๐ เมกกะวัตต์ อยู่บนแม่น้ำตะนาวศรี หรือภาษาพม่าเรียก “ตะนิ้นตะรี” ตรงข้ามกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา