eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

เขื่อนน้ำเทิน 2

เอกสารนี้เป็นบทที่ 4 ของงานแปลเรื่อง การต่อสู้ทางพลังงาน : ผลกระทบของการพัฒนาเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าในลาว 

เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒพานิช แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มช. แปลและเรียบเรียงจาก 

Power Struggle เขียนโดย Aviva Imhof, International Rivers Network Feb 28, 1999

เขื่อนน้ำเทิน 2 เป็นโครงการเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่ถกเกียงกันมากที่สุดในบรรดาโครงการต่างๆ ที่วางแผนสำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โครงการนี้ตั้งอยู่ในแขวงคำม่วนในตอนกลางของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และไกลเพียง 50 กิโลเมตรทางเหนือน้ำจากโครงการเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเทิน-หินบุน ที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว แผนการ BOT ราคา 102 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกานี้กำลังได้รับการพัฒนาโดย Transfield Holding of Australia, Electricite de France, และบริษัทคนไทย 3 บริษัทที่เข้าร่วมกับรัฐบาลลาว โครงการนี้ได้รับการหน่วงเหนี่ยวไว้ในปัจจุบัน เพื่อรอข้อตกลงการซื้อกระแสไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ข้อตกลงสัมปทานกับรัฐบาล และการตัดสินใจจากธนา คารโลกในการให้ความรับรองและการช่วยเหลือทางการเงินต่อโครงการ

โครงการประกอบด้วยเขื่อนสูง 50 เมตร กันแม่น้ำเทิน ซึ่งเป็นแควที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของแม่โขงโครงการนี้ตั้งอยู่ในตอนกลางของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และน้ำจะท่วมกินอาณาบริเวณเกือบ 450 ตารางกิโลเมตรบนที่ราบสูงนาไค พื้นที่ซึ่งอุดม ไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ น้ำจากอ่างเก็บน้ำน้ำเทินจะตกลงมาสูงมากกว่า 350 เมตรสู่โรงไฟฟ้าซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง681 เมกกะวัตต์ กระแสไฟฟ้าเกือบทั้งหมดจะถูกส่งออกให้แก่ประเทศไทย น้ำที่ถูกปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าจะไหลต่อไปยังเซบังไฟ (เซหมายถึงแม่น้ำ) ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อยู่ห่างราว 150 กิโลเมตรลงไปทางใต้ของโครงการน้ำเทิน เขื่อนนี้ทำให้ประชาชนเกือบ 4,500 คนจำเป็นต้องหาที่อยู่ใหม่

ต้นทุนโดยประมาณของโครงการพุ่งขึ้นจาก 800 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาในปี 2532 เป็น 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาในปี 2541 โดยเปรียบเทียบงบประมาณแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปี 2540 เท่ากับ 341.5 ล้านเหรียญสหรัฐ อเมริกาและผลผลิตมวลรวมประชาชาติคือ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ในเวลาเดียวกัน ผลตอบแทนทางการเงินของ โครงการที่คาดเอาไว้กำลังลดน้อยลงโดยการศึกษาความเป็นไปได้ครั้งแรกของเขื่อนในปี 2534 ประเมินว่าจะก่อให้เกิดรายได้ 176 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาสำหรับภาษีประจำปีที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะได้รับ การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ ที่เป็นอิสระล่าสุด โดยที่ปรึกษาอเมริกัน หลุยส์ เบอร์เกอร์ กล่าวว่าภาษีที่ได้รับจะมีเพียง 33 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

ความน่าเป็นห่วงที่สำคัญเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของธนาคารโลก ก็คือนัยยะของการรับประกันที่อาจเป็นไปได้จำนวน 94 ล้านเหรียญ สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะป้องกันผู้ให้กู้ยืมในกรณีเกี่ยวกับการทำผิดสัญญาซึ่งเป็นผลมาจากความเสี่ยงเกี่ยวกับรัฐและการเปลี่ยนแปลง ทางการเมือง การรับประกันระบุว่ารัฐบาลที่มาภายหลังระหว่างช่วงสัญญา 25 ปี สำหรับโครงการน้ำเทิน 2 ไม่สามารถเปลี่ยนหลัก เกณฑ์เกี่ยวกับข้อตกลงการให้สัมปทาน ในการการจัดเตรียมเกี่ยวกับการรับประกันที่เสนอขึ้นมาเพื่อพิจารณานี้ รัฐบาลลาวมีเแหล่งที่ จะให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและกฏหมายไม่มากนักถ้าผลประโยชน์ที่ให้สัญญาโดยภาคเอกชนไม่ปรากฏเป็นจริงขึ้นมา

ที่ราบสูง นาไค เป็นแหล่งความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์และสัตว์ที่หลากหลาย มี 17 ชนิดที่กำลังจะสูญพันธุ์จากโลก 14 ชนิดที่ใกล้ จะสูญพันธ์จากโลก และอีก 23 ชนิดที่เสี่ยงที่จะสูญไปจากภูมิภาค ทั้งๆ ที่อนาคตของโครงการยังมีคำถาม การทำลายสภาพแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญเกิดขึ้นแล้ว นับจากปี 2533 บริษัททำไม้ที่ดำเนินการโดยทหาร คือบรรษัทเพื่อการพัฒนาพื้นที่บนภูเขา (the BPKP หรือ Mountianous Area Development Corporation ) ตัดไม้สักมากกว่าหนึ่งล้านคิวบิคเมตรในเขตที่ราบสูง นาไค เพื่อที่จะเปิดพื้นที่ สำหรับอ่างเก็บน้ำ การไปดูพื้นที่โครงการในเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ยืนยันว่าการทำไม้จะยังคงดำเนินต่อไปในอัตราที่สูง

ผู้ที่เสนอเขื่อนอ้างว่าที่ราบสูงนาไคเสื่อมสภาพลงโดยการทำไม้จนกระทั่งไม่มีคุณค่าที่จะเก็บรักษาไว้ต่อไป และเขื่อนควรได้รับการ ก่อสร้างเพื่อจัดหารายได้แก่รัฐซึ่งรัฐบาลลาวสามารถนำรายได้นี้มาใช้ในการอนุรักษ์พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่ง ชาติ( the NBCA ) ข้อเสนอนี้ยึดถือไม่ได้ โครงการน้ำเทิน 2 มิใช่โครงการพัฒนาชนบทอย่างชัดเจน ไม่ใช่โครงการการบรรเทาความ ยากจนและการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ทว่ามันเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างเพื่อการก่อให้เกิดรายได้ของรัฐและจะส่งผลกระทบอย่าง รุนแรงต่อสภาพแวดล้อมและการดำรงชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำที่สำคัญสามลุ่มน้ำในตอนกลางของลาว อีกทั้งยังไม่ ตระหนักต่อข้อเท็จจริงกันเลยว่าการอนุรักษ์พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาตินาไค-น้ำเทิน กำลังได้รับการพิจารณา เพื่อให้ทุนดำเนินการจากองค์การสิ่งแวดล้อมของโลก(Global Environmental Facility) และ รัฐบาลดัทช์จนกระทั่งเริ่มเป็นที่ชัดเจนว่า ธนาคารโลกกำลังพิจารณาอย่างเคร่งเครียดในการสนับสนุนโครงการน้ำเทิน 2 และน้ำจะท่วมที่ราบสูงนี้ไปราว 40 เปอร์เซนต์

เขื่อนจะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในหลายๆ วิถีทาง ซึ่งรวมทั้งการสูญเสียของประชาชนจากน้ำท่วม การรุกล้ำ โดยมิชอบและการทำไม้ในพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ และการรบกวนเส้นทางการเดินทางแต่ดั้งเดิมภายใน และข้ามพื้นที่อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ เทินเอื้อประโยชน์ด้านประมงแก่ประชาชนเป็นจำนวนถึง แม่น้ำเทินมรพันธุ์ปลามากกว่า 80 ชนิด รวมทั้งอย่างน้อย 16 ชนิดที่พบเฉพาะถิ่น ประชาชนมากกว่า 1 ล้านคนในลาวตอนกลางพึ่งพิงปลาจากน้ำเทิน น้ำกะดิ่ง น้ำหินบุน เซบังไฟ แม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาของแม่โขง สำหรับโปรตีนที่มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของพวกเขา พื้นที่ที่แยกออกจากกัน 4 พื้นที่ ด้วยกันที่จะประสบกับผลกระทบทางการประมง นั่นคือพื้นที่ลำน้ำใต้เขื่อนที่น้ำเทิน/น้ำกะดิ่ง ลำน้ำเหนือเขื่อนและในบริเวณอ่าง เก็บน้ำตามลำน้ำเซบังไฟและน้ำโขงสายหลัก

ประชาชนเกือบ 4,500 คนจะต้องย้ายตั้งถิ่นฐานใหม่เนื่องจากโครงการนี้ รายงานจากพื้นที่น้ำเทิน ชี้ว่า " การให้คำปรึกษา " ประกอบ ด้วยการบอกกล่าวประชาชนท้องถิ่นว่าเขื่อนจะถูกสร้างและพวกเขาจะได้รับประโยชน์จากมัน ผู้ที่เป็นที่ปรึกษาการสร้างเขื่อนเดิน ทางไปเยี่ยมหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดและสัญญาถึงการมีชีวิตที่ดีกว่าสำหรับชาวบ้าน ผู้ที่เป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากรธรรม ชาติที่ถูกทำลายโดยการทำไม้ที่ขยายวงกว้างออกไปบนที่ราบสูง การคาดหวังของประชาชนบนที่ราบสูงนี้เกิดขึ้นด้วยกิจกรรมต่างๆ รอบๆ โครงการ และเป็นไปได้ว่าพวกเขากำลังประสบปัญหาความไม่แน่นอนอย่างมากสำหรับอนาคตของพวกเขา การสัญญาเกี่ยว กับเขื่อนขัดขวางโครงการพัฒนาทางเลือกและโอกาสต่างๆ สำหรับชาวบ้าน พวกเขาจะถูกทอดทิ้งในพื้นที่ที่ไม่มั่นคงอย่างสูงไม่ว่า เขื่อนจะดำเนินการต่อไปหรือไม่

ครอบครัวต่างๆ จำนวนมากจะถูกกระทบจากการสร้างเขื่อนโดยปราศจากการจ่ายค่าชดเชย ประชาชนมากว่ามากกว่า 4,000 คนอาศัยอยู่ตามริมฝั่งเซบังไฟจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากน้ำที่ท่วมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และการลดลงของพันธุ์ปลา

ประชาชนกว่าพันคนอาศัยอยู่เหนือน้ำตามลำน้ำ น้ำเทิน และตามลำน้ำโขงระหว่างบริเวณที่น้ำกะดิ่งและเซบังไฟไหลมาบรรจบกัน อาจได้รับผลกระทบไปด้วย ผู้ที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้จำนวนมากไม่สามารถได้รับการบรรเทาทุกข์ได้

พื้นที่ทั้งหมดนี้ โครงการได้มีการศึกษาน้อยมาก และไม่มีการพัฒนากระบวนการดำเนินงานเพื่อการขอคำปรึกษากับประชาชน เหล่านี้

ผลกระทบขนานใหญ่ต่อสิ่งแวดล้อมสังคมและเศรษฐกิจของน้ำเทิน 2 ประกอบกับขนาดของโครงการเปรียบเทียบกับขนาดของ เศรษฐกิจลาว ทำให้เป็นการเสี่ยงอย่างสูงสำหรับรัฐบาลลาว น้ำเทิน 2 แสดงให้เห็นว่าโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ดูดกลืนทรัพยากร อย่างมากมาย ใช้ทุนจำนวนมหาศาลในการเตรียมการ และไม่ได้ให้ผลตอบแทนกลับจนกระทั่งสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วในอนาคต ด้วยความต้องการพลังงานในอนาคตที่ไม่แน่นอนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่แม้แต่จะรับประกันได้ว่ารัฐบาลลาว จะหาผู้ซื้อพลังงานได้

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา