ปัญหาเขื่อนปากมูล
บทเรียนและทางออกของสังคมไทย ภายใต้อุ้งมือ ธนาคารโลก

fas fa-pencil-alt
ประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี-กลุ่มเพื่อนประชาชน
fas fa-calendar
 2542

ปฐมบทแห่งปัญหา

       2504 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ของประเทศไทยได้กำเนิดขึ้น โดยมีคณะที่ปรึกษาจากธนาคารโลก ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนา ซึ่งมีแนวคิดกระแสหลักในการพัฒนาประเทศไปสู่ความศิวิไลซ์ แบบตะวันตกและอเมริกา การก่อกำเนิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในลักษณะนี้ได้นำพาไปสู่การกู้เงินจำนวน มากมาพัฒนาประเทศ อาทิ ระบบคมนาคม ถนนหนทางเพื่อการขนส่งทรัพยากรส่งออก นำรายได้เข้าประเทศ การสร้าง เขื่อนขนาดใหญ่ ที่ถูกนิยามว่าเป็นสัญญลักษณ์ของการพัฒนา เพื่อกักเก็บน้ำ ผลิตกระแสไฟฟ้า ป้อนโรงงานอุตสาหกรรม ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูกพืชที่ตลาดยุโรปและอเมริกาต้องการ ข้าว ข้าวโพด มันสำประหลัง ถูกเร่งการผลิตป้อนตลาดยุโรป และอเมริกาเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์

          สามสิบปีต่อมา การพัฒนากระแสหลักยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเร่งรีบเพื่อมุ่งหน้าสู่การเป็น ประเทศ อุตสาหกรรมใหม่ในนามเสือตัวที่ห้าของเอเชีย การจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI เพื่อส่งเสริมและ อำนวย ความสะดวกให้กับการลงทุนด้านอุตสาหกรรม การลดกำแพงภาษีการลงทุน การผ่อนผันภาษีนำเข้าเครื่องจักร เพื่อโรงงาน อุตสาหกรรม ได้นำไปสู่การแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการผลิตเพื่อการส่งออกอย่างบ้าคลั่ง การให้ สัมปทานป่า ที่ผ่านมา การทำลายป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่การเกษตร ได้ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมในเวลาต่อมา ฤดูการที่คลาดเคลื่อน ร้อนจัด หนาวจัด ได้ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้จะมีเขื่อนภูมิพล มาตั้งแต่ปี 2507 และเขื่อนขนาดใหญ่อีกกว่า 40 เขื่อน ก็ตาม ก็ยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการแบบไม่มีวันพอ โดยอ้างการ พัฒนาบังหน้า

กำเนิดเขื่อนปากมูล

ภายใต้กระแสการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ปี 2510 สำนักงานพลังงานแห่งชาติ โดยความร่วมมือของ รัฐบาลฝรั่งเศส ได้เข้ามาศึกษาและสำรวจเบื้องต้นเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำมูล ในเขตพื้นที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ต่อมาได้ดำเนินการศึกษา ตามความเหมาะสมของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล โดยเน้นวัตถุประสงค์ ทางด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าเพียง อย่างเดียว เกิดเป็นโครงการเขื่อนปากมูล และในเบื้องต้นวางแผนที่จะสร้างเขื่อนบริเวณแก่งตะนะห่างจากปากแม่มูล 4 กม. มีขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 108 MW ตัวเขื่อนสูง 23 ม.ระดับกักเก็บน้ำ(+)112 ม.รทก.เก็บกักน้ำได้ 600 ล้านลบ.ม. พื้นที่ผิว อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกม. ใช้งบประมาณก่อนสร้าง 648 ล้านบาท ปี 2522 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) รับโอนโครงการฯ จากสำนักงานการพลังงานแห่งชาติ ภายใต้การเห็นชอบของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ กฟผ. ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส โดยบริษัทที่ปรึกษา SOGREAH ทำการศึกษาเพิ่มเติม ให้เป็นโครง การเอนกประสงค์ ซึ่งจะให้ประโยชน์ทางด้านการไฟฟ้า ชลประทาน และประมง และเพิ่มกำลังการผลิตติดตั้ง เป็น 136 MW ใช้งบประมาณก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็น 4,226 ล้านบาท แต่ในปี 2524 กฟผ.ว่าจ้างบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอ็นจีเนียร์จำกัด ทำการศึกษาทางด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม พบว่าโครงการจะมีผลกระทบสูง โดยเฉพาะด้านการอพยพราษฎรประมาณ 4,000 ครอบครัว กฟผ.จึงระงับโครงการไว้ก่อน ต่อมาปี 2530 กฟผ. ได้ย้ายที่ตั้งโครงการจากบริเวณอุทยานแห่งชาติ (แก่งตะนะ) ขึ้นมา ทางเหนือของลำน้ำอีก 1.5 กม. ตรงบริเวณบ้านหัวเหว่ และลดระดับกักเก็บน้ำเหลือ (+)108 ม.รทก.

2532 กฟผ. นำโครงการเขื่อนปากมูล ซึ่งเป็นโครงการเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เข้าไปในโครงการอีสานเขียว (โขง-ชี-มูล) ซึ่งเป็นโครงการชลประทานเสนอขออนุมัติต่อ ครม.สัญจรที่ จ.อุบลราชธานีและได้รับอนุมัติในหลักการ 13 เมษายน 2532 ท่ามกลางการคัดค้านของชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรนักศึกษา ขณะที่ ครม.มีมติให้ กฟผ.สามารถเข้าทำ ประโยชน์ในอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ เพื่อสร้างเขื่อนปากมูลและโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

ตัวแปรสำคัญในการกำเนิดเขื่อนปากมูลเกิดขึ้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534 คณะ รสช.ได้ทำการ รัฐประหาร แต่ตัวแทนชาวบ้าน ยังยื่นจดหมายคัดค้านการสร้างเขื่อนปากมูล พร้อมทั้งรายชื่อราษฎร 12,000 ราย ต่อตัวแทนธนาคารโลกประจำประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพฯ 15 พฤษภาคม 2534 กฟผ.เริ่มลงมือก่อสร้างเขื่อน โดยการรื้อศาลเพียงตา ท่ามกลางการชุมนุมคัดค้าน โครงการโดย ตัวแทนชาวบ้าน ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนและตัวแทนนักศึกษา ได้ทำหนังสือเรียกร้องให้ นายอานันท์ ปันยารชุนชะลอการสร้างเขื่อนไว้ก่อน และเรียกร้องให้เปิดเผยผลกระทบที่แท้จริงจากการสร้างเขื่อน ขณะที่ตัวแทนชาวบ้าน 6 คน ได้เข้าพบนายไพจิตร เอื้อทวีกุล รมต.ประจำสำนักนายกฯ เพื่อเจรจาปัญหาต่างๆ นายไพจิตร ได้รับปากที่จะแต่งตั้ง คณะกรรมการขึ้น ภายใน 2 เดือน แต่ข้อเรียกร้องให้ชะลอโครงการไม่สามารถทำได้ ยกเว้นหากผลการสำรวจจำนวน ครอบครัวเกินกว่า 1,000 ครอบครัว จะทบทวนทันที

ขณะที่องค์กรนักศึกษา 69 องค์กรทั่วประเทศ ประชุมกรณีเขื่อนปากมูลมีมติร่วมกันให้รัฐบาลระงับการก่อสร้าง เขื่อนปากมูล และให้ธนาคารโลก ยกเลิกการให้เงินกู้ ตัวแทนชาวบ้านค้านเขื่อนปากมูลยื่นหนังสือถึง นายลิวอิสที่ เพรสติน ประธาน ธนาคารโลกให้พิจารณาระงับเงินกู้ เพราะ กฟผ. ไม่มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และในวัน เดียวกันนัก ศึกษาจำนวน 22 คน อดข้าวประท้วงต่อคณะกรรมการบริหารธนาคารโลก ชาวบ้านประท้วงอยู่หน้าสำนักงานธนาคาร โลกประเทศไทย 200 คน การประท้วงดำเนินไป 3 วัน จนทำให้คณะกรรมการบริหารธนาคารโลก ตัดสินใจเลื่อนการ พิจารณาให้เงินกู้โครงการเขื่อนปากมูลออกไป จนกว่าการประชุมผู้ว่าการธนาคารโลก จะเสร็จสิ้น โดยจะเดินทางมาหาข้อมูล ในพื้นที่และพบชาวบ้าน แต่ในเวลาต่อมา ที่ประชุมธนาคารโลกก็ได้อนุมัติเงินกู้รัฐบาลไทยจำนวน 22 ล้านเหรียญหรือ 567 ล้านบาท ด้วยมติไม่เป็นเอกฉันท์ ขณะที่ตัวแทนชาวบ้านยื่นหนังสือประณามประเทศที่ลงมติให้เงินกู้แก่โครงการเขื่อนปากมูล และเรียกร้องให้ประเทศเหล่านั้นรับผิดชอบต่ออนาคตของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล


ผลกระทบที่เกิดขึ้น

การก่อสร้างเขื่อนปากมูลได้ดำเนินการไปท่ามกลางการประท้วง การคัดค้านจากชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง การก่อสร้างสัน เขื่อนและทางระบายน้ำได้มีการทำการระเบิดแก่งอย่างน้อยสองแก่งเพื่อทำร่องระบายน้ำ และการกักเก็บน้ำที่ทำให้น้ำต้อง ท่วมแก่งต่างๆ อีกกว่า 50 แก่ง ยิ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์สายน้ำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะผลกระทบต่อพันธ์ปลา จนทำให้รัฐบาลต่อมาตั้งกรรมการขึ้นมาศึกษาผลกระทบและได้มีการจ่ายค่าชดเชยให้กับชาวบ้านมากกว่าสี่พันครอบครัวใน เวลาต่อมา ขณะที่ กฟผ. อ้างว่าได้สร้างบันไดปลาโจนเพื่อให้ปลาข้ามไปยังต้นน้ำ แต่ในความเป็นจริงแล้วปลาไม่สามารถ ข้ามไปได้จริงตามที่ กฟผ. ได้โฆษณาไว้

ด้านเศรษฐกิจ ความคุ้มทุน เมื่อโครงการเขื่อนปากมูลสร้างเสร็จจริงในปี 2537 ?ด้มีการใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า ของงบที่ตั้งไว้คือ 3,880 ?้านบาท เป็น 6,600 ล้านบาท ซึ่งในเวลาต่อมาผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่ง ประเทศไทย TDRI. ภายใต้การอำนวยการของคณะกรรมการเขื่อนโลก ได้ชี้ให้เห็นว่าโครงการเขื่อนปากมูลนั้นไม่มีความ คุ้มทุน ถือว่าเป็นโครงการที่ล้มเหลว ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนแม้จะคำนวณต่อไปอีก 50 ปีตามที่โครงการคาดการณ์ไว้ (ดูรายละ เอียดใน ห?วัดสนับสนุนการสร้างเขื่อน เพื่อให้ได้มาซึ่งวัถุ ไม่ว่าจะเป็นโบถ วิหารที่โครงการเขื่อนปากมูลมอบให้ การโยก ย้ายโบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดวาอาราม ไม่ต้องรวมถึงโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ยังไม่ได้สำรวจตรวจสอบอย่างรอบครอบ

ด้านสาธารณะสุข สุขภาพอนามัยของชาวบ้านย่ำแย่ลงอันเนื่องมาจากไม่มีรายได้ ไม่มีปลาในแม่น้ำให้จับต่อไป ในทางกลับกัน เมื่อเกิดการกักเก็บน้ำน้ำจึงเน่าเสีย เป็นแห่งแพร่เชื้อโรค จากสถิติของกระทรวงสาธารณะสุขชี้ให้เห็นถึงการเกิดโรคพยาธิใบ ไม้ในตัยสูงขึ้น เพราะน้ำนิ่งเชื้อโรคมาก อีกทั้งยังต้องวิตกกังวลกับโรคพยาธิใบไม้ในเลือด ซึ่ง กฟผ. ยืนยันว่าไม่มี ขณะที่กระ ทรวงสาธารณะสุขกลับรณรงค์และจัดอบรมในการป้องกันให้กับชาวบ้านทุกหมู่บ้านในระแวกอ่างเก็บน้ำจนชาวบ้านไม่กล้า ลงน้ำ อีกทั้งการระบาดของหอนคัน ทำให้ชาวบ้านบางคนที่แพ้ไม่สามารถลงน้ำได้เพราะเกิดผื่นคันตามตัวอย่างมิอาจหลีก เลี่ยงได้

ด้านระบบนิเวศน์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องพันธ์ปลา ที่มีจำนวนและปริมาณลดลงอย่างมาก จนชาวบ้านที่ ได้รับผลกระทบโดยตรงต้องออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ กฟผ. รัฐบาล และธนาคารโลก ร่วมกันรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นในวัน นี้ โดยชาวบ้านได้เรียกร้องให้ทั้ง 3 องค์กรนี้จัดหาที่ดินให้ครอบครัวละ 15 ไร่ เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนสอง ริมฝั่งแม่น้ำมูน ชาวบ้านได้รวมตัวกันจัดตั้งหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนขึ้นที่ริมสันเขื่อนปากมูล มาตั้งแต่วันที่ 23 ?ีนาคม 2542 ในปัจจุบัน เพื่อยืนยันข้อเรียกร้องที่พึงมีพึงได้ตามสิทธิที่ตนเองควรได้รับ หากแต่หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กฟผ. รัฐบาล และธนาคารโลก กลับเพิกเฉย ปิดข่าว ปิดหู ปิดตา ประชาชน อย่าต่อเนื่อง รายงานของธนาคารโลก ระบุว่าชาวบ้าน อยู่ดีกินดี จับกุ่งขายรายได้ดีกว่าเดิม รัฐบาลไทยป้ายสีว่าชาวบ้านไม่ได้เดือดร้อน ชาวบ้านที่มาชุมนุมมีเบื้องหลังต้องการล้ม รัฐบาล กฟผ. กล่าวหาว่าชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแต่มีมือที่สามมายุยงการชุมนุมจึงยืดเยื้อและยาวนาน นั่นเป็นการชี้ชัด ถึงการไม่ยอมรับความเป็นจริงที่ประจานอยู่ต่อหน้า

ด้านพลังงานไฟฟ้า จากผลการศึกษาของคณะกรรมการเขื่อนโลก ได้ชี้ให้เห็นว่า เขื่อนปากมูล ไม่สามารถผลิตพลังงานได้ตาม ที่โฆษณาไว้ และยังผลิตจริงน้อยมากไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานที่ใช้อยู่ในประเทศไทย อีกทั้งท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้น ความต้องการพลังงานลดลงเป็นอย่างมาก จึงแทบจะไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเขื่อนปากมูล ซึ่งผลิตได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เป็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน ที่ชาวบ้านคนยากคนจนถูกกระแสการพัฒนากระหน่ำทำลายจน ชุมชนล่มสลาย ธรรมชาติถูกทำลายจนย่อยยับ นอกจากนั้นยังจะหวังผึ้งการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงาน หรือองค์กรที่ก่อปัญหา อย่าง กฟผ. รัฐบาล และธนาคารโลก ไม่ได้เป็นแน่แท้ ประชาชนจึงต้องรวมตัวกัน ประสานงานกัน จนก่อเกิดเป็นเครือข่าย องค์กรประชาชนที่เข้มแข็งในนาม สมัชชาคนจน กระนั้นก็ตาม กฟผ. รัฐบาล และธนาคารโลก ก็ไม่ใส่ใจในปัญหาปล่อย ให้ชาวบ้านต้องเผชิญกับปัญหาที่ตนไม่ได้ก่อให้เกิดขึ้น จนนักวิชาการจากหลายส่วนจึงได้ร่วมกันจัดเวทีระดมความคิดกัน ขึ้นในวันที่ 20-21 ?มษายน 2543 นี้ ณ ที่หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนแห่งนี้ เป็นเวทีอภิปราย “คนจนกับทางออกของสังคมไทย” เพื่อร่วมกันแสวงหาทางออกร่วมกัน โดย อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ , คุณอานันท์ ปันยารชุน , อาจารย์เสน่ห์ จามริก , อาจารย์ประเวศ วะสี , อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ , ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง , อาจารย์สุริชัย หวันแก้ว , อาจารย์เกษียร เตชะพีระ , อาจารย์วรวิทย์ เจริญเลิศ , อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ , อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม , ดร. ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ เป็นต้น


บทเรียน และทางออก ที่ต้องสรุป

30 ปี ของการพัฒนาที่ผ่านมา โครงการของรัฐได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เมื่อสิ่งแวด ล้อมเสียหายชีวิตความเป็นอยู่ก็ถูกกระเทือน จึงอาจกล่าวได้ว่าการเกิดขึ้นของขบวนการประชาชนอย่าง สมัชชาคนจน นั้น เป็นผลผลิตของการล่มสลายของสิ่งแวดล้อมของไทย เป็นการแสดงออกถึงการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของตน และเพื่อให้ ได้มาซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น การแย่งชิง การใช้ทรัพยากรในชนบทมากขึ้น ก่อให้เกิดการสูญเสียไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ สมัชชาคนจนก็เป็นผลผลิตมาจากความขัดแย้งในการช่วงชิงทรัพยากร ผู้ไร้อำนาจเป็นผู้เสียเปรียบ ดังนั้นจึงต้องรวมตัวกัน เพื่อสร้างเวทีของการเคลื่อนไหว ระดมพลังเพื่อสร้างอำนาจคานกับรัฐราชการ รัฐบาล และองค์กรข้ามชาติ ในแง่นี้ จะเห็นว่า สมัชชาคนจน เป็นขบวนการเพื่อสร้างความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมอันเป็นเรื่องความยุติธรรมสมัยใหม่ที่ไม่เหมือน ความยุติธรรมสมัยก่อน

ทางออกที่เหลืออยู่ของประชาชน คนยากคนจน ในวันนี้เห็นจะมีเพียงแต่การรวมกลุ่ม รวมตัวกัน สร้างพลัง กดดัน ต่อรอง เรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปล ทั้งทางด้านนโยบายและกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของคนจน คนทั้งชาติ ประสานพันธมิตร ทุกหมู่เหล่าร่วมกันปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาประเทศแบบล้างผลานไปสู่แนวทางการ พัฒนาประเทศแบบยั่งยืน ทั้งเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ปกป้องการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ต่อต้านการเอารัดเอาเปรียบ ของบริษัทข้ามชาติ รัฐไทยซึ่งเป็นเครื่องมือของทุนข้ามชาติในการให้เขาเข้ามาขูดรีดคนไทย ทั้งในรูปแบบการเงิน การอ้าง การพัฒนา การอ้างความช่วยเหลือ ต่างๆ นานา หลายรูปแบบ สังคมจึงต้องตื่นตัวและเท่าทันรูปแบบการสูบรีดแบบใหม่ใน นามการพัฒนา

ต่อกรณีปัญหาเขื่อนปากมูล กฟผ. รัฐบาล และธนาคารโลก พึงยอมรับในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยการเปิดประตูน้ำที่กั้น สายน้ำอยู่ ให้แม่น้ำเป็นอิสระ และฟื้นฟูระบบนิเวศน์ลำน้ำให้ปลาจากแม่น้ำโขงกลับเข้ามาหล่อเลี้ยงคนสองฝั่งแม่น้ำมูนนับ สิบล้านคน เพราะผลการวิจัย ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานจากเขื่อนปากมูล พลังงานสำรองก็ เหลือเฟือ อีกทั้งควรต้องเยียวยาชาวบ้าน ชุมชน และสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่ผิดพลาดเช่นนี้

กฟผ. รัฐบาล และธนาคารโลก ควรสรุปบทเรียนการพัฒนาที่ผิดพลาด กรณีปัญหาเขื่อนปากมูลนี้ เป็นบทเรียนในการวาง โครงการขนาดใหญ่ที่ต้องรอบครอบและรับฟังเสียงประชาชน รวมทั้งทบทวนแนวทางการพัฒนาที่เน้นอุตสาหกรรม ทั้งที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แนวทางการเกษตรกรรมยั่งยืน แนวทางการพัฒนาประเทศแบบยั่งยื่น ห่วงใยคนจน ห่วงใยสภาพแวดล้อม จึงจะสามารถฝ่าข้าวิกฤตสิ่งแวดล้อมได้ หากยังส่งเสริมการทำลายชุมชน ทำลายสภาพแวดล้อมดั่งที่เป็น อยู่ ก็คงยากที่จะอยู่อย่างเป็นสุขได้ทั้งสังคมไทยและสังคมโลก

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง