eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ความสำเร็จจากการรื้อเขื่อน :
การฟื้นฟูแม่น้ำโดยการรื้อเขื่อนที่ก่อให้เกิดผลเสีย

เอกสารแปลและเรียบเรียงโดย searin จากบางส่วนของหนังสือเผยแพร่ความรู้ เรื่อง การรื้อเขื่อนในอเมริกา ของ
Friends of The Earth, American River และ Trout Unlimited

เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง

ก. ข้อมูลที่พบจากการวิจัย

เราได้พบข้อมูลที่น่าสนใจจากการรื้อเขื่อนใน 43 รัฐ จากข้อมูลที่ได้มีการบันทึก พบว่า รัฐที่มีการรื้อ เขื่อนมากที่สุดตามลำดับ คือรัฐวิสคอนซิส(73 เขื่อน) รัฐแคลิฟอร์เนีย(47 เขื่อน) รัฐโอไฮโอ (39 เขื่อน) รัฐเพนซิลวาเนีย(38 เขื่อน) และ รัฐเทนเนสซี่(25 เขื่อน) นับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา รัฐวิสคอนซิล และรัฐเพนซิลวาเนียเป็นรัฐที่มี การรื้อเขื่อนมากที่สุด คือ 37 เขื่อน และ 29 เขื่อนตามลำดับ เขื่อน ที่ถูกรื้อ ประกอบด้วยเขื่อนทุก ประเภทตั้งแต่เขื่อนเพื่อการผลิตไฟฟ้า การชลประทาน การควบคุมน้ำท่วม จนถึง เขื่อนเพื่อการนันทนาการ  ซึ่งมีทั้งชนิด เขื่อนดิน เขื่อนคอนกรีตโค้ง  เขื่อนหิน(หรือดิน)ถม  เขื่อนMasonry (เขื่อนที่ก่อด้วยอิฐถือปูน)  เขื่อนTimber Crib (เขื่อนที่ก่อด้วยไม้สาน) โดยประกอบด้วยเขื่อนของรัฐ เขื่อนของเอกชน รวมทั้งเขื่อนที่ถูกละทิ้ง

ความสูงเฉลี่ยของเขื่อนที่ถูกรื้อ ที่สามารถวัดระดับความสูงได้ (394 เขื่อนจากทั้งหมด 467 เขื่อนที่มีการวัด ความสูง) อยู่ที่ระดับ 21 ฟุต โดยขนาดความสูงกลางอยู่ที่ 15 ฟุต อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่า เขื่อนทั้งหมดจะมีขนาดเล็ก มีมากกว่า 40 เขื่อนที่มีความสูง ตั่งแต่ 40 ฟุตขึ้นไป ซึ่งรวมไปถึง 4 เขื่อน ที่มีความ สูงมากกว่า 120 ฟุต เขื่อนที่สูงที่สุดมีขนาด 160 ฟุต (เขื่อน Occidental Chem Pond บนแม่น้ำ Duck ในรัฐเทนเนสซี่ ) เขื่อนที่เล็กที่สุดมีขนาด 2 ฟุต ( เขื่อน Hampden Recreation Area บนแม่น้ำ Souadabscook ในรัฐเมน)  จากเขื่อนที่สามารถวัดความยาวได้ (มี 89 เขื่อนจาก 467 เขื่อนได้รับการวัดความยาว) พบว่ามีความยาว เฉลี่ยประมาณ 224 ฟุต และมีค่าความยาวกลางอยู่ที่ 170 ฟุต เขื่อนที่มีความยาวมากที่สุด คือ 1,060 ฟุต (เขื่อน Lewiston บนแม่น้ำ Clearwater ในรัฐไอดาโฮ) ส่วนเขื่อนที่สั้นที่สุดวัดได้คือ 10 ฟุต มี 2 เขื่อนบนลำน้ำ Lititz Run ในรัฐเพนซิลวาเนีย

เขื่อนส่วนมากถูกรื้อในช่วงทศวรรษที่ 1980 (92 เขื่อน) และทศวรรษที่ 1990 (177 เขื่อน)  และปี 1998 เป็นปีที่มีการรื้อมากที่สุด คือ 29 เขื่อน อย่างไรก็ตามเป็นการยากที่จะระบุว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นของจำนวนเขื่อน ที่ถูกรื้อนี้ เป็นเพราะ การเก็บบันทึกข้อมูลที่ดีขึ้น และความตระหนัก สนใจต่อปัญหาของประชาชน ของช่วงระยะหลังที่ผ่านมา หรือว่าเป็นเพราะการรื้อเขื่อนได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจริงๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากข้อมูลเท่าที่มีการบันทึก เขื่อนที่ถูกรื้อในยุคแรกสุด คือ เขื่อน Marquette บนแม่น้ำ Dead รัฐมิชิแกน ในปี 1912  เขื่อน Russel บนแม่น้ำ Hayfork รัฐแคร์ลิฟอร์เนีย ในปี 1922  เขื่อน Sunbeam บนแม่น้ำ Salmon รัฐไอดาโฮ ในปี 1934  และเขื่อน Baltic Mills บนแม่น้ำ Shetucket รัฐ คอนเน็คติคัท ในปี 1938

ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนเขื่อนนั้นแตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับสภาพของแม่น้ำที่เขื่อนตั้งอยู่ แม้ว่าเรา จะมีข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนเขื่อนไม่มากนัก แต่จากข้อมูลที่มีพบว่า ค่าใช้จ่ายต่ำสุดในการรื้อคือ 1,500 เหรียญสหรัฐ (เขื่อน Amish บน Muddy Creek รัฐเพนวิลวาเนีย) และสูงสุดคือ 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (เขื่อน Two-Mile บนแม่น้ำ Santa Fe รัฐนิวเม็กซิโก) โดยผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายก็แตกต่างกันตามความเป็น เจ้าของเขื่อน ตั้งแต่หน่วยงานระดับประเทศ, ระดับรัฐ, และระดับท้องถิ่น รวมถึงภาคประชาชน และกลุ่มองค์กรต่าง ๆ   ตัวอย่างแหล่งงบประมาณการรื้อเขื่อนที่ น่าสนใจที่สุด ได้แก่ กองทุนบริจาคจากการ ซื้อป้ายทะเบียนรถยนต์ (License Plate Programs) (เขื่อน Jacoby Road บนแม่น้ำ Little Miami  ในรัฐโอไฮโอ) กองทุนเพื่อการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม (4 เขื่อนบนแม่น้ำ Naugatuck ในรัฐ คอนเน็คติคัท) และจากแผนงานการ ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของเขื่อนต่างๆที่ยัง ดำเนินงานอยู่ ของลุ่มน้ำนั้นๆ (เขื่อน Stronach บนแม่น้ำ Pine ในรัฐมิชิแกน)

ข. บเรียนจากการรื้อเขื่อน

จากการรื้อเขื่อนที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมากแก่ผู้สนับสนุนการฟื้นฟูสภาพแม่น้ำ ชุมชน ท้องถิ่น เจ้าของเขื่อน ตลอดถึงหน่วยงานของรัฐทั้งระดับท้องถิ่น ระดับรัฐ และระดับประเทศ   เหตุผลที่ สำคัญ ที่สุดในการรื้อเขื่อนคือเหตุผลทางด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ต้นทุนในการจัดการด้านความปลอดภัย และประเด็นความเสียหายทางระบบนิเวศ ซึ่งเกิด จากเขื่อนเก่า และหรือเขื่อนที่กำลังจะหมดอายุแล้ว การรื้อเขื่อนที่ผ่านมาได้ แสดง ให้เห็นถึงประโยชน์สำคัญที่มีต่อแม่น้ำ ระบบแม่น้ำ และชุมชนริมฝั่งแม่น้ำ ได้แก่

·       การฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ

·       การปรับปรุงคุณภาพน้ำ

·       การฟื้นฟูเส้นทางการอพยพของปลา จากต้นน้ำและปลายน้ำ

·       การฟื้นฟูพันธุ์สัตว์ที่กำลังถูกคุกคาม และใกล้จะสูญพันธุ์

·       ตัดปัญหาด้านความเสี่ยงของเขื่อน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

·       ประหยัดเงินภาษีของประชาชน

·       ปรับปรุงทัศนียภาพของแม่น้ำ

·       ปรับปรุงการประมง

·       ปรับปรุงแหล่งนันทนาการในการล่องเรือ

·       ปรับปรุงการเข้าใช้ประโยชน์แหล่งน้ำสาธาณะ ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ

·       เพิ่มที่ดินกลับคืนมาให้กับพื้นที่สาธารณะ และเอกชน

·       ปรับปรุงแหล่งนันทนาการริมฝั่งแม่น้ำ

·       เพิ่มการท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตามเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจว่าในขณะที่การรื้อเขื่อนเป็นทางหนึ่ง ที่จะช่วย บรรเทา ผลกระทบและความเสี่ยงอันเกิดจากเขื่อน ผู้สนับสนุนการฟื้นฟูแม่น้ำไม่ได้เรียกร้องที่จะให้มีการรื้อ เขื่อนทุกเขื่อนหรือเขื่อนเกือบทั้งหมด  ทุกวันนี้ มีจำนวนน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของเขื่อนทั้งหมดใน สหรัฐอเมริกาที่อยู่ภายใต้การพิจารณาให้มีการรื้อ และเปอร์เซ็นต์ของการผลิตไฟฟ้า และการกักเก็บน้ำจาก เขื่อนเหล่านี้ก็มีค่าน้อยมาก จากบเรียนที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า จากการฟื้นฟูสภาพแม่น้ำและชุมชนวิธีนี้ ไม่ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อผลประโยชน์ ที่ได้รับจากหลายสิบเขื่อนของ ประเทศ

เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่จะต้องระบุว่า ไม่ใช่ว่าการรื้อเขื่อนทุกเขื่อนจะประสบความสำเร็จ หลาย เขื่อนอาจถูกรื้ออย่างไม่ถูกต้อง ในเอกสารภาคผนวก A. ของรายงานฉบับนี้ ยังได้รวบรวมกรณีศึกษาของเขื่อน Fort Edward บนแม่น้ำ Hudson ในรัฐนิวยอร์ค เขื่อนนี้ถูกรื้อในปี 1973 โดยปราศจากการวิเคราะห์และ ตรวจสอบตะกอนหลังเขื่อนอย่างเพียงพอ  ซึ่งมีผลทำให้ ตะกอน PCB (Poly-Chlorinated Biphenals)  จำนวนหลายตันได้ถูกปล่อย ไหลลงตามลำน้ำ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์ป่า และปัญหาสาธารณสุข กรณีของเขื่อนนี้ถึงแม้จะเป็นที่ชัดเจน ว่าไม่ใช่ตัวอย่างที่ถูกต้องในการรื้อเขื่อน  แต่ก็เป็นบเรียนที่มีคุณค่า สำหรับก้าวต่อไปที่จะไม่ให้ความผิดพลาดนี้ เกิดขึ้นซ้ำอีกรณีศึกษาต่างๆในรายงานนี้ได้ชี้ให้เห็นถึง ความสำคัญของการรับผิดชอบและความรู้ ในการรื้อเขื่อน เพื่อลดหรือกำจัดผลกระทบจากการรื้อเขื่อน

 ปัจจุบันนี้การรื้อเขื่อนไม่ได้ถูกพิจารณาว่าเป็นวิธีการที่รุนแรง สุดโต่งในการฟื้นฟูแม่น้ำอีกต่อไป ยังมีโอกาสอีกมากในการที่จะใช้การรื้อเขื่อนเพื่อเป็นวิธีการในการฟื้นฟูสภาพแม่น้ำ ในพื้นที่ที่เหมาะสม การดำเนินการรื้อเขื่อนต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยเลือกรื้อเขื่อนที่มีผลเสีย คือเขื่อนซึ่งต้นทุนสูงกว่าผลประโยชน์ ที่ได้รับ หรือเขื่อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะ หรือทั้งสองกรณี จะทำให้เราสามารถที่จะเริ่มฟื้นฟู ผลประโยชน์ ทางด้านระบบนิเวศ ด้านความปลอดภัย และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำได้ไหล อย่างเป็นอิสระ

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา